ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2564

อย่าหลับหูหลับตารักษาศีล : กลอนคติเตือนใจ




อย่าหลับหูหลับตารักษาศีล : กลอนคติเตือนใจ

    อย่าหลับหู หลับตา รักษาศีล

ผล(ลัพธ์อาจ)ต่ำเตี้ย เรี่ยตีน สิ้นสุขศานติ์

คิดปรับปรุง ไปตาม สถานการณ์

เคร่งตึงผ่อน-อย่าหย่อนยาน เลี่ยงบรรลัย


    เช่นกับคน ต้องการ กำลังจิต

กลัวศีลผิด พูดตรง ส่งผลให้

เขาท้อแท้ แออ่อน บั่นทอนใจ

(ไม่สู้)โกหกให้ ได้ฟัง ดั่งเมตตา


    แมลงร้าย โรคภัยทราม นำมาสู๋

ยังอยากมี ชีวีอยู่ ต้องรู้ฆ่า

เพื่อป้องกัน ภยันตราย กรายกล้ำมา

ไม่ใช่ว่า ฆ่าเล่น มิเป็นธรรม

 

    พระป่วยไข้ ไม่สบาย ไปหาหมอ

ต้องทานยา ติดต่อ เช้า-เที่ยง-ค่ำ

หลังอาหาร(ค่ำ) ทานไม่ได้ วินัยนำ

คงต้องจำ ทำใจ (หาก)วายชีวี

ฯลฯ


    (วัตถุประสงค์)รักษาศีล เพื่อให้ ไม่ทำชั่ว

(มิ)เห็นแก่ตัว มัวเมา เฝ้าบัดสี

ห้ามไม่ให้ เบียดเบียน เพียรราวี

(ศีล)หาได้มี ความวิเศษ เวทวิชา(อย่างมงาย)

 

    (ศีล)เป็นระเบียบ วินัย ใช้ชีวิต

อบรมจิต คิด-พูด-ทำ ตามสิกขา

(เป็น)ปกติกรรม ทำให้ ได้พัฒนา

กุศลธรรม สัมมา สาธุชน

 

    ศีลทำให้ เป็นมนุษย์ สุจริต

เว้นทำผิด ศีลธรรม นำพาผล

ผู้ทำดี ได้ดี มีสุขล้น

ปราศเวรกรรม ตามประจญ ทนทรมาน


    ศีลคือหลัก ปฏิบัติ เป็นปัจจัย

เพื่อก้าวไป ให้พ้น วัฏสงสาร

ทางประเสริฐ เปิดประตู สู่นิพพาน

เป็นพื้นฐาน (ของ)ทุกศาสนา ปราชญาเอยฯ


๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๔

วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ศีลไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ : กลอนคติเตือนใจ



ศีลไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ : กลอนคติเตือนใจ

    ศีลหาใช่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์....................................ก่อเกิดฤทธิ ปาฏิหาริย์

อย่างคนเฒ่า เก่าโบราณ.............................ชอบเล่าขาน สืบกันมา


    การอวดดี หลงวิเศษ(ในศีล)...........................คือกิเลส ความหยาบช้า

คนหลงใหล ในอัตตา..................................สติ-ปัญญา- คุณ มลาย


    (การ)รักษาศีล เป็นเครื่องมือ...........................ช่วยผู้ถิอ(ศีล) ซื่อสัตย์ขวาย

ไม่ทำชั่ว มัวเมามาย....................................มิกล้ำกราย ทำร้ายชน

 

    (การถือศีล)ป้องกันให้ ไม่เบียดเบียน................บำเพ็ญเพียร เรียนรู้หน-

ทางละเว้น (ความ)เห็นแกตน.......................ละอกุศล สิ้นมนมาน


    (การถือ)ศีลทำให้ กาย-ใจสะอาด.....................ชั่วบาปปราศ เป็นมาตรฐาน

ของอริยะ ศาสนาจารย์................................ประเสริฐศานติ์ สำคัญมี

 

    สัมมาบท กฎแห่งกรรม...................................การกระทำ ล้ำเลิศศรี

ใครทำดี ย่อมได้ดี......................................ใครมีศีล ชีวินสบาย

 

    (ผู้)ไม่ทำชั่ว ไม่(ต้อง)กลัวผล-.........................กรรมประจญ ดลเลวร้าย

(เดือด)ร้อนลำเค็ญ มิเว้นวาย........................(ไม่ต้องกลัว)สุขสมหมาย ห่างหายพลัน


    คือเป้าหมาย ในศีลธรรม.................................ที่น้อมนำ ความสุขสันติ์

ให้ผู้มี(ศีลธรรม) ใช้ชีวัน...............................สุขสำราญ นิรันดรฯ


๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๔


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๓. สีลสูตร

[๒๑๓] ....ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ๕
ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ในธรรมวินัยนี้
ย่อมถึงกองโภคทรัพย์มากมาย อันมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ข้อ
ที่ ๑ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล 
อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของคนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมฟุ้งไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ของคน
มีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล 
อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีลจะเข้าสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท
ย่อมองอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ของคนมีศีล เพราะความ
ถึงพร้อมด้วยศีล 
อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ของคนมีศีล 
เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล
อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อานิสงส์ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ๕ ประการนี้แล ฯ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[329] สังโยชน์ 10 (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล )
       ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ )
           1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น )
           2. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ )
           3. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร )
           4. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ )
           5. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง )

       ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง )
           6. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ )
           7. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ )
           8. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ )
           9. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน )
           10. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง )

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ความเป็นมิตรย่อมไม่มีในคนขั่ว : กลอนคติเตือนใจ



ความเป็นมิตรย่อมไม่มีในคนขั่ว : กลอนคติเตือนใจ

    คบคน ฉลพาล ไม่นานดอก..................................(ต้อง)โดนหลอก โดนโกงฯลฯ อย่าสงสัย

โดนเอาเปรียบ เหยียบย่ำ อยู่ร่ำไป......................คบมัน ทำไม ให้ป่วยการ?


    คนไร้ ศีลธรรม ความสุจริต...................................(แค่)ใกล้ชิด ชีวิตทุกข์ สิ้นสุขศานติ์

คอยก่อ เรื่องทราม ให้รำคาญ.............................เดือดร้อน บันดาล ผลาญสวัสดี


    ไร้ความ เป็นมิตร(ใน) มิจฉาหมู่.............................ผู้เห็น แก่ตน มนบัดสี

บ่เคย คิดสร้าง ความหวังดี..................................(เสีย)สละพลี เพื่อใคร ในสากล

 

    (การ)มองแค่ ด้านดี ของคนอื่น.............................สักวัน สิพานดื่น ขื่นขมผล

ด้านดี-ชั่วใด ในตัวคน.........................................มองให้ ถ้วนท้น ดลปัญญา


    อย่าคบ คนพาล(ชั่ว) คบบัณฑิต(ดี).......................ภาษิต พุทธศาสตร์ ปราญช์สิกขา

เรียนรู้ เหตุผล ดลพัฒนา.....................................ชีวา อยู่รอด อย่างปลอดภัย

 

    "คบใคร ก็ได้" ไม่(ใช่ความ)ฉลาด.........................สิพลาด ส่งผล สู่ตนไฉน

(เพราะการ)คบค้า สมาคม รมย์ร่วมใคร..................(อย่างน้อย)ย่อมรับ นิสัย ได้สันดาน(มาด้วย)

 

    แม้ขาด คนดี มีศีล(ธรรม)สบ................................พึงอยู่ อย่างสงบ ปรารภศานติ์

ไม่มี มิตรไซร้ (ชีวิต)ไม่กันดาร.............................แต่จะทุกข์ ทรมาน เพราะพาลมิตร


    คนชั่ว มากมี คนดีน้อย........................................โลกจึง ด่างพร้อย ด้อยสุจริต

หนทาง สว่างใส ใช้ชีวิต......................................บัณฑิต มักต้อง ท่องเดียวดาย


๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔


หมายเหตุของผู้เขียน: ขึ้นชื่อว่าคนชั่ว ถึงจะเป็นลูกหลาน พ่อแม่ญาติพี่น้องฯลฯ ก็ไว้วางใจไม่ได้ คบไม่ได้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๒. โกสัมพิยชาดก
อยู่คนเดียวดีกว่าร่วมกับคนพาล
 [๑๒๒๓] 	ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์เที่ยวไปร่วมกัน ผู้มีปกติ
                          อยู่ด้วยกรรมดี พึงครอบงำอันตรายทั้งปวงเสีย แล้วดีใจ มีสติเที่ยวไป
                          กับสหายนั้น.
             [๑๒๒๔] 	ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์เที่ยวไปร่วมกัน ผู้มีปกติ
                          อยู่ด้วยกรรมดี พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนพระราชาทรงสละ
                          แว่นแคว้นเสด็จไปแต่พระองค์เดียว หรือเหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปใน
                          ป่าแต่เชือกเดียว ฉะนั้น.
             [๑๒๒๕] 	การเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐกว่า เพราะคุณเครื่องความเป็นสหายย่อมไม่
                          มีในคนพาล ควรเที่ยวไปแต่ผู้เดียวแต่ไม่ควรทำบาป เหมือนช้างมาตังคะ
                          มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปในป่า ไม่ทำกรรมชั่ว ฉะนั้น.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
[199] อบายมุข 4 (ช่องทางของความเสื่อม, ทางที่จะนำไปสู่ความพินาศ)
       1. อิตถีธุตตะ (เป็นนักเลงผู้หญิง, นักเที่ยวผู้หญิง)
       2. สุราธุตตะ (เป็นนักเลงสุรา, นักดื่ม)
       3. อักขธุตตะ (เป็นนักการพนัน)
       4. ปาปมิตตะ (คบคนชั่ว)

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว : กลอนคติสอนใจ



ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว : กลอนคติสอนใจ

    เด็กที่ ใส่ใจ ในการเรียน.......................................(ย่อมได้)ผลการ เรียนดี มีความรู้

คุณภาพ ชีวิต ความเป็นอยู่.............................ดีงาม ตามคู่ ความรู้ยล


    เด็กที่ ตั้งใจ ในการเล่น(ไร้สาระ)............................ว่างเว้น การเรียน ย่อมเปลี่ยนผล

อนาคต อดอยาก ลำบาก(ยาก)จน...................มืดมน หนทาง ย่างชีวี


    คนที่ ใส่ใจ ในศีลธรรม(ความดี)..............................น้อมนำ กำหนด บทวิถี

ไม่ทำ ความชั่ว มั่วราคี...................................ย่อมง่าย ได้ดี สุขีคราญ(คราญ=สวยงาม)

 

    ส่วนคน ใส่ใจ ในความชั่ว......................................เมามัว ชั่วช้า มนาหาญ

ทำตน ฉลกล้า อันธพาล................................ย่อมทุกข์ ทรมาน นิรันดร


    คนที่ ใส่ใจ ในหน้าที่(การงาน)...............................ฤดี วิริยะ อดิสร

(ย่อม)ชำนาญ งานทำ เลิศกำธร.....................อุตสาห์ คืออากร แห่งพรชัย

 

    กับคน เกียจคร้าน งานท้อแท้................................ย่ำแย่ แน่นอน สะท้อนได้

ผลลัพธ์ อับจน ล้นบรรลัย..............................หาใช่ เรื่องแปลก แตกต่างมี

 

    (คนที่)ดูแล รักษา สุขภาพ....................................(ย่อม)ได้ลาภ ประเสริฐ เลิศล้ำศรี

(ส่วน)คนไม่ รักษา สุขภาพ(ให้)ดี...................ย่อมมี โรคภัย (เจ็บป่วย)ไข้วนเวียน


    (ใครๆ)ย่อมดู รู้เห็น เป็นสัจจะ................................ธรรมะ หาได้ ให้ผลัดเพี้ยน

ไม่(อบรมสั่ง)สอน ลูกหลาน หมั่นพากเพียร.....มรดกให้ ก็เหี้ยน เตียนใช้เอยฯ


๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564

จับตา“สงครามโลก”ครั้งที่3 เช็กพื้นที่เสี่ยง“ชนวนขัดแย้ง” | TNN ข่าวค่ำ |...

จงมีตนเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นที่พึ่ง : กาพย์ยานี๑๑



จงมีตนเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นที่พึ่ง : กาพย์ยานี๑๑

    ลูกค้า มาซื้อของ.......................................มุ่งหมายปอง ต้องการผล(สำเร็จ)

โชคดี สิริมงคล......................................สุขสันติ์ล้น ท้นร่ำรวย


    ซื้อ(ของ)ไป ถวายพระ................................เป็นธุระ ทำพิธี(กรรม)ช่วย

เสริมดวง ลุล่วงทวย...............................สิ่งประสงค์ หลงใหลมี


    ก็เพราะ คนส่วนมาก....................................คิดแค่(มีความ)อยาก ประเสริฐศรี

อยากอยู่ ดีกินดีฯลฯ...............................แต่(คุณธรรม)ความดี มิกระทำ

 

    งานการ คิดคร้านเกียจ.................................กลับกระเดียด อยากรวยร่ำ

ฐานะ พสุต่ำ..........................................แต่ทำตน เช่นคน(มั่ง)มี(พสุ=ทรัพย์, สมบัติ, ความมั่งมี)


    มีความ สามารถน้อย...................................เอาแต่คอย (ให้)คนนั้นคนนี้

รัฐบาล ช่วยฉันที....................................(อยาก)มีกินใช้ ไม่ยากจน

 

    เหมือนคน ที่ล้นเลศ....................................ล้นกิเลส (แต่)ไร้เหตุผล

ไป่ตรอง มองตัวตน.................................(คือ)ต้นเหตุให้ (ชีวิต)ไม่พัฒนา

 

    มิใคร่ ใฝ่(หา)ความรู้....................................อดทนสู้ เพียรศึกษา

มิ มา นะอุตส่าห์......................................ทุ่ม(สติ)ปัญญา หาทำกิน(จะมีเงินได้ยังไง?)


    ไม่รัก การเก็บออม(เงินทอง)........................ฤาพรักพร้อม ล้อมทรัพย์สิน?(มีแต่หนี้สิน)

(หวัง)พึ่งพา(ผู้อื่น) จนชาชิน.....................ชีวินด้อย ต้อยต่ำเอยฯ**


๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
คิลานสูตร
ว่าด้วยมีตนเป็นเกาะ

[๗๑๑] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตเข้าเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่กระทำ
ไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง เพราะดับเวทนาบางเหล่าแล้วอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมผาสุก
เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ จง
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด.
             [๗๑๒] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย
ดูกรอานนท์ ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะมีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ
มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล.
             [๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็น
ผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศ.
หมายเหตุผู้เขียน : 
คำว่า " มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง " เป็นหลักคำสอน 
แต่การนำไปใช้ ต้องเลือกวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันไป 
เช่นพระภิกษุสงฆ์ พระพุทธเจ้าจะเน้นย้ำเรื่องทำสติปัฏฐาน๔ เป็นต้น
อย่าอ่านแล้วคิดเพียงผิวเผิน ว่าหลักธรรมนี้เป็นเรื่องของพระสงฆ์ ไม่เกี่ยวกับตัวเอง 
หากใครคิดได้แค่นั้นก็น่าเสียดาย ที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่รู้จักการประยุกต์ใช้ธรรมะ

ศีลธรรมความดีมีคุณมาก : กลอนคติสอนใจ



ศีลธรรมความดีมีคุณมาก : กลอนคติสอนใจ

    ศีลธรรม ความดี คือวินัย................................(อัน)สัปบุรุษ* สมัครใจ ใฝ่ตั้งมั่น

สร้างระเบียบ นิสัย ให้ชีวัน...........................มีกฎเกณฑ์ หลักกรรม์ สำคัญครอง


    มากกว่าแค่ เกื้อหนุน บุญกุศล........................ศีลธรรม(ความดี) นำทางคน พ้นมัวหมอง

(การ)เว้นว่างบาป หลาบชั่ว หัวใจกรอง.........คือครรลอง ผ่องแผ้ว แคล้วคลาดภัย


    ผู้ทำดี มีศีลธรรม ย่อมกำจัด...........................ผองไพรี พิบัติ อัชฌาศัย

มูลเหตุแห่ง อกุศล พ้นหทัย.........................ระวังระไว ไม่(ทำ-พูด)คิด ผิดศีลธรรม

 

    เสมือนเกราะ ป้องกัน อันวิเศษ.......................การกำจัด กิเลส ตัณหากล้ำ-

กรายฤดี มีผล ล้นเลิศล้ำ.............................ไคลวิโยค โศกซ้ำ ทุกข์กำจร


    ศีลธรรม ความดี พาพิพัฒน์...........................ยังให้คน ต่างสัตว์ สวัสดิสร

ใจสูงส่ง บ่งชี้ มิอาทร...................................ความยอกย้อน ซ่อนเร้น เห็นแก่ตน

 

    ศีลธรรม ความดี สร้างนิสัย............................แสนงดงาม อำไพ ไม่โฉดฉล

สุจริต กิจกรรม ล้ำวิมล..................................สาธุชน คนสัตย์ซื่อ ถือสัมมา(ปฏิบัติ)


    ทั้งต่อหน้า ลับหลัง ไม่สร้างภาพ....................คงความดี ศีลธรรมตราบ ดับสังขาร์

เปรียบดั่งลม หายใจ ให้ชีวา..........................มิทำเล่น เช่นมุสา หาคำชมฯ


๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔


*สัปบุรุษ = คนดี, คนมีสัมมาทิฐิ, คนที่ตั้งอยู่ในศีลธรรม