ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ทุกช่วงชีวามีประโยชน์ : กลอนจรรโลงใจ



ทุกช่วงชีวามีประโยชน์ : กลอนจรรโลงใจ


    ๒ ปี ที่โควิด(19) แผลงฤทธิ์เดช..............................อาเพศ เศรษฐกิจ ติดปัญหา

มองไป ไม่ต่าง ดั่งโชคชะตา.............................โดนกระทบ ทั่วหน้า อย่างประปราย

 

    บางคน ก็แค่ อดแส่เที่ยว........................................บ้างก็ ห่อเหี่ยว งานเสียหาย

ภาพใหญ่ หลายคน กระวนกระวาย(กังวลใจ).......แต่บาง คนตาย กรายจากจร


    โทษคน อื่นไป ก็ไร้ประโยชน์..................................ด่า-โกรธ=บาปกรรม ตามกลับย้อน

มองความ เป็นจริง ไม่นิ่งนอน............................ลดความ เร่าร้อน(ใจ) ช่วยผ่อนคลาย


    จะสุข จะทุกข์ ทนรุกล่วง.......................................(เพราะ)ทุกช่วง ชีวี มิเสียหลาย

เศร้าสลด หดหู่ หากดูดาย................................มีประโยชน์ มากมาย เมื่อใช้เป็น


    (ใช้)หัดฝึก ตรึกตรอง สมองคิด..............................พัฒนาจิต พัฒนาใจ ไม่ว่างเว้น

อย่าเอา เวลา(ว่าง) ไปละเล่น(ไร้สาระ)...............เล็งเห็น คุณค่า ชีวามี


    ออกกำ ลังกาย ต้านภัยโรค...................................เพียงพอ บริโภค อย่าก่อหนี้(ฟุ่มเฟือย)

ดูแล ครอบครัว-ตัว(เอง)ให้ดี.............................รักใคร่ สามัคคี มีเวลา(แต่ก่อนต่างคนต่างยุ่ง)


    ไปไหน ไม่ได้ ให้อยู่บ้าน......................................ความรู้ สู่อ่าน หมั่นศึกษา

จะได้เป็น ผู้มี สติปัญญา...................................พูดอะไร บ่ขายหน้า (ถูกเขา)ว่าโง่งม

 

    (ฝึก)อดทน อดกลั้น สู้ปัญหา................................โดยใช้ ปัญญา ประเสริฐสม

ขัดเกลา ดวงฤดี ค่านิยม...................................ตรวจสอบ สังคม มิงมงาย(หลับหูหลับตาทำตามเขาไป)

 

    หัดระงับ ดับกิเลส และตัณหา...................................สงบต่อ ชะตา ที่บ่าหลาย

อย่ายอม เป็นทุกข์ ก็สุขสบาย...........................ความตาย ไม่กลัว เลิกมัวเมา(ชีวิต)


    (ไม่ว่า)จะเกิด อะไร ในโลกนี้................................อย่าไป ใยดี วิตก-เขลา(อนิจจัง)

โลกนี้ มีอะไร เป็นของเรา?...............................แม้ตัว เราไซร้ ก็ไม่มี(อนัตตา)


๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๔

เนื้อนาบุญ : กลอนคติเตือนใจ


ตั้งกฎระเบียบตามใจตัวเอง ไม่มีในธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า
 หลอกให้ชาวบ้านหลงเชื่อว่า "เคร่ง" เกิดความศรัทธาเลื่อมใส ลาภสักการะก็จะไหลมาเทมา ได้อยู่ดีกินดี
เอาเข้าจริงๆคนตั้งกฎก็ไม่ทำ เพราะทำเป็นประจำไม่ได้-ผิดธรรมชาติของคน


เนื้อนาบุญ : กลอนคติเตือนใจ


    แม่ไก่(แต่ละตัว) ไข่ให้ ไม่เท่ากัน............................ข้าวแล แต่ละพันธุ์ ผันแผกผล(ผลิต)

มอบงาน การหมาย ให้ผู้คน...............................แต่ละคน ทำ(งาน)ได้ ไม่เท่ามี


    ฉันใด ฉันนั้น การทานให้.......................................หวังได้ ปุญญา ประเสริฐศรี

จึงต้อง พินิจ คิดให้ดี.........................................อย่าสักแต่ แค่มี ก็พลีเงิน


    ทุกวัน มีขอทาน ผ่านมาขอ(เงิน)............................พวกขี้ เมาก็ ขอไม่เขิน(อาย)

วันดี คืนดี พระ-ชี เดิน.......................................ขอเงิน ทอดผ้าป่า สามัคคีฯลฯ

 

    ขายของ ผองพระ ก็มาขอ(ของไปใช้)*....................บ้างก็ ฉ้อขโมย โดยบัดสี

ใช่ว่า ผ้าเหลือง เรืองฤทธี..................................เปลี่ยนโจร เป็นคนดี ทันที(ที่ห่ม)ครอง


    ทำทาน กับพระ อย่ามักง่าย....................................อาจไม่กลาย เป็นบุญ หนุนสนอง

กลับเป็น เลี้ยงโจร อกุศลจอง............................เศร้าหมอง เสียใจ อายสิ้นดี


    พระสงฆ์ สาวก(๔ คู่) ๘ บุรุษ**................................พิสุทธิ์ อุตส่าห์ ทำหน้าที่

ตามธรรม (มะ)วินัย ใสโสภี................................สมควร ศักดิ์ศรี "เนื้อนาบุญ"

 

    มีพระ(พวกหนึ่ง) มากมาย มุ่งไสยศาสตร์..................ประหลาด วัตรพรต โฉดสถุล

คนโง่ งมงาย เชื่อไสยคุณ(คุณไสย)...................หลงเอื้อ เจือจุน หนุนมากมี

 

    (อีกพวก)มักอ้าง ทำตาม ธรรมวินัย.............................(แต่)ตั้งกฎ ตามใจ ไกลวิถี(พุทธ)

แสดงละคร เคร่งครัด ปฏิบัติดี............................แต่(ข้อวัตรปฏิบัติ)ไม่มี ตามธรรม (มะ)วินัย


    ๒ พวก แพร่หลาย ให้สังเกต...................................สร้างเลศ(เพื่อ) ลาภ-สัก การะใคร่***

อยากรู้ ความจริง สิ่งถูก(ต้องเป็นอย่าง)ใด?.........เพียรศึกษา พระไตร ปิฎกเทอญ


๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๔


*ผู้เขียนทำธุรกิจร้านขายสินค้า

มีพระไม่น้อย(พระส่วนใหญ่ซื้อของง่าย-มีเงิน) ชอบทำทีมาซื้อของ พอต้องจ่ายเงินก็อ้างว่า เงินไม่พอบ้าง อ้างว่าที่ผ่านมาจะมีคนถวายบ้าง(จะให้ถวายฟรีๆ แต่ทำทีมาซื้อ)

บางคนก็ตั้งใจมาขโมยของ โดยให้หยิบของมาให้เลือกหลายๆชิ้น เอามาให้เลือกแล้วก็ยังบอกว่าขอดูชิ้นอื่นอีก พอหันหลังไปหยิบของอื่น พระก็แอบเอาของใส่ย่าม สุดท้ายก็ไม่ซื้อ อ้างว่าไม่ถูกใจบ้าง เงินไม่พอบ้าง.


**บุคคล ๔ คู่ ๘ บุรุษ นี้เท่านั้นที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็น " พระสงฆ์สาวก หรือ อริยสงฆ์ " ได้แก่

คู่ที่ ๑ ผู้ตั้งใจปฏิบัติใน โสดาบัน มรรค + ผู้บรรลุ โสดาบัน ผล

คู่ที่ ๒ ผู้ตั้งใจปฏิบัติใน สกทาคามี มรรค + ผู้บรรลุ สกทาคามี ผล

คู่ที่ ๓ ผู้ตั้งใจปฏิบัติใน อนาคามี มรรค + ผู้บรรลุ อนาคามี ผล

คู่ที่ ๔ ผู้ตั้งใจปฏิบัติใน อรหันต์ มรรค + ผู้บรรลุ อรหันต์ ผล

พระนอกนั้นไม่ถือว่าเป็นพระสงฆ์ มักถูกเรียกว่า "สมมุติสงฆ์"

(อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ตามสำนวนของผู้เขียนเอง)


***ข้อวัตรหนึ่งที่นิยมอ้างคือ พระไม่รับเงิน-ไม่เก็บเงิน-ไม่ใช้เงิน

เอาเข้าจริงๆ ให้คนอื่นรับแทน-เก็บเงินแทนพระ พระเป็นคนสั่งใช้จ่ายเงิน 

โดยเฉพาะ นิยมตั้ง "มูลนิธิ" ของวัดขึ้นมารับเงิน เจ้าอาวาสเป็นประธานสั่งใช้จ่ายเงิน หลายแห่งมีเงินเก็บหลายร้อยหลายพันหลายหมื่นล้านบาท

ทำแบบนี้ก็ผิดธรรมวินัยเหมือนกันกับพระรับเงิน-เก็บเงิน-ใช้เงิน แต่ชาวบ้านไม่รู้เพราะไม่ศึกษาพระไตรปิฎก.


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ปสาทสูตร
.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด
พระสงฆ์สาวกของตถาคต คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี้ คือ พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของ
ทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เรา
กล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ ชนเหล่านั้น
ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการนี้แล ฯ
                          บุญที่เลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติคุณ สุข และพละ
                          อันเลิศ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้รู้แจ้งซึ่งธรรมอันเลิศ เลื่อมใส
                          โดยความเป็นของเลิศ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็น
                          ทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม เลื่อมใสในพระธรรมอันเลิศ
                          ซึ่งเป็นธรรมปราศจากราคะ สงบและเป็นสุข เลื่อมใส
                          ในพระสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่งเป็นบุญเขตชั้นเยี่ยม ถวายทานใน
                          ท่านผู้เลิศนั้น ผู้มีปัญญาตั้งมั่นแล้วในธรรมอันเลิศ ให้ทาน
                          แก่ท่านผู้เป็นบุญเขตอันเลิศ จะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์
                          ก็ตาม ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ บันเทิงอยู่ ฯ

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ความสงบเงียบงันแห่งกิเลสตัณหา : กลอนคติธรรม




ความสงบเงียบงันแห่งกิเลสตัณหา : กลอนคติธรรม

    แล้วจู่ๆ ฝนพรูพรั่ง ตกกลางดึก(ตกไม่นาน)...................(ตื่นเช้ามา)เมฆผนึก มวลพลัง พรางสูรย์ไร้

เช้า-เที่ยง-บ่าย ไร้อาทิตย์ คิดในใจ..........................(คง)ต้องรอไป ถึงวันพรุ่ง รุ่งทิวา(เมฆจึงคลายตัว)


    ความโลภ-ร้าย-หลงเห็น ไม่เป็นประโยชน์....................มีแต่โทษ กดดัน สร้างปัญหา

คือบ่อเกิด ของบาปกรรม นำชีวา..............................ประเชิญชะตา ทุกข์โศก วิโยคซอน


    ก็สมควร แก่การ สรรค์สติ...........................................ตั้งสมาธิ มีใจ เพียรไถ่ถอน

การปฏิเสธ กิเลสไส ไม่อาวรณ์................................นอกจากไร้ ความเดือดร้อน (ยัง)สุนทรฤดี

 

    ตามสังเกต เจตนา ในอารมณ์.....................................อกุศล กมลข่ม ระดมวิถี

การลดละ ขจัดกิเลส วิเศษมี...................................ยังอุระ ประเสริฐศรี วิโรจน์พราว


    เมื่อความโลภ-ร้าย-หลง คง(อยู่)เบาบาง......................หฤทัย ใสกระจ่าง ดุจกลางหาว

ในคืนที่ เดือนเพ็ญ เด่นสกาว..................................แลดวงดาว เพราไสว ไร้มลทิน


    กลางดวงมาน เกิดสันติ เมื่อกิเลส...............................หมดฤทธิ์เดช เหตุผล เพื่อรนดิ้น

(ความ)สงบสันติ์ มั่นคง ทรงดวงจินต์.......................ทุก(สภาพ)ดินฟ้า อากาศ องอาจไกร

 

    เมื่อกิเลส หมดแรง สำแดงฤทธิ์..................................สงบล่วง ดวงจิตราน ตัณหาไร้

บ่อยากมี อยากเป็น (อยาก)ไม่เป็นไป......................อยากอาลัย ในกาม ความว่างมี

 

    ความสงบ เงียบงัน แห่งตัณหา........................................มานโสภา ปรากฏ หมดจดศรี

เมื่อกิเลส ตัณหา ลดละมี........................................ความเศร้าโศก โศกี ก็มิประจัญ


    ข่าวโควิด ติดตาม หาทำให้........................................ดวงฤทัย ไร้กิเลส* เคร่งเครียดขัน

(ยัง)ไม่ได้ฉีด วัคซีนบ้าง ก็ช่างมัน............................มิปลุกปั่น ให้หันหุน(หุนหัน) ว้าวุ่นเอย


๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔


*ในคนทั่วไป เมื่อจิตใจสงบ กิเลสตัณหาก็สงบด้วย

กิเลสตัณหาจึงสงบเป็นการชั่วคราวได้ รับรู้อารมณ์ได้ว่าเป็นอย่างไร

แต่วิธีที่พระพุทธเจ้าสอนให้สาวกทำประจำ คือ การทำอานาปานสติ จนปราศจากนิวรณ์๕.

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564

คุณธรรมสานสัมพันธ์ : กลอนคติธรรม



คุณธรรมสานสัมพันธ์ : กลอนคติธรรม

    คุณธรรม ความดี....................................ที่มี ในใจ

เป็นสื่อ สานใย...................................ให้สาย สัมพันธ์

หมดจด งดงาม..................................มีความ สมานฉันท์

รัก-สา มัคคีกัน...................................มิครั่น สั่นคลอน


เช่นความ สัตย์ซื่อ(จริงใจ).......................ยึดถือ ศีลธรรม

สุจริต(ตรงไปตรงมา) กิจกรรม..............นำสุข สโมสร

ไม่ต้อง วิตก.......................................โกหก ซุกซ่อน

กลิ้งกลอก ยอกย้อน............................(ให้)เดือดร้อน ลำเค็ญ


    (ความ)หวังดี มีให้...................................โดยไม่ หวังผล

มิเห็น แก่ตน.......................................เอื้อ(เฟื้อ)คน อื่นเห็น

ประโยชน์ ส่วนรวม...............................สวมจิต ประสิทธิ์เน้น

ร่วมสุข-ทุกข์เข็ญ.................................มิเว้น วันคืน

 

    แตกต่าง(กัน) อย่างไร..............................อย่าได้ แตกแยก

เคารพสิทธิ์ ความคิดแผก......................ปลดแอก (อย่า)บังคับขืน

การเอา แต่ใจ(ตัวเอง)...........................เป็นใหญ่ (สัมพันธ์จะ)ไม่ราบรื่น

(เข้าใจ)เห็นใจ ผู้อื่น..............................หยิบยื่น ไมตรี(ทั้งคำพูด-การกระทำ)


    อิสระ เสรี...............................................คือวิถี คุณธรรม

อย่าชอบ ครอบงำ................................กำกับ กดขี่(เอาเปรียบคนอื่น)

(ความ)เท่าเทียม เสมอภาค...................เป็นรากฐาน อันดี

สร้างสรรค์ สัมพันธ์มี.............................จีรัง ยั่งยืน


    คนดี มีคุณธรรม......................................น้อมนำ สัจจะ

โสภี อาชีวะ.........................................จรัส มนัสชื่น

สมควร สานสัมพันธ์..............................สุขสันติ์ วันคืน

มิตรภาพ ราบรื่น...................................สดชื่น ยืนยาว


๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๔

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ฝึกสติปัฏฐาน(๔)ใย ให้เสียเวลา : กลอนคติสอนใจ



ฝึกสติปัฏฐาน(๔)ใย ให้เสียเวลา : กลอนคติสอนใจ

    (ถ้ายัง)อยากกินดี อยู่ดี มีชีวิต..................................อยาก(มา)เกิดใหม่ ใฝ่จิต ติดใจหล้า

(มัว)ฝึกสติ ปัฏฐาน(๔)ใย ไคลมรรคา.......................(เมื่อ)ไม่มุ่งมาด ปรารถนา ละโลกีย์


    (ยัง)อยากครองคู่ อยู่ยง จำนง(ยศ)ศักดิ์....................(ยัง)ติดใจ(ความ)รัก ติดใจกาม ตามประสี(ประสาโลกย์)

อยากรวยร่ำ ล้นอำนาจ บารมีฯลฯ............................ฝึกสติ ปัฏฐาน๔ (ไปก็)เสียเวลา


    ถูกบอกให้ เดินจงกรม นั่งสมาธิ................................ขาดสติ เชื่อตาม ความพระว่า

จะได้บุญ(บารมี) มากมาย ไร้ตำรา*..........................ก็หลับหู หลับตา ปฏิบ้ติไป

 

    ทั้งๆที่ สติปัฏฐาน เป็นงาน(กิจของ)พระ.....................มุ่งโลกุต ตระ สละ(โลก)ไซร้

เรื่องกินดี อยู่ดี มิใส่ใจ............................................หาประสงค์ เกิดใหม่(หลุดพ้น) ให้รู้ความ


    พระ(ไม่น้อย)ชอบสอน ส่งเดช (สักแต่)เทศนา............หวังลาภ-ยศ-สักกา ระหลากหลาม

(เพื่อ)ยกระดับ สถานะ พยายาม...............................จากคนเคย ต่ำทราม (ชาติ)กำเนิดมี


    หากยินดี กิเลสกาม ความกำหนัด..............................โลกุตตระตรึก ฝึกหัด(ไป) ก็บัดสี

เสมือนควาย ได้ลิ้มรส บทกวี....................................บ่เกิดมี สุนทรียภาพ ประทับจินต์

 

    (เข้าวัด)สวดมนต์แล้ว แจวออกมา หาซื้อหวย..............หวังลัดรวย ด้วยโชค โภคทรัพย์สิน

สุขสมหวัง ดั่งใจ รักไหลรินฯลฯ.................................สิ่งทั้งสิ้น(ทั้งปวง) ล้วนชินชา รึ้งอารมณ์

 

    (แค่)ตั้งหน้าทำ กรรมดี มิทำชั่ว..................................ก็เป็นเหตุ สำเร็จทั่ว หัวใจสม

(จง)รู้จักเลือก หลักธรรม** นำ(เป้าหมาย)อุดม.............อย่าโง่งม อบรมมั่ว งัวเงียเลย


๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๔


*พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่า ฝึกกรรมฐาน เดินจงกรม นั่งสมาธิฯลฯ ทำให้ได้บุญบารมี

คนสอนน่าจะงมงายไสยศาสตร์ ไม่เข้าใจพุทธศาสน์


**หลักธรรมของพระพุทธเจ้า มีทั้งสำหรับผู้ต้องการใช้ชีวิตทางโลก มีครอบครัว เช่น ศีล๕

มีทั้งหลักธรรมเพื่อความสิ้นสุดวัฏสงสาร ไม่เหมาะกับคนต้องการครองเรือน-คนที่อยากเกิดใหม่ เช่น ศีล๘

การจะปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ต้องเข้าใจก่อนว่า หลักธรรมนั้นๆเหมาะสำหรับใคร

อย่าสักแต่ปฏิบัติแบบไม่รู้เรื่องรู้ราว เช่น อยากมีครอบครัวแต่ไปรักษาศีล๘ ประพฤติพรหมจรรย์ในวันพระ

อยากเกิดใหม่ แต่ไปฝึกสติปัฏฐาน๔ ที่สอนให้สละทางโลก

อยากร่ำรวยด้วยลาภ ยศศักดิ์ อำนาจ วาสนา แต่ไปฝึกหลักอนัตตา สุญญตา ว่างจากตัวตน ฯลฯ เสียเวลาเปล่าๆ.

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ป้องกันกาย ป้องกันใจ : กลอนคติเตือนใจ









ป้องกันกาย ป้องกันใจ : กลอนคติเตือนใจ

    ตุนหน้ากาก(เกรดการแพทย์) ไว้ใช้ ไปทั้งปี......................(เพราะ)สถานการณ์ วันนี้ ไม่มีหวัง

เมื่อมากคน มักง่าย ไม่เชื่อฟัง........................................มาตรการ ที่รัฐตั้ง พังสิ้นดี(ล้มเหลว)


    ห้ามคนงาน ทำงาน (แต่)กลับบ้าน(ต่างจังหวัด)ได้.............ตระเตรียมใจ ได้ระบาด ถนัดถนี่

วัคซีนที่ มีใช้ ก็ไม่ดี......................................................เชื้ออัปรีย์ กลายพันธุ์เก่ง เร่งแพร่ไว


    (จง)เอาตัวรอด ปลอดภัย ให้ได้ก่อน.................................อย่านิ่งนอน หย่อนยาน ป้องกัน(ติดเชื้อ)ไว้

(ทั่วโลก)ฉีดวัคซีน(แล้ว) เชื้อโควิด ยังติดได้...................ต้องตระหนัก รักษาหาย (ร่างกาย)ไม่เหมือนเดิม

 

    (จง)ป้องกันกาย ไม่ให้ ไปติดเชื้อ.....................................ป้องกันใจ ไม่เอื้อ เรื้อโรคเพิ่ม

สยบปัญหา อย่าให้ มาใหม่เติม......................................หลักธรรมเสริม พินิจ พิจารณา


    ลดราคะ(โลภะ) โทสะ และโมหะ......................................เพียร สละ อย่ากระสัน เพาะตัณหา

ครองชีวิต เรียบง่าย ใช้ปัญญา.......................................นี่ไม่ใช่ เวลา มาระเริง


    ประหยัด(การ)ใช้ จ่ายได้ ให้ประหยัด................................เศรษฐกิจ ติดขัด ชาติว้างเวิ้ง(เงินร่อยหรอ-หนี้เพิ่ม)

ประเทศส่วนใหญ่ ไม่ต่างกัน ฝันกระเจิง..........................คอยคุมเชิง ระบาด(รอบ)ใหม่ ไม่ให้มี

 

    ผ่อนคลายจิต คิดมากใย ไร้ประโยชน์...............................หมั่นทำดี ไม่มีโทษ ปราโมทย์ศรี

ไม่ต้องกลัว ความตาย กรายชีวี......................................ถ้าทำดี ไว้มาก พร้อมจากจร(จากโลกนี้)

 

    ไม่ได้ทำ กรรมชั่ว ไม่กลัวบาป.........................................จิตผ่องใส ไม่หยาบช้า หาเดือดร้อน

ชาติต่อไป ต้องได้ดี มิอาทร..........................................กฎแห่งกรรม (มี)ความแน่นอน สังวรณ์เทอญ


๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔