ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2565

เหตผลที่คนเราเข้ากันได้-ไม่ถูกกัน : กลอนคติธรรม


เหตผลที่คนเราเข้ากันได้-ไม่ถูกกัน : กลอนคติธรรม

    ปลายฝน ต้นหนาว เช้าตรู่..................................แลดู อากาศ สะอาดใส

ปล่อยวาง ปัญหา ค้างคาใจ(หยุดคิดถึง).............ปล่อยไป ไม่ถือ คือสิ่งดี(ผ่อนคลาย)


    (กิจกรรม)ทุกอย่าง ต่างสรรค์ ปัญหา...................เป็นธรรม (มะ)ดา ของหล้านี้

เย็นเยือก เลือกทำ (กิจ)กรรมที่..........................พอมี ปัญญา พาประจญ

 

    ไม่หวัง ลมๆ แล้งๆ............................................เกาะเกี่ยว(ความหวังที่) เหี่ยวแห้ง เหตุผล

ตั้งใจ ในทาง ที่สร้างตน....................................บรรเจิด เลิศล้น ผลดาล


    อย่าคอย คิดเขลา เอาแต่ได้..............................อยากทำ กำไร ไพศาล

ทำ(งาน)น้อย ได้(ผล)มาก อยากทะยาน..............สันดาน ทุจริต ผิดครรลอง


    (อย่า)ทะนงตน ฉลจิต คิดร้าย............................มักง่าย ใจ(ลำ)พอง จองหอง

ยกตน ข่มเขา (มัว)เมาคะนอง.............................สอดส่อง ช่องทาง สร้างมลทินฯลฯ


    (ใครมี)ความคิด จิตใจ ไม่สะอาด........................สายตา สามารถ ตัดสิน

(ใครมี)ความคิด จิตใส ไร้ราคิน...........................โศภิน จินดา ประจักษ์เจน

 

    (คือ)เหตุผล คนเรา เข้ากันได้............................หรือไม่(ถูกกัน) ใจอาจ ถนัดเห็น

นิสัย สันดาน ปานเป็น........................................ประเด็น (บท)ทดสอบ ที่ชอบธรรม


    ใจที่ ดีงาม (ย่อม)ชอบธรรมะ.............................(เรื่อง)บัดสี หนีผละ มิถลำ

(เช่น)อบายมุข ขลุกใจ ใครประจำ........................ชี้นำ กำหนด (ใครซื่อ)ตรง-คดเอยฯ


๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๕


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

๙. ธาตุโสสังสันทนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ทั้งหลายเสมอกันโดยธาตุ
[๗๘] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อว่าโดยธาตุ๑- สัตว์ทั้งหลายเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ คือ สัตว์ที่มีนิสัยเลวเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยเลว สัตว์ที่มีนิสัยดีงามเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยดีงาม ภิกษุทั้งหลาย แม้ในอดีตกาล เมื่อว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายก็เข้ากันได้ คบกัน ได้กับสัตว์ คือ สัตว์ที่มีนิสัยเลวเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยเลว สัตว์ที่มี นิสัยดีงามเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยดีงาม” ภิกษุทั้งหลาย แม้ในอนาคตกาล เมื่อว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายก็จะเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ คือ สัตว์ที่มีนิสัยเลวเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยเลว สัตว์ที่มีนิสัยดีงามเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยดีงาม ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันกาลนี้ เมื่อว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายก็เข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ คือ สัตว์ที่มีนิสัยเลวเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยเลว สัตว์ที่มีนิสัยดีงามเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยดีงาม พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
                          เพราะการคลุกคลีกัน๑- กิเลสจึงเกิดขึ้น
                          เพราะการไม่คลุกคลีกัน กิเลสจึงขาดไป
                          บุคคลลงเรือเล็ก หวังจะข้ามมหาสมุทร
                          ยังไม่ทันถึงฝั่งก็จมลงในมหาสมุทร ฉันใด
                          บุคคลแม้มีความเป็นอยู่ดี อาศัยคนเกียจคร้าน
                          ก็จมลงในสังสารวัฏได้ ฉันนั้น
                          เพราะฉะนั้น บุคคลควรเว้นคนเกียจคร้าน
                          ผู้มีความเพียรย่อหย่อนนั้น
                          ควรคบพระอริยะทั้งหลาย ผู้สงัด มีใจมั่นคง
                          เพ่งพินิจอยู่ ปรารภความเพียรเป็นนิตย์ เป็นบัณฑิต
             แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น