๏ พลันโลกา พ้นราตรี มีกลิ่น(หอม)กรุ่น....................รุ่งอรุณ พูนพอก หมอกสีขาว
หยาดน้ำค้าง กลางแสงทอง ส่องสกาว.................ดั่งหมู่ดาว เร้าเล่น เย็นสายลม
๏ แจ้วจำเรียง เสียงปักษี ดนตรีกล่อม.......................ดังแพร่พร้อม ล้อมป่า สวรรค์สม
(ชีวิต)สงบเย็น เป็นปัจเจก เอกอุดม......................เมื่อเหินห่าง สังคม วิกรมการ
๏ ความหลงใหล ติดใจโลก คือโชคร้าย....................การเวียนว่าย ตายเกิด เชิดสงสาร(วัฏ)
เสมือนต้อง คำสาป ตราบกาลนาน........................ให้พบพาน ทุกข์โศก โลกซานซม
๏ เลิกหลงใหล ในโลก เริ่มโชคดี..............................ไม่สุขี (กับการ)มีสังขาร เป็นขั้นปฐม
คือต้นทาง ความคิด อิฏฐารมณ์.............................พ้นทุกข์ทาง สั่งสม นิยมยอม
๏ (การ)มองเห็นภัย ในภพ-วัฏสงสาร..........................ส่งเสริมการ ขันแข็ง พลิกแพลงพร้อม
เมินโลกา ค่านิยม โสมมมอม.................................หทัยน้อม นับถือ โลกุตระ
๏ ช่วยให้การ ศึกษา อริยสัจ.......................................ไม่ติดขัด ตัดสินใจ ใคร่เสียสละ
ทิ้งทางโลก มุ่งทางธรรม นำชีวะ............................ไม่เสียดาย ไม่สะดุด หยุดพากเพียร
๏ บ่เกิดการ เรรวน เหหวนกลับ....................................อริยะรับ ปรับกมล อกุศลเหี้ยน
หยุดก่อทราม ทำดี ไร้ติเตียน.................................เลิกวนเวียน โลกีย์ อภิรมย์
๏ ความน้อมใจ ในปรมัต ถ(ะ)สัจจะ..............................เป็นตบะ ประเสริฐ เลอเลิศสม
คือโชคลาภ วาสนา สิทธาชม.................................(ส่วน)คนโง่งม คงไม่ เข้าใจเอยฯ(สิทธา=ฤษี)
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๕
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อัฏฐานบาลี [๑๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงยึดถือ สังขารไรๆ โดยความเป็นสภาพเที่ยงนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารอะไรๆ โดยความเป็นสภาพ เที่ยงนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงยึดถือ สังขารไรๆ โดยความเป็นสุขนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสุขนั้น เป็นฐานะ ที่จะมีได้ ฯ [๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงยึดถือ ธรรมไรๆ โดยความเป็นตนนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือธรรมไรๆ โดยความเป็นตนนั้น เป็นฐานะ ที่จะมีได้ ฯ
......ฯลฯ......
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น