ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567

ตำรวจสากลชี้ค้ามนุษย์อาเซียนวิกฤตระดับโลก | ทันโลก กับ Thai PBS l 28 มี....

เราจะอยู่กันอย่างนี้จริงๆหรือ?

                                           



ร้านค้า - ผู้ผลิต ร้องรัฐฯ แก้สินค้าจีนทะลัก | ข่าวค่ำมิติใหม่ | 28 มี.ค...

ดีเซลจ่อขยับแตะ 32 บาท พลังงานเร่งถกคลังลดภาษีเพิ่ม | วันใหม่ไทยพีบีเอส ...

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567

What you don't control, controls you

ขยายเวลาขายทอดตลาด "หมู่บ้านคนจีน" ที่ จ.เชียงใหม่ เข้าข่ายนอมินี | Thai...

สภาฯ ผ่านร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม | อนาคตประเทศไทย | 27 มี.ค. 67

เปิดแนวคิดธุรกิจ “กาสิโน” ในไทย หนุนสร้างงาน-ท่องเที่ยวเงินสะพัด! | BUSI...

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2567

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2567

ผงะ ป.1 ยังรู้จัก บุหรี่ไฟฟ้า พบตั้งตู้ขายกลางตลาด นักเรียนซื้อได้ง่าย :...

แชร์แวส บาทหลวงฝรั่งเศส ระบุ สมัยอยุธยา พระสงฆ์ดื่มด่ำรสพระธรรมมีน้อย

 

แชร์แวส บาทหลวงฝรั่งเศส ระบุ สมัยอยุธยา พระสงฆ์ดื่มด่ำรสพระธรรมมีน้อย

นิโกลาส์ แชร์แวส ชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามา “อยุธยา” ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้บันทึกเกี่ยวกับ พระสงฆ์ ไว้หลากหลายประเด็นอย่างน่าสนใจ

หนึ่ง ว่าด้วยเอกสิทธิ์ของพระสงฆ์ ไม่ต้องเสียส่วยและทำงานให้หลวง เหตุนี้ทำให้ชาวสยามบวชพระกันมากก็เพื่อเอกสิทธิ์นั้น ดังที่แชร์แวสบันทึกว่า

“ในบรรดาเอกสิทธิ์ทั้งปวงที่พระภิกษุได้รับอยู่นั้น การได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียส่วยทั้งสิ้นกับไม่ต้องทำงานหลวงนั้นนับว่าพ้นความลำบากอันใหญ่หลวงไปได้ เพราะการยกเว้นในประการที่สำคัญนี่เองจึงพาให้บุคคลไปบวชกันเสียมาก การอยู่อย่างเกียจคร้านในอารามต่าง ๆ นั้น เป็นเสน่ห์ดึงดูดอันทรงอำนาจของประชาชาตินี้ ซึ่งถือว่าอะไร ๆ ก็ไม่มีความสุขเท่าการดำรงชีวิตอยู่โดยไม่ต้องทำการงาน และโดยพึ่งน้ำพักน้ำแรงของผู้อื่นเขาตลอดไป…”

สอง ว่าด้วยการบวชพระเพื่อดิื่มด่ำรสพระธรรมนั้นมีอยู่น้อย ชาวสยามบวชพระไปตลอดชีวิตก็มีจำนวนน้อย ครั้นอายุมากขึ้นหากพิจารณาว่าชีวิตฆราวาสจะมีลู่ทางที่ดีกว่าก็จะสึกเสีย แต่ถ้าไม่ก็จะบวชต่อไป หรือหากมีโอกาสที่จะได้เลื่อนสมณศักดิ์สูงขึ้นก็จะบวชต่อไป ดังที่แชร์แวสบันทึกว่า

“พระภิกษุเหล่านี้ไม่มีข้อผูกพันแต่ประการใด มีเสรีภาพที่จะลาสิกขาบทกลับมาเป็นฆราวาสและแม้จะแต่งงานมีเมียก็ได้ เพียงแต่ว่าเมื่อปรารถนาจะลาสิกขาบทเมื่อใด ก็เรียนให้เจ้าอธิการทราบล่วงหน้าหนึ่งวันก่อนจะออกไปจากวัด

โดยเหตุที่บิดามารดามักจะให้บุตรของตนบวชแต่ยังมีอายุน้อย จึงมีจำนวนน้อยนักที่จะบวชไปจนตลอดชีวิต พอมีอายุได้ 25-26 ปี เมื่อเห็นว่ามีลู่ทางดี และรวบรวมเงินทองไว้ได้บ้างแล้ว ก็มักจะพากันละบรรพชิตเพศ ผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้าและสละโลกียวิสัยได้ และดื่มด่ำในรสพระธรรมนั้นมีน้อยนัก เหตุผลสำคัญ ๆ ที่เหนี่ยวรั้งไว้มิให้เขาสึกออกมาก็คือ ความหวังที่จะเลื่อนสมณศักดิ์สูงขึ้นไปในไม่ช้าหรือว่าเมื่อสึกออกไปแล้วก็จะไม่ได้รับเกียรติยิ่งใหญ่และความสะดวกสบายเท่ากับที่ยังอยู่ในวัดเท่านั้น…”

สาม ว่าด้วยพระวินัยสงฆ์ แชร์แวสเล่าถึงพระวินัยสงฆ์บางข้อที่สำคัญ ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสตรีเพศ ซึ่งดูเหมือนว่าชาวสยามจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก หากพระสงฆ์กระทำผิดพระวินัยเรื่องนี้ก็จะได้รับบทลงโทษรุนแรงถึงขั้นย่างสดเลยทีเดียว ดังที่บันทึกว่า

“มีการให้เกียรติและอภิสิทธิ์ต่างๆ แก่พระสงฆ์ เป็นการสักการะแก่พระธรรมนูญหรือวินัยสงฆ์ ซึ่งมีข้อบัญญัติอันงดงามเป็นอันมาก และซึ่งส่งเสริมพระภิกษุเหล่านี้ให้ลุการถึงพร้อมยิ่งขึ้น เหตุด้วยมีบัญญัติให้ภิกษุสงฆ์มีไว้ในครอบครองเฉพาะสิ่งที่จำเป็นแท้แก่การดำรงชีวิตเท่านั้น กล่าวคือ เครื่องนุ่งห่มประกอบด้วยผ้าสามพื้นและผ้าเก่า ๆ อีกผืนหนึ่งสำหรับนุ่งสรงน้ำ หรือเมื่อท่านใช้ถูตัวให้แก่ภิกษุรูปอื่นเท่านั้น

ให้บริจาคอาหารบิณฑบาตทานที่ได้รับมาเหลือเฟือแก่ภิกษุที่ยากจนกว่าบ้าง และมิพึงเก็บสิ่งไรไว้เพื่อบริโภคในวันรุ่งขึ้น มีข้อห้ามมิให้แสวงหาซึ่งลาภยศ แสดงอำนาจเหนือเพื่อนภิกษุด้วยกัน ชมการมหรสพ ระวังการเกี่ยวข้องกับเรื่องทางโลกย์ และการเป็นสื่อให้หญิงชายได้เสกสมรสกัน แม้จะเป็นญาติผู้ใกล้ชิดของตนก็ตาม

มีข้อห้ามโดยกำหนดโทษไว้อย่างหนักคือ การทอดตาดูมาตุคาม [หมายถึง ผู้หญิง, เพศหญิง – กองบก.ออนไลน์] รับของจากมือมาตุคาม นั่งใกล้กับมาตุคามและบนเสื่อหรือพรมผืนเดียวกัน สรุปว่ามิพึงคบค้ามาตุคามและแม้ปรารถนาที่จะทำความรู้จัก ถ้าปรากฏว่ามีผู้พบภิกษุสงฆ์ทอดสนิทแก่มาตุคามในเชิงเสน่หาด้วยประการใด ๆ ก็มีกฎหมายกำหนดโทษให้ย่างสดเสียทีเดียว

ในระหว่างที่ข้าพเจ้าอยู่ในประเทศสยามนั้น ได้มีการใช้บทลงทัณฑ์อันเข้มงวดนี้แก่ภิกษุผู้น่าสงสารสองรูปซึ่งประพฤติผิดตามวินัยข้อนี้ เป็นการแน่นอนเหลือเกินที่พวกเขาจะมิได้รับอภัยเลย เมื่อตกอยู่ในความผิดข้อใหญ่เช่นนี้ เพราะพระวินัยของเขานั้นมีข้อบัญญัติอยู่แล้ว ให้ทำตนห่างจากโลกียวิสัยทั้งปวง โดยแจ้งวิธีการที่จะบำเพ็ญจิตใจให้แน่วแน่อยู่…”

ในมุมของ นิโกลาส์ แชร์แวส นั้นมองว่า “พระสงฆ์” ใน อยุธยา ผู้แสดงธรรมเทศนาด้วยความวิริยะอุตสาหะ ประณามการประพฤติผิดอย่างรุนแรง มีกิริยาอันสงบเสงี่ยม นั้นน่าเลื่อมใสยิ่ง อย่างไรก็ตามเขามองอีกมุมหนึ่งว่า “ภายในนั้นท่านก็เหมือน ๆ กับคนธรรมดาสามัญทั่วไป และลางทีก็เลวกว่าไปเสียอีก”

[https://www.silpa-mag.com/culture/article_74125]

วัคซีน โควิด-19 mRNA ปรับเปลี่ยนพันธุกรรมเด็กในครรภ์มารดา?

 

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567

แพทย์เผย PM 2.5 มีผลต่อสมองและระบบประสาท สะสมมากเสี่ยงความจำเสื่อม - MON...

เตือน PM2.5 ทำ "สมองเสื่อม" เข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง | TNN EARTH | 2...

อันตราย! ฝุ่นทำปอดเสียหาย สาเหตุป่วยง่าย-เด็กเสี่ยงมากสุด | TNN ข่าวค่ำ ...

ขอบเขตของความมี-เป็น-ได้ : กลอนคติสอนใจ
















ขอบเขตของความมี-เป็น-ได้ : กลอนคติสอนใจ


    อัมพร (สี)อ่อนใส ไร้ขอบเขต......................(แต่)โลกนี้ ปฏิเสธ ไม่ได้ว่า

(มี)ขอบเขต เหตุ-ผล ล้นนานา....................สารพัน ปัญหา ล้อมประจัญ


    ธรรมชาติ ดาษดา คราขัดสน.......................ส่วนคน (ยัง)ดลวิกฤต ผลิตสรรค์

เพิ่มความ ยากแค้น แร้นชีวัน.......................ห้ำหั่น สันติ นิคาลัย(นิคาลัย=ตาย)

 

    วิถี ชีวาตม์ คล้อยวาสนา.............................โลกา สถานการณ์ ลานอ่อนไหว

บริบท (สร้าง)กฎเกณฑ์ ความเป็นไป............ที่ใคร ไม่อาจ ขัดขวาง-เมิน(ว่าไม่เกี่ยวกับฉัน)


    ได้แต่ ปรับตัว ปรับหัวจิต.............................(เพื่อให้)ชีวิต อยู่รอด ปลอดภัยเหิน

ต้านทาน ปัญหา อย่าเล่อเลิน.......................ประเชิญ ประชิด คิดใคร่ครวญ


    ทำอะไร ให้ดี เท่าที่(ทำ)ได้..........................ทำอะไร ไม่ได้ ไม่ผันผวน

มั่นคง ฤดี มิเรรวน.......................................(หมั่น)ทบทวน หวนจรด เก็บบทเรียน


    ธรรมชาติ ขัดสน ล้น(ข้อ)จำกัด......................โลกทัศน์ ปัจจัย ไม่แปรเปลี่ยน

จิตใจ ของคน คอยวนเวียน...........................พากเพียร พยายาม กระทำการ-


    ค้นหา นิยาม ความสำเร็จ...............................(ทะลวง)ขอบเขต ต่อไป ไร้สะท้าน

อยากมี ชีวิต พิศดาร(แปลกใหม่)...................ยาวนาน หรรษา หาเรื่อยไป


    (ยังไงก็)สะดุด หยุดลง ตรง"ขอบเขต"............สมเพช เวทนา อายุขัย

สิ่งที่ "มี-เป็น" (คิด)เห็นว่า"ได้".....................สุดท้าย (เป็นแค่ความ)ใหลหลง งงงวยเอง


๒๐ มีนาคม ๒๕๖๗


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๘. ทุติยคัททูลพัทธสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยสุนัขถูกล่าม สูตรที่ ๒
[๑๐๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นเบื้องปลายที่ใครๆ รู้ไม่ได้ เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไป สุนัขที่เขาผูกไว้ด้วยเชือก ล่ามไว้ที่หลักหรือเสาที่แข็งแรง ถ้าแม้สุนัขนั้นเดิน ก็เดินใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้สุนัขนั้นยืน ก็ยืนใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้า แม้สุนัขนั้นหมอบ ก็หมอบใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้สุนัขนั้นนอน ก็นอนใกล้ หลักหรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็น รูปว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ปุถุชนนั้น ถ้าแม้เขาเดินก็เดินใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เอง ถ้าแม้เขายืนก็ ยืนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เอง ถ้าแม้เขานั่งก็นั่งใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เอง ถ้าแม้เขานอนก็นอนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เอง.......

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2567

ผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี มิล้าสมัย : กลอนคติสอนใจ












ผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี มิล้าสมัย : กลอนคติสอนใจ


    รวงราช (ชะ)พฤกษ์ย้อย ห้อยระย้า......................รังรอง ลำยองตา หน้าคิมหันต์

ลมพัด สะบัดเห็น เช่นจำนรรจ์..........................สังสรรค์ บรรเลง เพลงประไพ


    ความเขลา ของคน ดุจมนต์ขลัง..........................ประดัง ฝังจิต ติดนิสัย

ความชั่ว ของกมล คนจัญไร.............................ต่อให้ ตายจาก มิพรากพันธ์

 

    ความดี มีปัญญา คือลาภะ...................................ช่วยให้ (มี)ชัยชนะ ชีวะหรรษ์

ความรู้ (ว่าอะไร)ชั่ว-ดี วิลาวัลย์.........................ทรงค่า คุณานันต์ นิรันดร

(วิลาวัลย์=งามเลิศ,คุณานันต์=คุณ+อนันต์)


    (ความ)รู้ใจ ใครมี ดีหรือชั่ว?................................คือประโยชน์ โชติทั่ว สโมสร

ได้พบ คนดี (เป็น)โสภีพร.................................(พบ)ชั่วชน รนร้อน สะท้อนทัณฑ์


    คบคน ไม่ดี พามีทุกข์........................................คบ(คน)ดี คลีคลุก สร้างสุขสันติ์

เสริมส่ง มงคล ดลชีวัน.....................................วัฒนา จรัล บันเทิงใจ


    ตราบที่ ยังคง ยงชีวิต.........................................(เรื่อง)ผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี มิล้าสมัย

เพราะกฎ แห่งกรรม ดำเนินไกร..........................ก่อกรรม ทำให้ ได้ผลคืน


    ศีลธรรม ความดี มีอานุภาพ.................................ชั่วทราม กำราบ ชีพราบรื่น

ปรารมภ์ สมหวัง สุขยั่งยืน..................................แช่มชื่น พื้นฐาน เปี่ยมปัญญา


    ความดี มีคุณ หมุนโลกให้...................................สู่ทาง สว่างไสว ไคลปัญหา

ความชั่ว มัวเมา เร่าโลกา....................................วัฏฏะ สังขารา บ่าเวียนวน


๑๘ มีนาคม ๒๕๖๗


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

โลกธรรมสูตร
[๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ ๘ ประการเป็นไฉน คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้ ฯ ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรม เหล่านั้นแล้ว พิจารณาเห็นว่ามีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อม ไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์ ท่านขจัดความยินดีและความยินร้าย เสียได้จนไม่เหลืออยู่ อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอัน ปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ

โควิดสายพันธุ์ JN.1 | อาการน่าเป็นห่วง EP.99 | PPTV HD 36

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2567

ทุกอย่าง(ในชีวิต)คือทางผ่าน : กาพย์ยานี๑๑




ทุกอย่าง(ในชีวิต)คือทางผ่าน : กาพย์ยานี๑๑


    จั๊กจั่น ประชัญเสียง.................................คือสำเนียง เคียงคิมหันต์

(แต่)พงพี ที่ถูกบั่น(ทำลาย)......................เสียงจั๊กจั่น จึงสั้นลง(แผ่วเบาลง)


    ความร้อน มิทอนลด................................ความทรหด จึงประสงค์

คุณค่า ของป่าดง.....................................คือ(การ)คงอยู่ คู่ความเย็น(ป่าไม้ช่วยให้อากาศชื้นเย็น)

 

    ทุกอย่าง(ในชีวิต) คือทางผ่าน..................ของ(วัฏ)สงสาร นานเนื่องเห็น

สิ่งที่ มี-ได้-เป็น........................................ล้วนเฉกเช่น อนิจจัง


    ชะตา ชีวาทิศ.........................................ถูกลิขิต ติดตามหลัง

เก่ากรรม เคยทำดัง...................................ต้นเหตุทาง ย่างชีวิน


    (ดล)ให้พบ ประสบ-เห็น...........................ได้-มี-เป็น เช่นทรัพย์สิน(ส่วนตัว)

ติดตาม ประจำจินต์...................................จวบสุดสิ้น อายุชนม์


    (ชะตา)ดี-ร้าย อย่าใหลหลง.......................สรรพสิ่งคง ทรงเหตุ-ผล

ตามกฎ แห่งกรรมกล.................................ที่เวียนวน บนวัฏฏา


    (จง)พากเพียร ทำความดี...........................คือวิถี พิสิฐา(พิสิฐ=ประเสริฐ,วิเศษ)

ปรับปรุง มุ่งพัฒนา(ตน)..............................(ชีวิต)จึงก้าวหน้า เจริญชัย


    มรรคา ของมนุษย์.....................................จักสิ้นสุด ณ จุดไหน?

เกิด-แก่-เจ็บ-ตายไป..................................อายุขัยฯลฯ ไร้ขอบ(เขต)เอย


๑๑ มีนาคม ๒๕๖๗


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค

...........ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ผู้เสด็จหลีกออกเร้นอยู่
ในที่ลับ ได้ทรงพระปริวิตกเช่นนี้ว่า โลกนี้ถึงความยาก ย่อมเกิด แก่ ตาย และ
เวียนตาย เวียนเกิด เออก็แหละบุคคลไม่รู้ชัดถึงอุบายเครื่องพ้นทุกข์ คือ ชราและ
มรณะนี้ การพ้นทุกข์ คือ ชราและมรณะนี้ จักปรากฏได้เมื่อไรเล่า ฯ

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2567

สุขใจในการงานทำ : กาพย์ฉบัง๑๖


สุขใจในการงานทำ : กาพย์ฉบัง๑๖


    "สุขใจในการงานทำ".................................คือสิ่งเลิศล้ำ

(นำ)สู่ความสำเร็จเผด็จผล


    ธรรมดาชีวะต้องผจญ.........................(กับความ)ลำบากยากล้น

แห่งหนทางสร้างสิ่งหวัง

 

    ความมักง่ายไม่(เอา)จริง(เอา)จัง.............................จักพาพลาดพลั้ง(พลาดหวัง)

มิสมดั่งจิตคิดประสงค์


    คนเอาแต่เล่นเน้นพะวง..................................(ทำ)ตามใจใหลหลง

(มักจะ)เข้ารกเข้าพงคงเข็ญ(เป็นทุกข์)


    จงสำคัญใจในประเด็น..............................ชีวิต(ต้อง)ใช้ให้เป็น(ถูกต้อง)

จึงอยู่ร่มเย็นเป็นสุขสันติ์


    คนใดที่มีชีวัน....................................อยู่ไปวันๆ

อนาคตนั้น(ย่อมจะ)มิมั่นคง


    ผู้ที่มีใจซื่อตรง............................(จะ)เกื้อกูลหนุนส่ง

ไม่หลงทางผิดคิดฉล


    อุตสาหะและอดทน...............................ทำงานการกล

สู้ประจญเอาจริงเอาจัง


    งานหนัก(ยาก)ไม่ควรชิงชัง..........................งานเบา(ง่าย)เฝ้าระวัง

เปรียบดั่งอาทิตย์สฤษฎ์แสง(สว่าง)


    มิเว้นว่างวันสรรค์แต่ง...........................เจิดจรัสชัดแจ้ง(เต็มศักยภาพ)

สำแดงวิจิตรนิมิตเอย


๙ มีนาคม ๒๕๖๗

สลด "พะยูน" ผอมแห้ง แหล่งอาหารหญ้าทะเลตายเรียบ | ทันข่าวค่ำ | NationTV22


ผงะ! ผลผ่าพิสูจน์ #พะยูนเกยตื้น พบ #พยาธิ - #ไมโครพลาสติก เต็มท้อง

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2567

ทำดีเท่าที่ทำได้ : กลอนคติเตือนใจ







ทำดีเท่าที่ทำได้ : กลอนคติเตือนใจ


    อุณหภูมิ ร้อนรุมเร่า.................................ตั้งแต่เช้า จวบค่ำเข็ญ

ปลูกต้นไม้ หวังได้เย็น............................บางคนเห็น เป็น(สิ่ง)ขวาง(หูขวาง)ตา


    ผลประโยชน์ ฉลโฉดใคร่.........................ตัดต้นไม้ (เผา-บุกรุก)ทำลายป่า

เข้าจับจอง เป็นของข้า............................มิสนว่า โลกจะมลาย

 

    คน(อื่น)ทำดี มิเสริมส่ง.............................ยังคิดโกง ประสงค์ร้าย

ช่างทิ้งทอด ชาติ(จะ)วอดวาย..................ปราศละอาย ในกระมล


    การทำดี มีอุปสรรค..................................เพราะพวกรัก มักชั่วฉล

เรื่องธรรมดา ทั่วสากล.............................ที่มีคน ฉลชั่วนอง


    เป็นคนดี เพราะความดี(คิดพูดทำดี)...........หาได้มี เชื้อชาติ(กำเนิด)ข้อง

แม้มีทรัพย์ สินเงินทอง(ยศศักดิ์ฯลฯ).........มิใช่ช่อง มอง(ว่าเป็น)"ผู้ดี"


    คนดีทำ ความดีง่าย..................................คนชั่วร้าย ง่ายบัดสี

ความกตัญญู กตเวที................................คือวิถี แห่งธีรชน


    แม้(ตั้งใจ)ทำดี มิควร(ยึดมั่น)ถือ(มั่น)..........เพราะว่าคือ เหตุอกุศล

(การ)ยึดมั่นตัว ตน-ของตน.......................หาใช่หน ทางยั่งยืน(อริยมรรค)


    ทำความดี (เท่า)ที่ทำได้...........................(หาก)ทำไม่ได้ อย่าไปฝืน

ปล่อยวางเป็น เร้นกล้ำกลืน......................สิ้น(ทุกข์)ขมขื่น สะอื้นเอยฯ


๗ มีนาคม ๒๕๖๗


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

๘. อานันทสูตร

             [๑๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทก-
*นิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในวันอุโบสถเวลาเช้า ท่าน-
*พระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์ พระ-
*เทวทัตต์ได้เห็นท่านพระอานนท์กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในพระนครราชคฤห์ จึงเข้า
ไปหาท่านพระอานนท์ แล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอาวุโสอานนท์
บัดนี้ ผมจักกระทำอุโบสถและสังฆกรรมแยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุ-
*สงฆ์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตใน
พระนครราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาตในภายหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า
ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์ พระ-
*เทวทัตต์ได้เห็นข้าพระองค์กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในพระนครราชคฤห์ จึงเข้าไปหา
ข้าพระองค์ ครั้นแล้วได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรอาวุโสอานนท์ บัดนี้ ผม
จักกระทำอุโบสถและสังฆกรรมแยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์ ตั้ง
แต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ พระเทวทัตต์จักทำลายสงฆ์ จัก
กระทำอุโบสถและสังฆกรรม ฯ
             ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง
อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
                          ความดีคนดีทำได้ง่าย ความดีคนชั่วทำได้ยาก ความชั่ว
                          คนชั่วทำได้ง่าย ความชั่วพระอริยเจ้าทั้งหลายทำได้ยาก ฯ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลายนั้น
ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภูมิอสัตบุรุษเป็นไฉน อสัตบุรุษย่อมเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ก็ความเป็นคน
อกตัญญูอกตเวทีนี้ อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคน
อกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิอสัตบุรุษทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ
ย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษทั้งหลาย
สรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้เป็นภูมิ
สัตบุรุษ ฯ