ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ขยันแบบโง่ๆ : กลอนคติเตือนใจ




ขยันแบบโง่ๆ : กลอนคติเตือนใจ


    รอยรั้ง หลังชน เดินวนเวียน(เทียน)..........................คือน้ำ ตาเทียน เคียนโบสถ์วิหาร(เคียน=พัน,คาด)

สกปรก รกตา อนาจาร......................................ศาสน สถาน อันพิมล


    พระแก่ แค่คิด เป็นกิจจะ.........................................(สร้างภาพ)มานะ ขยัน บันดาลผล

แก่ผู้ พบเห็น ; บำเพ็ญตน.................................อดทน ขูดเทียน เพียรเช้า-เย็น(หลายวัน)

 

    คนมี ปัญญา ผ่านมาแนะ.........................................ขูด-แคะ กระเบื้อง เรื่องควรเว้น

วิธี ง่ายๆ ไร้ลำเค็ญ...........................................สมองใช้ ให้เป็น ประหยัด(แรง)-เวลา


    เทียนโดน แดดจ้า (ก็)หลอมละลาย..........................ตอนบ่าย แดดร้อน เลิกซ่อนหน้า(หลบแดด)

อดทน ตากแดด แผดกายา................................ใช้ผ้า เช็ด-ถู ดูง่ายดี(สะอาดเกลี้ยงเกลา)

 

    พระแก่ กลับเอ่ย อ้างเคยทำ(ขูดเทียน).....................(จะ)ตรากตรำ ต่อไป ในวิถี

ข้อแนะนำ ข้ามไป มิใยดี....................................สร้างภาพ พระดี วิริยา(ต่อไป)

 

    ขยันแบบ โง่ๆ คือโมหะ...........................................กว่าจะ (งาน)เสร็จหนอ ก็เหนื่อยล้า

สิ้นเปลือง เวล่ำ เสียเวลา...................................นานัป(การ) ทรัพยา สูญละลาย

 

    (คิดให้)ตรงไป ตรงมา สุจริต....................................ความคิด มิจฉา สละสลาย

เฟ้นหา วิธี ที่เรียบ-ง่าย......................................สะดวกสบาย ไม่ต้อง คล่องคุยโว

  

    อย่ามัว สร้างภาพ ที่ฉาบฉวย...................................รุ่มรวย ด้วยความ คิดโง่ๆ

ทำเรื่อง เล็กให้ เป็น(เรื่อง)ใหญ่โต......................พาโล โก้กวด อวดสาธารณ์*


    ขยันแบบ ฉลาด ฉกาจกิจ........................................สุจริต คิดใคร่ หทัยหาญ(อย่าฉลาดแบบเจ้าเล่ห์)

ซื่อตรง ทรงสถิต จิตวิญญาณ..............................สร้างสาน บ้านเมือง รุ่งเรืองเทอญ

 

๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔


* ผู้เขียนเคยบวชพระระยะหนึ่ง ได้ตระเวนไปตามวัดที่ถูกเรียกว่า "สายปฏิบัติ" นับสิบวัด

บางวัดมีสาขาทั้งในและต่างประเทศมากมาย

วัดเหล่านี้ชอบตั้งกฎระเบียบที่เข้มงวดให้คนคิดว่า "เป็นวัดเคร่ง" ทั้งๆที่กฎระเบียบเหล่านั้นไม่มีในธรรมวินัยและไร้สาระ เช่น ตื่นมาทำความสะอาดเสนาสนะตอนตี 2 ทำวัตรตี 4

พอตรวจสอบเข้าจริงๆ พระพวกนี้ต้องนอนกลางวันชดเชยเวลาที่นอนกลางคืนน้อย-นอนไม่พอ

แล้วจะตื่นตี 2 ขึ้นมาใช้ไฟฟ้าให้สิ้นเปลืองทำไม? ทำกิจตอนกลางวันไม่ต้องเปิดไฟ-ใช้ไฟฟ้าเลย

คนปกติต้องนอนกลางคืน-ตื่นกลางวัน จะคิดทำพิสดารไปเพื่ออะไร? ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าซะหน่อย


มีวัดหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมาก-ดังไปทั่วโลก ผู้เขียนเข้าไปกราบขออยู่ด้วย(ที่สาขาแรก-สาขาหลัก)

แต่เจ้าอาวาสโอ้อวดผ้าไตรที่ย้อมสี-ตัด-เย็บเอง 11 ขันธ์ (ผ้าไตรธรรมดาในท้องตลาดมี 5 ขันธ์ แบบราคาแพงมี 9 ขันธ์)

ผู้เขียนถามไปว่า ผ้าไตรที่ชาวบ้านถวายไม่มีหรือครับ? ใช้ให้เขาดีใจไม่ดีกว่ามาทำเองหรอกหรือ?

เจ้าอาวาสแสดงอาการหัวเสีย ไล่ให้ผู้เขียนไปอยู่เพิงเล็กๆที่ไม่มีฝาผนัง-หลังคามุงหญ้าคา ใช้เป็นที่นั่งเล่นไม่ใช่อยู่อาศัย

ผู้เขียนถามว่ากุฏิว่างไม่มีหรือครับ ทำไมให้ผมไปอยู่เพิง? เจ้าอาวาสก็บอกให้ผู้เขียนไปนอนที่ศาลาแทน(ไม่ให้อยู่กุฏิ)


เจ้าอาวาสวัดที่มีชื่อเสียง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ใช่ว่าจะเป็นพระที่จิตใจดี-มีสติปัญญา จำนวนไม่น้อยที่จิตใจไม่ซื่อตรง-ติดใจในลาภยศสรรเสริญและกามสุข ไม่ต่างจากฆราวาสเลยด้วยซ้ำ ชอบใช้ของหรูหราราคาแพง-ฟุ่มเฟือย-รักความสบาย ขี้เกียจ.

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

กรรมดีเป็นที่พึ่ง : กลอนจรรโลงใจ



กรรมดีเป็นที่พึ่ง : กลอนจรรโลงใจ


    เมื่อเหมันต์ ผันผิน เริ่มสิ้นสุด..........................แดดแผดผุด ดุจเผา ร้อนเร่าหลาย

แมวทยอย คอยหาที่ ที่เย็นสบาย.................นอนเหยียดกาย ไม่สน หนทาง(คน)เดิน


    ไม่ต้องรู้ อุดมการณ์ อันสูงส่ง...........................ไร้ประสงค์ หลงคำ ล้ำสรรเสริญ

ไม่กระเดียด เกียรติยศ ปรากฏเกิน...............ก็เพลิดเพลิน เจริญจิต สมพิศปอง(ได้)

 

    โลกธรรม จำนง จงสยบ..................................ความสงบ(ใจ) สบง่าย ไร้เศร้าหมอง

มายาคติ มิปรารถนา จะตรึกตรอง................ท่วงทำนอง ชีวิต วิจิตรดัง


    วัน-เวลา ราวระงับ หยุดกับที่............................เมื่อหัวใจ ไม่มี สิ่งที่หวัง(ให้เป็น-ไม่เป็น)

หมดพันผูก ทุกอย่างที่ ไม่จีรัง.....................อนิจจัง สังขาร การแต่งปรุง(สิ่งปรุงแต่ง)

 

    บ่หลงเหลือ เยื่อใย ในพิภพ............................(การ)ครองชีวิต คิดขบ ลบ(ความ)ยากยุ่ง

กุศลธรรม กรรมา เที่ยงผดุง.........................(คือ)สิ่งจรุง จูงฤดี ให้อภิรมย์

 

    ความตั้งใจ ใคร่ทำดี เป็นที่หนึ่ง.......................คอยคำนึง ถึงความรู้ บรรลุสม

พยายาม ทำดี คตินิยม................................ช่วยชื่นชม โสมนัส วัฒนา-

 

    ต่อชีวี ที่ประจัญ วันๆไป..................................แม้(มี)อุปสรรค มากมาย หลายปัญหา

พลาด-ขัดสน ผลสำเร็จ ผิดเจตนา................เมื่อเข้าใจ ในสัจจา ชะตากรรม

  

    ก็ไม่ต้อง ข้องใจ ในชีวิต..................................ไม่ครุ่นคิด อิดหนา อุระถลำ

(ไม่)เจ็บปวดร้าว เศร้าโศก อกระกำ...............ฤาชอกช้ำ กำสรวล รวนฤทัย


    ผู้น้อมนำ กรรมดี เป็นที่พึ่ง................................ย่อมเข้าถึง ซึ่งผลดี ที่ผ่องใส

มุ่งมั่นทำ กรรมดี ฤดีไกร...............................ย่อมสมใจ ในสิ่งจ้อง ต้องการเอย

 

๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

เป็นคนดีให้ได้ก่อน : กลอนวันพระ


เป็นคนดีให้ได้ก่อน : กลอนวันพระ


    รุ่งอรุณ โลกสุนทร.....................................ฟ้าอมร อ่อนรังษี

สุขสวัส ดิรัชนี......................................จรลี หลบทิพา


    สุกสกาว เช้าวันพระ...................................สุริยะ ประสิทธิ์หล้า

พร่างพราย ฉายอาภา............................จวบสนธยา จันทราธร


    เดือนเพ็ญ เด่นจำรัส..................................งามสงัด สโมสร

โศภิน เหนือทินกร.................................(คนชอบฝาก)คำวิงวอน ว่อนนานา

 

    ขอให้ ได้สำเร็จ.........................................ปฏิเวธ พุทธศาสนา

มรรคผล นิพพานพา..............................วัฏสงสาร์ ขจัดไคลฯลฯ

 

    เอาแต่ อธิษฐาน........................................สวด(มนต์)-บนบาน (สิ่งศักดิ์สิทธิ์)บันดาลให้(ช่วย)

แต่ตน มิสนใจ.......................................ชำระใจ ไร้มลทิน(ด้วยตัวเอง)

 

    (จง)เป็นคนดี ให้ได้ก่อน.............................อย่ารีบร้อน (อยากให้วัฏ)สงสารสิ้น

หมั่นทำ มาหากิน...................................มีศีลธรรม กำกับกมล

 

    ฝึกใจ ให้สุจริต..........................................อย่าคดคิด จิตโฉดฉล

อย่าหวัง (อิทธิฤทธิ์)วิเศษจน...................หลงตัวตน พ้น(คน)ธรรมดา

  

    (ศีลธรรม)พื้นฐาน ยังคร้านจิต.....................อย่าใคร่คิด พิชิตตัณหา

"หลุดพ้น" พ่นวาจา................................"บุญ-บารมีฯลฯ" หลงงมงาย*


    ธรรมะ คือธรรมชาติ...................................อย่าวิปลาส อัศจรรย์หมาย

ความรู้หา อย่าดูดาย...............................ก่อนขวนขวาย "(ความ)ไม่เกิด"เทอญ

 

๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔


*หลายคน แค่รักษาศีล๕ ยังทำไม่ได้

เป็นคนตระหนี่ ใจแคบ ใจจืดใจดำ ขี้อิจฉา ขี้ฉ้อ ฯลฯ แต่ชอบพูดถึงมรรคผลนิพพาน

คนเหล่านี้ ส่วนหนึ่งก็คือพระสงฆ์ที่หากินกับผ้าเหลือง.

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น : กาพย์ยานี๑๑


สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น : กาพย์ยานี๑๑


    สิ่งที่ มีและเห็น......................................หลงว่าเป็น สัจวิสัย(ของที่มีอยู่จริง)

กาลกลับ ผัน(แปร)-ลับไป....................เหลือทิ้งไว้ (แค่)ให้ทรงจำ


    ส่อ(ถึง)สัจ อนัตตา.................................ทั้งโลกา ปรากฏล้ำ

ให้ผู้ รู้หลักธรรม..................................นึกน้อมนำ กำกับกมล


    สิ่งที่ เกิด(ขึ้น)-มี-เป็น..............................ล้วนชัดเจน เช่นเหตุ ผล

(แม้)ซับซ้อน ซ่อนเงื่อนกล...................แต่มิพ้น (เป็นตาม)"กลไก(กฎแห่ง)กรรม"

 

    ภพชาติ ซัด(ชะตา)ประสบ.......................ผลักดันพบ บรรจบส่ำ

เหตุการณ์-การกระทำฯลฯ....................สนองกรรม ที่(เคย)ทำมา

 

    (เป็น)วัฏฏะ สงสารล้วน(ๆ).......................มิสมควร สิถือสา

ยึดมั่น ถือมั่นว่า...................................เป็นอัตตา "กู-ของกู"(ใคร-ของใคร)

 

    (จง)อบรม คมคิดนึก...............................ใจฝนฝึก ตรองตรึกรู้

(มีสติระลึกได้)โน้มเอียง เยี่ยงวิญญู.......ผู้เท่าทัน ธรรม(ชาติ)บัญชร

 

    อย่ายิน ดียินร้าย.....................................เพียรสลาย ความไหวอ่อน

หฤทัย ไร้สั่นคลอน..............................สุนทรสัน ติครรลอง

  

    (ควบ)คุมใจ ให้สงบ................................ยามประสบ กาลคับข้อง

นิ่งไว้ ไม่ลำพอง.................................เมื่อถูกต้อง อิฏฐารมณ์(อิฏฐารมณ์=อารมณ์หรือสิ่งที่น่าปรารถนาน่าพอใจ )


    ไม่มี สุขหรือทุกข์...................................(เป็น)ทางพ้นทุกข์ พ้นสุขสม(ใจสงบไม่ใช่พ้นทุกข์อย่างเดียว)

ปรมัตถ์ สัจอุดม..................................จงวิกรม นิยมเทอญ

 

๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔


"สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย" ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นตัณหา สูตรเล็ก
ปัญหาธรรมของท้าวสักกะ

 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่า
เป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษม
จากโยคะสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐ
กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ‘ธรรม
ทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น’ ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ว่า ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควร
ยึดมั่น’ ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้
ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณา
เห็นความคลายกำหนัด พิจารณาเห็นความดับ และพิจารณาเห็นความสลัดทิ้งใน
เวทนาทั้งหลายนั้นอยู่ เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความคลาย
กำหนัด พิจารณาเห็นความดับ และพิจารณาเห็นความสลัดทิ้งในเวทนาทั้งหลาย
นั้นอยู่ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อ
ไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสได้เฉพาะตนและรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป.

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ลงทุนเพื่อทำความดี : กลอนจรรโลงใจ


ลงทุนเพื่อทำความดี : กลอนจรรโลงใจ


    ชีวิต ต้องการ (การ)ลงทุน........................................เวียนหมุน ทรัพย์จ่าย-ได้(ผลตอบแทน)หวัง

เพิ่มความ ร่ำรวย มั่งคั่ง......................................เลิก(ใส่ไห)ฝัง ดินไว้ คล้ายโบราณ


    (เพราะ)นอกจาก เงิน(จะ)ไม่ งอกเงย.........................ละเลย อาจกลาย ทำลายผลาญ

เสียเงิน เสียทรัพย์ อัประมาณ.............................เสียการ เงินเก็บ (ผลลัพธ์คือ)เจ็บใจ


    ลงทุน เพื่อทำ ธุรกิจ................................................พบเห็น เป็นนิจ พิสมัย

หวัง(ผล)ทำ กำรี้ กำไร.......................................ขวนขวาย ได้เงิน เพลินอุรา

 

    ลงทุน หนุนเหล่า ลูกหลาน.......................................เลื่องลือ คือการ ศึกษา

เมื่อใด ได้รับ ปริญญา........................................เชิดหน้า ชูตา วงศ์สกุล

 

    เคยไหม ได้ยิน (คำ)ถวิลหวัง.....................................สรรสร้าง ตั้งใจ เกื้อหนุน

(สร้าง)ปัจจัย ในการ ทำบุญ................................ลงทุน เพื่อทำ ความดี

 

    สมัคร เสียทรัพย์ ขับเคลื่อน.......................................สร้าง(ราก)ฐาน การเลื่อน วิถี

อำนวย อวยน้อม พร้อมพลี..................................เอื้อกรรม ทำดี นิรามัย

 

    เป็นการ ลงทุน (ที่)มิสูญเปล่า....................................เพริศเพรา ก้าวหน้า อดิศัย

(ของ)ผู้ที่ มีความ เข้าใจ......................................ต่อไป ภายหน้า สะดวกดล

  

    (ลงทุนกับ)เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ฯลฯ.................เตรียมก่อน รอทำ กรรมกุศล

ชั่วนา ตาปี ทวีปรน..............................................ให้คน ทำดี ปรีดา


    (ลงทุนแล้ว)ทำดี ไปได้ เรื่อยๆ...................................มิต้อง เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า

ยกระดับ ปรับทัศน์ พัฒนา.....................................เพราะว่า (ได้)ลงทุน จรูญเอย

 

๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔


การลงทุนเพื่อทำความดี เป็นการลงทุนที่ยังไม่ใด้บุญหรือได้บุญแต่ยังไม่บริบูรณ์

แต่เตรียมไว้เพื่อสนับสนุนการทำบุญต่อไปภายหน้า เช่น

ซื้ออาหารแมว-หมา ไว้เพื่อเลี้ยงแมว-หมาจรจัด จะได้บุญจากจิตอันเป็นกุศล

แต่การซื้ออาหารยังไม่ทำให้ได้บุญ์ที่สมบูรณ์ หลังจากได้เลี้ยงอาหารแมว-หมาจรจัดแล้ว บุญจึงจะสมบูรณ์

ฯลฯ

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ผิดเป็นครู : กาพย์ยานี๑๑(กลอนกำลังใจ)


ผิดเป็นครู : กาพย์ยานี๑๑(กลอนกำลังใจ)


    ทำดี มิต้องท้อ..........................................(เพราะ)ทำดีก็ พอผิด(พลาด)ได้

(ทำ)ผิดอย่าง ไม่ตั้งใจ.........................คิดเสียใจ ให้พอดี(อย่าเสียใจมากจนเกินไป)


    คนดี มีคุณค่า............................................งามสง่า ในโลกนี้

โลกหน้า ประสบมี...............................รับผลดี (ที่)ได้วิริยา


    ทำผิด (มี)จิตสำนึก...................................ใคร่ตรองตรึก เรียน(รู้)ศึกษา

ปรับปรุง มุ่งพัฒนา..............................อย่าทำผิด(ซ้ำ) เพียรจิตใจ

 

    สิ่งใด ที่ไม่รู้(จึงทำผิด)..............................อุตส่าห์สู้ เรียน-แก้ไข

ดีกว่า พิร่ำพิไร....................................พร่ำเสียใจ ไร้คุณา

 

    ความผิด คิด(จดจำ)เป็นครู........................นำไปสู่ การแสวงหา

สุจริต วิทยา.......................................อนาคต หมด(ความ)โง่งม

 

    มีใคร ไม่(เคย)ทำผิด................................แต่ดวงจิต ต้องพิศสม

ไร้เจต (ตะ)นารมณ์(จะทำผิด)...............ไม่นิยม ก่อกรรม์ทราม

 

    เสียใจ(ที่ทำผิด) ให้สมเหตุ.......................อย่า(เสียใจจนน่า)สมเพช เทวษหลาม

เสียใจ (แต่ต้อง)ไม่เสียความ.................มีสติ และปัญญา(อย่าเสียสติ-ปัญญา)

  

    (การ)ทำดี มีวันใหม่.................................โอกาสใหม่ ให้อุตสาห์

ใส่ใจ(สุขุม) ในกรรมา...........................ภาคหน้าไซร้ ได้แก้ตัว(แก้พฤติกรรม ไม่ใช่พูดแก้ตัว)


    รอบคอบ ประกอบกิจ...............................ตั้งดวงจิต ไม่(ทำ)ผิด-ชั่ว

ละเขลา ลดเมามัว................................กล้า-ไม่กลัว การทำดี

 

๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔