ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566

กำลังซื้อทรุด ฉุด ‘ค้าปลีก’ วูบ l กรุงเทพธุรกิจ BIZ INSIGHT l 30 ต.ค. 66

โลกาคืออนิจจัง : กาพย์ยานี๑๑



โลกาคืออนิจจัง : กาพย์ยานี๑๑


    เมฆฝน หม่นพรางจันทร์...............................ค่ำคืนวัน ออกพรรษา

สายฝน ล้นหลั่งมา.....................................แทนอาภา คลาพิไล(คลา=คลาด)


    เดือนเพ็ญ เด่นสมมาส..................................แม้เมฆพาด จนปราศไร้

ส่องสว่าง หลังเมฆไป.................................งามประไพ ในนภา

 

    แมวหาย ไร้รอยร่อง......................................เพื่อนแมวต้อง ร้องเรียกหา

โหยไห้ ในอุรา...........................................แววตาหม่น ท้นทุกข์ตรอม


    (เดิม)ถูกทิ้ง วัดสิงสู่......................................รับ(มา)เลี้ยงดู ทะนุถนอม

(จน)เติบใหญ่ (ใจ)ไม่ทันพร้อม....................แต่ต้องยอม(รับ) ยามจาก(กัน)ไกล


    โลกคือ ความไม่เที่ยง...................................อยากหลบเลี่ยง (แต่)เหลือวิสัย

(ได้)พบพาน (และ)การจากไป......................เป็นอะไร ที่จีรัง


    เตือนจิต จงคิดฉุก........................................อย่าท้นทุกข์ ต้องปลูกฝัง

ตราบที่ ชีวียัง..............................................(จง)ระมัดระวัง (การ)สร้าง(ความ)ผูกพัน

 

    สรรพะ สังขารา............................................เป็นอนิจจา อย่ายึดมั่น

(ต้อง)สูญไร้ ในสักวัน....................................ปราศหลักประกัน เปิดปัญญา


    แม้มี มิต่างไร้...............................................ประโยชน์ใด ในตัณหา

กิเลส เหตุอกุศลา.........................................รังแต่จะพา พบเภทภัย(เพราะเป็นอกุศลมูล)


    จูงใจ(ตน) ให้กระจ่าง....................................อย่างจันทร์แจ้ง แสวงไสว

(ความ)หม่นหมอง จ้องปลดไป.......................อย่าให้(ความ)เศร้า เคล้าอุรา


    ทำ(ให้)ดี ถึงที่สุด.........................................จะเลิศ-หลุด(ลอย) แล้วแต่วาสนา

(ถึง)ชีวี มีชะตา(กรรม)...................................(แต่ก็)ต้องอุตส่าห์ ฟันฝ่า(พยายาม)เอยฯ


๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๖

วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ปฏิบัติการรุกคืบพื้นดินกาซ่าล้มเหลว อิสราเอลสั่งถอน2หน่วยรบแรกออกจากพื้นที่

กฐิน=มหาบุญ? : กลอนคติเตือนใจ



กฐิน=มหาบุญ? : กลอนคติเตือนใจ


    (คำชัก)ชวนทำทาน งานกฐิน...............................ช่างเคยชิน ช่วง(ออก)พรรษา

ประเพณี มีนานมา............................................อวดอ้างว่า (เป็นสุดยอด)"มหาบุญ"


    ฟังเขาบอก ปากต่อปาก......................................(ว่า)การบวช(เป็นพระ)มาก บุญเคยคุ้น

(จึง)ได้บวช-เรียน เพียรเจือจุน...........................ศึกษา(พระไตรฯ)หนุน ธรรมวินัย

 

    ค่อยรู้ว่า พระรับเงิน.............................................ต้องประเชิญ อาบัติไซร้(ผิดธรรมวินัย)

แต่ทว่า พระส่วนใหญ่........................................บวชเพื่อไขว่ คว้าหาเงิน(ทำเป็นอาชีพ)


    ลาภสักการ บรรดาศักดิ์ฯลฯ.................................โลภหลงรัก มิขัดเขิน

โลกียธรรม=ความเพลิดเพลิน.............................เดียดฉันท์เมิน ธรรมวินัย


    แล้วทำทาน งานกฐิน..........................................(ได้)บุญใหญ่ยิน มาจากไหน?

(ก็)คงจากพระ โลภ-หลอก(ลวง)ไง.....................คนจะได้ ให้(เงิน)มากมี*


    เอาเงินทอง(บริจาค) คล่องจับจ่าย........................สุรุ่ยสุร่าย ใคร่สุขี

เพื่อตัวกู(พวกพ้องกู) อยู่(ดี)กินดี.........................อย่างไม่มี ความละอาย

 

    (หา)ใช่ธำรง พุทธศาสนา.......................................แต่บวชมา สร้างเสียหาย

สอนสังคม โง่งมงาย..........................................เสื่อมสลาย สติปัญญา


    (ชาวพุทธ)ควรศึกษา พระไตรปิฎก..........................เพื่อช่วยยก พุทธศาสนา

(ให้รอด)พ้นอันธพาล พวกมารยา........................อาศัยผ้า เหลืองหากินฯ


๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๖


*บุญกฐินแบบที่ทำกันทุกวันนี้ ไม่ใช่พุทธบัญญัติ พระพุทธองค์ไม่เคยอนุญาตให้ทำ

พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่า ให้เงินแก่พระ-วัดแล้วจะได้บุญมาก มีแต่ตำหนิ-กล่าวโทษพระที่รับเงิน

พระพุทธเจ้าไม่เคยบอกว่า เมื่อพระอยู่ดีกินดี-ใช้ชีวิตหรูหราแล้วจะบรรลุธรรมขั้นสูง-ญาติโยมจะได้บุญมาก มีแต่บอกให้พระอยู่แบบเรียบง่าย อย่าทำตัวให้เขาเลี้ยงยากฯลฯ.


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒

๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
....ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น
ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่า
เธอรับรูปิยะจริงหรือ?
             ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า? การกระ ทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้วตรัส โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำ นาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบัง- *เกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.....

วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2566

เศรษฐกิจโลกดิ่งเหว!! รัสเซีย-อาหรับร่วมรบ จีนยึดไต้หวัน - Money Chat Tha...

เครือข่ายใต้ดินฉนวนกาซา ‘ฮามาส’ สร้างซับซ้อน 500 กม. เป้าอิสราเอลถล่ม | ...

สงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ อาจไม่จบลงง่ายๆ สหรัฐฯ อาจเพิ่มชนวนไฟสงครามครั้...

วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ฤกษ์งาม เมื่อทำดี : กลอนคติสอนใจ





ฤกษ์งาม เมื่อทำดี : กลอนคติสอนใจ


    ฤกษ์งาม ยามดี มั่งมีโชค...............................ชาวโลก หมกมุ่น ครุ่นคิดหา

จนเป็น ประเพณี มีนานมา.............................คู่วิถี ชีวา ประชาชน


    ไม่ใช่ ไม่มี การศึกษา....................................ครูบา อาจารย์ คอยหาญหน

(พวกเรียน)จบจาก เมืองนอก บอกผู้คน...........ยังวน เวียนหลาย ในฤกษ์ยาม

 

    ผลพาน ปานใด ในวิถี?..................................ดูเหมือน ไม่มี แม้คำถาม

"เพื่อจะ(ได้) สบายใจ" ไม่มีความ....................วิตก(กังวล)ตาม คำ(ทัก)ท้วง ของปวงชนฯลฯ


    ดาวน้อย ลอยล่วง ห้วงฟ้าฟาก........................(คน)ยังอยาก ชักพา มาหาผล

ผูกพัน วารคล้อง ที่ผองคน.............................คิดค้น ขึ้นมา ชะตาตรึง


    บ่สอด คล้องกฎ บทบาทกรรม.........................การกระทำ นำผล(สนอง) กลลึกซึ้ง

ชั่ว-ดี นิยาม ต้องคำนึง...................................มิพึง วางใจ ในฤกษ์ยาม


    ทำดี (ย่อม)ได้ดี วิถีโชค..................................ทำชั่ว ทั่วโศก ตกทุกข์ขาม

ทำบุญ กุศล ดลเลิศงาม.................................ทำบาป หยาบทราม ช้ำชอกคืน

 

    ทำใจ ให้(ซื่อ)ตรง จงยืนหยัด...........................ป้องปัด บัดสี วิถีฝืน

อย่าเชื่อ สังคม หวังกลมกลืน...........................บันเทิง เริงรื่น ชื่นฤดี


    ทำมา หากิน กับความเขลา...............................คนเรา เมามัว ชั่ววิถี(หลอกลวงให้คนงมงาย)

ไม่เชิ่อ ผลกรรม ติดตามมี................................ชีวี จักทุกข์ ทรมานเอยฯ


๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๖

อรรถกถา นักขัตตชาดก

ว่าด้วย ประโยชน์คือฤกษ์
.....
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ชาวพระนครพากันไปสู่ขอธิดาของชาวชนบท กำหนดวันแล้ว ถามอาชีวกผู้คุ้นเคยกันว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้ ผมจะกระทำงานมงคลสักอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมขอรับ. อาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่า คนพวกนี้กำหนดวันเอาตามพอใจตน บัดนี้ กลับถามเรา คิดต่อไปว่า ในวันนี้ เราจักทำการขัดขวางงานของคนเหล่านั้นเสีย แล้วกล่าวว่า วันนี้ ฤกษ์ไม่ดี ถ้ากระทำการมงคลจักพากันถึงความพินาศใหญ่. คนเหล่านั้นพากันเชื่ออาชีวก จึงไม่ไปรับเจ้าสาว. ชาวชนบททราบว่า พวกนั้นไม่มา ก็พูดกันว่า พวกนั้นกำหนดวันไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา ธุระอะไรจักต้องคอยคนเหล่านั้น แล้วก็ยกธิดาให้แก่คนอื่น.
รุ่งขึ้น ชาวเมืองพากันมาขอรับเจ้าสาว ชาวชนบทก็พากันกล่าวว่า พวกท่านขึ้นชื่อว่า เป็นชาวเมือง แต่ขาดความเป็นผู้ดี กำหนดวันไว้แล้ว แต่ไม่มารับเจ้าสาว เพราะพวกท่านไม่มา เราจึงยกให้คนอื่นไป.
ชาวเมืองกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกดู ได้ความว่า ฤกษ์ไม่ดีจึงไม่มา จงให้เจ้าสาวแก่พวกเราเถิด. ชาวชนบทแย้งว่า เพราะพวกท่านไม่มากัน พวกเราจึงยกเจ้าสาวให้คนอื่นไปแล้ว คราวนี้จักนำตัวเจ้าสาวที่ให้เขาไปแล้วมาอีกได้ อย่างไรเล่า?
เมื่อคนเหล่านั้นโต้เถียงกันไป โต้เถียงกันมา อยู่อย่างนี้ ก็พอดี มีบุรุษผู้เป็นบัณฑิตชาวเมืองคนหนึ่ง ไปชนบทด้วยกิจการบางอย่าง ได้ยินชาวเมืองเหล่านั้นกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกแล้ว จึงไม่มาเพราะฤกษ์ไม่ดี ก็พูดว่า ฤกษ์จะมีประโยชน์อะไร เพราะการได้เจ้าสาวก็เป็นฤกษ์อยู่แล้ว มิใช่หรือ? ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ ความว่า :-
“ ประโยชน์ผ่านพ้นคนโง่ ผู้มัวคอยฤกษ์ยามอยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวทั้งหลาย จักทำอะไรได้ ”
 ดังนี้

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ยิวคุมสหรัฐฯ ก่อสงครามล้างเผ่าพันธุ์ ไทยขึ้นดอกเบี้ยเสี่ยง Money Chat Th...

วันพระอย่างมงาย : กลอนคติเตือนใจ




วันพระอย่างมงาย : กลอนคติเตือนใจ


    ลมเย็น พัดพา ฝนฟ้าเฝือ..........................................ลมเหนือ พัดมา หวนหน้าหนาว

กลางวัน สั้นขึ้น กลางคืนยาว....................................ดวงดาว พราวพัชร ทัศไนย


    (วันพระ)อาราธ (ธะ)นาศีล ชินชาจิต...........................บ่คิด เจาะจง ควรสงสัย

ประกอบ พิธีกรรม ไปทำไม?....................................(เกิดความ)ศักดิ์สิทธิ์ ตรงไหน ใยเชื่อฟัง?

 

    ใครเล่า (ประสบความ)สำเร็จ โดย(การ)อ้อนวอน..........(การ)ขอพร สอนไหว้(พระเกจิ) (ช่วย)ใครสมหวัง?

ความโง่ งมงาย ใจบดบัง..........................................ขุมพลัง ความคิด พิจารณา


    กรรมใด ใครก่อ (จง)รอรับผล.....................................เวทมนต์ ฉลจิต คิดไขว่หา

(ขอ)ดลให้ ได้ดี มีลาภา...........................................รอดพ้น อุปัถวา อันตรายฯลฯ


    (ความ)อุตสาหะ (ความ)พยายามความสำเร็จ............คือเหตุ คิอผล (จง)ทนขวนขวาย

แม้คลาด พลาดหวัง อย่าซังตาย...............................สุดท้าย (จะ)ได้ดี (ด้วย)วิถีทาง(นี้)


    (ความ)มีสติ ปัญญา ย่อมมาสู่.....................................เมื่อนำ ความรู้ มุสรรค์สร้าง

คิดดี ทำดี มิปล่อยวาง..............................................เหินห่าง ทางเสื่อม(อบายมุข) เอือมระอา

 

    กระแส สังคม (มากมาย)ที่บ่มเพาะ..............................คราวเคราะห์ เบาะแส แลปัญหา

เมินหลัก ศีลธรรม์ (ทอด)ทิ้งจรรยา.............................มินำพา คติพจน์ กฎแห่งกรรม


    ผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี ตริตรองใฝ่.........................................อย่าให้ (ความ)งายงม รื่นรมย์ล้ำ

(คือ)พื้นฐาน การเข้าใจ ในหลักธรรม..........................น้อมนำ ชีวี สันติสุขเอยฯ


๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๖

วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2566

นักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐฐาสตร์ เรียกร้องยกเลิกแจกเงินดิจิทัล | เข้มข่า...

ถ้ารัฐบาลยังไม่เปลี่ยน ประเทศไทย ‘เจ๊ง’ แน่! | DEEP TAlk Special

ศก.ไทยกำลัง ‘ป่วยรุนแรง’ จากปัญหาเชิงโครงสร้างที่ฝังลึก! | DEEP Talk Spe...