ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

รัสเซียผนวก 4 แคว้นยูเครน ส่อบานปลายเป็นสงคราม | คนชนข่าว | 26 ก.ย. 65

มองโลกตามความเป็นจริง : กลอนคติสอนใจ






มองโลกตามความเป็นจริง : กลอนคติสอนใจ

    ขอบฝอย ลอยฟุ้ง คุ้งขจาย.................................เมฆหลาก มากหลาย ระบายฝน

อำพราง รังสี สุริยน.........................................(บรรยากาศ)เย็นชืด มืดมน อนธการ


    แม้ว่า พายุ ยังไม่เข้า(ไทย).................................(น้ำ)ท่วมแล้ว ท่วมเล่า ราวส่งสาร

ธรรมชาติ เมื่อโดน คนระราน............................ภยา มหาศาล สิพานมา

 

    ถึงครา หน้าแล้ง ก็แห้งน้ำ...................................ชอกช้ำ ชีพดำเนิน เกินอุตสาห์

ตรากตรำ กำเนิด เกิดชีวา................................เพื่อเผชิญ ชะตา ปัญหาตรม(ชีวิตมีปัญหามากมาย)


    (คนส่วนใหญ่มัก)คิดแค่ อยากอยู่ ดีกินดี...............ชีวี มีสุข สนุกสม

ดำเนิน ชีพตาม ความนิยม...............................(ที่)สังคม ยกย่อง ต้องการเป็น


    ผลลัพธ์ กลับ(คืน)มา (ใน)อนาคต........................ปัด(ทิ้งไป)หมด ไม่ยอม รับรู้เห็น(อ้างว่ามองแง่บวก)

แสวงหา (ความ)สุขสบาย อย่างใจเย็น..............(ใช้ทรัพยาการธรรมชาติ)ฟุ่มเฟือย กิน-เล่น เช่นเมามัว


    โลกนี้ ไม่มี วันเหมือนเก่า*...................................ถูกเรา ทำลาย ลาญไปทั่ว

โดยไม่ ระลึก(ถึง) ผลคืนตัว(เอง)......................ปัญหา น่ากลัว เร่งพัวพัน

 

    ไม่ต้อง รอ(หลัง)ตาย ตกนรก...............................(แค่)ฝนตก(ท่วม) (หรือ)ไม่ตก(แล้ง) ก็อกสั่น

ไม่ต้อง รอพระ ยายมยัน...................................(แค่)ธรรมชาติ (จะ)ลงทัณฑ์ ก็บรรลัย


    มองโลก ในแง่ ความเป็นจริง...............................คือสิ่ง ควรทำ สำคัญใคร่

ตกเป็น ขี้ปาก(บางคน) ก็ช่างประไร...................(หาว่า)"มองโลก แง่ร้าย"** ใช่หรือเธอ?ฯ


๒๖ กันยายน ๒๕๖๕


*climate change ชื่อก็บอกแล้วว่ามันเปลี่ยน มันไม่เหมือนเดิม...

**“หลักการง่ายๆ ของการบริหารความเสี่ยงคือ Worst-case scenario คิดในทางเลวร้ายที่สุดเข้าไว้”

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1514401/


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

๑๒. ทิฏฐิคตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๔๙] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ต่างก็ถูกทิฏฐิ ๒ อย่างครอบงำ คือ เทวดา และมนุษย์พวกหนึ่งยึดติดอยู่ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไป๒- ส่วนเทวดา และมนุษย์ผู้มีปัญญาจักษุ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งยึดติดอยู่ เป็นอย่างไร คือ เทวดาและมนุษย์พอใจ ยินดี เพลิดเพลินอยู่ในภพ เมื่อตถาคตแสดงธรรม เพื่อความดับแห่งภพ จิตของเทวดาและมนุษย์นั้นย่อมไม่ยอมรับ ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมใจเชื่อ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งยึดติดอยู่ เป็นอย่างนี้แล เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไป เป็นอย่างไร คือ เทวดาและมนุษย์อึดอัด ระอา รังเกียจ ไม่ยินดีภพนั่นแล จึงหลงเพลิดเพลิน ความขาดสูญโดยทำนองว่า ท่านทั้งหลาย ทราบว่า อัตตาของเรานี้ เมื่อตายไป ย่อมขาดสูญพินาศไป หลังจากตายแล้วจะไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ชื่อว่าเป็นธรรมชาติ สงบ ประณีต ถ่องแท้ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไป เป็นอย่างนี้แล
เทวดาและมนุษย์ผู้มีปัญญาจักษุย่อมเห็นตามความเป็นจริง เป็นอย่างไร
             คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ โดยสภาวะแท้จริง
ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้วก็ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับสิ่ง
ที่เป็นจริง โดยความเป็นจริงนั้น เทวดาและมนุษย์ผู้มีปัญญาจักษุย่อมเห็นตาม
ความเป็นจริง เป็นอย่างนี้แล”
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
                          อริยสาวกพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วตามความเป็นจริง
                          และธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
                          ย่อมน้อมจิตไปในนิพพานตามความเป็นจริง
                          เพราะความสิ้นไปแห่งภวตัณหา
                          ถ้าอริยสาวกผู้กำหนดรู้ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
                          ปราศจากตัณหาในภพน้อยและใหญ่ไซร้
                          ชื่อว่าภิกษุ ย่อมไม่กลับมาสู่ภพอีก
                          เพราะขันธ์ ๕ เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป
             แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565

ผู้นับถือพุทธศาสนาต้องเชื่ออะไร? : กลอนคติธรรม


ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก 
มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงในช่วงวันที่ 27-29 กันยายน 2565
(ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา"พายุ โนรู"ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 24 กันยายน 2565)

ผู้นับถือพุทธศาสนาต้องเชื่ออะไร? : กลอนคติธรรม

    ก่อนนับถือ พุทธศาสนา ต้องเชื่ออะไร?...............ต้องเชื่อใน กฎแห่งกรรม คือ(กฎ)ธรรมชาติ

ทรงพลัง เบ็ดเสร็จ อย่างเด็ดขาด......................ครอบงำทุก ชีวาตม์ มิคลาดไคล


    ต้องเชื่อว่า มีวัฏ (ฏะ)สงสาร...............................(มี)จิตวิญญาณ-ภพ-ชาติ ปราศสงสัย

มีชาติก่อน-ชาติหน้า ไม่ว่าใคร..........................ต่างเวียนว่าย ไม่สิ้นสุด ดุจวังวน(เป็นคติพื้นฐานที่มีก่อนศาสนาพุทธ)

 

    เชื่อพระพุทธ (ธะ)องค์ ทรง(บริ)สุทธิ์ใจ...............บัญญัติธรรม (มะ)วินัย ไม่ฉ้อฉล(หลอกลวง)

พุทธศาสนา หาสร้างไว้ ใช้หลอกคน.................ข้อฉงน(สงสัย) อาจค้นคว้า หาความจริง(ไม่ใช่หลับหูหลับตาหลงเชื่อตามโดยไม่ศึกษาให้เข้าใจก่อน)


    เมื่อนับถือ พระพุทธ (ธะ)ศาสนา.........................ต้องศรัทธา ปฏิบัติ(ตาม) ปราศเกรงกริ่ง

หลักมรรคผล นิพพาน (ให้ความ)สำคัญยิ่ง.........ยึด(เป็นหลัก)อ้างอิง สิ่งหมาย ไม่เปลี่ยนแปลง


    (ผู้)เชื่อหลักธรรม คำสอน ต้องอ่อนน้อม..............เต็มใจยอม ประพฤติตาม ธรรม(วินัย)แสวง

อย่าเพียงพลี ดีแต่พูด ดุจนักแสดง....................คอยเสแสร้ง แต่งเติม(บิดเบือน) เหิมเกริมไกร


    อยากรู้ใคร นับถือ พุทธศาสนา?.........................(แค่)ดูทะเบียน ราษฎร์มา หาควรไม่

ขนาดคน เคยบรรพชา ยังคาใจ.........................บ่เลื่อมใส คำสอน รอนสัมพันธ์

 

    ผู้นับถือ พระพุทธ (ธะ)ศาสนา............................บ่เชื่อว่า มีพระเจ้า เรา-โลกฯลฯสรรค์(สร้าง)

บ่เชื่อใน ไสยศาสตร์ สิ่งอัศจรรย์........................พิธีกรรม์ มารยา คาถาอาคมฯลฯ


    ความเชื่อที่ ถูกต้อง (ควร)สอดคล้องสัจ...............การปฏิบัติ ต้องชัดเจน เป็นคุณ(ประโยชน์)สม

อย่านับถือ ศรัทธา(อะไร) ตามค่านิยม.................ของสังคม (ที่)งมงาย (จะ)เสียหายเอยฯ


๒๕ กันยายน ๒๕๖๕

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2565

'ปูติน' ท่าจะแย่ กลับตัวก็ไม่ได้ จะรบต่อไปก็ไม่ชนะ | workpointTODAY

มีเกิดก็ต้องมีทุกข์ : กลอนคติเตือนใจ




มีเกิดก็ต้องมีทุกข์ : กลอนคติเตือนใจ

    บานชื่น ดื่นดอก ออกจะแปลก.........................ต้นแม่ แลแรก บานเย็นสี

เพาะเมล็ด เหตุไฉน กลายกลับมี.....................(ต้น)ลูกที่ ต่างแม่ แพร่เผ่าพันธุ์(สีขาวนวล)


    ดอกมะลิ มิวัฒนา ในหน้าฝน...........................เน่าคาต้น หม่นหมอง ต้องโศกศัลย์

ช่างเหมือน วิถี ของชีวัน.................................บ่อยครั้ง บางครัน ผันเปลี่ยนแปร

 

    สารพัน ปัญหา อาจปรากฏ..............................สุข-สลด หมด-เพิ่มได้ ไม่เที่ยงแท้

ปะเหมาะ เคราะห์กรรม ตามทันแล...................ได้แต่ ก้มหน้ารับ กับโชคชะตา


    สันโดษ=พอใจตาม มีตามได้..........................มิใช่ ไม่ขยัน หมั่นงานหา(ทำมาหากิน)

บ่แม้น เรื่องง่าย ใช้ชีวา...................................ไม่(มีใคร)รู้ วาสนา ต้อง(พยายาม)ฝ่าฟัน


    ยินดี(พอใจ) เท่าที่มี เท่าที่(หา)ได้...................เหนือกว่านี้ มิใคร่ มัวใฝ่ฝัน

ประสบสุข (หรือ)ทุกข์บ้าง ก็ช่างมัน..................(เป็นปกติ)วิถี ของชีวัน อันธรรมดา


    (เมื่อ)มีเกิด แต่ไม่มี ทุกข์(มี)ที่ไหน?.................(จง)ฉุกคิด ชีวิตใคร(ไม่ทุกข์?) ไม่ประสา

(ความ)เกิด-แก่-เจ็บ(ปวย)-ตาย (มิ)ใช่มายา.......แต่เป็น กติกา ชีวาการณ์(การณ์=เหตุ,เค้า,มูล)

 

    (ความ)พ้นทุกข์ ผูกพัน(กับ) การไม่เกิด.............สิ่งประเสริฐ (คือ)พ้นวัฏ (ฏะ)สงสาร(เวียนว่ายตายเกิด)

(เมื่อ)ไม่มี (การเกิด)ร่างกาย (จึงจะ)ไร้ทรมาน....(เมื่อ)ไม่มี (การเกิด)ชีวะพาน สันติมอง


    จะถึง ที่สุด แห่งทุกข์สม..................................จงระดม ฤทัย ให้สนอง(การไม่เกิด)

หยุด(การ)เกิด ไม่ได้ อย่าหมายปอง..................(ความ)สิ้นทุกข์ ทั้งผอง ตริตรองเทอญฯ


๒๒ กันยายน ๒๕๖๕


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

อนมตัคคสังยุตต์
ปฐมวรรคที่ ๑
๓. อัสสุสูตร
[๔๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้อง ต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำตาที่หลั่ง ไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอ ใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ย่อมทราบ ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกข้า- *พระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำใน มหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ [๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เรา แสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯ โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวก เธอได้ประสบมรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอ เหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่ง ที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละ มากกว่า ส่วนน้ำใน มหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา ... ของ พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ... ความเสื่อมแห่งญาติ ... ความเสื่อมแห่งโภคะ ... ได้ประสบความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน น้ำตา ที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบความเสื่อมเพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้ อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมาก กว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุ เพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2565

บรรพชาเพื่ออะไร? : กาพย์ยานี๑๑

                                 

บรรพชาเพื่ออะไร? : กาพย์ยานี๑๑

    บรรพชา เพื่ออะไร?........................................(เพื่อ)พ้น(ความ)ยากไร้ ไม่ขัดสน

(ก็จะ)เทศนา หาสวดมนต์.............................รับเงินคน (สะสม)ล้นร่ำรวย


    (บวช)เพื่อความ สุขสบาย................................คอยขวนขวาย ได้อยู่ด้วย

ของกิน ของใช้อวย......................................ทัดเทียมทวย คหบดี


    ลาภ-ยศ-สรรเสริญ-สุข(เป็นโลกธรรม)...............หมายปองขลุก ทุกวิถี

เยี่ยงอย่าง (ค่า)นิยมมี....................................ตามปกติ โลกิยธรรม

 

    (หาก)บวชเพื่อ โลกุตระ....................................(ย่อม)อุตสาหะ ประพฤติล้ำ

ลดละ โลกิยกรรม..........................................ปฏิบัติตาม ธรรมวินัย


    ศึกษา พระไตรปิฎก..........................................(ให้)คุ้นเคยอก(จิตใจ) ยกมาใช้(คล่อง)

ประเชิญ ปัญหาใด.........................................ไม่เอาอย่าง ทางโลกีย์(ทางโลก)


    พ้นโลก=โลกุตระ.............................................(ต้อง)พ้นโลกิย(ะ) ธรรมวิถี

พ้นกิเลส ตัณหาที่..........................................(เป็นคติของ)คนยินดี บริโภคกาม

 

    ตั้งใจ คลายกำหนัด..........................................สงสารวัฏ เพียรหัดข้าม

เว้นบาป กำราบทราม......................................กุศลงาม สำคัญกมล


    หากแม้น ไม่ศรัทธา..........................................บรรพชา เพื่อมรรคผล

(การ)บวชไซร์ (จะ)ทำให้ตน............................ตกนรก อเวจีฯ(เพราะเลี้ยงชีพด้วยการหลอกลวงคนอื่น)


๒ กันยายน ๒๕๖๕

พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๕. พรหมจริยสูตร
ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์

[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประพฤติพรหมจรรย์นี้มิใช่เพื่อจะลวงคน มิใช่เพื่อเกลี้ยกล่อมคน มิใช่เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและชื่อเสียง มิใช่เพื่อ อานิสงส์คือการอวดอ้างวาทะ มิใช่เพื่อให้คนรู้ว่า ‘คนจงรู้จักเราด้วยอาการอย่างนี้’ แท้จริง ตถาคตประพฤติพรหมจรรย์นี้เพื่อสำรวมระวัง เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับทุกข์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ได้ทรงแสดงพรหมจรรย์ ปราศจากความยึดมั่นถือมั่นแต่โบราณ ทำให้สัตว์ถึงพระนิพพานเพื่อสำรวมระวัง เพื่อละ หนทางนี้ท่านผู้ใหญ่ ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ดำเนินไปตามแล้ว อนึ่ง เหล่าชนผู้ปฏิบัติตามแนวทาง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้


โลกิยธรรม หมายถึง ว. เกี่ยวกับโลก ทางโลก ,ธรรมดาโลก ,ของโลก ตรงข้ามกับ โลกุตระ.

โลกุตระ (อ่านว่า โลกุดตะระ) แปลว่า พ้นโลก.