คนไม่รักดี...ไม่มีความคิด : กลอนคติเตือนใจ
๏ ณ
ปีนี้ มีบางสถาน แล้งนานมาก................................จนอดอยาก น้ำกิน
ชีวินผวา
แล้ง(ที่)สุดรอบ
๕๐ ปี เคยมีมา...............................สถิติ ชี้ว่า น่ากังวล
๏ สภาวะ
โลกร้อน สะท้อนวิกฤติ...................................(แต่)คนยังคิด มิจฉา
มนาฉล
ตัดไม้
ทำลายป่า สาละวน......................................เห็นแต่ ประโยชน์ตน ยลยอดดี
๏ เมื่อฝนมา
พายุ กรากกรูกล้ำ......................................เป็นประจำ น้ำท่วม
น่วมวิถี
เพราะไร้ป่า
ดูดซับ รับวารี.......................................ทรัพย์สินพลี สนองกรรม
ทุกข์ธรรมดา
๏ ข่าวคาวพระ
ประกบ ปรบข่าวน้ำ..................................คอยตอกย้ำ ความจริง สิ่งมิจฉา
อยู่คู่บ้าน
คู่เมือง เนืองนานมา..................................โดยบ่มี ทีท่า จะลดลง
๏ ไม่เพียงแค่
คนดี ที่เข้าวัด..........................................แต่สารพัด อาชญากร
ซ่อนประสงค์
เอาผ้าเหลือง
บังหน้า ไป่พะวง.................................แสร้งธำรง พุทธศาสน์ พล่ามศรัทธา
๏ (สามารถ)แยกแยะพระ
ชั่ว-ดี ไม่มี(ทาง)ได้....................ตราบมองข้าม ธรรมวินัย
ไม่ศึกษา(พระไตรปิฎก)
โดนพระหลอก
บอกลวง พ่วงมารยา..........................ย่อมปราศจาก ปัญญา รู้ท่าทัน
๏ เมื่อศีลไม่
รักษา (แส่)หาลาภ-ยศฯลฯ...........................เงินมากมาย ไม่งด ฉลโฉดฉันท์
วัดก็เป็น
เช่นมรรคา แดนสายัณห์.............................ที่อาชญา(กร) มาประชัญ
หมั่นชิงชัย
๏ เหมือนเอาเงิน
ไปทิ้ง เป็นสิ่งสัจ...................................บุญจากวัด อลัชชี มีแค่ไหน?
*พระ-วัดห้าม
รับเงิน หยุดเพลินใจ............................เอาเงินไป ให้สาธารณ์ บันดาลบุญ
(เช่นซื้ออุปกรณ์การแพทย์บริจาคให้โรงพยาบาลฯลฯ)
๏ เพียงผู้ที่
มีความคิด ไร้มิจฉา........................................จึงจะสม ปรารถนา
ชีวาสุนทร์
หาความรู้
สู่ตน ดลค่าคุณ........................................รู้วิธี ทำบุญ
กูลเกื้อเอยฯ
๕ กันยายน ๒๕๖๒
*วินัยปิฎก เรื่องพุทธบัญญัติ ข้อห้ามพระ-สงฆ์ รับ-เก็บรักษาเงิน หรือยินดีในเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตัวเอง
*วินัยปิฎก เรื่องพุทธบัญญัติ ข้อห้ามพระ-สงฆ์ รับ-เก็บรักษาเงิน หรือยินดีในเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตัวเอง
พระไตรปิฎก
เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒
มหาวิภังค์ ภาค ๒
๒.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
From
<http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=2567&Z=2684>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น