ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562

จะแก้ปัญหาหรือสร้างปัญหา? : กาพย์ยานี๑๑










จะแก้ปัญหาหรือสร้างปัญหา? : กาพย์ยานี๑๑

     คนขาย ไม่ถูกฆ่า.........................................คนเสพยาฯ ไม่ถูกขัง
นึกแก้ ปัญหาดั่ง.........................................พวกช่างฝัน แสนอันตราย

     ปัญหา นักโทษล้น-......................................คุกแน่นจน (แต่)ทนไม่ขยาย(ไม่สร้างคุกเพิ่ม)
ทางออก บอกง่ายดาย..................................ลดโทษ-ไม่ ต้องขังคน

     เหมือน(เอาคน)บ้า มาบริหาร.........................อ้างหลักการ ลาญเหตุผล
ป่วย-ชั่ว มั่ว-มืดมน.......................................มิแยกยล=ฉลฉ้อชิง

     เสพ-ขาย(ยาเสพย์ติด) หาใช่ป่วย....................(ความ)คิดเฮงซวย=ช่วยชั่วสิ่ง
บิดเบือน ความเป็นจริง..................................ปัญหายิ่ง ยาก-ลุกลาม

     (ต้อง)ปลูกฝัง ความรักดี................................กรรมอัปรีย์ ต้องหักห้าม
(ต้นเหตุคือ)สังคม อุดมทราม..........................คนไม่คร้าม ทำชั่วชิน(บทลงโทษเบา คนชั่วยิ่งกล้าทำชั่ว)

     พระยัง ระยำให้............................................เป็นข่าวได้ ไม่รู้สิ้น
มวลชน บนแผ่นดิน.......................................ขาดศีลสัตย์ ชาติภินท์พัง

    คนป่วย ควรรักษา........................................(แต่)พวกชั่วช้า ต้องคุมขัง
ห้ามไป เมื่อไม่ฟัง.........................................ยังทำชั่ว อย่ามัวรอ

     ลงโทษ ที่โฉดชั่ว.........................................เมื่อไม่กลัว มัวเมาฉ้อ
(ใครที่)ชั่วร้าย มากมายพอ.............................ก็กำจัด ตัดสิน(ประหาร)เทอญฯ(จะเก็บไว้ทำไม? คนล้นโลกแล้ว)

๒๙ กันยายน ๒๕๖๒

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562

อุปสรรคของการพัฒนา : กลอนคติเตือนใจ



อุปสรรคของการพัฒนา : กลอนคติเตือนใจ

     (ด้วย)คุณพระ สยาม เทวาธิราช...............................สามารถ ดลให้ ไทยสุขี(คนไม่ต้องทำอะไร)
ป้องกัน ปัญหา ปัดราคีฯลฯ..................................ยังมี คนเชื่อ เมื่อปัจจุบัน

     อุปสรรค ของการ พัฒนา........................................คือปราศ ปัญญา คิดสร้างสรรค์
ยิ่งมอง ไม่เห็น ปัญหานั้น....................................บันดาล ปัญหา ตลอดไป

     (จิต)ทรยศ คดคุด ทุจริต........................................เกียจคร้าน งานกิจ เป็นนิสัย
อุปสรรค หนักหนา จาระไน..................................เท่าไร ก็ไม่ เกิด(การ)เปลี่ยนแปลง

     ความไม่ จริงจัง ขวาง(ความสามารถ)คิดอ่าน...............ชำนาญ มารยา-เกเร-เสแสร้ง
ผักชี โรยหน้าฯลฯ ล้วนแสดง................................เหตุแห่ง อุปสรรค ขวากพัฒนา

     ความรู้ ไม่สู่หา (แต่)อุตสาห์คิด.................................ถูก-ผิด พินิจข้าม หยามคุณค่า
ทำตาม อำเภอใจ ไม่นำพา...................................สัมมา ปฏิบัติ อีกปัจจัยฯลฯ

     กุศล (คือ)ต้นทาง การสร้างสรรค์...............................ครอบคลุม กิจกรรม์ บันดาลให้
(การ)พัฒนา ประสิทธิ์ ประสบชัย...........................ปัญหา ใดๆ คลี่คลายพลัน

    กฎระเบียบ ตราไว้ ไร้สาระ........................................(เป็น)ภาระ อุปสรรค นักสร้างสรรค์
ปฏิเสธ การเปลี่ยนแปลง-มิแบ่งปัน.........................ความรู้ สู่กัน ขวางปัญญา

     อวดอ้าง อำนาจ ทำบาตรใหญ่..................................(ย่อม)บิดเบือน เงื่อนไข ให้ก้าวหน้า
ความคิด(ใหม่) ปิดกั้น (ดีแต่)จำนรรจา....................เชื่อว่า (ทำให้)พัฒนาได้ ฝันไปเทอญฯ

๒๘ กันยายน ๒๕๖๒

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2562

การดำเนินชีวาอย่าอ่อนไหว : กลอนคติชีวิต





การดำเนินชีวาอย่าอ่อนไหว : กลอนคติชีวิต

     แม้(ยัง)มิใช่ เวลา ของหน้าหนาว.............................(แต่เมื่อ)อากาศหนาว มาเยือน (อย่าง)ไม่คาดฝัน
ก็มิใช่ เวลา มาเกี่ยงมัน........................................ปัจจุบัน พานผอง ต้องเผชิญ

     สัมผัสเห็น เย็นแห้ง เปลี่ยนแปลงให้..........................ปรับวิถี ชีวาไว ไม่ขัดเขิน
เมื่อแสงสูรย์ แปรทิศ ; กิจดำเนิน...........................การปรับเปลี่ยน มิอาจเมิน เผลอเพลินใจ

    (ใครจะ)ชอบ-ไม่ชอบ ก็ช่าง ; ทางชีวิต.......................ถูกลิขิต พิสดาร ห้ามหวั่นไหว
สอดคล้องสรรพ สถานการณ์ ดั้นด้นไป....................มีวินัย ไม่ประมาท เป็นวัตรมี

     อย่าใส่ใจ ในสุข จนทุกข์เกิด....................................มิประเสริฐ เลิศล้ำ ซ้ำบัดสี
ความรู้สึก บ่ยินร้าย ไม่ยินดี...................................ฝึกไว้บ้าง สร้างวิถี ที่เยือกเย็น(ไม่สุขไม่ทุกข์=อุเบกขา)

     ธรรมชาติ ชีวัน (ล้วนหนีไม่พ้น)มีปัญหา......................มากหรือน้อย คล้อยชะตา กรรมเก่าเข็น
จงรู้จัก เข้าใจ ในประเด็น......................................รู้งดเว้น เป็นทุกข์ ซุกมนา

     อนาคต ข้างหน้า อย่ากังวล.....................................ตั้งกระมล สนใจ ในปัญหา
ที่กำลัง เผชิญ จะดีกว่า........................................เท่ากับปลด ลดภาระ ละลงพลัน

    การดำเนิน ชีวา อย่าอ่อนไหว...................................(แต่)คิดสนุก เข้าไว้ (มัก)ให้คับขัน
เกิดอะไร ขึ้นมา อย่ายึดมั่น...................................รู้ลดทอน ผ่อนผัน ความฝันตน

     ตราบยังมี ชีวิต คิดเยี่ยงปราชญ์................................คือโอกาส ก่อกรรม ทำกุศล
แม้ยังไม่ ให้สนอง พ้องบัดดล...............................แต่มิพ้น ผลผอง ต้องได้เอยฯ

๒๗ กันยายน ๒๕๖๒

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2562

หิริ โอตตัปปะ คือเครื่องมือง่าย-เที่ยงตรงในการวัดคนดี-ชั่ว : กลอนคติธรรม




หิริ โอตตัปปะ คือเครื่องมือง่าย-เที่ยงตรงในการวัดคนดี-ชั่ว : กลอนคติธรรม

     การประพฤติ สุจริต.......................................เกิดจาก ความคิด ที่ซื่อตรง
จิตใจ มิไหลหลง..................................ประสงค์ ผลประโยชน์ โรจน์-เร็ว หา
จึงก่อ ความรำคาญ...............................แก่ชน สามานย์ ผู้ด้านชา
ทุจริต ติดอุรา......................................ไม่ศรัทธา กฎแห่งกรรม

    ถนัด วิธี ลวงหลอก.......................................กลิ้งกลอก ยอกย้อน ซ่อนสัจจา
โกหก พกลม โฉมหน้า...........................เชื่อว่า จะได้ ผลหลาย-ล้ำ
เข้าใจ(ว่า) ในโลก วิถี............................ผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี-ศีลธรรม
(เป็นเพียง)ประดิษฐ์ ประดอย ถ้อยคำ........ของคน โง่งำ งมงาย

     คนฉลาด กล้าทำชั่ว......................................ไม่กลัว กฎแห่ง กรรมทัก
ใครโดนหลอก บอก"โง่นัก".....................แค่รู้จัก หลบเลี่ยง กฎหมาย
ทำตาม ใจได้ ไม่ต้องห่วง.......................ความชั่ว ทั้งปวง อย่าละอาย
โลกนี้ ไม่มี ดี-ร้าย.................................ขวนขวาย สาวได้ สาวเอา

    คนซื่อสัตย์ รับไม่ได้.......................................คนคดไซร้ ไม่ถือสา
คือธรรมชาติ ของโลกา...........................ที่มี (ทั้งคนมี)ปัญญา และโง่เขลา
คนโกหก เชื่อถือ ไม่ได้...........................ไว้ใจ หรือจะไม่ หลอกเรา?
ทำร้าย ให้โศกเศร้า................................ใช้เรา เป็นแค่ เครื่องมือ

    สัญญา ของคน สามานย์..................................แค่การ สร้างภาพ ประทับจิต
คนโฉดชั่ว ทั่วความคิด............................มิใช่มิตร อย่าหลง นับถือ
ควรคบ แค่คน จริงใจ..............................สุจริต จิตใจ ใสซื่อ
หิริ โอตตัปปะ จะคือ...............................เครื่องมือ(ง่ายๆ-เที่ยงตรง) วัดคน หนทางฯ

๒๔ กันยายน ๒๕๖๒

*ธรรมคุ้มครองโลก 2 (ธรรมที่ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เดือดร้อนและสับสนวุ่นวาย )
       1. หิริ (ความละอาย, ละอายใจต่อการทำความชั่ว)
       2. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป, เกรงกลัวต่อความชั่ว)
From <http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=23>

*ผู้มีหิริ-โอตตัปปะ ย่อมไม่มีเจตนาทำชั่ว
ส่วนผู้ไม่มีหิริ-โอตตัปปะ พร้อมจะทำชั่วได้ตลอดเวลา
ดังนั้น หิริ-โอตตัปปะ จึงเป็นหลักตัดสินคนดี-คนชั่ว ได้ง่ายและเที่ยงตรงที่สุด

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

นิพพาน สูงส่งแสนประเสริฐ : กลอนจรรโลงใจ



นิพพาน สูงส่งแสนประเสริฐ : กลอนจรรโลงใจ

     นภาช่างสูงส่งและสดใส
ทำให้ใครๆต่างปรารถนา
อยากไปอาศัยในฟากฟ้า
คงจะเป็นสุขทุกเวลานิรามัย

      และเพราะว่า...นภกว้าง
หนทางห่างเหินเกินคำว่า...แสนไกล
(คน)จึงได้แค่แลและฝันใฝ่
ตั้งแต่วัยเยาว์จนเฒ่าชรา

     แต่ความสวยงามเป็นอำมฤต
เสน่ห์อันวิจิตรของฟากฟ้า
เปรียบเสมือนเวทมนต์มายา
ดึงดูดใจนราให้มาลุ่มหลง

      แม้จะรู้ว่าไม่สามารถ
หากแต่ความปรารถนาจะยังคง
สร้างจินตนาการอันสูงส่ง
ยืนยงคงมั่นคู่กาลเวลา

     ก็เหมือนกับ....นิพพาน
นักปราชญ์โบราณวาดฝันหา
แปลกแยกกันไปต่างๆนานา
ตามหลักศาสนาที่นับถือ

      สำหรับพุทธธรรม
นิพพานเหนือคำที่ร่ำลือ
ตัดขาดวัฏสงสารสัมพันธ์ยื้อ
คือสถานะสงบ-สิ้นภพ-ขันธ์ฯลฯ

     ยังให้ชนผู้สนใจ(แต่ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ)
ต่างตั้งความหวังไกล...ใฝ่ฝัน(วาดภาพสารพัด)
อยากบรรลุนิพพานพลัน
แม้ในสักวันข้างหน้าก็ยังดี

      (เหตุผล)เพราะเบื่อหน่ายในชีวิต
เพราะคิดว่า(นิพพาน)สูงส่ง-ประเสริฐกว่าโลกนี้
เพราะจินตนาการว่า(เป็นสถานที่)ยอดเยี่ยมมีฯลฯ
และ(คนอีกมากมาย)ที่ไม่รู้...อยากตามผู้คนเขาไป

     อยากบรรลุนิพพาน
ทะเยอทะยานต้องการได้
อยากมี อยากเป็น อยาก...อยาก...อยาก...มากมาย
จิตใจไหลหลง...งงงัน

      นิพพานอันวิเศษ
คนมีกิเลส-สาไถย ร่วมใฝ่ฝัน
มายาคติ-จินตนาการฯลฯแตกต่างกัน
ยึดมั่นแนวทางของตน....อลเวงฯ

๒๕ กันยายน ๒๕๖๒

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562

ธรรมะมีไว้ประพฤติ ไม่ใช่ไว้พูด-ท่อง : กลอนคติเตือนใจ




ธรรมะมีไว้ประพฤติ ไม่ใช่ไว้พูด-ท่อง : กลอนคติเตือนใจ

     ใกล้ฟ้าสาง กลางค่ำ ความหนาวครอบ.........................บรรยากาศ กายรอบ เงียบสงัด
แว่วเสียงฝน หล่นริน ยินลมพัด................................ไพรพนัส อัศจรรย์ กล่อมฝันนอน

      หลับสนิท จิตวิมล จนรุ่งเช้า.......................................ธรรมประเดิม เริ่มเร้า เข้าสั่งสอน
ผ้าห่มอุ่น สุนทรา อย่าอาวรณ์..................................ทำงานออม เงินก่อน แก่ชรา

    หยาดพิรุณ โรยริน ไร้สิ้นสุด........................................แรงเร่ากับ สลับหยุด ชวนปุจฉา
สุริยน อยู่หนใด ในนภา..........................................มวลเมฆา หนาแน่น เป็นแผ่นเดียว

    เย็นสบาย อายชื้น รื่นรมย์ปรก.....................................ลมผวนผัน พัดผกพา ชั่วประเดี๋ยว
เมฆค่อยๆ คลี่คลาย โดยง่ายเทียว............................ชายตาเหลียว มองฟ้า สว่างวัน

     ธรรมะมี ไว้ให้ ได้ประพฤติ.........................................เป็นหลักยึด พฤติกรรม กุศลสรรค์
แลลดละ อกุศล หนทางอัน.....................................สู่มรรคผล พ้นทุกข์ทัณฑ์ มุ่งมั่นทำ

     (ธรรมะ)ไม่ได้มี ไว้ให้ ใครท่องบ่น...............................ประพรมน้ำ มนต์พิธี บัดสีถลำ
เสมอเหมือน ไสยศาสตร์ อุบาทว์กรรม.......................อย่างที่ชน คนระยำ ชอบดำเนิน

    และไม่ได้ มีไว้ ให้พูดอวด..........................................ใช้ประกวด ปาฐกถา น่าสรรเสริญ
หวังลาภ-ยศ-สักการะ ความเจริญ.............................(โดย)ไม่เก้อเขิน (ที่)ไม่เคยหัด ปฏิบัติตาม

    พูดจนคล่อง ท่องจน คนไม่รู้.......................................หลงเข้าใจ ว่า(เป็น)วิญญู ผู้อร่าม(อร่าม=งาม)
แต่เมื่อใด ขยายคดี พจีความ...................................กลับเลอะเทอะ เปรอะกาม ทรามโลกีย์

    ปริยัติ->ปฏิบัติ->ปฏิเวธ............................................ปฏิเสธ ไม่ได้ ในวิถี
ปฏิบัติ (โดย)ปราศศึกษา ธรรมะให้ดี.........................เหมือนไม่มี แผ่นที่ดู เข้าสู่พง

    แสงสว่าง กระจ่างใส ในใจผู้.......................................แสวงหา ความรู้ คู่ประสงค์
พร้อมประพฤติ ปฏิบัติ อย่างหยัดยง...........................จึงไม่หลง ทางหลัก มรรคผลเอยฯ

๒๓ กันยายน ๒๕๖๒

*สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี,ธรรมของสัตบุรุษ
สัทธรรม ๓ อย่าง คือ
           ๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
           ๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติ ได้แก่ไตรสิกขา
           ๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน
From <http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%B7%B8%C3%C3%C1>

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562

กุศลคือสิ่งสวยงาม : กลอนคติธรรม




กุศลคือสิ่งสวยงาม : กลอนคติธรรม

    กุศล คือสิ่ง สวยงาม...................................เหนือความ งามใด ในโลกนี้
รับรู้ ด้วยทรวง ดวงฤดี...................................ที่มี ศีลธรรม อำไพ

    สายตา รับแสง สำแดงภาพ............................เสียงดัง ฟังทราบ กับหูไซร้
ลิ้มรส ด้วยลิ้น กินเข้าไป................................จมูกดม กลิ่นได้ฯลฯ ไม่ต่างกัน(เหมือนกันทุกคน)

    แต่การ รับรู้ กุศล.........................................วิมล ล้นเลิศ ประเสริฐสรรค์
หาได้ เต็มเปี่ยม เทียมเท่ากัน.........................เพราะใจ คนนั้น ผันแผกพี

     จิตที่ กิเลส ตัณหา.......................................แน่นหนา ย่อมประหวัด บัดสี
พอใจ ใคร่ฉล ล้นราคี...................................ความดี มิซึ้ง เข้าบึ้งทรวง

     ส่วน(ใจ)ที่ ศีลธรรม กำกับ.............................ประทับ ฤทัย ในธรรมท่วง-
ที;กิเลส ตัณหา ประดาปวง............................มิหน่วง เหนี่ยวไว้ ไร้มารยา

    จึงจะ ซึ้งซาบ กับกุศล...................................เยี่ยมยล พิไล ไม่กังขา
ผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี มีปัญญา................................แยกแยะ และรู้ว่า ควรเลือกอะไร

    กุศล เป็นสิ่ง ที่ต้องสร้าง(เอง).........................(จะ)เลือนลาง ห่างหาก รักษาไร้
มิอาจ มอบ-รับ กับผู้ใด..................................เงินซื้อ ไม่ได้ ให้รู้ตรอง

    กุศล เท่านั้นที่ มีประโยชน์..............................ปราศโทษ โฉดใด ให้เจ้าของ
มีค่า กว่าทรัพย์ สินเงินทอง............................คุ้มครอง ผู้คน พ้นเภทภัย

    ดี-งาม ล้ำเลิศ ประเสริฐสบ..............................สยบ ทุกข์โศก บนโลกไซร้
กุศล ถกลอยู่ (กลาง)จิตผู้ใด...........................ชีวะจะ นิรามัย ในโลกเอยฯ(ถกล=ตั้งขึ้น,งาม)

๒๑ กันยายน ๒๕๖๒

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2562

ความดีคือรั้วที่ปลอดภัยที่สุดในโลก : กาพย์สุรางคนางค์๒๘




ความดีคือรั้วที่ปลอดภัยที่สุดในโลก : กาพย์สุรางคนางค์๒๘

    ..................................................ความดี คือรั้ว
ป้องกัน ความชั่ว........................มืดมัว อกุศล
เพื่อกั้น อันตราย........................มิให้กราย สู่คน
ความดี วิมล.............................ช่วยพ้น สิ่งเลวทราม

    ..................................................เริ่มจาก รักดี
ผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี..........................มิละ เลยข้าม
คิดดี พูดดี................................ทำดี จริยะงาม
เลือก(ดำเนิน)ทาง สว่างตาม........ศีลธรรม อำไพ

    ...................................................ละเว้น ความชั่ว
มิเขลา เมามัว............................โฉดชั่ว พิสมัย
คือหลัก ตักเตือนตน....................หลุดพ้น เภทภัย
อันตราย ใดๆ.............................ในโลก โสโครกมี

    ...................................................ไม่คบ คนชั่ว
อันธพาล พันพัว..........................รู้ตัว หลีกหนี
อยู่ห่าง ทาง-สถาน......................เสี่ยงพาน(พบ) สิ่งไม่ดี
คือยุทธ (ธะ)วิธี...........................ชีวี สันติสุข

     ...................................................คนไม่ รักดี
ศีลธรรม เมินหนี..........................(จะพา)ฤดี มากมีทุกข์
รักความ บันเทิง..........................หลงระเริง ความสนุก
ข่าวเข็ญ เห็นชุก..........................ฉุกคิด พินิจเทอญฯ

๒๐ กันยายน ๒๕๖๒

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562

ประโยชน์ทางโลก-ทางธรรม : กลอนคติธรรม



ประโยชน์ทางโลก-ทางธรรม : กลอนคติธรรม

    .....................................................................อากาศเย็น เยี่ยงนี้ มีความหมาย
ว่าร่องฝน ร่นเคลื่อน เขยื้อนกราย.....................ลงทางใต้ ชายทะเล ถึงเวลา

    แลก็คือ ฤดูหนาว (เริ่ม)เข้าแทนที่.........................อาจจะมี ฝนทิ้งทวน ป่วน(ปลาย)พรรษา
อากาศเย็น ปะทะชื้น ครื้นเครงครา...................เกิดฝนฟ้า คึกคะนอง พ้องฤดูกาล

    คนทุกคน มีสมอง คล้องความคิด..........................(แต่คน)แค่น้อยนิด คิดดี มีพื้นฐาน
องค์ความรู้ คู่วิทยา-ประสบการณ์.....................ยิ่งน้อยนัก รักปฏิญาณ มั่นคุณธรรม

    ผลประโยชน์ โปรดปราน บงการจิต......................ให้นึกคิด ตัดสินใจ ไถลถลำ
มิยั้งหยุด อุตสาหะ กระทำกรรม.......................และงดเว้น ก่อกรรม ความตั้งใจ

    ความถูกต้อง พ้องพาน บันดาลจิต........................ของมนุษย์ ผู้สุจริต มิจฉาไร้
มิเพียงยอม พร้อมปราศ ประโยชน์ไป................แม้ต้องเสีย(ประโยชน์) ก็เต็มใจ ไม่ครณา

    เสียประโยชน์ ทางโลก อย่าโศกเศร้า.....................เมื่อ(ประโยชน์)ทางธรรม ล้ำเข้า รุดก้าวหน้า
หากธรรมะ พีรพัฒน์ เหนืออัตตา......................การกระทำ สัมมา(ถูกต้อง) จะง่ายดาย

    สมองดี แต่ไม่มี จริยสัตย์.....................................ย่อมอุบัติ อาชญากร ผู้ซ่อนร้าย
แม้จะมี เงินทอง กองมากมาย.........................ก็มิวาย หมายทุจริต คิดโกงกิน

    ทางธรรมมี อริยทรัพย์* นับประเสริฐ.....................ส่วนทางโลก ยกเลิศ เชิดทรัพย์สิน
เมื่อคนเรา แปลกเป้าหมาย ในชีวิน...................ย่อมแปลกถิ่น วิญญาณ บั้นปลายเอยฯ

๑๙ กันยายน ๒๕๖๒


*อริยทรัพย์ 7 (ทรัพย์อันประเสริฐ, ทรัพย์คือคุณธรรมประจำใจอย่างประเสริฐ)
       1. ศรัทธา (ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ)
       2. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม)
       3. หิริ (ความละอายใจต่อการทำความชั่ว)
       4. โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อความชั่ว)
       5. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก)
       6. จาคะ (ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่)
       7. ปัญญา (ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้คิด รู้พิจารณา และรู้ที่จะจัดทำ)
From <http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=292>

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

หลักการมีศีลธรรม : กลอนคติธรรม




หลักการมีศีลธรรม : กลอนคติธรรม

    ศีล-สมาธิ และปัญญา(ไตรสิกขา).......................ต้อง(รักษาและ)ศึกษา ไปพร้อมกัน
รวมเรียกว่า "หลักศีลธรรม์".............................(ประกอบด้วย)จริยา+ใจ(ตั้ง)มั่น+และความรู้

    ศีลรักษา ถ้าเข้าใจ............................................ในแนวคิด พินิจอยู่
ย่อมราบรื่น สุขชื่นชู.......................................เยี่ยงวิญญู ผู้เชี่ยวชาญ

    (เพราะ)ศีลเป็นแค่ หลักคร่าวๆ.............................คำบอกกล่าว เพียงพื้นฐาน(เช่นศีล๕)
(แต่)ในชีวา ประสบการณ์................................ซับซ้อนปาน พันเท่าทวี(หลักจริยธรรมใหญ่กว่าศีล)

    (คน)บ่เข้าใจ ในแนวคิด(ของการมีศีล)..................ย่อมยึดติด (ปฏิบัติ)ผิดวิถี
ปราศประโยชน์ โทษมากมี...............................ปัญหาปรี่ ปราศปรีดา

    สมาธิ=(การมี)ใจตั้งมั่น.....................................ช่วยฝ่าฟัน สรรพปัญหา
หนักแน่นใจ ในมรรคา.....................................(แห่ง)การรักษา คลองศีลธรรม

    ส่วนปัญญา คือความรู้......................................เมื่อมีอยู่ ย่อมอุปถัมภ์
ศีล-สมาธิ วิจิตรล้ำ.........................................ถูกต้องตาม ธรรมวินัย

    รู้เหตุ-ผล หนทาง-ทิศฯลฯ.................................มิหลงผิด ปริศนาไข
ลำดับขั้น กรรม์กลไก......................................สู่เป้าหมาย ดั่งใจปอง

    หลักศีลธรรม ทำให้ครบ..................................สิประสบ สัมฤทธิ์สนอง
ชีพประเทือง รุ่งเรืองรอง..................................ชำนะผอง (สิ่ง)เศร้าหมองเอยฯ

๑๗ กันยายน ๒๕๖๒

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562

ผู้โชคดี : กลอนคติสอนใจ




ผู้โชคดี : กลอนคติสอนใจ

    คนมี ความรู้.....................................คือผู้ มีโชค
(ที่ดี)ที่สุด ของโลก........................โภคอุดม (จะ)สมหมาย
หากมี ความรู้................................กิน-อยู่ฯลฯ (ย่อม)สุขสบาย
ทำอะไร ง่ายดาย...........................ไร้อุปสรรค ผลักพาน

    โชคมาด ปรารถนา............................(จง)อย่ามองข้าม ความรู้
เลิศล้ำ ค้ำชู..................................เป็น-อยู่ สุขศานติ์
ความหวัง ทั้งปวง...........................อาจลุล่วง บันดาล
ตามความ ต้องการ..........................ด้วยการมี ความรู้

    ความรู้ ต้อง(เป็นความรู้ที่)ดี.................และมี ประโยชน์
มิใช่ ให้โทษ..................................โฉดฉล ดลสู่
(ความรู้)สอดคล้อง ต้องอิง................ความจริง สิ่งชู
ระบิล วิญญู....................................วุฒิธรรม ดำรง

    สิ่งสถุล-คุณไสย................................หาใช่ ความรู้
เพราะนำ พาผู้.................................ศรัทธา อุระหลง
ความฉล โฉดชั่ว..............................ใครเกลือกกลั้ว ก็คง
ตกระกำ ธำรง..................................พะวักพะวง ชีวา(จึงไม่ใช่ความรู้)

     โชคดี ที่สุด.....................................ของมนุษย์ คือการ
รู้(วิธี)พ้น (วัฏ)สงสาร .......................โดยประหาร ตัณหาฯลฯ
อริยะ สัจ ๔.....................................(คือ)ยอดดี วิชา(วิชา=ความรู้)
ใครได้ ศึกษา..................................ปฏิบัติ->สวัสดีฯ(สวัสดี=ความดี,ความงาม,ความเจริญรุ่งเรือง)

๑๖ กันยายน ๒๕๖๒

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

อยากทำอะไรก็เชิญ : กาพย์สุรางคนางค์๒๘









อยากทำอะไรก็เชิญ : กาพย์สุรางคนางค์๒๘

    .......................................................มิขอ ขัดใจ
พูดมาก เมื่อยปากใย(เจ็บคอ)..........(อยาก)ทำอะไร ก็เชิญ
(คน)สมองขาด รอยหยัก................ไม่รู้จัก เก้อเขิน
ชั่ว-ทราม ดำเนิน...........................เพลิดเพลิน ทุจริต

    .......................................................เห็นแต่ แก่ตน
(สติ)ปัญญา มืดมน.........................โฉดฉล ความคิด
ต่ำทราม ความดี............................วิถี ชีวิต
ชอบทำ ความผิด...........................เป็นกิจ นิตยา

    ........................................................(ยกตัวอย่าง)คดคิด จิตใจ
มารยา สาไถย ...............................อาศัย ศาสนา
แสวงความ รุ่งเรือง(ทางโลก)............ผ้าเหลือง บังหน้า
โดยปราศ ศรัทธา............................ธรรมา วินัย

    .........................................................ตัดไม้ ทำลายป่า
เปลี่ยนแปลง พสุธา.........................(เป็นที่)หากิน ถิ่นอาศัยฯลฯ
เสื่อมทราม ธรรมชาติ.......................วิปลาส ฉกาจไกร(ธรรมชาติวิปริต)
โดยมิ ใส่ใจ...................................เร่ง(โลก)ให้ วายวาร

ฯลฯ

     ........................................................ก็ช่าง หัวเขา
ขอแค่ ตัวเรา..................................ไม่เมา มุ่งหาญ
ทำแค่ ความดี.................................ชีวี ปฏิญาณ
โลกา อภิบาล.................................จวบสังขาร บรรลัยฯ

๑๓ กันยายน ๒๕๖๒