ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566

คนไทยวัยเกษียณมีเงินเก็บต่ำกว่า 5 หมื่นบาท | BUSINESS WATCH | 01-05-66

ทำไมเจ้าชายสิทธัตถะ เกิดแล้วเดินได้ 7 ก้าว? คำตอบแบบวิทยาศาสตร์

                                                

อุกอาจ! 2 คนร้ายดักจี้ชิงทรัพย์ชาวบ้านกลางวันแสกๆ I ข่าวเย็นช่องวัน | สำ...

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566

"งีบหลับสั้นๆ" เคล็ดลับป้องกันสมองหดตัว | TNN HEALTH

เตรียมรับลมหนาวยาวถึงปีใหม่ ลุ้นกทม.18 องศาฯ-เอลนีโญจ่อจบเร็ว | TNN ข่าว...

เตือนกลุ่มเสี่ยงเปิดผับตี 4 เศรษฐกิจที่แลกด้วยความสูญเสีย Ep.302

วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ฝุ่น PM2.5 ภัยเงียบ คร่าชีวิตทั่วโลก 4 ล้านราย l TNN ข่าวเช้า l 06-12-2023

ช่างรีวิว | EP159.ที่จอดรถอัตโนมัติ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร

โลกเดือด สัตว์โลกอ่วม นับถอยหลังสู่การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 | KEY MESSAGES...

วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2566

วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ควบรวมแผลงฤทธิ์ TRUE-DTAC เน็ตช้าลง ค่าบริการแพงขึ้น? | KEY MESSAGES #109

เปิดโปง ขบวนการโควิด 19 กับไวรัสตัดต่อพันธุกรรม | ปากซอย105

เหนื่อยต่อ! ปีหน้า จีนไม่ฟื้น-ไทยซบเซา ตลาดเจอกับดัก Valuation - Money C...

มหกรรมเบี้ยวหนี้ รถรอยึด 200,000 คัน บ้านจ่อไหล NPL พุ่ง 37% - Money Cha...

วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566

“พีระพันธ์”จ่อชง ครม.ตรึ่งค่าไฟ 3.99 บ.เฉพาะกลุ่มเปราะบาง | เที่ยงทันข่า...

เสรีภาพไม่มีอยู่จริง : กาพย์ยานี๑๑



รอยกัด+รอยเล็บจิก มีอีก ๔ แผลอยู่ที่หลังมือหลังแขน

เสรีภาพไม่มีอยู่จริง : กาพย์ยานี๑๑


    แมว(จร)ป่วย รับช่วยเหลือ...............................หวังว่าเมื่อ โรคขาดหาย

ปลอดทุกข์ สุขสบาย....................................จะปล่อยใช้ ชีพเสรี(ตอนนี้ต้องขังไว้ก่อน)


    ความมี เสรีภาพ(ทำตามใจชอบ).......................(ทุกคน)ต้องการตราบ จากโลกลี้

โดยไม่ ใคร่ครวญดี(ๆ)..................................(ไม่รู้)ว่ายังมี "ชะตากรรม"

 

    (ที่)ติดตาม คอยกำหนด...................................ชีวิตจรด บทบาทจ้ำ(จ้ำ=อาการที่ทำเร็วๆ ถี่ๆ)

ชดเชย (อดีตกรรม)ที่เคยทำ.........................."กฎแห่งกรรม" ดำรงเกณฑ์


    เสรี(ภาพที่แท้จริง) ไม่มีหรอก...........................อยากจะบอก ตามที่เห็น

สงสาร วัฏฏะเป็น..........................................เช่นกรงขัง แสนยั่งยืน


    เคยทำ กรรมใดไว้...........................................ต้องชดใช้ ไม่อาจฝืน

ชั่ว-ดี มิเป็นอื่น.............................................(คือ)กฎพื้นฐาน(ของ) สงสารวัฏ


    ผู้ใด อยากได้ดี...............................................จงทำดี ราคีขจัด

คุ้มครอง ป้องมนัส........................................ยิ่งยงหยัด อย่างทัศไนย

 

    อย่าทำ ทุกความชั่ว.........................................จงเกรงกลัว การ(ต้อง)ชดใช้(กรรม)

(เพราะเป็น)สิ่งที่ ไม่มีใคร..............................ว่างเว้นได้ ในโลกา


    (ทำแผลให้)แต่กลับ ถูกแมวกัด.........................(จึง)ตัดสินใจ ไคลปัญหา

ปล่อยแมว ผู้แกล้วกล้า..................................เผชิญชะตา ชีวิตตน(เป็นอิสระ)

 

    ทำดี(กับใครแล้ว) กลับได้ชั่ว.............................จงอย่ากลัว (การ)มีเหตุผล

ปล่อย(เขา)ให้ ไปประจญ...............................อกุศล หนทางกรรมฯ*


๘ ธันวาคม ๒๕๖๖


*แม้จะมีความเมตตาอยากช่วยเหลือ แต่เราก็ไม่มีเสรีภาพที่จะฝืนกฎแห่งกรรมได้

ต้องปล่อยแมวให้เป็นไปตามชะตากรรมของตัวเอง

ตอนช่วยครั้งแรกยังโดนไป ๘ แผล ขืนช่วยต่อไปคงนับแผลไม่ไหว

ยิ่งถ้าโดนกัดเข้าที่เส้นเลือดจะเป็นเรื่องใหญ่โต

สัปดาห์หน้าครบกำหนดบริจาคเลือดด้วย พอแค่นี้ดีกว่า.

วันพุธที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ไทยอันดับ 6 ของโลก ถูกหลอกโอนเงิน

"จงอยู่กับปัจจุบัน"อย่างไร? : กลอนคติธรรม













"จงอยู่กับปัจจุบัน" อย่างไร? : กลอนคติธรรม


    จงอย่า "อยู่ กับปัจจุบัน"..........................อย่างไม่ ใฝ่ฝัน(คิดถึง) อนาคต

(หาก)อายุขัย ยังไม่หมด(ใกล้ตาย).............อย่าจด จ้องอยู่ แค่ปัจจุบัน

(เอาอดีตเป็นครู เตรียมพร้อมมุ่งสู่อนาคต)


    ไม่เฉพาะ(ผู้)ทำ ธุรกิจ..............................(ที่)ต้องคิด พิจารณา (สถานการณ์)ภายหน้ามั่น

(แต่)ทุกคนที่ (ยัง)มีชีวัน............................ต้อง(เตรียม)พร้อม ประจัญ ภยันตราย(วิกฤตการณ์)

 

    เช่นสัจจริง อย่านิ่งนอน............................สภาวะ โลกร้อน ก่อนจะสาย(เกินแก้)

กิจกรรมเมา เก่ามากมาย...........................ต้องกลาย เปลี่ยนแปลง แข่งเวลา


    (หาก)มัวแต่อยู่ กับปัจจุบัน........................มิเข้มงวด กวดขัน วันข้างหน้า(ช่างมัน)

มุ่งทำลาย(สิ่งแวดล้อม) ไม่ครณา...............เท่า(กับ)เปลี่ยน โลกา เป็นขุมนรก


    เด็ก(ต้อง)พากเพียร เรียนหนังสือ...............อย่า(มัว)ถือ แต่เล่น เฟ้นตลก(สนุกสนานเฮฮา)

แสวงหา สิ่งลามก.....................................(ชีวิต)จะตก ต่ำตม จม อบาย

(อบาย=ที่ที่ปราศจากความเจริญ,ความฉิบหาย)


    พุทธองค์ ทรงสอนพระ(สงฆ์)....................เพื่อละ อัตตา (กำจัด)ตัณหาหาย

ขันธ์ ๕ จ้อง มองใจกาย.............................ปิดกั้น มิมั่นหมาย เป็นตัวตน

 

    (ขันธ์ ๕)ทั้งอดีต อนาคต...........................เปลื้องปลด หมดไป ให้ได้ผล

ปัจจุบัน ขันธ์(๕)คือคน...............................เวียนวน ไตรลักษณ์ จงปักใจ

(ไตรลักษณ์=ไม่เที่ยง-เป็นทุกข์-ไม่ใช่ตัวตน)


    (ยาม)จิตฟุ้งซ่าน พล่านกังวล*....................หาหน ทางสยบ สบผลใส

(ต้อง)เลิกคิดผุด หยุดฝันใฝ่........................ตั้งใจ "จงอยู่ กับปัจจุบัน"


๖ ธันวาคม ๒๕๖๖


*ปัญหาชีวิตมีหลากหลาย

หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็มีมากมาย ต้องเลือกใช้ให้ถูกเรื่อง ตรงปัญหา จึงจะแก้ไขได้

การใช้ธรรมะอย่างไม่ถูกหลัก ไม่ถูกเรื่อง ใช้ผิดๆ จะทำให้ชีวิตตกต่ำ เป็นทุกข์มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

เปรียบเสมือนคนป่วย การใช้ยารักษาโรคก็ต้องเลือกยาให้ถูกโรค ใช้ถูกวิธี อย่ารับยาเกินขนาด

ยาใช้ภายนอก อย่าเอามากิน เป็นต้น

ถ้าใช้ยาผิด นอกจากโรคจะไม่หาย ยังอาจจะป่วยหนักกว่าเดิมเพราะพิษของยา

"จงอยู่กับปัจจุบัน" เป็นหลักธรรมที่ช่วยระงับความคิดฟุ้งซ่าน ความวิตกกังวล ได้ดี

เหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วอย่าเอามาคิด สถานการณ์ในอนาคตก็หยุดคิดไว้ก่อน เพื่อให้จิตใจสงบ

เมื่อจิตใจสงบแล้ว ก็ต้องเลิกคิดว่า"จงอยู่กับปัจจุบัน"

ค่อยๆเอาเหตุการณ์ในอดีตมาพิจารณา เพื่อแก้ปัญหาปัจจุบัน และวางแผนอนาคต

ไม่ใช่ว่า ไม่เรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ในอดีต ไม่วางแผนเพื่อรับมือกับอนาคต

เช่น การมีคู่ครองก็เพื่อแต่งงานกัน แต่งงานก็เพื่อสร้างครอบครัว การมีครอบครัวคือการสร้างอนาคต จึงต้องเลือกคนที่ทำให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย

คนรวยควรคิดว่า ถ้าวันข้างหน้าเรายากจน เธอจะยังรักเราไหม? คนสวยควรคิดว่า ถ้าวันหน้าเราหมดสวย เขาจะทิ้งเราไหม? ฯลฯ

ถ้าคิดแค่อยู่กับปัจจุบัน ก็คือคิดแค่คบกันเพื่อความสุขเฉพาะหน้า อนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไรไม่สน คงคบกันได้ไม่นาน ชีวิตจะมีปัญหาตามมาอย่างแน่นอน

แก่ตัวไปจะดำรงชีวิตอย่างไร คนไม่เตรียมพร้อมย่อมจะลำบาก ยากจนตอนแก่จะลำบากมากกว่าวัยหนุ่มสาว

แม้แต่คนรวยที่กำลังใกล้จะตาย ยังต้องจัดการแบ่งมรดกให้เรียบร้อย ไม่ให้ลูกหลานมาแย่งกัน-ฆ่ากัน.


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์แสดงเรื่องผู้มีราตรีเดียวเจริญ
[๒๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ชี้แจงให้ภิกษุ ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และกล่าวอุทเทสและวิภังค์แห่งบุคคล ผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑- เข้าไปยังหอฉัน แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย ใครหนอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และ กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอานนท์ชี้แจงให้ ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของ บุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้ อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทส และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญไว้อย่างไร” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชี้แจงให้ ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาอย่างนี้ และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
                          ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
                          สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
                          และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
                                       ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
                          ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ
                          บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
                                       บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
                          ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
                          เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
                          ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
                                       พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
                          ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
                          ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
             [๒๗๗] บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
             คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้
มีรูปอย่างนี้”
             ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
             ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
             ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
             ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีวิญญาณ
อย่างนี้”
             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
             คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เรา
ได้มีรูปอย่างนี้”
             ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
             ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
             ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
             ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มี
วิญญาณอย่างนี้”
             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
             บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
             คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เรา
พึงมีรูปอย่างนี้”
             ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
             ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
             ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
             ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
             บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
             คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต
เราพึงมีรูปอย่างนี้”
             ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
             ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
             ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
             บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
             คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
             พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
             พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
             พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
             พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ
บ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
             บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
             คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา
บ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
             ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
             ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
             ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามี
วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง
             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
                                       บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
                          ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
                          สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
                          และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
                                       ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
                          ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ
                          บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
                                       บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
                          ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
                          เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
                          ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
                                       พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
                          ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
                          ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาอย่างนี้ และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
             [๒๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ เธอชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ......ฯลฯ

วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566

"หมูเถื่อน" สะเทือนความมั่นคงทางอาหาร ? | ห้องข่าวไทยพีบีเอส NEWSROOM | ...

ประเมินผลงาน 81 วัน "รัฐบาลเศรษฐา" | คุยให้คิด

จับขบวนการหลอกส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง – ขโมยข้อมูลส่วนบุคคล | สถานีร้องเ...