ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564

ใครล่วงรู้อนาคต? : กลอนคติชีวิต








ใครล่วงรู้อนาคต? : กลอนคติชีวิต


    ลูกแมวน้อย ที่น่ารัก...............................ยังมิพัก โยนผลักไส ถูกทิ้งวัด ชัฏพงไพร.............................ร้องอาลัย ในมารดา

    (รับเลี้ยง)จึงตั้งชื่อ ถือวิจิตร..................ว่า "ครรชิต"(ตัวผู้) "ปริศนา"(ตัวเมีย)

"สาวิตรี"(ตัวเมีย) (ฟังดู)ศรีโสภา..........เพราะศรัทธา ภาษาไทย


    ใครล่วงรู้ อนาคต?...............................ใครกำหนด ชะตา(ชีวิต)ได้?

พรุ่งนี้เป็น เช่นอย่างไร?........................หรือใกล้ๆ ใน(อีกไม่กี่)นาที?


    วันนี้(ชีวิต)ยัง อย่างพลั้งเผลอ................สัจจ์เสมอ(เหมือน) เจอภูตผี(หลอก)

ไปวัดสู่ อยู่ดีๆ......................................กลับมีภา ระผูกพัน(เก็บลูกแมวกลับมาเลี้ยง)

 

    ที่ทำบุญ หวังหนุนส่ง...........................อานิสงส์ ชีวาสันติ์

มีกิน-ใช้ ไม่ขาดครัน.............................เหนือกว่านั้น (ตายไปได้สู่)สวรรค์ปอง

 

    หากประสบ พบปัญหา..........................(ขอให้มี)สติปัญญา สมสนอง

คลาดแคล้วไคล ไม่ขัดข้อง....................อย่างถูกต้อง ครรลองธรรม

 

    มุ่งมั่นใจ ในสุจริต.................................(ขอผลบุญ)จงประสิทธิ์ ชีวิตค้ำ

อย่าระหก ตกระกำ.................................ทุกข์ครวญคร่ำ น้ำตากระเซ็น

 

    มิหวังได้ กำไรดอก...............................(เพียรสะสม)บุญพูนพอก (ขอให้)ออกจากเข็ญ

สงสารวัฏ ตัดขาดเว้น.............................นิพพานเช่น เป็นเป้าปลาย

 

๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564

ทำดีไม่ต้องคิดมาก : กลอนคติชีวิต


ทำดีไม่ต้องคิดมาก : กลอนคติชีวิต


   ไม่ต้องคิด อะไรมาก....................................ไม่ต้องอยาก(ตัณหา) (ไม่ต้อง)ฝากความหวัง

ไม่ต้องรัก ไม่ต้องชัง...............................ไม่ต้องฟัง(คำชม) ไม่ต้องคุย(โอ้อวด)

 

    การทำดี คือ(วิถี)ชีวิต....................................(ทำ)ให้วิจิตร อย่า(ทำ)ผิด-(ทำ)ชุ่ย(ๆ)

(ดี)ทุกกิจกรรม ประจำลุย.........................(ทำอย่าง)ฉลาด-ฉลุย มิหุยฮา(ทำเล่น)


    (ทำ)อย่างเข้าใจ ไม่ท้อแท้............................ทำดีแม้ แล(เห็น)ปัญหา

พบอุปสรรค หนักนานา............................ยังตั้งหน้า ตั้งใจทำ(ให้ดี)


    ถึงทำดี (แต่ยัง)ไม่ได้ดี.................................แม้ไม่มี ใครหนุนค้ำ(สนับสนุน)

ถ้าเชื่อใจ ในกฎ(แห่ง)กรรม......................ทุกเช้า-ค่ำ ทำดี(ต่อ)ไป

 

    ธรรมชาติ ฉกาจกิจ......................................ชะตาลิขิต (ทุก)ชีวิตไว้

อย่าขลาดเขลา เอาใจใส่.........................คือวิสัย สาธุชน*

 

    เปรียบเหมือนปลา มัจฉาหมู่..........................ชลธิศอยู่ สุขะล้น(ชลธิศ=ทะเล)

ครองชีวาตม์ วิลาส วน............................มิร้อนรน (ไม่รู้สึก)ทนทรมาน

 

    คนทำดี มีศีลสัตย์........................................ปฏิบัติ องอาจหาญ

เพลินทำบุญ สุนทรีย์ทาน........................เปรียบเช่นปราณ การหายใจ

 

    มิขัดเคือง เช่นเรื่องแปลก.............................มิยลแยก เยี่ยงนิสัย(ทำเป็นสันดานยิ่งดี)

ทำ(ดี)เป็นนิจ คิดมากใย..........................(เพราะ)ผลสุดท้าย ต้องได้ดี

 

๑๙ มกราคม ๒๕๖๔


*ชะตาลิขิต เป็นหน้าที่ของกฎแห่งกรรมตามธรรมชาติ

หน้าที่ของคนดี คือตั้งใจทำดี-ไม่ต้องห่วงพะวงถึงผลลัพธ์

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564

บุญผ่อนเบาบรรเทาทุกข์ : กลอนกำลังใจ


บุญผ่อนเบาบรรเทาทุกข์ : กลอนกำลังใจ


   (บน)ภูเขาหิน หากดินดี มีน้ำหลาก...........................ก็ไม่ยาก มากหมู่ไม้ เติบหลายล้น

ปกคลุมเป็น ป่าใหญ่ วิไลยล...............................สัตว์มากมาย ใช้ซ่อนตน ด้นชีวี

 

    เนินเขาดิน หินไร้ ไม่รักษา......................................ตัดต้นไม้ ทำลายป่า สัตว์ผละหนี

ขาดแหล่งซ่อน นอนค้าง ร้างคีรี..........................ดวงสูรย์ศรี สาดแสง แล้งกันดาร


    เปรียบปานคน จน-ทราม ชาติกำเนิด........................แม้นประเสริฐ เทิดทูน บุญประสาน

ศีลธรรม สัมมา สมาทาน....................................ย่อมบันดาล ปั้นแต่ง แปลงชีวิน*


    ให้มีงาน-สรรเสริญ-เงินทอง-สุข..............................ผ่อนเบาทุกข์ เทวษไซร้ ให้เสื่อมสิ้น

พบหนทาง สร้างทำมา สู้หากิน...........................มิจนจินต์ ดิ้นรน บนโลกา

 

    ต่างกับคน เกิดจรูญ ตระกูลเลิศ..............................แต่ละเมิด ศีลธรรม (ก่อ)กรรมหยาบช้า

ถึงพื้นฐาน ปัญญาดี มีวิชา..................................บาปหนักหนา พาตกต่ำ ระกำเป็น

 

    ประพฤติผิด กฎหมาย กรายเข้าคุก...........................เงินมากมาย กลับไร้สุข ทุกข์ยากเข็ญ

ครอบครัวแตก แยกลาญ หลงซ่านเซ็น.................ปราศร่มเย็น เป็นอยู่ เพียงผู้เดียว

 

    กุศลหนุน บุญประสาท วาสนา.................................บาปหยาบช้า ขจัดสุข จงฉุกเฉลียว

อย่าประมาท สัจจา ว่านิดเดียว.............................กฎแห่งกรรม ตามเกี่ยว เหนี่ยวนำชน

 

    ไม่ต้องน้อย ใจนึก จงศึกษา....................................กุศลกรรม สัมมา ศุภผล

แม้เกิดมา ตกระกำ ต้อยต่ำ(ยาก)จน......................ให้อดทน ทำดี มีศรัทธา

 

๑๘ มกราคม ๒๕๖๔


*กรรมใหม่ มิได้ไปลบล้างกรรมเก่า

แต่ชะตาชีวิตบนโลกนี้มีช่องว่างระหว่างกรรมเก่า ที่กรรมใหม่มีโอกาสให้ผล

เมื่อเป็นจังหวะชีวิตที่ต้องรับกรรมเก่า กรรมใหม่ก็ส่งผลอะไรไม่ได้

เมื่อจังหวะชีวิตว่างอยู่ กรรมใหม่ก็ให้ผลได้ทันที ไม่ต้องรอนาน

ขอให้สังเกตดูความเป็นจริง.

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564

ความสมหวังและความตั้งใจ : กลอนคติสอนใจ


ความสมหวังและความตั้งใจ : กลอนคติสอนใจ


    ก็เหมือน กับคน ยากไร้....................................ไม่มี ที่ดิน ถิ่นฐาน

ปลูกผัก ผลไม้ ไว้วันวาน(มาก่อน)..................หวังเสพ เก็บทาน แค่ฝันมี

 

    (ชาติก่อน)หากไม่ ได้สร้าง บุญกุศล..................หวังผล อะไร ในชาตินี้

คงได้ แค่ฝัน สัญญี......................................(ความ)สำเร็จ เผด็จศรี เกิดที่ใด?


    มิหนุน บุญ-ขาด วาสนา....................................แม้อุต สาหะ ขนาดไหน

ก็แสน ยากเย็น เข็ญฤทัย..............................ระเหี่ย เสียใจ อาลัยมี(กับสิ่งที่ไม่สมหวัง)


    ผู้ที่ มีบุญ วาสนา.............................................เพราะว่า สร้างไว้ พิไลศรี

สะสม วิกรมการ นานปี..................................ก่อนที่ สิภิรมย์ สมปอง(ไม่ใช่อยู่เฉยๆก็มีวาสนา)

 

    เสมือน ปลูกผัก ผลไม้.....................................อาศัย ทิพา-คืน(เวลา)สนอง(ทิพา=วัน)

สิรับ ทรัพย์สิน เงินทองฯลฯ...........................เผด็จ ผลผอง ต้องทำ(บุญ)มา

 

    แจกแจง แสดงตาม กรรมกฎ............................มิปด โป้สู่ มุสา

หรือหลอก ลวงหลง เข้าพงพา.......................ทำพิธี บ้าๆ อะไร(ให้มีโชค)

 

    (หาก)โหยหา อภิรมย์ สมประสงค์.....................ก็จง สร้างบุญ กุศลไว้

ด้วยความ ตั้งอก ตั้งใจ..................................มิใช่ (เอาแต่)ใฝ่ฝัน ทุกวันเฟ้น(เพ้อฝัน)

 

    ของฟรี มีที่ไหน ในโลก?.................................ผู้ที่ มีโชค โภคพูนเห็น

เพราะเขา เข้าใจ ในกฎเกณฑ์........................ศีลธรรม บำเพ็ญ (จึง)ร่มเย็นเอย

 

๑๗ มกราคม ๒๕๖๔

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564

ทอดผ้าป่า(พอเป็นพิธี)สามัคคี : กลอนคติเตือนใจ

 

ทอดผ้าป่า(พอเป็นพิธี)สามัคคี : กลอนคติเตือนใจ


    งานทอด ผ้าป่า (พอเป็นพิธี)สามัคคี.....................จัดให้ ได้มี แสงสีสรรค์

มหรสพ-(เลี้ยง)อาหาร-การพนันฯลฯ.................เป็นประเพ ณีอัน เนื่องนานนม

 

    อะไร เรียกว่า "ทอดผ้าป่า"*?.............................ช่างมัน(ไม่สนใจ) ฉันปรารถนา (แค่)หรรษาสม

กระแส โลกีย์ ค่านิยม......................................โลกย์คุ้น หนุนชม ภิรมย์มอง


    ตั้งใจ ใคร่หา เงินตราแหน...................................ตามแผน พัฒนา พูดผยอง(ขาดเงินงบฯ)

แต่เงิน ส่วนใหญ๋่ ละลายรอง-............................รับสนอง โลกีย์ มินำพา


    โรงเรียน โรงบาลฯลฯ แข่งขันวัด..........................ทอดผ้าป่า ขยันจัด ถนัดหา(เงิน)

ขอเงิน ของเหล่า ชาวประชา.............................เอามา ทำอะไร ใช้จ่ายจริง?(มหรสพ-เลี้ยงโต๊ะจีนฯลฯ)

 

    ความคด ของคน มานฉลฉ้อ.................................(สาเหตุ)เกิดก่อ อกุศล บนโลกยิ่ง

กิเลส ตัณหา ทำละทิ้ง......................................ความกริ่ง เกรงกลัว ผลชั่ว(สนอง)คืน

 

    ทั้งพระ ฆราวาส อ้าง(พุทธ)ศาสนา........................แสวงหา เงินง่าย หทัยรื่น

โลกธรรม นำหน้า มารยายืน...............................สร้าง(พิธี)ผสม กลมกลืน ธรรมวินัย

 

    แต่ท้ายสุด สุดท้าย ใช้แค่ชื่อ................................ทอด"ผ้าป่า" หาได้คือ พุทธสมัย

เพื่อเงิน-กาม(คุณ) สำมะหา ทอดอะไร?...............ทอดอาลัย ให้จิต ทุจริตจอง

 

    ทอดผ้าป่า สามัคคี ที่ปรากฎ.................................ชวนสลด (ความ)คดใคร่ ไม่ถูกต้อง

ตามกระแส สังคม มุ่งสมปอง...............................กิเลสโปรด จดจ้อง (จิต)เศร้าหมองเอย

 

๑๖ มกราคม ๒๕๖๔


*สมัยพุทธกาลไม่มีพิธีการ"ทอดผ้าป่า"

โดยเฉพาะ ทอดผ้าป่าเพื่อหาเงิน ผิดธรรมวินัย-พระทำไม่ได้

มีคำว่า"ผ้าป่า"ในพระไตรปิฏก ก็หมายถึง"ผ้าบังสุกุล" แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น(ผู้เขียน)


**ในสมัยพุทธกาล เริ่มแรกพระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้พระภิกษุรับผ้านุ่งห่มจากฆราวาส แต่ให้พระภิกษุเก็บผ้าบังสุกุลหรือผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามร้านตลาดหรือผ้าห่อศพที่ไม่มีผู้ใดปรารถนาเพราะสกปรก มาซักล้างให้สะอาด แล้วเก็บไว้เพื่อนำมาตัดเย็บเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งที่ชำรุดเช่น ผ้านุ่งหรืออันตรวาสกหรือผ้าสบง ผ้าห่มหรือผ้าจีวรหรือผ้าอุตตราสงค์ หรือผ้าห่มซ้อนหรือสังฆาฎิ ในเวลาที่เหมาะสมต่อไป

ต่อมา จึงมีพระบรมพุทธานุญาตให้รับผ้าจากฆราวาสได้ เพื่อเจริญศรัทธาของอุบาสกอุบาสิกาผู้เลื่อมใส และบรรเทาความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในการแสวงหาผ้าอีกทางหนึ่งด้วย(https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5)

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564

ไม่ใช่เมืองพุทธ : กลอนคติเตือนใจ


ไม่ใช่เมืองพุทธ : กลอนคติเตือนใจ


    ทอด(กฐิน)ผ้าป่า สามัคคี ต้องมีแจก...........................ของขลัง ฝังแทรก (พุทธ)ศาสนา

ทำบุญ สุนทาน ต้องวันทนา.......................................(ให้พระ)สวดคาถา อาคม พรมน้ำมนต์

 

    เหล็ก-ผ้า-ศิลาฯลฯเพี๊ยน เปลี่ยนเป็นยันต์....................ยิง-ฟัน ไม่เข้า เมามัวผล

(วัตถุดิบ)ซื้อมา ไม่กี่บาท ประกาศ(โฆษณา)จน............หลอกคน ขายเป็นล้าน รวยทันที


    วัตถุ มงคล ล้นประเทศ..............................................พระเกจิ ผู้วิเศษ เหตุฉะนี้

เมืองไทย มิใช่พุทธ สุดมากมี.....................................ไสยศาสตร์ ทัศนีย์ ที่เป็นไทย


    ชักชวน ชนให้ ใคร่บริจาค..........................................ช่างยาก ลำบาก หรือ(แท้จริงเพราะ)อยากได้

หวังเงิน มากๆ หลากล้นไป.........................................จึงใช้ (พุทธ)ศาสนา เชิดหน้าบัง

 

    ชวนชน (โง่)งมงาย ให้บริจาค.....................................ง่ายมาก หากทำที มีความขลัง(ศักดิ์สิทธิ์)

(หลอกว่า)ผลตอบแทน แสนเท่า ล้านเท่าดัง.................วาดหวัง ฝังจริต คิดโลภมี

 

    สมควร แก่เพศ สมณะ?...............................................หลอกล่อ คนอุระ เหนียวตระหนี่

ด้วยการ ทุริต คิดวิธี....................................................บัดสี ไสยศาสตร์ อุบาทว์บัง

 

    (ความจริง)เมื่อได้ ให้ทาน มานสุจริต.............................โดยมิคิด เอากำไร หลายเท่าหวัง

ความพิสุทธิ์ จุดติด จิตประดัง........................................เปี่ยมพลัง เมตตา มหาคุณ

 

    จิตที่ฝึก ดีแล้ว ย่อมแกล้วกล้า......................................ทรงสติ ปัญญา สุทธาหนุน

เกิดกุศล ผลกรรม สัมมาบุญ..........................................จะหมกมุ่น มนตรา พระสวดใย(ไม่เกิดประโยขน์)


    มีวัด แต่ทำไม ไม่ฉลาด?.............................................เพราะขาด ศรัทธา(เชื่อ) ธรรมะไซร้

พระที่ มีทั่ว มืดมัวไทย..................................................(ส่วนใหญ่)เลื่อมใส ไสยศาสตร์ อย่างชัดเจน*ฯ

 

๑๕ มกราคม ๒๕๖๔


*พระส่วนใหญ่ไม่เลื่อมใสคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงไม่ศึกษาพระไตรปิฎก

ไม่แปลกที่พระพวกนี้จะไม่เข้าใจธรรมวินัย ชอบทำอะไรตามใจตัวเอง ตั้งกฎกติกาตามใจตัวเอง

จะเห็นได้จากที่พระแยกย้ายไปตั้งสำนักมากมาย มักมีกิจ-วัตรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แตกต่างจากสำนักอื่นๆ

คนไม่รู้-ไม่ศึกษาพระไตรปิฎก ก็หลงเข้าใจว่า พระเคร่ง

แต่ไม่คิดสงสัยว่า ถ้าเป็นศาสนาพุทธเหมือนกัน ทำไมมีกิจ-วัตรแตกต่างกัน?

แล้วกิจ-วัตร ที่ว่าเคร่ง ทำไปเพื่ออะไร? พระพุทธเจ้าสอนหรือเปล่า?

ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ได้สอน แล้วพระพวกนี้วิเศษมาจากไหน? จึงมาทำกิจ-วัตร ที่แปลกแตกต่างจากคำสอนของพระพุทธเจ้าฯลฯ

พระพวกนี้ยังเป็นพระในพุทธศาสนาอยู่หรือ? ในเมื่อสิ่งที่ทำไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติฯลฯ