ความเข้าใจว่า เป็นพระธุดงค์...?
ยังมีผู้เข้าใจผิด เกี่ยวกับ อย่างไรเรียกว่า.....พระธุดงค์
ขอเรียนว่า มีความเข้าใจผิดกันมาก ทั้งพระ ทั้งฆราวาส เพราะไม่ศึกษา / เชื่อตามใจตัวเอง /เชื่อตามกันมาผิดๆ
พระธุดงค์ นั่งรถได้ ไม่ใช่ต้องเดินเท่านั้น
พระเดิน สะพายย่าม พะรุงพะรัง เรียกว่า เดิน ไม่เรียกว่า ธุดงค์
พระธุดงค์อยู่ประจำวัดมีเยอะแยะ ไม่ใช่แค่อยู่ในป่า
พระวัดป่า อาจไม่ถือธุดงค์วัตร / เข้าใจธรรมวินัยผิดๆ-ถูกๆ / ไม่ปฏิบัติตามธรรมวินัยก็มี
พระไม่รับเงิน ไม่เกี่ยวกับ ธุดงค์หรือไม่
พระรับเงิน ด้วยมือ แค่ดูน่าเกลียดกว่ารับใส่ย่ามเท่านั้น (ผิดศีลเท่ากัน)
พระจำนวนหนึ่ง แสดงตัวเป็นพระธุดงค์เพราะ กิเลส-อกุศลล้วนๆ (เล่าแค่นี้พอ)
พระวัดเมือง-วัดบ้านจำนวนหนึ่ง หลังรับกฐินแล้ว จะซื้อวัตถุมงคลจากร้านค้า เที่ยวเดินทางเยี่ยงพระธุดงค์ (ที่เข้าใจผิดกัน)...เพื่อหาเงิน
พระธุดงค์ ไม่ได้ดูกันที่...สีจีวรคล้ำๆ / จีวรเก่าๆ-หนาๆ / ไม่ใส่รองเท้า / สะพายกลด-กระป๋องน้ำ / ผิวคล้ำ / ซูบผอม ฯลฯ
พระธุดงค์ใส่รองเท้าได้
ฯลฯ
หลายปีก่อน มี ประธานชมรมพระธุดงค์แห่งประเทศไทย(เป็นพระ) ถูกคนแจ้งตำรวจจับสึก-ดำเนินคดีอาญา เพราะ แต่งเครื่องแบบนายทหารสัญญาบัตร-ขับรถเก๋ง-แอบมีกิ๊ก(รู้จากดูข่าว TV)
พระพุทธเจ้า แนะนำให้พระภิกษุ อย่าอยู่ที่เดิมนานๆ เพราะ จะทำให้เกิดการสะสมทรัพย์สิน-ข้าวของ-กิเลส
ตามพระไตรปิฎก พระธุดงค์ หมายถึง พระที่ถึอธุดงค์วัตรข้อใดข้อหนึ่ง / หลายข้อ
ความหมายของธุดงค์ = องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส,ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษเป็นต้น มี ๑๓ ข้อคือ
หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุต - เกี่ยวกับจีวร มี
๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุล
๒. เตจีวริกังคะ ใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน;
หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุต - เกี่ยวกับบิณฑบาต มี
๓. ปิณฑปาติกังคะ เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ
๔. สปทานจาริกังคะ บิณฑบาตตามลำดับบ้าน
๕. เอกาสนิกังคะ ฉันมื้อเดียว
๖. ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันเฉพาะในบาตร
๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม;
หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุต - เกี่ยวกับเสนาสนะมี
๘. อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่า
๙. รุกขมูลิกังคะ อยู่โคนไม้
๑๐. อัพโภกาสิกังคะ อยู่กลางแจ้ง
๑๑. โสสานิกังคะ อยู่ป่าช้า
๑๒. ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่แล้วแต่เขาจัดให้;
หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต - เกี่ยวกับความเพียร มี
๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือนั่งอย่างเดียวไม่นอน
(นี้แปลเอาความสั้นๆ ความหมายละเอียด พึงดูตามลำดับอักษรของคำนั้นๆ)
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น