๏ ฤดีที่ไร้สิ่งยับยั้ง.........................เปรียบประดุจดัง
นกขาดกรงขังรังนอน
๏ เที่ยวระหกระเหเร่ร่อน.........................ตะลุยตะลอน
หมดความสังวรจรจรัล(จรจรัล=เที่ยวไป,เดินไป)
๏ มักประสบปัญหาสารพัน.........................เสี่ยงชะตาอาสัญ
กลางคืนกลางวัน(อกสั่น)ขวัญแขวน
๏ (เปรียบเสมือน)หัวใจไร้สิ้นดินแดน............................มีอิสระแสน
หากแม้นขาดสิ่งยับยั้ง(ใจ)
๏ มักทำตามใจใฝ่(ดัน)ทุรัง............................(จนต้อง)เสียใจภายหลัง
หากยังมิม้วยมรณา
๏ ตัวอย่างหลั่งไหลในโลกา.............................จิตที่อิสรา(ขาดการยับยั้งใจ)
มักจะนำปัญหามาให้
๏ ปราชญ์(ทั้งหลาย)จึงสั่งสอน(ให้)สังวรใจ.............................(ยึด)ถือศีลธรรมไว้
ไม่ออกนอกลู่นอกทาง
๏ ยับยั้งจิตใจไม่ปล่อยวาง.............................ทำตามใจต่างๆ
เหินห่างจริยาอาศัย
๏ จงรู้จักข่มจิตข่มใจ..............................โดยมิต้องให้
ผู้ใดคอยเตือนสติ
๏ (ความมี)วุฒิภาวะฯลฯ เป็นอาทิ..............................โดดเด่นเป็นสิริ
สุธีนิมิตชีวิตเอยฯ(สุธี=นักปราชญ์,คนฉลาด)
๒๒ มีนาคม ๒๕๖๔
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
[139] ฆราวาสธรรม 4 (ธรรมสำหรับฆราวาส, ธรรมสำหรับการครองเรือน, หลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ ) 1. สัจจะ (ความจริง, ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง) 2. ทมะ (การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว, รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา) 3. ขันติ (ความอดทน, ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย) 4. จาคะ (ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว) https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=139 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น