ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ติดใจโลกคือโชคร้าย : กลอนจรรโลงใจ



ติดใจโลกคือโชคร้าย : กลอนจรรโลงใจ

    พลันโลกา พ้นราตรี มีกลิ่น(หอม)กรุ่น....................รุ่งอรุณ พูนพอก หมอกสีขาว

หยาดน้ำค้าง กลางแสงทอง ส่องสกาว.................ดั่งหมู่ดาว เร้าเล่น เย็นสายลม


    แจ้วจำเรียง เสียงปักษี ดนตรีกล่อม.......................ดังแพร่พร้อม ล้อมป่า สวรรค์สม

(ชีวิต)สงบเย็น เป็นปัจเจก เอกอุดม......................เมื่อเหินห่าง สังคม วิกรมการ

 

    ความหลงใหล ติดใจโลก คือโชคร้าย....................การเวียนว่าย ตายเกิด เชิดสงสาร(วัฏ)

เสมือนต้อง คำสาป ตราบกาลนาน........................ให้พบพาน ทุกข์โศก โลกซานซม


    เลิกหลงใหล ในโลก เริ่มโชคดี..............................ไม่สุขี (กับการ)มีสังขาร เป็นขั้นปฐม

คือต้นทาง ความคิด อิฏฐารมณ์.............................พ้นทุกข์ทาง สั่งสม นิยมยอม


    (การ)มองเห็นภัย ในภพ-วัฏสงสาร..........................ส่งเสริมการ ขันแข็ง พลิกแพลงพร้อม

เมินโลกา ค่านิยม โสมมมอม.................................หทัยน้อม นับถือ โลกุตระ


    ช่วยให้การ ศึกษา อริยสัจ.......................................ไม่ติดขัด ตัดสินใจ ใคร่เสียสละ

ทิ้งทางโลก มุ่งทางธรรม นำชีวะ............................ไม่เสียดาย ไม่สะดุด หยุดพากเพียร

 

    บ่เกิดการ เรรวน เหหวนกลับ....................................อริยะรับ ปรับกมล อกุศลเหี้ยน

หยุดก่อทราม ทำดี ไร้ติเตียน.................................เลิกวนเวียน โลกีย์ อภิรมย์


    ความน้อมใจ ในปรมัต ถ(ะ)สัจจะ..............................เป็นตบะ ประเสริฐ เลอเลิศสม

คือโชคลาภ วาสนา สิทธาชม.................................(ส่วน)คนโง่งม คงไม่ เข้าใจเอยฯ(สิทธา=ฤษี)


๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๕


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

อัฏฐานบาลี
[๑๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงยึดถือ สังขารไรๆ โดยความเป็นสภาพเที่ยงนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารอะไรๆ โดยความเป็นสภาพ เที่ยงนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงยึดถือ สังขารไรๆ โดยความเป็นสุขนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสุขนั้น เป็นฐานะ ที่จะมีได้ ฯ [๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงยึดถือ ธรรมไรๆ โดยความเป็นตนนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือธรรมไรๆ โดยความเป็นตนนั้น เป็นฐานะ ที่จะมีได้ ฯ
......ฯลฯ......

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565

สด!! โรงแรมเดวิสสุขุมวิท 24 "ชูวิทย์"แฉแหลก กลุ่มทุนนักธุรกิจจีนฮุบธุรกิ...

ธุดงค์หลงทาง : กลอนคติเตือนใจ







ธุดงค์หลงทาง : กลอนคติเตือนใจ

    พระธุดงค์ หลงทาง กลางกิเลส..............................เพราะต้นเหตุ ธรรมวินัย ไม่ถือสา

ทำอะไร ตามใจตน ล้นอวิชชา.............................แต่อุบาทว์ ประกาศกล้า "ข้า(คือพระ)ธุดงค์"


    เดินยังมี ดอกไม้ (คนคลั่งไคล้)ถวายเหยียบ.............ดูเหมือนเทียบ เท่าชาวสวรรค์ มานประสงค์

ปิดถนน(เดิน) โดน(ชาวบ้าน)ด่า ยังทระนง............ว่าเขาคง ริษยา (คณะ)ธรรมากลาย

 

    ถ้าธุดงค์ ทั้งที (เข้า)พักรีสอร์ท...............................ภัตตาหาร ชั้นยอด ทอดใจหาย

อยากอยู่ดี กินดี มีสุขสบาย.................................ใยต้องมา เยื้องกาย ย้ายกายิน[กายิน=(ร้อยกรอง)ตัว, ร่างกาย]


    เดินขอเงิน เหมือนขอทาน ประจานค่า.....................ช่างโง่เง่า ไม่เข้าท่า ประชาติฉิน

ชาวบ้านยัง ทนอุตส่าห์ ทำ(มา)หากิน...................พระกลับสิ้น คิดสร้างภาพ (หวังให้คนถวาย)ลาภสักการ


    ทำเหมือนเพลิน เดินเที่ยว เดี๋ยวก็กลับ(วัด)..............ไปรอรับ คำชม คารมขาน

ถ่ายรูปท่า (นั่ง)สมาธิ มีกลดพาน-.........................(พอเป็น)พิธีการ สำเร็จ สมเจตนา


    (ยิ่งพวก)เดินเป็นหมู่ อยู่เป็นฝูง ยุ่งกันใหญ่...............ความสงบ พบที่ไหน? ให้ปุจฉา

โดยเฉพาะ ลัดเลาะถึง (ประเทศ)อเมริกา...............เดินข้ามฟ้า ข้ามทะเล เท่ห์กระไร🤣

 

    ถ้าสุจริต คิดจะถือ ธุดงควัตร(๑๓)...........................แค่(ใจ)ศรัทธา ปฏิบัติ ประกาศไม่(ไม่ต้องประกาศ)

(ที่สำคัญ)ธุดงค์ปราศ จากเดินทาง แต่อย่างใด.......พระเมืองไทย ใยพิลึก เรียก(เดินธุดงค์)ครึกโครม


    คนมารยา หนามลทิน ในจินต์เจต...........................บ่รู้จัก กิเลส(ในใจของตน) เป็นเหตุโหม

ทำอะไร ไม่รู้สา ปฏิโลม.......................................หลอกญาติโยม โสมนัส วิบัติการฯ(ปฏิโลม=ทวนกลับ, ย้อนจากปลายไปหาต้น)


๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๕


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ธุดงค์ (บาลีธุตงฺค) เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ[1] เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก เหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไป มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภ เพื่อชื่อเสียง ต้องอาบัติทุกกฎ[2]

โดยรูปศัพท์ ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส, องค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หรือ การสมาทานเพื่อเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอันอันตรายต่อสัมมาปฏิบัติ[3]

ธุดงค์นั้น เป็นศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเถรวาท โดยพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธุดงค์ลักษณะต่าง ๆ ไว้หลายพระสูตร เมื่อรวมแล้วจึงได้ทั้งหมด 13 ข้อ[1][4][5]

ธุดงค์ในปัจจุบันยังคงเป็นแนวการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมของชาวพุทธเถรวาททั่วไปในหลายประเทศ โดยไม่จำกัดเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น คฤหัสถ์ทั่วไปก็ถือปฏิบัติได้บางข้อเช่นกัน[6]

ปัจจุบัน คำว่า ธุดงค์ ในประเทศไทยใช้ในความหมายว่าเป็นการเดินจาริกของพระสงฆ์ไปยังที่ต่าง ๆ หรือเรียกว่า การเดินธุดงค์ ซึ่งความหมายนี้แตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎก1

วัตรปฏิบัติ[แก้]

หมวดที่ 1 จีวรปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับจีวร)[แก้]

  1. การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือการใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำผ้าเหล่านั้นมาซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่แล้วนำมาใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าของโยมโดยตรงทุกชนิด (วางใกล้เท้าได้)
  2. การถือผ้า 3 ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร คือการใช้ผ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น คลุมกันหนาว ปูนั่ง ปูนอน ปัดฝุ่น ใช้แทนสบง หรือจีวรเพื่อซักผ้าเหล่านั้น ปัจจุบันภิกษุไทยมักใช้พาดบ่าเมื่อประกอบพิธีกรรม)

หมวดที่ 2 ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับบิณฑบาต)[แก้]

  1. การถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือการบริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขานิมนต์ไปฉันตามบ้าน
  2. ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือจะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็นบ้านคนรวยคนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป
  3. ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม
  4. ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร คือจะนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันในบาตร แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาติของอาหาร
  5. ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้นถึงแม้มีใครนำอะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตาม

หมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับเสนาสนะ)[แก้]

  1. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือจะอยู่อาศัยเฉพาะในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความพลุกพล่านวุ่นวายของเมืองรบกวนการปฏิบัติ หรือเพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส
  2. ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือจะพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้างขึ้นมามุงบัง
  3. ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร คือจะอยู่แต่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย
  4. ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร คือจะงดเว้นจากที่พักอันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาท
  5. ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำลังพักอาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที
  6. ถือการนั่งเป็นวัตร คือจะงดเว้นอิริยาบถนอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบถเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน.
----------------------------

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มีข้อห่วงกังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงมีข้อเสนอต่อประธานกรรมการมหาเถรสมาคมดังนี้ 

  1. พระธุดงค์และคณะผู้ติดตามอาจถูกสัตว์ป่าทำร้าย พลัดหลง หรือประสบอุบัติเหตุได้
  2. ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศสัตว์ป่าและป่าไม้ ทั้งตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ อาจทำให้สัตว์ป่ามีพฤติกรรมเปลี่ยนไป หลบหนีออกจากแหล่งหากินเดิม
  3. ปัญหาไฟป่า ซึ่งเกิดจากพระสงฆ์และผู้ติดตามบางกลุ่มก่อไฟหุงอาหารแล้วไม่ดับไฟให้หมด จึงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดไฟป่าได้ง่าย โดยเฉพาะในฤดูแล้ง
  4. ปัญหาจากขยะและของเสีย ที่เหลือจากการประกอบอาหารรวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น ถุงพลาสติกที่ใส่อาหาร อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าที่เข้ามาหาเศษอาหารกิน
  5. ปัญหาการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด ซึ่งอาจมีการแฝงตัวอาศัยช่องทางปลอมแปลงเป็นพระสงฆ์เข้าไปล่าสัตว์ป่า หรือใช้เส้นทางในการลำเลียงขนส่งยาเสพติดหรือของผิดกฎหมายอื่น ๆ

แม้การธุดงค์จะเป็นแนวทางการปฏิบัติธรรมเพื่อหาที่สงบ สัปปายะ ตั้งแต่โบราณมา แต่หากมีพระสงฆ์ไปปฏิบัติธุดงควัตรเป็นจำนวนมากในเขตพื้นที่ป่า ไม่น่าจะก่อให้เกิดความสงบแต่อย่างใด ด้วยเหตุผลดังกล่าวมูลนิธิสืบนาคะเสถียร จึงขอแสดงความเป็นห่วงและกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากจะมีการกระทำซ้ำในพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความเปราะบางต่อระบบนิเวศสูง จึงขอถวายข้อมูลและเสนอให้เร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป.

เมืองไทย=เมืองอบายมุข : กลอนคติเตือนใจ























เมืองไทย=เมืองอบายมุข : กลอนคติเตือนใจ

    นคระ อบายมุข เรียกถูกแล้ว........................................มิประเสริฐ เพริศแพร้ว แน่วพุทธผล

เพียง(แค่)หมั่นสร้าง วัดวา(มากมาย) สาละวน...............เพื่อหวังดล ผลบุญ หนุนชีวี


    ชนนิยม ชมชื่นพระ (จอม)ขมังเวท................................ธรรมวินัย หาใช่เหตุ วิเศษศรี

ไสยศาสตร์ ศรัทธา บูชาพลี........................................ทั้งผู้ดี-นาย-ไพร่ ใคร่อภิรมย์

 

    หลงมัวเมา เหล้า-ยา(เสพย์ติด) การพนัน.......................แม้แต่พระ ยังขยัน เสพสรรสม

เที่ยวกลางคืน รื่นราตรี ยอดนิยม..................................คนชั่วชม ยกย่อง ก้องพารา(เป็นไอดอล)


    อบายมุข ผูกพัน ดันเศรษฐกิจ(ชาติ).............................ถูกจริต (แต่)ผิดพลาด หลักศาสนา(พุทธ)

หลงโลกีย์ วิสัย ใคร่เงินตรา.........................................(ส่ง)เสริมวัดวา สนับสนุน ทุนนิยม(หาเงิน)


    เชิดโลกธรรม ค้ำชู คู่ชีวิต............................................(ยัง)ไม่วิกฤติ เหมือน(ยก)อบาย(มุข) ภัยเถื่อนถม

เอา(อบายมุข)มาเป็น จุดขาย=ใจโสมม.........................เสมือนว่า อาจม (ยกขึ้นเป็น)อุดมการณ์


    บ้านเมืองมี แหล่งสุรา ยาเสพย์ติด................................การพนัน กามพณิชย์ ทั่วทิศพล่าน

(เมื่อ)อบายมุข รุกคืบ สืบสันดาน(ประชา)......................ความคิดอ่าน ของคน ท่วมมลทิน

 

    วิปริต (เห็น)ผิดเป็นถูก (เห็น)ถูกเป็นผิด.........................บ่ยอมหยุด ทุจริต เป็นนิจสิน

การคดโกง โจ๋งครึ่ม ซึบซาบ(แผ่น)ดิน...........................เป็นธรรมดา(ปกติ) ชาชิน (กลายเป็น)วัฒนธรรม(ไทย)


    อยากจะเป็น เมืองพุทธ (ต้อง)หยุดทำผิด(ศีลธรรม)........เลือกสัมมา(ปฏิบัติ) สุจริต พิสิฐล้ำ

(เชื่อ)การทำดี ย่อมได้ดี ไม่มี(เวร)กรรม..........................อบายมุข ไม่ทำ ให้ร่ำรวยฯ


๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๕


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

๘. สิงคาลกสูตร
ว่าด้วยสิงคาลกมาณพ
......พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร อริยสาวกละกรรมกิเลส(กรรมเครื่อง
เศร้าหมอง) ๔ ประการได้แล้ว ไม่ทำบาปกรรมโดยเหตุ ๔ ประการ และไม่ข้องแวะ
อบายมุข(ทางเสื่อม) ๖ ประการ แห่งโภคะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นเป็นผู้ปราศจาก
บาปกรรม ๑๔ ประการนี้แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ปิดป้องทิศ๑- ๖ ปฏิบัติเพื่อครองโลก
ทั้งสอง ทำให้เกิดความยินดีทั้งโลกนี้และโลกหน้า หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์
กรรมกิเลส ๔
[๒๔๕] กรรมกิเลส ๔ ประการที่อริยสาวกละได้แล้ว อะไรบ้าง คือ ๑. กรรมกิเลสคือปาณาติบาต ๒. กรรมกิเลสคืออทินนาทาน ๓. กรรมกิเลสคือกาเมสุมิจฉาจาร ๔. กรรมกิเลสคือมุสาวาท กรรมกิเลส ๔ ประการนี้ ที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว”
             พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
                          “การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์
             การล่วงละเมิดภรรยาผู้อื่น และการพูดเท็จ
             เรียกว่า เป็นกรรมกิเลส
             บัณฑิตทั้งหลายไม่สรรเสริญ”
เหตุ ๔ ประการ
[๒๔๖] อริยสาวกไม่ทำบาปกรรมโดยเหตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ปุถุชน ๑. ย่อมถึงฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรัก) ทำบาปกรรม ๒. ย่อมถึงโทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง) ทำบาปกรรม ๓. ย่อมถึงโมหาคติ (ลำเอียงเพราะเขลา) ทำบาปกรรม ๔. ย่อมถึงภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว) ทำบาปกรรม ส่วนอริยสาวก ๑. ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ๒. ย่อมไม่ถึงโทสาคติ ๓. ย่อมไม่ถึงโมหาคติ ๔. ย่อมไม่ถึงภยาคติ อริยสาวกย่อมไม่ทำบาปกรรม โดยเหตุ ๔ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า “บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม
             เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น
                          บุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม
             เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
             ยศของบุคคลนั้นย่อมเจริญ
             เหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น”๑-
อบายมุข ๖ ประการ
[๒๔๗] อริยสาวกไม่ข้องแวะอบายมุข ๖ ประการ แห่งโภคะทั้งหลาย อะไรบ้าง คือ ๑. การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง ความประมาท เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย ๒. การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลากลางคืน เป็น อบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย ๓. การเที่ยวดูมหรสพ เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย ๔. การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็น อบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย ๕. การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย ๖. การหมกมุ่นในความเกียจคร้าน เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย.....ฯลฯ

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565

กิเลสกาล/กฐินกาล : โคลงสี่สุภาพ




กิเลสกาล โคลงสี่สุภาพ

๑. ย่างฤดูใบไม้.......................................ร่วงโรย
องุ่นผลัดใบโดย.................................แช่มช้า
สอดประสานลมโชย............................พัดแผ่ว
แคล่วคล่องครรลองหล้า.......................สะท้อนอนิจจังฯ

๒. ทุกอย่างเกิด(ขึ้น)ตั้งอยู่....................ดับไป
(แม้)กระทั่งธรรมวินัย............................ไป่เว้น
เสียงเพลงดังจากใน.............................อาวาส(พระเปิดเพลงผ่านเครื่องขยายเสียงอึกทึกครึกครื้น)
ประกาศทอดกฐินเร้น............................พุทธพ้องธรรมเนียมฯ

๓. พุทธเทียมทำพุทธแท้............................แปรปรวน
วันๆเอาแต่ชวน....................................ชักให้
บริจาคเงินเป็นกระบวน..........................การกิจ
พาณิชย์พิษฐานไซร้.............................หาได้พุทธะสนองฯ(พิษฐาน=มุ่งหมาย,พุทธะ=พระพุทธเจ้า)

. มองคนห่มผ้าเหลือง...............................แต่ละองค์
(มากมายที่)เหินห่างสมณะพงศ์..............เผ่าใกล้(สมณะ=ผู้สงบกิเลสแล้ว, ผู้ระงับบาป, ภิกษุ)
ทำใจหฤทัยปลง..................................(เป็น)สิ่งสัจ
ปรมัตถ์ทัศนะไซร้.................................(หา)ใช่พ้องสัตว์วิสัยฯ(ทัศนะ=ความเห็น, การเห็น)

. (เป็น)ปกติในหมู่ผู้..................................บริโภคกาม
ย่อมติดใจในกาม-.................................คุณคล้อย
เมื่อไม่บรรพชาตาม...............................อริยสัจ
(แต่บวชเพราะ)กำหนัดลาภสักการร้อย......อยากได้(อยู่ดี)กินดี(ร่ำรวย)ฯ

๖. "ประเพณี"ยกมาอ้าง................................แทนธรรม(วินัย)
หาเงินเป็นกิจกรรม.................................หมายเป้า(เป้าหมาย)
(อ้าง)เงินยิ่งมากยิ่งนำ............................(ผล)วิเศษสุด
อุตส่าห์จัดงานเร้า..................................ร่วมให้เงินหนุนฯ

. (กฐินคือ)ที่สุดแห่งบุญได้.........................จริงหรือ?
หลงงมงายคติถือ...................................นานช้า(ช้านาน)
(การ)ละเมิดธรรมวินัยคือ.........................บุญมหัต?(มหัต=ใหญ่, มาก, มหันต์.)
เงินสะพัดพระ-วัดท้า...............................รวยท้นเหนือชนไทยฯ

๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๕

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
พระพุทธานุญาตให้กรานกฐิน
	[๙๖] ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย
ผู้จำพรรษาแล้วได้กรานกฐิน พวกเธอผู้ได้กรานกฐินแล้ว จักได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ
		๑. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
		๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
		๓. ฉันคณะโภชน์ได้
		๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
		๕. จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ
	ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ จักได้แก่เธอทั้งหลายผู้ได้กรานกฐินแล้ว.
วิธีกรานกฐิน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ สงฆ์ให้ผ้ากฐิน ผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน การให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.