๏ สิ่งที่ มีและเห็น......................................หลงว่าเป็น สัจวิสัย(ของที่มีอยู่จริง)
กาลกลับ ผัน(แปร)-ลับไป....................เหลือทิ้งไว้ (แค่)ให้ทรงจำ
๏ ส่อ(ถึง)สัจ อนัตตา.................................ทั้งโลกา ปรากฏล้ำ
ให้ผู้ รู้หลักธรรม..................................นึกน้อมนำ กำกับกมล
๏ สิ่งที่ เกิด(ขึ้น)-มี-เป็น..............................ล้วนชัดเจน เช่นเหตุ ⇔ ผล
(แม้)ซับซ้อน ซ่อนเงื่อนกล...................แต่มิพ้น (เป็นตาม)"กลไก(กฎแห่ง)กรรม"
๏ ภพชาติ ซัด(ชะตา)ประสบ.......................ผลักดันพบ บรรจบส่ำ
เหตุการณ์-การกระทำฯลฯ....................สนองกรรม ที่(เคย)ทำมา
๏ (เป็น)วัฏฏะ สงสารล้วน(ๆ).......................มิสมควร สิถือสา
ยึดมั่น ถือมั่นว่า...................................เป็นอัตตา "กู-ของกู"(ใคร-ของใคร)
๏ (จง)อบรม คมคิดนึก...............................ใจฝนฝึก ตรองตรึกรู้
(มีสติระลึกได้)โน้มเอียง เยี่ยงวิญญู.......ผู้เท่าทัน ธรรม(ชาติ)บัญชร
๏ อย่ายิน ดียินร้าย.....................................เพียรสลาย ความไหวอ่อน
หฤทัย ไร้สั่นคลอน..............................สุนทรสัน ติครรลอง
๏ (ควบ)คุมใจ ให้สงบ................................ยามประสบ กาลคับข้อง
นิ่งไว้ ไม่ลำพอง.................................เมื่อถูกต้อง อิฏฐารมณ์(อิฏฐารมณ์=อารมณ์หรือสิ่งที่น่าปรารถนาน่าพอใจ )
๏ ไม่มี สุขหรือทุกข์...................................(เป็น)ทางพ้นทุกข์ พ้นสุขสม(ใจสงบไม่ใช่พ้นทุกข์อย่างเดียว)
ปรมัตถ์ สัจอุดม..................................จงวิกรม นิยมเทอญฯ
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
"สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย" ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยความสิ้นตัณหา สูตรเล็ก ปัญหาธรรมของท้าวสักกะ “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษม จากโยคะสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐ กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ‘ธรรม ทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น’ ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ว่า ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควร ยึดมั่น’ ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณา เห็นความคลายกำหนัด พิจารณาเห็นความดับ และพิจารณาเห็นความสลัดทิ้งใน เวทนาทั้งหลายนั้นอยู่ เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความคลาย กำหนัด พิจารณาเห็นความดับ และพิจารณาเห็นความสลัดทิ้งในเวทนาทั้งหลาย นั้นอยู่ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อ ไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสได้เฉพาะตนและรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น