ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564

เราได้ทำลายทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลกไปเรียบร้อยแล้ว

ชีวีและสิ่งมีค่า : กาพย์ยานี๑๑


ชีวีและสิ่งมีค่า : กาพย์ยานี๑๑


    (ทุก)ชีวี มีโอกาส......................................(และ)ความมุ่งมาด สารพัดสิ่ง

แต่ตาม ความเป็นจริง...........................น้อยยิ่งนัก จักสมใจ


    ลางที มีโชค(ห้อม)ล้อม.............................แต่(อาภัพ)ความพร้อม(รับ-รักษา) หามีไม่

โชคเกลื่อน ก็เหมือนไกล......................ไม่สมมาด ปรารถนา


    (โชค)ดี-ร้าย กรายมาสู่..............................ย่อมขึ้นอยู่ กับชะตา(กรรม)

(ที่)ต่างคน ต่างทำมา(ต่างกัน)................บ่อาจแบ่ง แก่งแย่งใคร

 

    (บ่อยครั้ง)สิ่งที่ มีคุณค่า.............................ผ่านเข้ามา (แต่)หารู้(คุณค่า)ไม่

(จน)ที่สุด หลุดลอยไป...........................อย่างที่ไม่ หวนกลับมา(อีกเลย)


    ต่อให้ ได้(พบ-รับ)ของดี............................หาก(ใคร)ไม่มี วาสนา

ขัดสน จนปัญญา(ความรู้).......................(ก็)ไม่(อาจ)รักษา น่าเสียดาย

 

    ดื่นชน บนโลกนี้.......................................ประสบมี-สูญ-เสีย-หาย

(บางคน)รู้ทั้งรู้ แต่ดูดาย..........................มิมั่นหมาย(แสวงหา-รักษา) ในตัวตน(เอง)

 

    เช่นใคร ไม่รักดี........................................ใช้ชีวี วิถีฉล

(ความ)ทุกข์ยาก ลำบากล้น.....................ตามให้ผล จนร่ำไป


    (เช่น)สุขภาพ ดีกลับ(กลายเป็น)แย่.............เพราะมัวแต่ แส่สาไถย

เหล้า-ยา-สารพัดภัยฯลฯ..........................รนหาให้ ทำลาย(สุขภาพ)ตนฯลฯ


    กิเลส และตัณหา......................................เป็นบุพพา อกุศล(บุพพ-=เบื้องต้น)

(ผู้)รักดี นิรมล.........................................เพียรฝึกตน ให้พ้นเทอญ


๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔

วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564

โชคดี-โชคร้าย : กาพย์ยานี๑๑


โชคดี-โชคร้าย : กาพย์ยานี๑๑


    โชคดี (เป็น)สีชมพู......................................ทุกด้านดู สวยหรูล้ำ

เลื่อมเรื่อ เหนือทองคำ...............................ชวนจดจำ สำราญใจ


    โชคร้าย คล้ายดำสี......................................ดูไม่ดี มิอยากได้

ประสบ พบคราใด.......................................ทำให้จิต อิดหนาจินต์


    โชคดี มั่งมีได้.............................................ครั้นโชคร้าย ไคลทรัพย์สิน

โศกา น้ำตาริน............................................มากยินดี มีชลนัยน์(เหมือนกัน)

 

    (ยาม)โชคดี มีความสุข................................โชคร้ายรุก ทุกข์หลั่งไหล

เสพสุข แสนถูกใจ.......................................ทุกข์เสือกไส ไร้อภิรมย์


    จดจำ แต่ความสุข.......................................ส่วนความทุกข์ ซุก-ซ่อน-ถม

คือวิธี ยอดนิยม...........................................ในสังคม บ่มสอนกัน

 

    สุข-ทุกข์ ผูกปัจจัย......................................ก่อกรรมไว้ มิใช่ฝัน(ใฝ่)

มองเมียง เพียงโลกธรรม์..............................ที่ผันแปร ไม่(เที่ยงแท้)แน่นอน

 

    ปล่อยวาง อย่าสร้างหวัง(สุข).......................หรือชิงชัง(ทุกข์) ต่าง(ทำให้)เดือดร้อน

โชคชะตา(เป็นอย่างไร) อย่าอาทร.................สังวรณ์ใจ ต่อ"ไตรลักษณ์"


    (เมื่อ)ไม่ยิน ดี-ยินร้าย..................................โชคดี(หรือโชค)ร้าย ใจประจักษ์

(ล้วน)ผ่านไป เหมือน(แวะมา)ทายทัก............ไม่คึกคัก (หรือ)หนักใจเอ


๒๓ มีนาคม ๒๕๖๔

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564

การยับยั้งใจ : กาพย์ฉบัง๑๖


การยับยั้งใจ : กาพย์ฉบัง๑๖


    ฤดีที่ไร้สิ่งยับยั้ง.........................เปรียบประดุจดัง

นกขาดกรงขังรังนอน


    เที่ยวระหกระเหเร่ร่อน.........................ตะลุยตะลอน

หมดความสังวรจรจรัล(จรจรัล=เที่ยวไป,เดินไป)


    มักประสบปัญหาสารพัน.........................เสี่ยงชะตาอาสัญ

กลางคืนกลางวัน(อกสั่น)ขวัญแขวน

 

    (เปรียบเสมือน)หัวใจไร้สิ้นดินแดน............................มีอิสระแสน

หากแม้นขาดสิ่งยับยั้ง(ใจ)


    มักทำตามใจใฝ่(ดัน)ทุรัง............................(จนต้อง)เสียใจภายหลัง

หากยังมิม้วยมรณา

 

    ตัวอย่างหลั่งไหลในโลกา.............................จิตที่อิสรา(ขาดการยับยั้งใจ)

มักจะนำปัญหามาให้

 

    ปราชญ์(ทั้งหลาย)จึงสั่งสอน(ให้)สังวรใจ.............................(ยึด)ถือศีลธรรมไว้

ไม่ออกนอกลู่นอกทาง


    ยับยั้งจิตใจไม่ปล่อยวาง.............................ทำตามใจต่างๆ

เหินห่างจริยาอาศัย

 

    จงรู้จักข่มจิตข่มใจ..............................โดยมิต้องให้

ผู้ใดคอยเตือนสติ

 

    (ความมี)วุฒิภาวะฯลฯ เป็นอาทิ..............................โดดเด่นเป็นสิริ

สุธีนิมิตชีวิตเอยฯ(สุธี=นักปราชญ์,คนฉลาด)


๒๒ มีนาคม ๒๕๖๔


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[139] ฆราวาสธรรม 4 (ธรรมสำหรับฆราวาส, ธรรมสำหรับการครองเรือน, หลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ )
       1. สัจจะ (ความจริง, ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง)
       2. ทมะ (การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว, รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา)
       3. ขันติ (ความอดทน, ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย)
       4. จาคะ (ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว)
https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=139

ศีลธรรมสร้างความร่มเย็น : กลอนคติสอนใจ



ศีลธรรมสร้างความร่มเย็น : กลอนคติสอนใจ


    แสงแดด แผดจ้า ชวนอาวรณ์.............................(หวัง)ความร้อน ผ่อนคลาย ด้วยสายฝน

แหงนมอง ท้องฟ้า นภดล..............................สุริยน อุกฤษฎ์ ฤทธิไกร


    มวลอา กาศเย็น(จากจีน) เป็นความหวัง...............(เมื่อ)แทบทั้ง ประเทศ เขตป่าไม้

ถูกบุก รุกตัด เหตุปัจจัย.................................ทำให้ ความร้อน ย้อนพารา


    แตกต่าง อย่างไร กับใจคน?..............................ร้อนรน เพราะกิเลส และตัณหา

ความไร้ ศีลธรรม คอยนำพา...........................ปัญหา สารพัน มาบั่นทอน

 

    มากเกิน เงื่อนไข ปัจจัย๔..................................(สิ่ง)อยากเป็น อยากมี ที่ลานสลอน

การกระทำ ต่ำช้า คืออากร..............................ของความ เดือดร้อน ย้อนผลกรรม(อากร=บ่อเกิด)


    อาศัย ศีลธรรม ส่องนำทิศ.................................พิชิต (ความ)ผิดพลาด ที่อาจถลำ

แสวงหา ในกรอบ (ของ)ความชอบธรรม...........ห้ามทรวง ล่วงล้ำ ทรามทั้งมวล

 

    ตัณหา เกลศ เจตขับไส....................................จิตใจ สุขสันติ์ มิผันผวน(เกลศ=กิเลส)

เชื่อ(ใน)กฎ แห่งกรรม เลิกคร่ำครวญ................(คิดฉงน)สนเท่ห์ เรรวน กระบวนการ

 

    ที่สุด ของความ สงบสุข....................................(ที่สุดของความ)สิ้นทุกข์ จงตัด วัฏสงสาร

(เมื่อ)ความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย บรรลัยลาญ.........ความเดือดร้อน รำคาญ พลันสิ้นเอ


๒๒ มีนาคม ๒๕๖๔

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564

เปิดคำสอนสำนักสงฆ์สุดเพี้ยน สอนเสพเมถุน | 19-03-64 | ไทยรัฐนิวส์โชว์


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร๑-
[๑๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ได้รับสั่งกับภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย ที่สุด ๒ อย่างนี้ บรรพชิตไม่พึงเสพ กล่าวคือ ๑. กามสุขัลลิกานุโยคในกามทั้งหลาย (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขใน กามทั้งหลาย) เป็นธรรมอันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๒. อัตตกิลมถานุโยค(การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) เป็น ทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น ตถาคตได้ ตรัสรู้อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ๒- ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อ ความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้ เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพานนั้นเป็นไฉน



๖. ปัญจวัคคิยกถา

มัชฌิมาปฏิปทานั้น ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ๑- ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ภิกษุทั้งหลาย นี้คือมัชฌิมาปฏิปทานั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทา ก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน
             [๑๔] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขอริยสัจ คือ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความเจ็บก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ความ
ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็น
ทุกข์ ความไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์
             ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขสมุทยอริยสัจ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก
ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์
นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา......(มีต่อ)
https://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=4&siri=10

ทำดีต้องละความชั่ว : กลอนคติสอนใจ


ทำดีต้องละความชั่ว : กลอนคติสอนใจ


    เพียงราตรี ลี้-ลับ ประทับหล้า...............................พลันมืดมน อนธการ์ มลายสูญ

โลกทัศน์ ชัดเจน เด่นจรูญ..............................(การ)รู้เห็นเริ่ม เพิ่มพูน กูลทวี


    ยามแสงทอง ส่องฟ้า ทิพาวัน..............................แสนอัศจรรย์ บันดล ผลสุขศรี

ปวงพฤกษา ผาสุก ปลุกชีวี.............................เหล่าปักษี เสรีร่ำ เพลงดำเนิน


    อรุณจุ่ง จรุงจิต พิสมัย........................................ทุกภาษา กวีไซร้ ให้(คำ)สรรเสริญ

อภิรมย์ พรมเพรื่อ ชนเชื้อเชิญ.........................ร่วมสุขล้ำ จำเริญ เพลิดเพลินใจ

 

    เพียงฤทัย ไร้สิ้น อกุศล......................................พลันเพริศผล กมลพร่าง สว่างไสว

มลทินยก รกเรื้อ สิ้นเยื่อใย..............................มองเห็นใจ ใสพิสิฐ มีอิสรา


    การละลด ปลดเปลื้อง เรื่องโฉดชั่ว......................ต้องรู้ตัว หัวใจ (ลดละ)ไร้ตัณหา(เสียก่อน)*

วิริยะ ละ(ลด)กิเลส ตั้งเจตนา...........................ล้างอุรา ปฏิกูล สูญสิ้นไป(เป็นจุดเริ่มต้น)

 

    ตราบเท่าที่ ฤดียัง สร้าง(ความ)สกปรก.................อกุศล วิตก รกนิสัย

ถึงรับศีล สวดมนต์ บ่นร่ำไร..............................(ก็)หาทำให้ ใครสะอาด ปราศบาปกรรม

 

    ความมืดย่อม ขัดขวาง (ความ)สว่างไสว..............อกุศล กมลไส ให้ตกต่ำ

คอยขัดขวาง ทางสถิต พิสิฐธรรม.....................ถ่วงวิถี ศีลธรรม สิ้นอำไพ

 

    การทำดี (จึง)ต้องลี้ลับ ดับความชั่ว.....................จึง(จะ)สำเร็จ เสร็จทั่ว มิรั่วไหล**

จะเป็นคน สุจริต ต้อง(มี)จิตใจ-.........................มิสาไถย ไม่ทุจริต เป็นนิจเอ


๒๐ มีนาคม ๒๕๖๔


พระพุทธเจ้า ตรัสสอน "โอวาทปาฏิโมกข์" (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)

การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม การทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ฯลฯ

สังเกตได้ว่า

คำสอนนี้เริ่มต้นด้วย "การไม่ทำบาป" ก่อน "การทำดี" เสียอีก


*กิเลสตัณหา เป็นต้นเหตุแห่งการทำชั่ว

การจะระงับความชั่วจึงต้องขจัดกิเลสตัณหาก่อน


**การทำดีโดยไม่ละเว้นความชั่ว มักเป็นการทำชั่วที่เอาความดีบังหน้า เสียเป็นส่วนใหญ่

เช่น ช่วยเหลือคนอื่นเพื่อหวังทวงบุญคุณภายหลัง

ทำบุญกับพระ-วัด 100 บาท แล้วอธิษฐานขอให้ได้ผลบุญกลับคืน 100 เท่า 1,000 เท่า

ซึ่งก็คือ 1 หมื่น - 1 แสนบาท

ทุจริตเงินแผ่นดิน 100 ล้าน แบ่งเงินไปทอดกฐิน 1 แสน แล้วอธิษฐานขอให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์

ฯลฯ

การทำดี ที่ไม่ละเว้นความชั่วเสียก่อน จึงมักไม่เป็นการทำความดี แต่เป็นความชั่ว

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564

มิจฉาอาชีวะ : กลอนคติเตือนใจ



มิจฉาอาชีวะ : กลอนคติเตือนใจ


    คนส่วนใหญ่ ใคร่เมามัว..............................ข่าวพาดหัว (จึง)มุ่งแต่หวย

ล้นโลภมาก อยากร่ำรวย(เร็วๆ)................กิจอำนวย ด้วยการพนัน


    เณร-พระ-โยมฯลฯ นิยมเสี่ยง.......................เสียเงินเยี่ยง เพียงเพ้อฝัน

ปรารถนา ล่ารางวัล................................(แต่)แทบทั้งนั้น ผลาญทรัพยา

 

    หายใจเข้า หายใจออก...............................เป็นเลขบอก ออกงวดหน้า

เช้าตักบาตร (สาย)เข้าวัดวา....................กราบบูชา ขอโชคมี


    งานประจำ ทำพอให้..................................พ้นมือไป ไร้สุขี

เหมือนฝืนใจ มิใยดี................................ทำหน้าที่-ให้บริการฯลฯ

 

    คือมิจฉา อาชีวะ........................................ขาดธรรมะ เป็นพื้นฐาน

จิตอกุศล สร้างผลงาน............................ย่อมบันดาล พาลผลพลี

 

    อันโชคลาภ แลทรัพย์สิน............................เป็นชีวิน ชะตาวิถี(ชะตาชีวิต)

ใครก่อกรรม ทำความดี...........................ย่อมได้ดี มิต้อง(พึ่งการ)พนัน

 

    ใครทำชั่ว ชั่วสนอง....................................ปราศโชคพ้อง ช่องทางผัน

เสียแต่เงิน เผชิญชีวัน.............................สิ้นสุขสันติ์ สำราญใจ

  

    คนจะรวย หวยไม่ต้อง-...............................การเกี่ยวข้อง พ้องเงื่อนไข

ถือ "สัมมา อาชีวะ"ไว้..............................อุตส่าห์ไป ให้สมบูรณ์


    ความสุจริต ควรคิดเฟ้น..............................จักร่มเย็น ลำเค็ญสูญ

อบายมุข(ทำให้)→ทุกข์เพิ่มพูน................อย่าอาดูร เทิดทูนเลย


๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2564

ถึงเป็นคนดี ก็มิควรประมาท : กลอนคติเตือนใจ









ถึงเป็นคนดี ก็มิควรประมาท : กลอนคติเตือนใจ


    ถึงจะเป็น คนดี (ก็)มิสามารถ..............................ปิดตาเดิน นวยนาด ข้ามถนน

(เพราะ)จังหวะเหมาะ เคราะห์มี รถปรี่ชน...........หนีไม่พ้น ทุพพลภาพ / ดับชีวา


    แม้มั่นใจ ในความดี ที่เพียรสร้าง.........................ทว่าการ เหยียบย่าง กลางโลกหล้า

ใครก็อย่า ประมาท อาชญา..............................ความชั่วช้า ประจำใน ใจหมู่ชน

 

    มีอะไร (ชั่ว)ร้ายเท่า คนเล่าหนอ?........................หมั่นกำเนิด เกิดก่อ อกุศล

สถิตทรวง ดวงแด เห็นแก่ตน...........................(มัก)ทำสิ่งใด ไม่สน คน(อื่นทุกข์)ทรมาน


    การวางไว้(ไว้วาง) ใจคน จักจนจิต......................(เพราะ)ความทุจริต มิจฉา คือมาตรฐาน-

ของผู้คน ทั่วไป ในสาธารณ์.............................จิตหยาบช้า สามานย์ พาลฤดี

 

    สารพัดภัย หลายหลาก จากมนุษย์......................คือที่สุด ของภัย ในโลกนี้

ภัยธรรมชาติ สัตว์ร้าย ในปัถพี...........................หาได้มี ที่โหดเหี้ยม ทัดเทียมคน

 

    ธรรมชาติ มนัสไซร้ วางใจยาก............................เพราะส่วนมาก มักใคร่ ใฝ่อกุศล

ถึงลำธาร อันลดเลี้ยว คดเคี้ยวชล......................ยังมิยล เยี่ยงคนคด มดเท็จครอง

 

    ถึงจะเป็น คนดี (ก็)มิควรประมาท.........................เพราะชีวี จะพินาศ พลาดผลผอง

ความประมาท เป็นมัจจุ ผู้ช่ำชอง..........................คอยเฝ้ามอง จ้องหาเหยื่อ ทุกเมื่อ(เชื่อ)วัน(มัจจุ=ความตาย)

  

    อย่ามั่นใจ ในความดี ที่ทำแล้ว............................สิสามารถ พาคลาดแคล้ว แผ้วอาสัญ

ใคร(ล่วง)รู้เห็น เวรกรรมเก่า อย่างเท่าทัน?.........(แม้)พระอรหันต์ ยังพันตู สู่ความตาย


    ปราชญ์ใดสอน สั่งให้ ไว้ใจมนุษย์?.....................ผู้ประดุจ ภูตผี ปีศาจร้าย

ความประมาท คือหนทาง แห่งวางวาย...............คนประมาท คือคนตาย(แล้ว)* ใคร่ครวญเทอญ


๗ มีนาคม ๒๕๖๔


* พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที่ ๒
[๑๒] ความไม่ประมาท เป็นทางเครื่องถึงอมตนิพพาน ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย ชนผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย ชน เหล่าใดประมาทแล้วย่อมเป็นเหมือนคนตายแล้ว บัณฑิต ทั้งหลายตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ทราบเหตุนั่นโดยความ แปลกกันแล้ว ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.....