หิริ โอตตัปปะ คือเครื่องมือง่าย-เที่ยงตรงในการวัดคนดี-ชั่ว : กลอนคติธรรม
๏ การประพฤติ
สุจริต.......................................เกิดจาก
ความคิด ที่ซื่อตรง
จิตใจ
มิไหลหลง..................................ประสงค์ ผลประโยชน์ โรจน์-เร็ว หา
จึงก่อ
ความรำคาญ...............................แก่ชน สามานย์ ผู้ด้านชา
ทุจริต
ติดอุรา......................................ไม่ศรัทธา กฎแห่งกรรม
๏ ถนัด
วิธี ลวงหลอก.......................................กลิ้งกลอก ยอกย้อน ซ่อนสัจจา
โกหก
พกลม โฉมหน้า...........................เชื่อว่า จะได้ ผลหลาย-ล้ำ
เข้าใจ(ว่า) ในโลก วิถี............................ผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี-ศีลธรรม
(เป็นเพียง)ประดิษฐ์
ประดอย ถ้อยคำ........ของคน โง่งำ งมงาย
๏ คนฉลาด
กล้าทำชั่ว......................................ไม่กลัว กฎแห่ง กรรมทัก
ใครโดนหลอก
บอก"โง่นัก".....................แค่รู้จัก หลบเลี่ยง กฎหมาย
ทำตาม
ใจได้ ไม่ต้องห่วง.......................ความชั่ว ทั้งปวง อย่าละอาย
โลกนี้
ไม่มี ดี-ร้าย.................................ขวนขวาย สาวได้ สาวเอา
๏ คนซื่อสัตย์
รับไม่ได้.......................................คนคดไซร้ ไม่ถือสา
คือธรรมชาติ
ของโลกา...........................ที่มี (ทั้งคนมี)ปัญญา และโง่เขลา
คนโกหก
เชื่อถือ ไม่ได้...........................ไว้ใจ หรือจะไม่ หลอกเรา?
ทำร้าย
ให้โศกเศร้า................................ใช้เรา เป็นแค่ เครื่องมือ
๏ สัญญา
ของคน สามานย์..................................แค่การ สร้างภาพ ประทับจิต
คนโฉดชั่ว
ทั่วความคิด............................มิใช่มิตร อย่าหลง นับถือ
ควรคบ
แค่คน จริงใจ..............................สุจริต จิตใจ ใสซื่อ
หิริ
โอตตัปปะ จะคือ...............................เครื่องมือ(ง่ายๆ-เที่ยงตรง) วัดคน หนทางฯ
๒๔ กันยายน ๒๕๖๒
*ธรรมคุ้มครองโลก 2
(ธรรมที่ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เดือดร้อนและสับสนวุ่นวาย )
1.
หิริ (ความละอาย, ละอายใจต่อการทำความชั่ว)
2.
โอตตัปปะ (ความกลัวบาป, เกรงกลัวต่อความชั่ว)
From
<http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=23>
*ผู้มีหิริ-โอตตัปปะ ย่อมไม่มีเจตนาทำชั่ว
ส่วนผู้ไม่มีหิริ-โอตตัปปะ พร้อมจะทำชั่วได้ตลอดเวลา
ดังนั้น หิริ-โอตตัปปะ จึงเป็นหลักตัดสินคนดี-คนชั่ว ได้ง่ายและเที่ยงตรงที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น