ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565

อยากได้พระ อย่าให้เงิน : กาพย์ยานี๑๑









อยากได้พระ อย่าให้เงิน : กาพย์ยานี๑๑

    เมษาฯ อากาศเย็น.......................................... มีนาฯเป็น เปรียบหน้าฝน

ขั้วโลก ใต้ร้อนรน..........................................แปลกพิกล ปนพรั่นใจ


    ๓ ปี (ที่)มีโควิด(19 ระบาด)..............................เกือบวิปริต ชิวิตใช้

(เช่น)หน้ากาก อนามัย...................................(ใส่ทั้งวัน)เหมือนทำให้ (อากาศ)หายใจไม่พอ


    ข่าวสาร ทางศาสนา.........................................ไม่(ปกติ)ธรรมดา เหมือนเลียนล้อ

พระสงฆ์ หลงบ้าบอ.......................................ก่อกิจกรรม กันตามใจ(ชอบ)

 

    เงินตรา พา(กัน)บริจาค(ให้พระ-วัด)...................เป็นอันมาก ประสิทธิ์(ผล)ไหม?

ละเมิด ธรรมวินัย............................................ทำให้พุทธ(ศาสนา) ผุดราคิน


    (เป็นเหตุให้คนโลภ)บวชพระ เป็นอาชีพ.............อยากรวยรีบ เป็นนิจสิน

บวชมา ทำหากิน(เงิน)....................................(ทำให้)เสื่อมสิ้นค่า ศาสนาพุทธ

 

    หากใคร อยากได้พระ......................................อยากไหว้พระ ผู้บริสุทธิ์

ขอจง จำนงหยุด............................................(เลิก)ให้เงินพระ(และวัด) ตามธรรมวินัย

 

    ควรให้ แค่สิ่งของ............................................คอยสนอง สิ่ง(จำเป็นที่พระ)ต้องใช้

แค่พระ พออยู่ได้(ไม่ใช่รวย)............................ด้วยปัจจัย ๔ ประการ(เป็นต้น)


    (ผู้)นับถือ พุทธศาสนา.....................................พึงศรัทธา หลักพื้นฐาน

ธรรมวินัย ใส่ดวงมาน(ใจ)................................กิเลสลาญ ตัณหาเทอญฯ


๓๐ มีนาคม ๒๕๖๕


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒

๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๑๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็น กุลุปกะของสกุลหนึ่ง รับภัตตาหารอยู่เป็นประจำ ของเคี้ยวของฉันอันใดที่เกิดขึ้นในสกุลนั้น. เขาย่อมแบ่งส่วนไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร. เย็นวันหนึ่งในสกุลนั้นมีเนื้อเกิดขึ้น เขาจึง แบ่งส่วนเนื้อนั้นไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร. เด็กของสกุลนั้นตื่นขึ้นในเวลาเช้ามืด ร้อง อ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า. บุรุษสามีจึงสั่งภรรยาว่า จงให้ส่วนของพระแก่เด็ก เราจัก ซื้อของอื่นถวายท่าน. ครั้นแล้วเวลาเช้าท่านอุปนันทศากยบุตร นุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่สกุลนั้น แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย. ทันใด บุรุษนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง, ได้กราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อเย็นวานนี้มีเนื้อเกิดขึ้น, ผมได้เก็บไว้ถวายพระคุณเจ้าส่วนหนึ่ง, จากนั้นเด็กคนนี้ตื่นขึ้นแต่เช้ามืดร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า ผมจึงได้ให้เนื้อส่วนของ พระคุณเจ้าแก่เด็ก, พระคุณเจ้าจะให้ผมจัดหาอะไรมาถวายด้วยทรัพย์กหาปณะหนึ่ง ขอรับ. ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า เธอบริจาคทรัพย์กหาปณะหนึ่งแก่เรา แล้วหรือ? บุ. ขอรับ ผมบริจาคแล้ว. อุ. เธอจงให้กหาปณะนั้นแหละแก่เรา. บุรุษนั้นได้ถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ในทันใดนั้นเอง แล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ รับรูปิยะเหมือนพวกเรา. ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงได้รับรูปิยะเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่า เธอรับรูปิยะจริงหรือ? ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า? การกระ ทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้วตรัส โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำ นาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบัง- *เกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
______________________________________________________________________
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ปัจจัย 4 (สิ่งค้ำจุนชีวิต, สิ่งจำเป็นเบื้องต้นของชีวิต, สิ่งที่ต้องอาศัยเลี้ยงอัตตภาพ)
       1. จีวร (ผ้านุ่งห่ม)
       2. บิณฑบาต (อาหาร)
       3. เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย, ที่นั่งที่นอน)
       4. คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ เภสัช (ยาและอุปกรณ์รักษาโรค)

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565

เรื่องนิพพาน มันล้าสมัย? : กลอนคติเตือนใจ




เรื่องนิพพาน มันล้าสมัย? : กลอนคติเตือนใจ

    พุทธะสาง ทางสิ้นวัฏ (ฏะ)สงสาร....................................มุ่งเป้าหมาย นิพพาน อันสุขสันติ์

(โดย)หยุดเวียนว่าย ตายเกิด=ประเสริฐธรรม์.....................จึงพ้นทุกข์=สุขอัศจรรย์ นิรันดร


    มีพระ(บางคน)เลี่ยง เถียงรัน การ(เวียนว่าย)ตายเกิด..........(จึง)เน้นแต่เรื่อง "ทุกข์"เถิด เฉิดฉายสอน

มุ่ง"พ้นทุกข์" สุขล่า เฝ้าอาวรณ์........................................ถูกจริต จิตสลอน (พวกที่เรียกตัวเองว่า)ปัญญาชน


    เปลี่ยนเป็น(หลัก)"จิต วิทยา" ประสาพุทธ.........................วัฏสง สารหลุด(พ้น) หยุดคิดค้น

คอยคะนึง ถึง(แค่)ชาตินี้ ปีติกมล......................................เหมือนไม่สน (ว่าแท้จริงแล้ว)พุทธศาสนา สอนอะไร?

 

    พระบางคน สนใจ แส่ไสยศาสตร์.....................................ฉวยโอกาส ที่คน(ส่วนใหญ่)โลภ ละโมบใคร่

อยากจะรวย รวยย้ำ อยู่ร่ำไป............................................โดยมิต้อง ทำ(งาน)อะไร ไม่พยายาม(อุตสาหะ)


    หลอกคนโง่ งมงาย ด้วยไสยศาสตร์.................................หาเงินง่าย ไม่ขาด ปราศคำถาม

ต่างกับการ สอน(ให้)รู้แจ้ง แสดงความ..............................ช่างสงสัย ใคร่ถาม จนรำคาญ

 

    (ปล่อยตาม)แล้วแต่คน จนใจ ในเจตจริต...........................เดี๋ยวจะหา ว่า"เป็นสิทธิ์ -อิสระ"ขาน

ปล่อยให้เชื่อ ให้กระทำ ตามสันดาน..................................อยากเร่งรีบ นิพพาน(ที่นี่-เดี๋ยวนี้) ปล่อยมันไป

 

    (หาก)เลิกใส่ใจ ในศีลธรรม กรรมสะอาด(สุจริตกรรม)..........เรื่องภพชาติ ศาสนาฯลฯ มันล้าสมัย

มี-ไม่มี จิต-วิญญาณ? (ค้นคว้า)ยากบรรลัย.........................(เอาแค่)เรื่องสุข-ทุกข์ ผูกใจ พูดง่ายดี


    (แล้ว)พระจะมี วินัย (ให้ลำบาก)ทำไมเล่า?........................เสพกามเข้า เร้าใจ (สุข)สบายวิถี

เรื่องบาปบุญ คุณโทษฯลฯ หมดวาที.................................กตัญญู กตเวที ฯลฯ มีไหมเอย?


๒๖ มีนาคม ๒๕๖๕


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

๗. คัททูลพัทธสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยสุนัขถูกล่าม
[๙๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงสาร (การเวียนว่ายตายเกิด) นี้
มีเบื้องต้นเบื้องปลายที่ใครๆ รู้ไม่ได้ เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไป
             มหาสมุทรยังมีเวลาเหือดแห้งไป มีอยู่ไม่ได้ แต่เราก็มิได้กล่าวว่า สัตว์
ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปอยู่
จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
             ขุนเขาสิเนรุยังมีเวลาถูกไฟเผาพินาศไป มีอยู่ไม่ได้ แต่เราก็มิได้กล่าวว่า
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยว
ไปอยู่ จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
......
             ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ... ได้รับการ
แนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ... ไม่
พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ อริยสาวก
นั้นไม่แล่นวนเวียนอยู่กับรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ไม่แล่นวนเวียน
อยู่กับวิญญาณ เมื่อเธอไม่แล่นวนเวียนอยู่กับรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร
ไม่แล่นวนเวียนอยู่กับวิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้นจาก
สัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้นจากชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์”
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


อริยสัจจ์ 4 (ความจริงอันประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ)
       1. ทุกข์ (ความทุกข์, สภาพที่ทนได้ยาก, สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง, ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์)
       2. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์, สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา)
       3. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป, ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกต้อง ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือนิพพาน)
       4. ทุกขนิโรธคามีนิปฏิปทา (ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง มรรคมีองค์ 8 นี้ สรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา)

       อริยสัจจ์ 4 นี้ เรียกกันสั้นๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กาม 2 (ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนา)
       1. กิเลสกาม (กิเลสที่ทำให้ใคร่, ความอยากที่เป็นตัวกิเลส)
       2. วัตถุกาม (วัตถุอันน่าใคร่, สิ่งที่น่าปรารถนา, สิ่งที่อยากได้, กามคุณ)

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2565

ปัญหาใหญ่ในครอบครัว : กลอนคติชีวิต



ปัญหาใหญ่ในครอบครัว : กลอนคติชีวิต

    พ่อแม่ แลคือพรหม...............................(เป็น)ค่านิยม อุดมคติ

"พรหมวิหาร(๔)" อันสุทธิ......................เกิดตำหนิ (เพราะ)กิเลสตัณหา(สุทธิ=สะอาด, บริสุทธิ์)


    (ผู้ใหญ่มัก)สั่งสอน ให้ลูกหลาน..............ยึดมั่นการ กตัญญุตา

(แต่)โลกนี้ มีปัญหา..............................เรื่อง(การทำตาม)หน้าที่ และศีลธรรม


    ใครแล เห็นแก่ตัว.................................หลักดี-ชั่ว หัวใจต่ำ(มีน้อยนิด)

ชีวิต ก่อกิจกรรม..................................มักมืดดำ เป็นธรรมดา

 

    ทำอะไร มุ่งหมายผล-............................ประโยชน์(ส่วน)ตน ล้นตัณหา

เรียกร้อง ต่างๆนานา(จากคนอื่น)...........(แต่)มินำพา หน้าที่ตัว(เอง)


    ผู้ใด ไร้ศีลธรรม....................................(ย่อม)มิกระทำ ตาม(หลัก)ดี-ชั่ว

สร้างภัย ให้ครอบครัว..........................โดยไม่กลัว เกรงบาปกรรม

 

    ครอบครัว จึงมัวหมอง...........................มิสนอง สิ่งเลิศล้ำ

แตกแยก แหลกระยำ...........................ระกำสู่ อยู่ร่ำไป

 

    (คน)บ่รู้ดี มิรู้ชอบ(ความถูกต้อง).............ริสร้างครอบ ครัว(หา)ควรไม่

(เพราะ)รังแต่ สิแพร่ภัย.........................ให้สังคม โสมมมี


    บุคคล หาได้ยาก(๒).............................หลักธรรมฝาก โลกวิถี

ขาดแคลน บุพการี................................กตเวที กตัญญูฯ


๒๓ มีนาคม ๒๕๖๕


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

๗. สพรหมกสูตร๑-
ว่าด้วยมารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร
[๑๐๖] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่า มีพรหม บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีบุรพเทพ บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีบุรพาจารย์ บุตรของ สกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีอาหุไนยบุคคล ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหม นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า บุรพเทพ นี้เป็น ชื่อของมารดาบิดา คำว่า บุรพาจารย์ นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า อาหุไนย- บุคคล นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา๒- ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดาเป็นผู้มี อุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์ประชา ท่านเรียกว่าพรหม บุรพเทพ บุรพาจารย์ และอาหุไนยบุคคลของบุตรทั้งหลาย
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
 บุคคลหาได้ยาก 2 
       1. บุพการี (ผู้ทำความดีหรือทำประโยชน์ให้แต่ต้นโดยไม่ต้องคอยคิดถึงผลตอบแทน)
       2. กตัญญูกตเวที (ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน, ผู้รู้จักคุณค่าแห่งการกระทำดีของผู้อื่น และแสดงออกเพื่อบูชาความดีนั้น)

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565

[PODCAST] Well-Being | EP.5 - อาหารเสี่ยงมะเร็งที่ควรหลีกเลี่ยง | Mahido...

อาหารตัวร้าย ทำลาย 5 อวัยวะ | คลิป MU

ทางออกวิกฤตรัสเซีย - ยูเครน? | คนชนข่าว | 16 มี.ค. 65

เปิดข้อมูลบูสเข็ม 4 ภูมิขึ้นน้อยกว่าเข็ม 3 | TNN ประเด็นใหญ่ 24-02-2565