ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564

นิพพาน-พ้นทุกข์ แบบมักง่าย : กาพย์ยานี๑๑



นิพพาน-พ้นทุกข์ แบบมักง่าย : กาพย์ยานี๑๑

    พ้นทุกข์ แบบมักง่าย.....................................ก็แค่สลาย ความยึดมั่น*

ปล่อยวาง ช่างหัวมัน.................................สรรพสถานการณ์ ฉันไม่แคร์


    (จิตใจ)ยังคง โลภ(ราคะ)-ร้าย-หลง.................อยากประสงค์ ตัณหาแส่

อกุศล ล้นดวงแด......................................มลทินแจ แน่วแน่ใจ(แจ=ไม่คลาด,ไม่ห่าง)


    เพชฌฆาต อาชญากร...................................มิเดือดร้อน ปล้น-ฆ่า(ใครก็)ได้

ปล่อยวาง ช่างประไร.................................ต่างตรงไหน? พึงไตร่ตรอง

 

    พ้นทุกข์ แบบมักง่าย.....................................ยังเวียนว่าย ตาย-เกิดข้อง

(ชด)ใช้กรรม ตามครรลอง..........................อย่ายกย่อง (ว่าถูก)ต้อง"วิชชา"


    นิพพาน การพ้นทุกข์.....................................แบบประยุกษ์(มักง่าย) (มิ)ใช่ศาสนา(พุทธเถรวาท)

(แค่)แนวคิด จิตวิทยา................................กิเลสตัณหา บ่คะนึง

 

    มองข้าม เวรกรรมกฎ.....................................(วัฏ)สงสารปลด ไป่คิดถึง

(การ)ขจัดกิเลส ตัณหาจึง..........................พึงมองข้าม ไร้ความเพียร

 

    (การ)ประพฤติ พรหมจรรย์.............................สำคัญใย ให้ปวดเศียร

ศีลธรรม สิ้นจำเนียร..................................หลักธรรม(วินัย)เหี้ยน เรียน(ศึกษา)ทำไม?


    ก็แค่ พุทธศาสนา.........................................(พวก)นอกตำรา อย่าสงสัย(เอาอย่างพุทธมหายาน)

(ผู้)มั่นคง จงตั้งใจ.....................................ใน "อริย สัจ ๔"** เทอญฯ


๑ ตุลาคม ๒๕๖๔


*คนที่คิดว่า แค่ "ไม่ยึดมั่นก็พ้นทุกข์" มักอ้าง หลัก"ปฏิจจสมุปบาท"

โดยคิดข้ามธรรมอย่างอื่น(แบบมักง่าย ไม่ใส่ใจลำดับธรรม)

คิดเหลือแค่ อุปาทาน(ความยึดมั่น) กับ ทุกข์ (มองข้ามการมีภพ-ชาติฯลฯ)

หลายคนอวดรู้ว่า นี่คือหัวใจของพุทธศาสนา(ที่จริง หัวใจของพุทธศาสนา คือ โอวาทปาติโมกข์,อริยสัจ๔)

จึงเป็นแนวคิดที่ผิดหลักพุทธศาสนา(เถรวาท) ค่อนไปทาง พุทธศาสนามหายาน มากกว่า


**อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า

แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่ 4 ประการ คือ

  1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5
  2. สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ
  3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง
  4. มรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ มีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ 5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ 7. สัมมาสติ ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น