ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

นรกบนดิน : กลอนสี่



นรกบนดิน : กลอนสี่

    รุ่งเร้า เช้าตื่น.................รมย์รื่น ลมหนาว
นภา สกาว........................เมฆขาว เบาบาง

    วิหค นกร้อง..................แซ่ซ้อง สล้าง
ก่อนจะ แยกทาง................ต่างคลา หากิน

    มัจฉา ขยับ...................คล้อยกับ กระสินธุ์
ท้องธาร ลานดิน................กรวดหิน เรียงราย

    ใบไม้ ร่วงลง.................วงคลื่น ขยาย
ค่อยราบ เรียบคลาย............สบายตา อาวรณ์

    ธรรมชาติ สดับ...............สลับ ซับซ้อน
ภิญโญ โสทร.....................อากร ชีวี(โสทร=พี่น้องร่วมท้องเดียวกัน)

    เลี้ยงดู อุปการ................ปุราณ->ป่านนี้(อุปการ=ความช่วยเหลือเกื้อกูล)
พระคุณ พูนพี.....................ไม่มี เทียบทาน

    สำนึก รักษา...................อย่าตั้ง ล้างผลาญ
คิดเห็น เป็นการ...................อภิบาล ชีวี

    ธรรมชาติ คือบ้าน.............คือสถาน ศานติ์ศรี
อยู่ดี กินดี...........................หามี ที่ใด

    เท่าที่ ปรากฏ..................อนาคต อันใกล้
โลกร้อน ย้อนภัย..................อย่างไร้ อารี

    ถ้ายิ่ง ทำลาย..................เท่าหมาย ชั่วชี้
ทุกขา ทวี...........................ไม่มี สุขใจ

    มิต่าง ดั่งตก....................นรก หมกไหม้
ร้อนลาญ ปานไฟ..................ตลอดไป ตลอดกาล ฯ

๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ทางผ่าน : กลอนหก



ทางผ่าน : กลอนหก

    บุกป่า ฝ่าดง พงไพร...................ลุยน้ำ ข้ามไป ไต่เขา
โดดเดี่ยว เดียวดาย กายเรา..............สองเท้า เท่านั้น จรรจา(จรรจา=พูด)

    ถิ่นที่ วิสุทธิ์ สะอาด.....................ความงาม ธรรมชาติ ปรารถนา
เลิศล้ำ สัมผัส อัทธา........................ปรีดา ปราโมทย์ จรดจินต์(อัทธา=ทางไกล)

    หลับตา หายใจ ให้ลึก..................รู้สึก พงไพร ให้กลิ่น
อิสระ เสรี ชีวิน................................ไม่สิ้น ไม่สุด รุจนา(รุจน=ความพึงพอใจ)

    กระทั่ง ย่างค่ำ ยามเย็น.................จึงเห็น ควรออก จากป่า
เศร้าแสน แทนคำ ล่ำลา....................กลับมา ทางเก่า ก้าวไกร

    ทว่า ชะตา ชีวิต...........................สุดคิด กลับหลัง ตั้ง(ต้น)ใหม่
ผ่านมา ผ่านแล้ว ผ่านไป....................พ้นมี พิสัย ใจปอง

    อดีต พิศเพียง ทางผ่าน.................เหตุการณ์ พานพบ ประสบผอง
บทเรียน เพียรจำ ทำนอง...................ทวนทบ พบช่อง ทองเทียม(เทียม=เปรียบ)

    หนทาง ข้างหน้า ปรากฏ................เลือกให้ ใสสด ยอดเยี่ยม
สุขี ปรีดิ์เปรม เต็มเปี่ยม......................เอมเอี่ยม อุรา อาลัย

    (หาก)มิสม ประสงค์ ปลงจิต............สุจริต สิทธา ปราศรัย(ปราศรัย=ปรารภ)
อดทน จนผ่าน วารภัย........................อย่ามี พิไร รำพัน

    อนิจ จาอัน ผันผวน.......................มิควร ยึดมั่น ถือมั่น
เมื่อผลัก จากอก โลกธรรม์..................ชีวัน พลันเบา เพราสบาย ฯ

๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ชีวีต้องมีความรู้ : กลอนเจ็ด



ชีวีต้องมีความรู้ : กลอนเจ็ด

    สิ้นเดือน ตุลาฯ แต่ฟ้าครึ้ม.................รุ่งเช้า เซาซึม ลืมสูรย์แสง
เมฆฝน หม่นนภา ดั่งแสดง....................ขัดแย้ง กับข่าว หนาวฤดู

    ลมพัด จัดให้ ไม่เห็นแห้ง..................ชื้นแฝง ปานฝน ปะปนสู่
สัมผัส อ่อนนุ่ม เหมือนอุ้มชู...................พงไพร ได้อยู่ สุขสบาย

    เพียงฝน ไม่พอ ต่อชีวิต....................เป็นคน ต้องคิด พิศขวนขวาย
ทำมา หาเพียง พอเลี้ยงกาย..................ความหมาย ชีวา ล่านิยาม

    เกิดมา ทำไม ? ใคร่ครวญขบ.............ประสบ พบการณ์ พานแผกหลาม
สบทุกข์ สุขเคล้า เศร้าติดตาม................มีความ เป็นมา เพราะอะไร ?

    ตำรับ ตำรา แต่อดีต.........................ปราชญ์ขีด พากเขียน เพียรแจ้งไข
ศึกษา ปฏิบัติ ทัศไนย...........................สัจจะ วิสัย ใฝ่รู้(ความ)จริง

    อย่าเชื่อ เพราะคำ คนพร่ำบอก...........ชนปวง ลวงหลอก ชอบกลอกกลิ้ง
นิทาน ปรัมปรา อย่าอ้างอิง....................เป็นสิ่ง งมงาย มากมายมี

    ปราศ(ความ)รู้ อยู่ไป ไร้ประโยชน์.......ไป่เว้น เป็นโทษ โปรดถ้วนถี่
ไม่รู้ ผิด-ชอบ กรอบชั่ว-ดี......................ไม่มี จริยา ย่อมสัปดน

    ชีวี สิต้อง รู้ถ่องทิศ..........................ดำเนิน ชีวิต สัมฤทธิ์ผล
อย่าปล่อย ดวงตา ดามืดมน....................เป็นคน จนอับ อาภัพเอย ฯ

๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ข้อดีของชีวิต : กาพย์ยานี๑๑



ข้อดีของชีวิต : กาพย์ยานี๑๑

    เหมันต์ อันอิ่งอ้อย....................ทีละน้อย ค่อยเหน็บหนาว
ฝนคลา นภาสกาว........................กลางคืนยาว กว่ากลางวัน

    แห้งผาย ให้สัมผัส...................พืชและสัตว์ สิ้นไพรสัณฑ์
ปรับตัว ให้ทั่วทัน.........................เพื่อสืบสาน พันธุ์เผ่าพงศ์

    ข้อดี ของชีวิต.........................คือสฤษฏ์ อานิสงส์
บุญสร้าง สะอางส่ง......................สู่สุคติ นิรามัย

    มากกว่า แค่หาสุข....................ความสนุก เท่านั้นไม่
ปล่อยกาย ปล่อยจิตใจ..................เสื่อมทรามให้ ไร้ค่าคุณ

    หนำซ้ำ ยังทำบาป....................ใจชั่วหยาบ สาบสถุล
ใช้ผลาญ ชีพวารพรุน....................จนขาดทุน จุนเวรกรรม

    (หาก)คิดได้ ใคร่ดำริ.................ศีล-สมาธิ-ปัญญาส่ำ
ศึกษา หมั่นกระทำ........................เป็นประจำ ประจักษ์จินต์

    จิตใส ใจสะอาด.......................คือพิลาส พิพัฒน์สิน
กุศล กั้นมลทิน.............................วิญญาณสุทธ์ ชุติมา

    แก่กาย ตายไปเกิด....................ภพประเสริฐ สมปรารถนา
ด้วยได้ ใช้ชีวา..............................อย่างปรีชา ปัญญาเอย ฯ

๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รู้เท่าทันคน : กลอนคติเตือนใจ



รู้เท่าทันคน : กลอนคติเตือนใจ

    ขอบฟ้า ขอบฟุ้ง..................เมฆมุง รุงรัง บังสูรย์
ทิวา อาดูร..............................อาพิล พอกพูน นภา(อาพิล=เศร้าหมอง)

    กระจัด กระจาย....................ขยาย ไร้ขอบ รอบหา
เคลื่อนไคล ช้าๆ.......................เมฆา มาคลาย เมื่อสายครัน

    แสงสอด ลอดสาด................เงาค่อย ทอดกวาด พาดผัน
เปลี่ยนแปลง แบ่งปัน.................ร่มเงา เท่ากัน มั่นมี

    แต่ความ เท่าเทียม................ปราศเปี่ยม โลกา วิถี
คุณงาม ความดี.........................ต่างมี ต่างมาน จรรยา

    อีกความ ลำเอียง...................บ่ายเบี่ยง เลี่ยงหลัก ภักดิ์หา
พวกพรรค รักพา........................เห็นแก่ อัตตา อาลัย

    ทุจริต มิจฉา..........................อุรา มารยา สาไถย
อันธพาล จัญไร..........................จิตใจ จึงชั่ว มัวมน

    พินิจ พิเคราะห์.......................สืบเสาะ เจาะลึก ผนึกผล
รู้เท่า ทันคน...............................รู้ท้น อกุศล กลลวง

    ประมาท มักง่าย......................มิวาย ยุ่งยาก หนักหน่วง
กมล คนปวง...............................มิล่วง สัตว์บรรพ สันดาน

    ถูกใจ จะรัก............................ผิด(ใจ)จัก ประหัต ประหาร
อยู่เคียง คนพาล..........................เปรียบปาน เคลียคลอ อสรพิษ

    หลีกให้ ไกลห่าง......................อยู่อย่าง ระวัง สร้างสิทธิ์
รักษา ชีวิต..................................อย่าคิด อ่อนแอ แดดวง ฯ

๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

มิย่อท้อต่อชะตา : กลอนคติสอนใจ



มิย่อท้อต่อชะตา : กลอนคติสอนใจ

    ขุนคีรี ขึ้นรอบ ริมขอบฟ้า.....................ดูละม้าย คล้ายปรา การไศล
เมฆฝนปก คลุมเขา ลำนำไพร...................กั้นฟ้าให้ ไม่เห็น เร้นสุรีย์

    ต้นข้าวเริ่ม ออกรวง กอพวงใหญ่............ถูกฝนพรำ ทำให้ ไม่ชันชี้
ล้มระเน ระนาด ขาดทัศนีย์........................ทำให้มี ปัญหา คราเกี่ยวครัน

    ยังคงครึ้ม ครองฟ้า วลาหก....................เห็น(ฝน)ทำท่า ว่าจะตก หัวอกสั่น(วลาหก=เมฆ)
จากดิ้นรน ฝนแล้ง ดั่งแกล้งกัน...................ข้าวแก่พลัน ฝนดันพรำ น้ำตานอง

    หรือเวรกรรม ตามรังแก แต่ปางก่อน.........ชาตินี้จึง เดือดร้อน ย้อนสนอง ?
นาต้องเช่า เขาทำ หนี้จำจอง......................หาเลี้ยงปาก เลี้ยงท้อง ข้องลำเค็ญ

    หมดหน้านา หางาน ไกลบ้านเกิด.............เที่ยวเตลิด ปานวิหค นกน้อยเห็น
ขายหยาดเหงื่อ แรงงาน เช้ายันเย็น..............ความลำบาก ยากเข็ญ เช่นชะตา

    ได้แค่จำ ทำใจ ให้สงบ..........................เพื่อหวังพบ สุขสบาย ในชาติหน้า
ชาตินี้จะ กระทำ แต่กรรมา..........................สุจริต นิตยา มิคลาไคล

    ขอถือศีล กิน-ใช้ ไม่ทำบาป....................หยุดชั่วหยาบ ตราบชีวา จะหาไม่
พัฒนา จิตให้ยิ่ง ยิ่งขึ้นไป...........................มิอาลัย วิโยค ต่อโลกธรรม

    ขัดเกลาดวง ฤดี ละกิเลส........................มุ่งอุจเฉท ตัณหา มลส่ำ(อุจเฉท=ขาดสูญ,มล-อ่าน-มะละ)
ไม่ยึดติด อัตตา มนาตรำ.............................ตามหลักธรรม คำพุทธ พิสุทธิ์เอย ฯ

๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สู่ความสมหวัง : โคลงสี่สุภาพ



สู่ความสมหวัง : โคลงสี่สุภาพ

. เสียงครืนทั่วผืนฟ้า................หลังฝน
แสงแปลบปลาบวาบวน.............ไป่เว้น
หวนกลับสาดสับสน..................เสียง(ฝน)ซ่า
พงพีรัชนีเร้น...........................เพลงร้อง(ของ)เรไร ฯ

. ฝนห่วงใยนาข้าว...................ขาดฝน ?
หัวค่ำรินร่ำจน...........................ล่วงเช้า
ยามสายยังพรั่งผล.....................พิรุณหลั่ง
ดั่งเก็บกดนานเข้า......................คั่งค้างเหลือหลาย ฯ

. ทุกสิ่งใครเล่าได้.....................ดังประสงค์ ?
สัจจะยังจะคง............................คู่หล้า
พลาดหวังอย่าพรั่งหลง...............ลืมสติ
ดำริหฤทัยกล้า...........................แกร่งท้าปัญหา ฯ

.ประคองใจมิให้.......................ซวนเซ
ถึงเก่าหวังพังเพ.........................พ่ายแพ้
ชีพยังอย่าลังเล..........................หวังใหม่
ใครขวางบ่ได้แม้.........................แต่ฟ้าพระอิศวร ฯ

. ควรหวัง(แต่)อย่าคลั่งไคล้..........ความหวัง
หวังแต่สิ่งอันยัง..........................(เป็น)จริงได้
ทุ่มเทพละกำลัง..........................สรรสู่
บรรลุสำเร็จไซร้...........................อย่าได้ทอดถอน ฯ

. คอยวิงวอนฟ้าช่วย....................อวยไฉน ?
รังเกียจการงานไกร......................ไขว่คร้าน
ทำมารยาสาไถย..........................ทุจริต
อย่าคิดสมหวังด้าน.......................ดีได้หมายถวิล ฯ

. กุศลศีลวัตรสร้าง.......................ทางสม
บุญทานบันดาลอุดม......................อิ่มได้
ศรัทธาค่านิยม..............................สุจริต
ชีวิตวิจิตร;ไร้................................สิ้นซากขวากหนาม ฯ

๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ธรรมรักษา : กาพย์ยานี๑๑



ธรรมรักษา : กาพย์ยานี๑๑

    ข้างแรม สิบห้าค่ำ..................ความมืดดำ ค้ำไพรสณฑ์
ราตรี แสนวิมล..........................เกื้อสุคนธ์ กลิ่นสัตตบรรณ(ต้นตีนเป็ด)

    หรีดหริ่ง เรไรเร่า...................สังคีตเท่า เสียงสวรรค์
จับเจต วิเศษจรร-......................โลงจิตมั่น มโหรี

    ราคะ เมื่อละคลาย.................เบาสบาย ไทวิถี
โทสะ ระงับมี............................ดวงฤดี นิรามัย(นิรามัย=เป็นสุข)

    โมหะ มิปรากฎ.....................จินดาจรด แจ้งสดใส
คุณธรรม คืออำไพ.....................แห่งจิตใจ วิสัยทัศน์

    ธรรมะ จะรักษา.....................ผู้สัทธา และปฏิบัติ
สอดคล้อง ครรลองวัตร...............สุขสวัส ดิวัฒนา

    ธรรมแล กระแสล่อง...............ชีวาป้อง พร่องปัญหา
สันติ์สู่ เอมอุรา..........................ทุกทิวา แลรัตติกาล

    มีได้ หากใจรัก......................หายากนัก หากหักหาญ
ทำดี ธรรมอภิบาล......................ทำสามานย์ มลานมลาย

    เงินซื้อ หรือจะสม ?................มิชื่นชม มักล่มสลาย
คู่ใจ ใช่คู่กาย............................รับไม่ได้ โดยใช้มือ

    ธรรมะ ต้องปฏิบัติ..................สุจริตสัตย์ มนัสซื่อ
จึงงาม ดั่งร่ำลือ.........................คือจรูญ คุณค่าเอย ฯ

๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บุญบำเพ็ญเป็นที่พึ่งพา : กลอนหก



บุญบำเพ็ญเป็นที่พึ่งพา : กลอนหก

    เมฆค่อยสืบ ค่อยคืบคลาน................คลุมคคนานต์ โอฬารสูญ
อโณทัย ให้อาดูร................................มิบริบูรณ์ จรูญจินต์

    นกเอี้ยงไกร ไม่นึกกลัว....................บินร้องยั่ว แมวเจ้าถิ่น
แมวเมินใส่ เหมือนไม่ยิน......................ดียินร้าย กรายจากกัน

    สักครู่ครา ท้องฟ้าเปิด......................สูรย์บรรเจิด เพริศแสงสรรค์
อุ่นไอหลาก จากตาวัน..........................จรรโลงหล้า และธาษตรี

    บุญบำเพ็ญ เป็นที่ตั้ง........................สุขสะพรั่ง บังเกิดศรี
จริยธรรม คุณความดี............................เป็นที่พึ่ง ซึ่งอุดม

    การศึกษา หาความรู้........................นำไปสู่ ประสิทธิ์สม
ชีพก้าวหน้า ประชานิยม........................วิกรมกล้า ชีวากล

    ขัดเกลาใจ ให้วิจิตร.........................กล่อมเกลาจิต กฤดกุศล(กฤด-=ที่ทำแล้ว)
เครื่องลดทอน คลายร้อนทน..................ความโฉดฉล คนราคิน

    ชำนะใจ หยุดใคร่อยาก.....................ความยุ่งยาก พลันพรากสิ้น
สันติภาพ ฉาบชีวิน...............................ปานปิ่นปราชญ์ โชติชัชวาล

    บุญบำเพ็ญ เป็นที่พึ่ง........................เป็นสิ่งซึ่ง สร้างหลักฐาน
ชนม์ชีวี อภิบาล...................................สุขสำราญ นิรันดร ฯ

๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อยู่ดีกินดี : กลอนคติสอนใจ



อยู่ดีกินดี : กลอนคติสอนใจ

    ฝนมาย้ำ ว่ายัง ไม่ห่างหาย.......................ตกโปรยปราย ตอนเช้า ราวสนาน
รดผืนดิน หินแล้ง แห้งกันดาร........................แล้วตกพร่ำ ซ้ำวาร สายัณห์เย็น

    ณ ปลายฝน ต้นหนาว คราวเปลี่ยนผ่าน........วิปริต พิสดาร อาการเห็น
ร้อนสลับ กับฝน ปนหนาวเย็น........................พาลำเค็ญ เป็นไข้ ป่วยหลายคน

    หยาดน้ำใส ใสยล บนใบหญ้า....................เป็นสัญญาณ์ ว่าเมื่อคืน ร่ำรื่นฝน
ผีเสื้อกลาง คืนซ่อน นอนบ้านคน....................สุริยน สาดแสง ยังแฝงกาย

    ซื้อกับข้าว ก้าวไว ไปตลาด.......................ยูรยาตร บ้านย้อน ก่อนจะสาย(ยูรยาตร=เดิน)
เวลาสั้น มีค่า น่าเสียดาย...............................เร่งขวนขวาย กรรมา การหากิน

    ตราบเท่าที่ หัวใจ ไม่หยุดเต้น....................ความจำเป็น จับจ่าย จึงไม่สิ้น
ตราบเท่าที่ ต้องการ ศานติ์ชีวิน......................วัฒนา อาจิณ จงดิ้นรน

    ประกอบการ งานไกร อย่าได้ขลาด.............เพิ่มทักษะ ความสามารถ พิลาสผล
เรียนความรู้ ใหม่ๆ ในสากล...........................อย่าเป็นคน มนมิจฉา อันธพาล

    อยากได้ดี (เป็นคน)มีค่า (จง)ศึกษาปราชญ์...ผู้ประสาธน์ ปรัชญา พิทยฐาน
มิใช่เร่า เมาร่ำ หาสำราญ...............................รังเกียจการ งานกิจ อวิชชา

    อยากทำงาน ง่ายๆ ได้เงินหลาก..................จะลำบาก อภิรมย์ สมปรารถนา
อยากอยู่ดี กินดี มีทรัพยา...............................โดยไม่แกร่ง แสวงหา อย่าฝันไป

    ความพยายาม คือทาง สร้างโอกาส..............ความไม่ขาด สัทธา อุราใส่
ความอดทน ประสิทธิ์ พิชิตชัย.........................สมดั่งหมาย ได้ดี สิริวิบูล ฯ

๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ธรรมชาติชีวี : กลอนคติชีวิต



ธรรมชาติชีวี : กลอนคติชีวิต
(ฉันทลักษณ์ที่ผมคิดประดิษฐ์ขึ้นเอง)


    ฝนตก เอาตอน ก่อนรุ่ง................จรุง อากาศ สะอาดเห็น
นาแล้ง ระกำ ลำเค็ญ.......................ค่อยเย็น ขยับ ข้าว(ฟื้น)กลับคืน

    (ข้าว)ที่เริ่ม ออกรวง พวงใหญ่.......รอให้ สุกพรั่ง ทั่วทั้งผืน(นา)
มี(ฝูง)นก ผกผิน กินกลืน..................ต้องฝืน เฝ้าไล่ ให้พ้นนา

    ศัตรู อยู่คู่ ชีวิต...........................(เห็นใคร)ดีกว่า จะคิด จ้องริษยา
(เห็น)ใครด้อย(กว่า)คอยชิน นินทา.....เป็นกรรม ธรรมดา สามานย์ชน

    หมายเก็บ เต็มเม็ด เต็มหน่วย.........รุ่มรวย ความคิด พิชิตผล
สมดั่ง ฤดี กี่คน ?.............................หลากล้น พลาดหวัง ซังกะตาย

    ธรรมชาติ ขาดแคลน แสนสลด.......ต้องอด ต้องทน ด้นขวนขวาย
ผู้ที่ ปรีดา รักสบาย...........................เกียจคร้าน บั้นปลาย (จะ)ทุรายทุรน

    เชื่อใจ ใครได้ ลำบาก...................โลกหลาก (ผู้)มักรอ โฉดฉ้อฉล
เห็นหน้า ตาดี พิมล..........................ใจล้น โจรกรรม์ แจ้งมารยา

    สิ่งสรรพ ขับดัน ชีวิต.....................เช่นฤทธิ์ สัญชาต ญาณปรารถนา
ประสม ปมสัตว์ อัตตา.......................แกร่งกล้า เกินกว่า จะท้าทาน ?

    จึงยล คนเป็น ส่วนใหญ่.................ชอบทำ ตามใจ ให้เหิมหาญ
ไม่มี จริยา อาจาร.............................คอยคัด คอยค้าน มานคะนอง(อาจาร=หลัก)

    ต่างคน ต่างสำ ความสุข................กระตุก วิตก ตรึกบกพร่อง(สำ=ซับซ้อนกัน)
เห็นแต่ แก่ตัว ทั่วตรอง......................มองข้าม ความเชื่อ เอื้ออารี

    เมตตา กรุณา ปรากฏ....................จะลด จรดทุกข์ ทางสุขี
รสชาติ อัศจรรย์ กรรม์ดี.....................สุทธี รสใด เทียบได้เอย ฯ(สุทธิ=แท้)

๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วัฒนธรรมทรามเสื่อม : กาพย์ฉบัง๑๖



วัฒนธรรมทรามเสื่อม : กาพย์ฉบัง๑๖

    ความเคยชินจากส่วนตัว................ถ่ายทอดครอบครัว
แพร่หลายไปทั่วสังคม

    จนเป็นประเพณีนิยม................วัฒนธรรมสม-
สั่งบ่มเพาะพฤติสำ

    ครรลองของการกระทำ.................ถูกต้องคลองธรรม
กลายกฎกำหนดยึดถือ

    ใครทำตาม=งดงามคือ.................ขัดขืนขึ้นชื่อ
ดื้อรั้นสามานย์สาไถย

    วัฒนธรรมถ้าดีพิไล................ต้องธรรมอำไพ
ก็ไม่ก่อเกิดปัญหา

    แต่บางวัฒนธรรมต่ำช้า................มากมี อวิชชา
เบาปัญญาบ้าบาปเห็น

    (คน)ทำดีไซร้กลายกลับเป็น..............แกะดำจำเดน
ตามเข่นฆ่าน่าสยอง

    (คน)ทำชั่วโฉดเฟื่องเรืองรอง.................คักคึกคะนอง
ยกย่องแซ่ซ้องสรรเสริญ

    แทนที่จักนำจำเริญ..................(กลับ)ชักทรามต่ำเชิญ
เดินไปในทางเสื่อมเสีย

    อารยธรรมเมโสโปเตเมีย...............บัดนี้ต่ำเตี้ย
เรี่ยราดอุบาทว์ศาสนา

    คอยแต่กดขี่บีฑา...............เคียดแค้นเข่นฆ่า
ความบ้าระห่ำลุกลามเอย ฯ

๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ใครชั่วช่างหัวมัน : กาพย์ยานี ๑๑



ใครชั่วช่างหัวมัน : กาพย์ยานี ๑๑

    คุณยาย ขายไม้ดอก..................จากบ้านออก มาแต่เช้า
จิตใส ใจจึงเสาว์...........................จะแก่เฒ่า ก็เพียงกาย

    ถือว่า ทำหน้าที่........................เลี้ยงชีวี รี่ขวนขวาย
เพียรอยู่ อย่าดูดาย........................คือเครื่องหมาย (คน)มีคุณธรรม

    รอบกาย คนหลายหน้า...............เคล้ากรรมา สูงคละต่ำ
คนดี ช่วยชี้(แนะ)นำ.......................คนริยำ ปล่อยตามใจ

    คบหา แค่คนดี..........................คนอัปรีย์ มิกรายใกล้
มิคิด ริษยาใคร..............................หรือใส่ใจ ใครโฉดฉล

    กรรมใด ใช่ดี/ชั่ว........................มิพันพัว กาล/ตัวคน
ชั่ว/ดี ย่อมมีผล..............................ตามกลไก กฎแห่งกรรม

    ใครชั่ว ช่างหัวเขา......................เตือนตัวเรา อย่าเข้าถลำ
ความดี มีศีลธรรม...........................จักจุนค้ำ ล้ำเลิศครอง

    คนดี อย่าวิตก............................สังคมรก คนบกพร่อง
หลักธรรม์ คือครรลอง......................ทำถูกต้อง ป้องกันไตร(ไตร=ไกร)

    ผลกรรม ทำชั่ว/ดี........................เกิดทันที ก็หาไม่
ผู้เฒ่า มิเร่าใจ.................................เพราะรอได้ ไร้ทุกข์เอย ฯ

๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หนี้(อยู่)นอกระบบ : กลอนคติสอนใจ



หนี้(อยู่)นอกระบบ : กลอนคติสอนใจ

    ไม่ค่อย เข้าใจ.................ข่าวใคร เป็นหนี้
นอกระ บบมี.......................พิไร รำพัน

    สำรวจ ตรวจตรา..............ชีวา ของฉัน
พ่อแม่ เผ่าพันธุ์...................เพียงสา มัญชน

   อดๆ อยากๆ....................ลำบาก หลากล้น
เยาว์ยัง กังวล.....................หนทาง เติบวัย

    จบชั้น มัธยม..................ก้มหน้า กล้าให้
พักเรียน มหา'ลัย.................ตั้งใจ ตรำงาน

    แลกเหงื่อ กับเงิน............เพลินความ ไม่คร้าน
เก็บทรัพย์ ศฤงคาร...............เพื่อกาล แก่ตัว

    รักดี ศีลธรรม..................มิช่ำ กรรมชั่ว
อบายมุข ทุกข์กลัว...............มิกลั้ว พัวพัน

    ใช้(จ่าย)น้อย กว่าหา........บ่บ้า แข่งขัน
สินค้า สารพัน.....................ให้มัน ทันสมัย

    มิคิด ติดคร่ำ....................รวยร่ำ เหนือใคร
พอกิน พอใช้.......................ก็ไม่ กังวล

    ไม่เคย ทุจริต...................ไร้จิต ฉ้อฉล
และไม่ ดิ้นรน.......................จนเกิน กำลัง

    ไม่งอ มือเท้า...................ไม่เฝ้า ฝัน-หวัง
งานหนัก ไม่ชัง.....................เบาไม่ ยั้งมือ

    ตั้งใจ ปฏิบัติ.....................สัทธา สัตย์ซื่อ
บุญ-บาป นับถือ.....................คือ(สิ่งที่)เรา เคารพ

    หนี้สิน ผินออก...................อยู่นอก ระบบ
สุขศานติ์ พานพบ...................ไม่ลบ เลือนเลย ฯ

๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม : โคลงสี่สุภาพ



ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม : โคลงสี่สุภาพ

. ลมหนาวพัดพาตแล้ว............แก้วสุดา
อรุณรุ่ง อจลา.........................หมอกฟุ้ง(อจลา=แผ่นดิน)
เมฆบางพรางสุริยา..................ไม่หมด
ปรากฏรุจิราคุ้ง........................จรัสแจ้งแสงสูรย์ ฯ

. อนาดูรเดือดร้อน..................ลมหนาว(อนาดูร=ไม่เดือดร้อน)
บรรดาคนหนุ่มสาว...................เร่าซื้อ
เครื่องตกแต่งกายราว................รักสนุก
เป็นสุขกับการรื้อ......................เสื้อผ้าใส่ประดอย ฯ(ประดอย=ทำให้งามยิ่งขึ้น)

.พันธุ์พฤกษ์พลอยถึงหน้า.........ผลิ ดอก
ไม่มีใครมาบอก........................ไม่ช้า
กรรณิกาจะพลันพอก.................ผืนป่า
สะคราญสถานท้า.....................ทายฟ้าแดนสวรรค์ ฯ

. อากาศเปลี่ยนแปลงให้...........ระวัง
โรคภัยหลายประดัง...................ป่วยไข้
พยาธิสิบดบัง...........................ความสุข
ความทุกข์รุกรานให้...................ชีพไร้ราศี ฯ

. กายีแกร่ง->แรงล้น................ฤทัย
จิตแกร่งแบ่งปันไป....................กายน้อม
สัมพันธ์กายกับใจ......................แนบสนิท
สัมฤทธิ์ชีวิตพร้อม......................ต่อสู้ชะตาตรำ ฯ

. คุณธรรมกำกับให้...................ใจแข็ง
ความดีมีเรี่ยวแรง.......................ลึกล้ำ
ปัญญาพาพลิกแพลง..................เภทผ่าน
จรรยาปราการค้ำ........................ต่ำต้านมารผยอง ฯ

. ธรรมย่อมรักษาผู้....................ประพฤติ
ความดีคือที่ยึด..........................เหนี่ยวไว้
เวรกรรมตามติดฮึด.....................ไป่ขลาด
ชีวาตม์มิปราศไร้(คุณธรรม)...........จากน้ำใจตน ฯ

๑๗ ตุลามคม ๒๕๕๗

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คนดี : กลอนจรรโลงใจ



คนดี : กลอนจรรโลงใจ
(ฉันทลักษณ์ที่ผมคิดประดิษฐ์ขึ้นเอง)

    ทำดี..........................ทั้งที่(อาจ)ไม่มีผล
หรือบันดาลดล.................คืนทุกข์กลับคืนตน
คือ คนดี

    สุจริต.........................ครองชีวิตวิถี
มนัสทัศนีย์......................ค้ำจุนจำรูญ(ความ)ดี
โอ้ วีรชน

    ไมตรี.........................มีให้เหลือล้น
แด่สาธารณชน.................ด้วยฤดีพิมล
ถกลวิสุทธิ์

    คุณค่า........................ของชีวามนุษย์
คือความไม่หยุด................สรรสร้างประโยชน์ผุด
แผ่ โลกา

    จิตผดุง.......................มุ่งมาดปรารถนา
ดำเนินชีวา.......................ด้วยมานะอุตสาห์
อย่าง ระวัง

    ทำดี...........................อย่ามิยอมหยุดยั้ง
พร้อมพีพลัง......................ที่ประดาประดัง
พรั่งชีวี

    ทรงคุณ.......................เสพบุญสุนทรีย์
เป็นอยู่สุขี........................ตลอดวัน-เดือน-ปี
นิรันดร

    จิตใจ...........................ที่ประไพไกรสร
ดั่งศศิธร...........................ณ กลางฟ้าอมร
คืนเดือนเพ็ญ

    สัจธรรม........................สำนึก-ตรองตรึกเห็น
ความมี-ความเป็น................ตัณหาวิรัตเว้น(วิรัต=ไม่ยินดี)
จึงเย็นใจ

    คนดี.............................จะทำความดีไป
อย่างมิหวั่นไหว...................เพราะความรักใคร่
ใน ความดี ฯ

๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

จังหวะชีวิต : กลอนคติชีวิต








จังหวะชีวิต : กลอนคติชีวิต

    อรุณรุ่ง จรุงหนาว เข้าจังหวะ.................สุริยะ สีทอง ส่องรังสี
หมอกสีขาว พราวพร่าง ดั่งนที...................ท่วมพงพี บริสุทธิ์ ผุดผ่องพรรณ

    นภดล พ้นมี แต่สีฟ้า............................ไร้เมฆา ปรากฏ หมดจดขัณฑ์
สุดตาทอด สอดคล้อง ทำนองทัน..............จังหวะแห่ง เหมันต์ หรรษ์ฤดู

    กระเล็นร้อง เสียงแหลม แซมสายลม.......(ลูก)ตะขบกลม สีแดง แสวงสู่
จังหวะ(เสียง)เปลี่ยน ไปมา เหมือนหาคู่.......ที่ห่างหาย ไม่รู้ อยู่หนใด

    เสียงหัวใจ ไหวเต้น เป็นจังหวะ..............สอดคล้องกะ ธรรมชาติ พิลาสใส
ธรรมชาติ คือชีวิต คือจิตใจ.......................ที่นำให้ ได้อยู่ สุขารมณ์

    สิ่งปรุงแต่ง มีบ้าง อย่างจำกัด.................คล้องโลกีย์ ชีวาตม์ สวัสดิ์สม
ส่วนโลกธรรม์ บรรดา ค่านิยม.....................มิชื่นชม จมจิต ชิดบูชา

    ดำเนินชี วีจอง คล้องจังหวะ...................แห่งพุทธะ อริยสัจ ศาสนา
มีฉันทะ วิริยะ และจิตตา(จิตตะ)..................วิมังสา มาสู่ ประตูชัย

    ปลงฤดี ปรีดิ์ล่อง คลองชีวะ....................ตามจังหวะ เวลา อายุขัย
มิยึดมั่น ถือมั่น สิ่งอันใด.............................ด้วยเข้าใจ ในจิต อนิจจัง

    รู้เท่าทัน สันทัด วัฏฏ์จังหวะ....................รู้สละ อุปาทาน สังขารขัง
สิ่งที่มี ที่เป็น เฉกเช่นดัง.............................บาปบุญสร้าง จังหวะ ประสบเอย ฯ

๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การทำดีที่ย่อหย่อนย่อมมีผลน้อย : กลอนหก




การทำดีที่ย่อหย่อนย่อมมีผลน้อย : กลอนหก

    ธรรมดา เวลาที่...........................ลมหนาวปรี่ ณ ปลายฝน
เมฆคลุ้งคละ นภดล.........................บันดาลฝน แด่ชลธี

    แต่ถ้าหนาว เบาบางหน่าย.............กระแส(ลม)ไร้ คล้ายปีนี้
(บวกกับ)ความชื้นน้อย ไม่ค่อยมี.........ย่อมยากที่ ฝนสิธร(ธร=การมีไว้)

    การทำดี ก็มิต่าง..........................ต้องทำอย่าง จริงจังย้อน
ใจหนักแน่น มิแคลนคลอน.................(จึงจะ)เกิดอากร สะท้อนดี(อากร=บ่อเกิด)

    แต่ถ้าทำ(ดี)กันก้ำกึ่ง.....................ชั่วช้าครึ่ง พึงวิถี
จะว่าดี ก็ไม่ดี...................................จะได้ดี ก็มิดุล

    การใดก่อ อย่างย่อหย่อน...............(ย่อม)มีผลอ่อน ซ่อนสถุล
เคืองขัดเข็ญ มิเป็นคุณ......................กูลเกื้อใจ ไกรชีวา

    (จง)ทำความดี ถึงที่สุด..................เท่ามนุษย์ อาจอุตสาห์
ทุ่มฤดี สติปัญญา..............................ก่อนมรณา จะมาเยือน

    ศีล-ธรรมผอง มองเป็นมิตร..............กรรมสุจริต พิศเป็นเพื่อน
ใจพิสุทธิ์ ดุจดาวเดือน........................มิลางเลือน เคลื่อนจากใจ

    คุณความดี ที่กระทำ.......................จะน้อมนำ กำจรให้
มีความสุข ทุกเมื่อไป..........................พ้นเภทภัย สบายเอย ฯ

๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๗