ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566

คนไทยวัยเกษียณมีเงินเก็บต่ำกว่า 5 หมื่นบาท | BUSINESS WATCH | 01-05-66

ทำไมเจ้าชายสิทธัตถะ เกิดแล้วเดินได้ 7 ก้าว? คำตอบแบบวิทยาศาสตร์

                                                

อุกอาจ! 2 คนร้ายดักจี้ชิงทรัพย์ชาวบ้านกลางวันแสกๆ I ข่าวเย็นช่องวัน | สำ...

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566

"งีบหลับสั้นๆ" เคล็ดลับป้องกันสมองหดตัว | TNN HEALTH

เตรียมรับลมหนาวยาวถึงปีใหม่ ลุ้นกทม.18 องศาฯ-เอลนีโญจ่อจบเร็ว | TNN ข่าว...

เตือนกลุ่มเสี่ยงเปิดผับตี 4 เศรษฐกิจที่แลกด้วยความสูญเสีย Ep.302

วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ฝุ่น PM2.5 ภัยเงียบ คร่าชีวิตทั่วโลก 4 ล้านราย l TNN ข่าวเช้า l 06-12-2023

ช่างรีวิว | EP159.ที่จอดรถอัตโนมัติ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร

โลกเดือด สัตว์โลกอ่วม นับถอยหลังสู่การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 | KEY MESSAGES...

วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2566

วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ควบรวมแผลงฤทธิ์ TRUE-DTAC เน็ตช้าลง ค่าบริการแพงขึ้น? | KEY MESSAGES #109

เปิดโปง ขบวนการโควิด 19 กับไวรัสตัดต่อพันธุกรรม | ปากซอย105

เหนื่อยต่อ! ปีหน้า จีนไม่ฟื้น-ไทยซบเซา ตลาดเจอกับดัก Valuation - Money C...

มหกรรมเบี้ยวหนี้ รถรอยึด 200,000 คัน บ้านจ่อไหล NPL พุ่ง 37% - Money Cha...

วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566

“พีระพันธ์”จ่อชง ครม.ตรึ่งค่าไฟ 3.99 บ.เฉพาะกลุ่มเปราะบาง | เที่ยงทันข่า...

เสรีภาพไม่มีอยู่จริง : กาพย์ยานี๑๑



รอยกัด+รอยเล็บจิก มีอีก ๔ แผลอยู่ที่หลังมือหลังแขน

เสรีภาพไม่มีอยู่จริง : กาพย์ยานี๑๑


    แมว(จร)ป่วย รับช่วยเหลือ...............................หวังว่าเมื่อ โรคขาดหาย

ปลอดทุกข์ สุขสบาย....................................จะปล่อยใช้ ชีพเสรี(ตอนนี้ต้องขังไว้ก่อน)


    ความมี เสรีภาพ(ทำตามใจชอบ).......................(ทุกคน)ต้องการตราบ จากโลกลี้

โดยไม่ ใคร่ครวญดี(ๆ)..................................(ไม่รู้)ว่ายังมี "ชะตากรรม"

 

    (ที่)ติดตาม คอยกำหนด...................................ชีวิตจรด บทบาทจ้ำ(จ้ำ=อาการที่ทำเร็วๆ ถี่ๆ)

ชดเชย (อดีตกรรม)ที่เคยทำ.........................."กฎแห่งกรรม" ดำรงเกณฑ์


    เสรี(ภาพที่แท้จริง) ไม่มีหรอก...........................อยากจะบอก ตามที่เห็น

สงสาร วัฏฏะเป็น..........................................เช่นกรงขัง แสนยั่งยืน


    เคยทำ กรรมใดไว้...........................................ต้องชดใช้ ไม่อาจฝืน

ชั่ว-ดี มิเป็นอื่น.............................................(คือ)กฎพื้นฐาน(ของ) สงสารวัฏ


    ผู้ใด อยากได้ดี...............................................จงทำดี ราคีขจัด

คุ้มครอง ป้องมนัส........................................ยิ่งยงหยัด อย่างทัศไนย

 

    อย่าทำ ทุกความชั่ว.........................................จงเกรงกลัว การ(ต้อง)ชดใช้(กรรม)

(เพราะเป็น)สิ่งที่ ไม่มีใคร..............................ว่างเว้นได้ ในโลกา


    (ทำแผลให้)แต่กลับ ถูกแมวกัด.........................(จึง)ตัดสินใจ ไคลปัญหา

ปล่อยแมว ผู้แกล้วกล้า..................................เผชิญชะตา ชีวิตตน(เป็นอิสระ)

 

    ทำดี(กับใครแล้ว) กลับได้ชั่ว.............................จงอย่ากลัว (การ)มีเหตุผล

ปล่อย(เขา)ให้ ไปประจญ...............................อกุศล หนทางกรรมฯ*


๘ ธันวาคม ๒๕๖๖


*แม้จะมีความเมตตาอยากช่วยเหลือ แต่เราก็ไม่มีเสรีภาพที่จะฝืนกฎแห่งกรรมได้

ต้องปล่อยแมวให้เป็นไปตามชะตากรรมของตัวเอง

ตอนช่วยครั้งแรกยังโดนไป ๘ แผล ขืนช่วยต่อไปคงนับแผลไม่ไหว

ยิ่งถ้าโดนกัดเข้าที่เส้นเลือดจะเป็นเรื่องใหญ่โต

สัปดาห์หน้าครบกำหนดบริจาคเลือดด้วย พอแค่นี้ดีกว่า.

วันพุธที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ไทยอันดับ 6 ของโลก ถูกหลอกโอนเงิน

"จงอยู่กับปัจจุบัน"อย่างไร? : กลอนคติธรรม













"จงอยู่กับปัจจุบัน" อย่างไร? : กลอนคติธรรม


    จงอย่า "อยู่ กับปัจจุบัน"..........................อย่างไม่ ใฝ่ฝัน(คิดถึง) อนาคต

(หาก)อายุขัย ยังไม่หมด(ใกล้ตาย).............อย่าจด จ้องอยู่ แค่ปัจจุบัน

(เอาอดีตเป็นครู เตรียมพร้อมมุ่งสู่อนาคต)


    ไม่เฉพาะ(ผู้)ทำ ธุรกิจ..............................(ที่)ต้องคิด พิจารณา (สถานการณ์)ภายหน้ามั่น

(แต่)ทุกคนที่ (ยัง)มีชีวัน............................ต้อง(เตรียม)พร้อม ประจัญ ภยันตราย(วิกฤตการณ์)

 

    เช่นสัจจริง อย่านิ่งนอน............................สภาวะ โลกร้อน ก่อนจะสาย(เกินแก้)

กิจกรรมเมา เก่ามากมาย...........................ต้องกลาย เปลี่ยนแปลง แข่งเวลา


    (หาก)มัวแต่อยู่ กับปัจจุบัน........................มิเข้มงวด กวดขัน วันข้างหน้า(ช่างมัน)

มุ่งทำลาย(สิ่งแวดล้อม) ไม่ครณา...............เท่า(กับ)เปลี่ยน โลกา เป็นขุมนรก


    เด็ก(ต้อง)พากเพียร เรียนหนังสือ...............อย่า(มัว)ถือ แต่เล่น เฟ้นตลก(สนุกสนานเฮฮา)

แสวงหา สิ่งลามก.....................................(ชีวิต)จะตก ต่ำตม จม อบาย

(อบาย=ที่ที่ปราศจากความเจริญ,ความฉิบหาย)


    พุทธองค์ ทรงสอนพระ(สงฆ์)....................เพื่อละ อัตตา (กำจัด)ตัณหาหาย

ขันธ์ ๕ จ้อง มองใจกาย.............................ปิดกั้น มิมั่นหมาย เป็นตัวตน

 

    (ขันธ์ ๕)ทั้งอดีต อนาคต...........................เปลื้องปลด หมดไป ให้ได้ผล

ปัจจุบัน ขันธ์(๕)คือคน...............................เวียนวน ไตรลักษณ์ จงปักใจ

(ไตรลักษณ์=ไม่เที่ยง-เป็นทุกข์-ไม่ใช่ตัวตน)


    (ยาม)จิตฟุ้งซ่าน พล่านกังวล*....................หาหน ทางสยบ สบผลใส

(ต้อง)เลิกคิดผุด หยุดฝันใฝ่........................ตั้งใจ "จงอยู่ กับปัจจุบัน"


๖ ธันวาคม ๒๕๖๖


*ปัญหาชีวิตมีหลากหลาย

หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็มีมากมาย ต้องเลือกใช้ให้ถูกเรื่อง ตรงปัญหา จึงจะแก้ไขได้

การใช้ธรรมะอย่างไม่ถูกหลัก ไม่ถูกเรื่อง ใช้ผิดๆ จะทำให้ชีวิตตกต่ำ เป็นทุกข์มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

เปรียบเสมือนคนป่วย การใช้ยารักษาโรคก็ต้องเลือกยาให้ถูกโรค ใช้ถูกวิธี อย่ารับยาเกินขนาด

ยาใช้ภายนอก อย่าเอามากิน เป็นต้น

ถ้าใช้ยาผิด นอกจากโรคจะไม่หาย ยังอาจจะป่วยหนักกว่าเดิมเพราะพิษของยา

"จงอยู่กับปัจจุบัน" เป็นหลักธรรมที่ช่วยระงับความคิดฟุ้งซ่าน ความวิตกกังวล ได้ดี

เหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วอย่าเอามาคิด สถานการณ์ในอนาคตก็หยุดคิดไว้ก่อน เพื่อให้จิตใจสงบ

เมื่อจิตใจสงบแล้ว ก็ต้องเลิกคิดว่า"จงอยู่กับปัจจุบัน"

ค่อยๆเอาเหตุการณ์ในอดีตมาพิจารณา เพื่อแก้ปัญหาปัจจุบัน และวางแผนอนาคต

ไม่ใช่ว่า ไม่เรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ในอดีต ไม่วางแผนเพื่อรับมือกับอนาคต

เช่น การมีคู่ครองก็เพื่อแต่งงานกัน แต่งงานก็เพื่อสร้างครอบครัว การมีครอบครัวคือการสร้างอนาคต จึงต้องเลือกคนที่ทำให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย

คนรวยควรคิดว่า ถ้าวันข้างหน้าเรายากจน เธอจะยังรักเราไหม? คนสวยควรคิดว่า ถ้าวันหน้าเราหมดสวย เขาจะทิ้งเราไหม? ฯลฯ

ถ้าคิดแค่อยู่กับปัจจุบัน ก็คือคิดแค่คบกันเพื่อความสุขเฉพาะหน้า อนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไรไม่สน คงคบกันได้ไม่นาน ชีวิตจะมีปัญหาตามมาอย่างแน่นอน

แก่ตัวไปจะดำรงชีวิตอย่างไร คนไม่เตรียมพร้อมย่อมจะลำบาก ยากจนตอนแก่จะลำบากมากกว่าวัยหนุ่มสาว

แม้แต่คนรวยที่กำลังใกล้จะตาย ยังต้องจัดการแบ่งมรดกให้เรียบร้อย ไม่ให้ลูกหลานมาแย่งกัน-ฆ่ากัน.


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์แสดงเรื่องผู้มีราตรีเดียวเจริญ
[๒๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ชี้แจงให้ภิกษุ ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และกล่าวอุทเทสและวิภังค์แห่งบุคคล ผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑- เข้าไปยังหอฉัน แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย ใครหนอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และ กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอานนท์ชี้แจงให้ ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของ บุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้ อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทส และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญไว้อย่างไร” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชี้แจงให้ ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาอย่างนี้ และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
                          ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
                          สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
                          และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
                                       ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
                          ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ
                          บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
                                       บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
                          ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
                          เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
                          ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
                                       พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
                          ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
                          ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
             [๒๗๗] บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
             คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้
มีรูปอย่างนี้”
             ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
             ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
             ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
             ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีวิญญาณ
อย่างนี้”
             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
             คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เรา
ได้มีรูปอย่างนี้”
             ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
             ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
             ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
             ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มี
วิญญาณอย่างนี้”
             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
             บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
             คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เรา
พึงมีรูปอย่างนี้”
             ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
             ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
             ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
             ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
             บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
             คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต
เราพึงมีรูปอย่างนี้”
             ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
             ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
             ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
             บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
             คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
             พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
             พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
             พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
             พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ
บ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
             บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
             คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา
บ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
             ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
             ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
             ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามี
วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง
             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
                                       บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
                          ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
                          สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
                          และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
                                       ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
                          ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ
                          บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
                                       บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
                          ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
                          เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
                          ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
                                       พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
                          ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
                          ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาอย่างนี้ และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
             [๒๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ เธอชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ......ฯลฯ

วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566

"หมูเถื่อน" สะเทือนความมั่นคงทางอาหาร ? | ห้องข่าวไทยพีบีเอส NEWSROOM | ...

ประเมินผลงาน 81 วัน "รัฐบาลเศรษฐา" | คุยให้คิด

จับขบวนการหลอกส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง – ขโมยข้อมูลส่วนบุคคล | สถานีร้องเ...

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

วัด...ไม่ใช่พุทธศาสนา : กลอนคติเตือนใจ


พระ-วัด ยังเป็นหนี้
(ในภาพ พื้นห้องปูพรมราคาแพง ดูแลรักษายาก ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย)
แสดงว่าไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า


วัดแบบนี้ไม่ใช่วัดพุทธศาสนา

วัด...ไม่ใช่พุทธศาสนา : กลอนคติเตือนใจ


    (ยุค)ก่อนที่ พุทธองค์ จะทรงผนวช.......................(ก็มี)นักบวช หัวโล้น ห่มเหลือง

แพร่หลาย ก่ายกอง นองเนือง............................แต่เรื่อง ธรรมวินัย มิใกล้เคียง(ของพุทธศาสนา)


    (ยุคนี้)ทำวัตร สวดมนต์ เช้าเย็น*...........................ดังเด่น เพราะใช้ (เครื่อง)ขยายเสียง

แต่พระ ส่วนใหญ่ ใส่ใจเพียง..............................หา(เงิน)เลี้ยง ชีวิต (ยึด)ติดโลกธรรม(เป็นอยู่เหมือนชาวบ้าน)

 

    พัฒนา สารพัด สิ่งวัตถุ(กุฏิเ,สนาสนะฯลฯ)..............ใฝ่ฝัน บรรลุ อุดมล้ำ

(ความ)อยู่ดี กินดี ชีวีร่ำ-.....................................รวยพร่ำ ทำเพื่อ เอื้ออัตตา(ตัวเอง)


    เงินทอง ของใช้ฯลฯ (ที่คน)ถวายวัด.......................สารพัด (เขาคิดว่า)บำรุง ศาสนา(พุทธ)

จัดทอด กฐิน กองผ้าป่าฯลฯ...............................(ด้วย)ศรัทธา หาบุญ หนุนชีวี


    บุญที่ นิยม ชนชมชื่น............................................(คือร่ำ)รวยรื่น หฤทัย ใคร่วิถี

ประสงค์ ประดัง อยากมั่งมี...................................ลาภยศ สรรเสริญพี สุขสบาย


    โดยมิ คำนึง ซึ้งความสัจ(ความจริง)........................ว่าวัด ดาษกระแส แพร่หลากหลาย(ดาษ=ว.มากมาย)

เยินยอ (ความงาม)สิ่งก่อสร้าง อย่างมากมาย........กลับกลาย(เปลี่ยน) คำสอน ของ(พุทธ)ศาสดา

 

    เป็นแค่ โมฆะ พระบุรุษ..........................................ประดุจ ศัตรู (พุทธ)ศาสนา

สอน(คน)ให้ หลงผิด (ยึด)ติดบูชา.......................แสวงหา มายา สิ่งสัปดน


    ทอดทิ้ง หลักธรรม (มะ)วินัย....................................(ย่อม)ห่างไกล ไร้ภัค ล่วงมรรคผล(ภัค=โชคดี, ความเจริญ)

มิใช่ (พุทธ)บริษัท ปฏิบัติตน...............................แค่คน บวชพระ เพื่อหากินฯ


๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖


*-การทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็นที่ทำกันทั่วไปทุกวันนี้ ไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้า

บทสวดทำวัตรแต่งขึ้นในยุคหลังๆ วัดไทยเริ่มทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็นตามแบบอย่างของพระศรีลังกา ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔

-บทสวดมนต์มากมายก็ไม่ใช่ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่พระยุคหลังแต่งขึ้นเอง เช่นคาถาชินบัญชร

หลายวัดสวดมนต์ปนร้องเพลงด้วย บันเทิงกันทุกวัน

-การตีระฆังทำวัตร,ตีกลองเพลฯลฯให้เสียงดังไปไกลๆ เป็นประเพณีไทย

ไม่ต้องพูดถึงการทำวัตรสวดมนต์ดังๆผ่านเครื่องขยายเสียงที่เพิ่งมีกี่สิบปีมานี้ วัดไทยเลียนแบบมาจากมัสยิดของอิสลาม อิสลามสวดตอนตี ๕ พระสวดตอนตี ๔ ชาวบ้านไม่ต้องหลับต้องนอน

พระพุทธเจ้าสอนให้พระรักษาความสงบ ชื่นชมความเงียบ

-ศาสนพิธี ที่ทำกันแพร่หลายในสังคมไทยยุคปัจจุบัน มุ่งเน้นความศักดิสิทธิ์ ก็ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก เป็นวัฒนธรรมไทยที่ผสมผสานไสยศาสตร์

-วัดแบบกฎหมายไทย ก็ไม่ใช่วัดแบบพุทธกาล ที่อยู่ของพระสงฆ์สมัยพุทธกาลคือการอาศัยในป่า และที่ดินของคนอื่น ไม่มีกรรมสิทธิ์ของตัวเอง

วัดไทยเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสสร้างหนี้สินในนามของวัดได้ หาเงินจากการให้เช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของวัดได้.


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร
ว่าด้วยสัทธรรมปฏิรูป
[๑๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ เมื่อก่อนสิกขาบท มีน้อย ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีมาก และอะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ บัดนี้ สิกขาบทมีมาก แต่ภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีน้อย” “กัสสปะ ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ คือ เมื่อหมู่สัตว์เสื่อมลง สัทธรรมก็เสื่อมสูญไป สิกขาบทจึงมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลจึงมีน้อย สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้น ในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใดสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น ในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป ทองคำปลอมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำแท้ก็ยังไม่หายไป และเมื่อใดทองคำปลอมเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นทองคำแท้จึงหายไปฉันใด สัทธรรม- ปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใด สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป ฉันนั้นเหมือนกัน ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ(ธาตุลม) ก็ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ ต่างหากเกิดขึ้นมา ย่อมทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญไป เปรียบเหมือนเรือจะอับปางก็เพราะ ต้นหนเท่านั้น สัทธรรมย่อมไม่เสื่อมสูญไป ด้วยประการฉะนี้”
สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญ
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป แห่งสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรม ๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในสิกขา ๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในสมาธิ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป แห่งสัทธรรม
สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมตั้งมั่น
กัสสปะ เหตุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม เหตุ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระธรรม
๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในสิกขา ๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในสมาธิ เหตุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม.

10 สายการบินจีน ยกเลิกเที่ยวบินมาไทย ธ.ค.-ม.ค.หายไปกว่า 39%

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

รับมือวิกฤติประชากรลด! คนไทยอาจเหลือ 33 ล้านคน ภายใน 60 ปีข้างหน้า | กรุ...

วิกฤตญี่ปุ่น ประเทศจมกองหนี้ เศรษฐกิจป่วย คนแก่เต็มประเทศ

กรมอุตุฯ เตรียมประกาศเข้าฤดูหนาววันนี้ | วันใหม่ ไทยพีบีเอส | 14 พ.ย. 66

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ปรัชญาของนักสู้ : กลอนคติชีวิต


ปรัชญาของนักสู้ : กลอนคติชีวิต


    การมี ชีวิต(บนโลก)คู่-........................เคียงการ ต่อสู้ และดิ้นรน

(เป็น)สัจจา ของสากล........................ชีวา ผจญ ทุกคนเสมอ(กัน)

ปัญหา และอุปสรรค...........................จะหนัก จะเบา เรา(ล้วน)ต้องเจอ

จิตใจ(มั่นคง) อย่าไปเก้อ....................ชะเง้อ ชะแง้ แล(หา)ปราศไร้(ปัญหาอุปสรรค)

 

    ตั้งสติ และปัญญา..............................ตรองตรึก ศึกษา หาความรู้

ปรัชญา ของนักสู้...............................คืออย่า เป็นผู้ ยอมแพ้ภัย(ที่กรายกล้ำ)

หัน(หน้า)สู้ สรรพปัญหา......................อุปสรรค จะหนักหนา ขนาดไหน

(ล้วน)มิยาก เย็นเกินใจ........................(ของ)ผู้กล้า แกร่งไกร ใฝ่เผชิญ


    เหนื่อยนัก ก็พักหน่อย.........................แรง(ฟื้น)คืน แล้วค่อย ประจัญบาน

(ปัญหาอุปสรรค)เก่าไป ใหม่พบพาน.....ตราบนาน เท่านาน ต้องหาญเหิน

อย่า(ยึด)ติด (ว่า)ต้องมีชัย....................ทุกๆ ครั้งไป ใจเล่อเลิน

(การ)พบกับ ความ(พ่ายแพ้)ยับเยิน.......ไม่เกิน ปกติ วิถีชน

 

    ผู้ที่ มิประมาท....................................(คือผู้มี)หัวใจ นักปราชญ์ อัชฌาสัย

แม้พบ ประสบภัย................................(ก็)จะไม่ ใจขลาด (ความ)คิด(อ่าน)ขัดสน

หาทาง สะสาง(ปัญหา)-สู้(อุปสรรค)......สมดั่ง เป็นผู้ สรุมน(สุร-=กล้าหาญ,เข้มแข็ง)

(ชีวิต)เป็นสุข สิ้นทุกข์ทน....................อยู่บน โลกา ตลอดกาลฯ


๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

๗. ปฐมอัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาท สูตรที่ ๑
[๑๒๘] ....
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในภายหน้าไว้ได้ คือ ความไม่ประมาท รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่
สัญจรไปบนแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมลงในรอย
เท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า รอยเท้าช้างเป็นเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่
ฉันใด มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในภายหน้า คือ ความไม่ประมาท ก็ฉันนั้น”
             พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
                          บุคคลเมื่อปรารถนาอายุ ความไม่มีโรค
                          วรรณะ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง
                          และความยินดีอย่างโอฬารต่อๆ ไป
                          พึงทำความไม่ประมาท
                          บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
                          ความไม่ประมาทในการทำบุญ
                          บัณฑิตผู้ไม่ประมาทย่อมบรรลุประโยชน์ทั้งสอง
                          ธีรชนท่านเรียกว่า บัณฑิต
                          เพราะยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ
                          ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า.

วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

กกพ.แจงค่าไฟ ม.ค.-เม.ย. 67 จ่อพุ่ง เฉียด 6 บาท/หน่วย

คนแก่ล้น เด็กไทยไร้คุณภาพ โจทย์ใหญ่ไทยไปต่อไม่ไหวถ้าไม่เริ่มเปลี่ยน

                              

คนแก่ล้น เด็กไทยไร้คุณภาพ โจทย์ใหญ่ไทยไปต่อไม่ไหวถ้าไม่เริ่มเปลี่ยน


    ไตรมาสที่ผ่านมา (ไตรมาส 2/2566) “จีดีพี” ประเทศขยายตัวเพียง 1.8% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่า จะเติบโตเฉลี่ย 3% อีกทั้งยังชะลอตัวลงหากเทียบเคียงกับไตรมาสแรกเป็นสัญญาณว่า เศรษฐกิจไทยอ่อนกำลังลงโดยเป็นผลพวงจากเครื่องยนต์หลักอย่าง “การส่งออก” ที่ชะลอตัวต่อเนื่องมาร่วม 10 เดือนแล้ว แม้ภาคบริการเริ่มกลับมาคึกคัก การบริโภคภายในประเทศฟื้นตัวดีแต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอที่จะติดสปีดประเทศได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าประเทศไทยติดกับดักสำคัญคือ “คุณภาพประชากร” ทั้งการเดินหน้าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หนุ่มสาววัยทำงานลดลง รวมถึงเด็กๆ เยาวชนในวัยเรียนก็ขาดพร่องเรื่องคุณภาพการศึกษาต่อเนื่องมาร่วม 20 ปี ทั้งหมดนี้คือตัวแปรสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยติดหล่มจนยากจะหลุดพ้นในเร็ววันได้

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กางโจทย์ประเทศไทยที่เป็นตัวฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถเติบโตได้เต็มศักยภาพ 4 ส่วนด้วยกัน ประการแรก คือ "จำนวนประชากรที่ลดลง" ดร.ศุภวุฒิ ให้ความเห็นว่า อีก 20 ปีข้างหน้าประชากรวัยทำงานจะหายไปราว 7 ล้านคน

โดยขณะนี้ไทยเริ่มมีนโยบายนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อมาอุดรอยรั่วดังกล่าวแล้ว ปัญหาที่ตามมาหากประชากรลดน้อยลงเรื่อยๆ จะทำให้เกิด “โดมิโน่เอฟเฟ็กต์” ไปยังภาคธุรกิจอื่นๆ อาทิ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ความต้องการปัจจัยเหล่านี้จะลดน้อยลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด คือประเทศจีนที่มีโครงสร้างประชากรใกล้เคียงกับไทย อัตราการเกิดต่ำ และกำลังเคลื่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ประการที่สอง คือ "จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น" ปัจจุบันไทยมีผู้สูงอายุ 12 ล้านคน มีตัวเลขประมาณการว่า อนาคตจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน ทำให้ภาครัฐต้องใช้งบประมาณไปกับการดูแลสวัสดิการผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ 

ประการที่สาม คือ "ปัจจัยเรื่องเงินทุน" ที่ยึดโยงกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยของยักษ์ใหญ่ทั้งสหรัฐและยุโรป

และประการสุดท้าย คือ "เทคโนโลยี" หากต้องการผลักดันให้ประเทศเติบโตในระยะยาวมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีนั้นคนทำงานต้องมีองค์ความรู้ในการใช้งานเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ได้เป็นอย่างดี คำถามสำคัญ คือ ประเทศไทยพร้อมมากแค่ไหน การศึกษาในประเทศเราผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพียงพอแล้วหรือยัง

“การศึกษาต้องดีมาก นักศึกษาจบใหม่ต้องใช้เทคโนโลยีได้ ที่ผ่านมาเรามีการประเมินคะแนน “PISA Score” หรือโปรแกรมการประเมินวัดระดับนักเรียนทั่วโลกที่จัดโดย “OECD” ปรากฏว่า ประเทศเราคะแนนตกต่อเนื่องมา 20 ปี มีคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ถ้าสามอย่างพื้นฐานนี้ไม่ดีก็เดินต่อไม่ได้ ใช้เรื่องเทคโนโลยีไม่ได้ ถ้าจำนวนคนแก่เรามากขึ้น คนทำงานน้อยลงแล้วเด็กๆ คุณภาพดีก็โอเค แต่ตัวนี้ออกมาก็ไม่ดีอีก กระทั่งคนวัยทำงานก็ต้องมีโอกาสในการ Upskill & Reskill เวลาเราพูดถึงเทคโนโลยีไม่ใช่เอามาวางแล้วทุกคนจะทำได้เลย ฉะนั้น เรื่องจำนวนประชากรกับเรื่องเทคโนโลยีต้องไปด้วยกัน จะแก้ได้เป็นเรื่องยาก เพราะการปฏิรูปการศึกษาพูดแล้วพูดอีกก็ไม่ได้ทำกันจริงๆ”

https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1097778?anm