ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ไฟป่าแคนาดาสัญญาณเตือนโลกกำลังวิกฤต | วิเคราะห์สถานการณ์ต่างประเทศ | 8 ม...

โลกเตรียมรับมือ ไฟป่าโหมรุนแรงเพิ่มอีก 30% l TNN World Today

วิกฤตอากาศเปลี่ยน

ทำไมคนไทยสมัยก่อนไม่เอา “พระพุทธรูป” เข้าบ้าน ไม่ใส่ “พระเครื่อง” ที่ตัว ?

                 

ดินเผารูปกวางกับธรรมจักรแทนพระพุทธรูป มีคาถาประกอบเบื้องล่าง พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติได้จากอินเดีย 
(ภาพจาก หนังสือพระเครื่องในสยาม)

ทำไมคนไทยสมัยก่อนไม่เอา “พระพุทธรูป” เข้าบ้าน ไม่ใส่ “พระเครื่อง” ที่ตัว ?

ที่มาหนังสือ "พระเครื่องในเมืองสยาม"ผู้เขียนศรีศักร วัลลิโภดมเผยแพร่

วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ในปี 2030 ทะเลอาร์กติกหรือบริเวณขั้วโลกเหนือ จะไม่มีน้ำแข็งอีกต่อไปในช่วงฤดูร้อน

                                           คลิป กับ เนื้อข่าว ไม่ได้มาจากแหล่งเดียวกัน


ในช่วงปี 2030 ทะเลอาร์กติกหรือบริเวณขั้วโลกเหนือ จะไม่มีน้ำแข็งอีกต่อไปในช่วงฤดูร้อน

นักวิทย์เผย ในช่วงปี 2030 ทะเลอาร์กติกหรือบริเวณขั้วโลกเหนือ จะไม่มีน้ำแข็งอีกต่อไปในช่วงฤดูร้อน

นักวิทยาศาสตร์ออกมาเปิดเผยผลการวิจัยใหม่ซึ่งระบุว่า ในช่วงปี 2030 ที่จะถึงนี้ ภาวะโลกร้อนจะรุนแรงถึงขั้นว่า ทะเลอาร์กติก หรือบริเวณขั้วโลกเหนือ จะไม่มีน้ำแข็งอีกต่อไปในช่วงฤดูร้อน และเตือนว่า โลกจำเป็นต้องเตรียมการสำหรับรับมือสภาพอากาศสุดขั้วที่จะเพิ่มขึ้นทั่วบริเวณซีกโลกเหนือ

การวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า หากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงอย่างรวดเร็ว อาร์กติกจะปลอดน้ำแข็งในช่วงฤดูร้อน (เดือนกันยายน) ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า

แต่หากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงอย่างช้า ๆ หรือเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฤดูร้อนที่ปราศจากน้ำแข็งของอาร์กติกอาจเกิดขึ้นในช่วงปี 2030 ซึ่งเร็วกว่าการคาดการณ์ครั้งก่อนถึง 10 ปี

การวิจัยแสดงให้เห็นว่า 90% ของการที่น้ำแข็งหลอมละลายเป็นผลมาจากความร้อนของโลกที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์

นับตั้งแต่การสำรวจข้อมูลด้วยดาวเทียมเริ่มขึ้นในปี 1979 พบว่า น้ำแข็งอาร์กติกในช่วงฤดูร้อนหดตัวลงไป 13% ทุกทศวรรษ ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดของวิกฤตสภาพอากาศ

ศ.เดิร์ก นอตซ์ จากมหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “น่าเสียดายที่มันสายเกินไปแล้วที่จะรักษาน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกช่วงฤดูร้อนเอาไว้ได้”

เขาเสริมว่า “ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ เราได้เตือนเกี่ยวกับการสูญเสียน้ำแข็งในทะเลในฤดูร้อนของอาร์กติกมาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว นี่คือองค์ประกอบหลักอันดับแรกของระบบโลกที่เรากำลังจะสูญเสียไปเพราะภาวะโลกร้อน แต่ผู้คนไม่ฟังคำเตือนของเรา”

ด้านศาสตราจารย์ มิน ซึงกิ จากมหาวิทยาลัยโพฮัง ประเทศเกาหลีใต้ หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า “ผลกระทบที่สำคัญที่สุดสำหรับสังคมมนุษย์คือการเพิ่มขึ้นของสภาพอากาศสุดขั้วที่เรากำลังประสบอยู่ในขณะนี้ เช่น คลื่นความร้อน ไฟป่า และน้ำท่วม เราจำเป็นต้องลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น และเตรียมปรับตัวให้เข้ากับภาวะโลกร้อนในอาร์กติกที่เร็วขึ้นและผลกระทบต่อสังคมมนุษย์และระบบนิเวศ”

ในการศึกษานี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุว่า ก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นมีส่วนทำให้น้ำแข็งละลายมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงของความเข้มของดวงอาทิตย์และการปล่อยก๊าซจากภูเขาไฟ

“ต้องโทษมนุษย์จริง ๆ ว่าเป็นต้นเหตุของการสูญเสียน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกเกือบทั้งหมดจากที่เราเฝ้าสังเกตการณ์” นอตซ์กล่าว

ทั้งนี้ นักวิมจัยไม่สามารถระบุปีที่ชัดเจนได้ว่า ฤดูร้อนแรกที่อาร์กติกจะปราศจากน้ำแข็งคือปีใด เนื่องจากความแปรปรวนตามธรรมชาติในระบบภูมิอากาศ

การละลายเร็วขึ้นของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกจะทำให้เกิดวงจรความร้อนในมหาสมุทร เพราะเมื่อน้ำแข็งละลาย มหาสมุทรจะดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์มากขึ้น ผลที่ตามมาคืออุณหภูมิในอาร์กติกจะร้อนเร็วขึ้น และนักวิทยาศาสตร์มีหลักฐานว่า สิ่งนี้จะทำให้กระแสลมกรด (Jet Stream) อ่อนกำลังลง และนำไปสู่เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย

คลื่นความร้อนที่แผดเผาในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ในปี 2021 และอุทกภัยครั้งใหญ่ในปากีสถานในปี 2022 เป็นลักษณะของภัยพิบัติที่อาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากกระแสลดกรดที่อ่อนลง

มิน ซึงกิ กล่าวว่า ความร้อนในอาร์กติกที่เร็วขึ้นยังเร่งการละลายของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น รวมถึงเร่งการละลายของพื้นที่เพอร์มาฟรอสต์

(https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/198146)