๏ คบคน ฉลพาล ไม่นานดอก..................................(ต้อง)โดนหลอก โดนโกงฯลฯ อย่าสงสัย
โดนเอาเปรียบ เหยียบย่ำ อยู่ร่ำไป......................คบมัน ทำไม ให้ป่วยการ?
๏ คนไร้ ศีลธรรม ความสุจริต...................................(แค่)ใกล้ชิด ชีวิตทุกข์ สิ้นสุขศานติ์
คอยก่อ เรื่องทราม ให้รำคาญ.............................เดือดร้อน บันดาล ผลาญสวัสดี
๏ ไร้ความ เป็นมิตร(ใน) มิจฉาหมู่.............................ผู้เห็น แก่ตน มนบัดสี
บ่เคย คิดสร้าง ความหวังดี..................................(เสีย)สละพลี เพื่อใคร ในสากล
๏ (การ)มองแค่ ด้านดี ของคนอื่น.............................สักวัน สิพานดื่น ขื่นขมผล
ด้านดี-ชั่วใด ในตัวคน.........................................มองให้ ถ้วนท้น ดลปัญญา
๏ อย่าคบ คนพาล(ชั่ว) คบบัณฑิต(ดี).......................ภาษิต พุทธศาสตร์ ปราญช์สิกขา
เรียนรู้ เหตุผล ดลพัฒนา.....................................ชีวา อยู่รอด อย่างปลอดภัย
๏ "คบใคร ก็ได้" ไม่(ใช่ความ)ฉลาด.........................สิพลาด ส่งผล สู่ตนไฉน
(เพราะการ)คบค้า สมาคม รมย์ร่วมใคร..................(อย่างน้อย)ย่อมรับ นิสัย ได้สันดาน(มาด้วย)
๏ แม้ขาด คนดี มีศีล(ธรรม)สบ................................พึงอยู่ อย่างสงบ ปรารภศานติ์
ไม่มี มิตรไซร้ (ชีวิต)ไม่กันดาร.............................แต่จะทุกข์ ทรมาน เพราะพาลมิตร
๏ คนชั่ว มากมี คนดีน้อย........................................โลกจึง ด่างพร้อย ด้อยสุจริต
หนทาง สว่างใส ใช้ชีวิต......................................บัณฑิต มักต้อง ท่องเดียวดายฯ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔
หมายเหตุของผู้เขียน: ขึ้นชื่อว่าคนชั่ว ถึงจะเป็นลูกหลาน พ่อแม่ญาติพี่น้องฯลฯ ก็ไว้วางใจไม่ได้ คบไม่ได้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
[๑๒๒๓] ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์เที่ยวไปร่วมกัน ผู้มีปกติ อยู่ด้วยกรรมดี พึงครอบงำอันตรายทั้งปวงเสีย แล้วดีใจ มีสติเที่ยวไป กับสหายนั้น. [๑๒๒๔] ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์เที่ยวไปร่วมกัน ผู้มีปกติ อยู่ด้วยกรรมดี พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนพระราชาทรงสละ แว่นแคว้นเสด็จไปแต่พระองค์เดียว หรือเหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปใน ป่าแต่เชือกเดียว ฉะนั้น. [๑๒๒๕] การเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐกว่า เพราะคุณเครื่องความเป็นสหายย่อมไม่ มีในคนพาล ควรเที่ยวไปแต่ผู้เดียวแต่ไม่ควรทำบาป เหมือนช้างมาตังคะ มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปในป่า ไม่ทำกรรมชั่ว ฉะนั้น.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
[199] อบายมุข 4 (ช่องทางของความเสื่อม, ทางที่จะนำไปสู่ความพินาศ)
1. อิตถีธุตตะ (เป็นนักเลงผู้หญิง, นักเที่ยวผู้หญิง)
2. สุราธุตตะ (เป็นนักเลงสุรา, นักดื่ม)
3. อักขธุตตะ (เป็นนักการพนัน)
4. ปาปมิตตะ (คบคนชั่ว)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น