ทอดผ้าป่า(พอเป็นพิธี)สามัคคี : กลอนคติเตือนใจ
๏ งานทอด ผ้าป่า (พอเป็นพิธี)สามัคคี.....................จัดให้ ได้มี แสงสีสรรค์
มหรสพ-(เลี้ยง)อาหาร-การพนันฯลฯ.................เป็นประเพ ณีอัน เนื่องนานนม
๏ อะไร เรียกว่า "ทอดผ้าป่า"*?.............................ช่างมัน(ไม่สนใจ) ฉันปรารถนา (แค่)หรรษาสม
กระแส โลกีย์ ค่านิยม......................................โลกย์คุ้น หนุนชม ภิรมย์มอง
๏ ตั้งใจ ใคร่หา เงินตราแหน...................................ตามแผน พัฒนา พูดผยอง(ขาดเงินงบฯ)
แต่เงิน ส่วนใหญ๋่ ละลายรอง-............................รับสนอง โลกีย์ มินำพา
๏ โรงเรียน โรงบาลฯลฯ แข่งขันวัด..........................ทอดผ้าป่า ขยันจัด ถนัดหา(เงิน)
ขอเงิน ของเหล่า ชาวประชา.............................เอามา ทำอะไร ใช้จ่ายจริง?(มหรสพ-เลี้ยงโต๊ะจีนฯลฯ)
๏ ความคด ของคน มานฉลฉ้อ.................................(สาเหตุ)เกิดก่อ อกุศล บนโลกยิ่ง
กิเลส ตัณหา ทำละทิ้ง......................................ความกริ่ง เกรงกลัว ผลชั่ว(สนอง)คืน
๏ ทั้งพระ ฆราวาส อ้าง(พุทธ)ศาสนา........................แสวงหา เงินง่าย หทัยรื่น
โลกธรรม นำหน้า มารยายืน...............................สร้าง(พิธี)ผสม กลมกลืน ธรรมวินัย
๏ แต่ท้ายสุด สุดท้าย ใช้แค่ชื่อ................................ทอด"ผ้าป่า" หาได้คือ พุทธสมัย
เพื่อเงิน-กาม(คุณ) สำมะหา ทอดอะไร?...............ทอดอาลัย ให้จิต ทุจริตจอง
๏ ทอดผ้าป่า สามัคคี ที่ปรากฎ.................................ชวนสลด (ความ)คดใคร่ ไม่ถูกต้อง
ตามกระแส สังคม มุ่งสมปอง...............................กิเลสโปรด จดจ้อง (จิต)เศร้าหมองเอยฯ
๑๖ มกราคม ๒๕๖๔
*สมัยพุทธกาลไม่มีพิธีการ"ทอดผ้าป่า"
โดยเฉพาะ ทอดผ้าป่าเพื่อหาเงิน ผิดธรรมวินัย-พระทำไม่ได้
มีคำว่า"ผ้าป่า"ในพระไตรปิฏก ก็หมายถึง"ผ้าบังสุกุล" แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น(ผู้เขียน)
**ในสมัยพุทธกาล เริ่มแรกพระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้พระภิกษุรับผ้านุ่งห่มจากฆราวาส แต่ให้พระภิกษุเก็บผ้าบังสุกุลหรือผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามร้านตลาดหรือผ้าห่อศพที่ไม่มีผู้ใดปรารถนาเพราะสกปรก มาซักล้างให้สะอาด แล้วเก็บไว้เพื่อนำมาตัดเย็บเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งที่ชำรุดเช่น ผ้านุ่งหรืออันตรวาสกหรือผ้าสบง ผ้าห่มหรือผ้าจีวรหรือผ้าอุตตราสงค์ หรือผ้าห่มซ้อนหรือสังฆาฎิ ในเวลาที่เหมาะสมต่อไป
ต่อมา จึงมีพระบรมพุทธานุญาตให้รับผ้าจากฆราวาสได้ เพื่อเจริญศรัทธาของอุบาสกอุบาสิกาผู้เลื่อมใส และบรรเทาความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในการแสวงหาผ้าอีกทางหนึ่งด้วย(https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น