ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

วัด...ไม่ใช่พุทธศาสนา : กลอนคติเตือนใจ


พระ-วัด ยังเป็นหนี้
(ในภาพ พื้นห้องปูพรมราคาแพง ดูแลรักษายาก ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย)
แสดงว่าไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า


วัดแบบนี้ไม่ใช่วัดพุทธศาสนา

วัด...ไม่ใช่พุทธศาสนา : กลอนคติเตือนใจ


    (ยุค)ก่อนที่ พุทธองค์ จะทรงผนวช.......................(ก็มี)นักบวช หัวโล้น ห่มเหลือง

แพร่หลาย ก่ายกอง นองเนือง............................แต่เรื่อง ธรรมวินัย มิใกล้เคียง(ของพุทธศาสนา)


    (ยุคนี้)ทำวัตร สวดมนต์ เช้าเย็น*...........................ดังเด่น เพราะใช้ (เครื่อง)ขยายเสียง

แต่พระ ส่วนใหญ่ ใส่ใจเพียง..............................หา(เงิน)เลี้ยง ชีวิต (ยึด)ติดโลกธรรม(เป็นอยู่เหมือนชาวบ้าน)

 

    พัฒนา สารพัด สิ่งวัตถุ(กุฏิเ,สนาสนะฯลฯ)..............ใฝ่ฝัน บรรลุ อุดมล้ำ

(ความ)อยู่ดี กินดี ชีวีร่ำ-.....................................รวยพร่ำ ทำเพื่อ เอื้ออัตตา(ตัวเอง)


    เงินทอง ของใช้ฯลฯ (ที่คน)ถวายวัด.......................สารพัด (เขาคิดว่า)บำรุง ศาสนา(พุทธ)

จัดทอด กฐิน กองผ้าป่าฯลฯ...............................(ด้วย)ศรัทธา หาบุญ หนุนชีวี


    บุญที่ นิยม ชนชมชื่น............................................(คือร่ำ)รวยรื่น หฤทัย ใคร่วิถี

ประสงค์ ประดัง อยากมั่งมี...................................ลาภยศ สรรเสริญพี สุขสบาย


    โดยมิ คำนึง ซึ้งความสัจ(ความจริง)........................ว่าวัด ดาษกระแส แพร่หลากหลาย(ดาษ=ว.มากมาย)

เยินยอ (ความงาม)สิ่งก่อสร้าง อย่างมากมาย........กลับกลาย(เปลี่ยน) คำสอน ของ(พุทธ)ศาสดา

 

    เป็นแค่ โมฆะ พระบุรุษ..........................................ประดุจ ศัตรู (พุทธ)ศาสนา

สอน(คน)ให้ หลงผิด (ยึด)ติดบูชา.......................แสวงหา มายา สิ่งสัปดน


    ทอดทิ้ง หลักธรรม (มะ)วินัย....................................(ย่อม)ห่างไกล ไร้ภัค ล่วงมรรคผล(ภัค=โชคดี, ความเจริญ)

มิใช่ (พุทธ)บริษัท ปฏิบัติตน...............................แค่คน บวชพระ เพื่อหากินฯ


๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖


*-การทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็นที่ทำกันทั่วไปทุกวันนี้ ไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้า

บทสวดทำวัตรแต่งขึ้นในยุคหลังๆ วัดไทยเริ่มทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็นตามแบบอย่างของพระศรีลังกา ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔

-บทสวดมนต์มากมายก็ไม่ใช่ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่พระยุคหลังแต่งขึ้นเอง เช่นคาถาชินบัญชร

หลายวัดสวดมนต์ปนร้องเพลงด้วย บันเทิงกันทุกวัน

-การตีระฆังทำวัตร,ตีกลองเพลฯลฯให้เสียงดังไปไกลๆ เป็นประเพณีไทย

ไม่ต้องพูดถึงการทำวัตรสวดมนต์ดังๆผ่านเครื่องขยายเสียงที่เพิ่งมีกี่สิบปีมานี้ วัดไทยเลียนแบบมาจากมัสยิดของอิสลาม อิสลามสวดตอนตี ๕ พระสวดตอนตี ๔ ชาวบ้านไม่ต้องหลับต้องนอน

พระพุทธเจ้าสอนให้พระรักษาความสงบ ชื่นชมความเงียบ

-ศาสนพิธี ที่ทำกันแพร่หลายในสังคมไทยยุคปัจจุบัน มุ่งเน้นความศักดิสิทธิ์ ก็ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก เป็นวัฒนธรรมไทยที่ผสมผสานไสยศาสตร์

-วัดแบบกฎหมายไทย ก็ไม่ใช่วัดแบบพุทธกาล ที่อยู่ของพระสงฆ์สมัยพุทธกาลคือการอาศัยในป่า และที่ดินของคนอื่น ไม่มีกรรมสิทธิ์ของตัวเอง

วัดไทยเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสสร้างหนี้สินในนามของวัดได้ หาเงินจากการให้เช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของวัดได้.


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร
ว่าด้วยสัทธรรมปฏิรูป
[๑๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ เมื่อก่อนสิกขาบท มีน้อย ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีมาก และอะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ บัดนี้ สิกขาบทมีมาก แต่ภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีน้อย” “กัสสปะ ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ คือ เมื่อหมู่สัตว์เสื่อมลง สัทธรรมก็เสื่อมสูญไป สิกขาบทจึงมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลจึงมีน้อย สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้น ในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใดสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น ในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป ทองคำปลอมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำแท้ก็ยังไม่หายไป และเมื่อใดทองคำปลอมเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นทองคำแท้จึงหายไปฉันใด สัทธรรม- ปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใด สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป ฉันนั้นเหมือนกัน ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ(ธาตุลม) ก็ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ ต่างหากเกิดขึ้นมา ย่อมทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญไป เปรียบเหมือนเรือจะอับปางก็เพราะ ต้นหนเท่านั้น สัทธรรมย่อมไม่เสื่อมสูญไป ด้วยประการฉะนี้”
สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญ
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป แห่งสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรม ๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในสิกขา ๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในสมาธิ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป แห่งสัทธรรม
สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมตั้งมั่น
กัสสปะ เหตุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม เหตุ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระธรรม
๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในสิกขา ๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในสมาธิ เหตุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม.

10 สายการบินจีน ยกเลิกเที่ยวบินมาไทย ธ.ค.-ม.ค.หายไปกว่า 39%

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

รับมือวิกฤติประชากรลด! คนไทยอาจเหลือ 33 ล้านคน ภายใน 60 ปีข้างหน้า | กรุ...

วิกฤตญี่ปุ่น ประเทศจมกองหนี้ เศรษฐกิจป่วย คนแก่เต็มประเทศ

กรมอุตุฯ เตรียมประกาศเข้าฤดูหนาววันนี้ | วันใหม่ ไทยพีบีเอส | 14 พ.ย. 66

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ปรัชญาของนักสู้ : กลอนคติชีวิต


ปรัชญาของนักสู้ : กลอนคติชีวิต


    การมี ชีวิต(บนโลก)คู่-........................เคียงการ ต่อสู้ และดิ้นรน

(เป็น)สัจจา ของสากล........................ชีวา ผจญ ทุกคนเสมอ(กัน)

ปัญหา และอุปสรรค...........................จะหนัก จะเบา เรา(ล้วน)ต้องเจอ

จิตใจ(มั่นคง) อย่าไปเก้อ....................ชะเง้อ ชะแง้ แล(หา)ปราศไร้(ปัญหาอุปสรรค)

 

    ตั้งสติ และปัญญา..............................ตรองตรึก ศึกษา หาความรู้

ปรัชญา ของนักสู้...............................คืออย่า เป็นผู้ ยอมแพ้ภัย(ที่กรายกล้ำ)

หัน(หน้า)สู้ สรรพปัญหา......................อุปสรรค จะหนักหนา ขนาดไหน

(ล้วน)มิยาก เย็นเกินใจ........................(ของ)ผู้กล้า แกร่งไกร ใฝ่เผชิญ


    เหนื่อยนัก ก็พักหน่อย.........................แรง(ฟื้น)คืน แล้วค่อย ประจัญบาน

(ปัญหาอุปสรรค)เก่าไป ใหม่พบพาน.....ตราบนาน เท่านาน ต้องหาญเหิน

อย่า(ยึด)ติด (ว่า)ต้องมีชัย....................ทุกๆ ครั้งไป ใจเล่อเลิน

(การ)พบกับ ความ(พ่ายแพ้)ยับเยิน.......ไม่เกิน ปกติ วิถีชน

 

    ผู้ที่ มิประมาท....................................(คือผู้มี)หัวใจ นักปราชญ์ อัชฌาสัย

แม้พบ ประสบภัย................................(ก็)จะไม่ ใจขลาด (ความ)คิด(อ่าน)ขัดสน

หาทาง สะสาง(ปัญหา)-สู้(อุปสรรค)......สมดั่ง เป็นผู้ สรุมน(สุร-=กล้าหาญ,เข้มแข็ง)

(ชีวิต)เป็นสุข สิ้นทุกข์ทน....................อยู่บน โลกา ตลอดกาลฯ


๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

๗. ปฐมอัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาท สูตรที่ ๑
[๑๒๘] ....
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในภายหน้าไว้ได้ คือ ความไม่ประมาท รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่
สัญจรไปบนแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมลงในรอย
เท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า รอยเท้าช้างเป็นเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่
ฉันใด มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในภายหน้า คือ ความไม่ประมาท ก็ฉันนั้น”
             พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
                          บุคคลเมื่อปรารถนาอายุ ความไม่มีโรค
                          วรรณะ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง
                          และความยินดีอย่างโอฬารต่อๆ ไป
                          พึงทำความไม่ประมาท
                          บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
                          ความไม่ประมาทในการทำบุญ
                          บัณฑิตผู้ไม่ประมาทย่อมบรรลุประโยชน์ทั้งสอง
                          ธีรชนท่านเรียกว่า บัณฑิต
                          เพราะยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ
                          ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า.

วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

กกพ.แจงค่าไฟ ม.ค.-เม.ย. 67 จ่อพุ่ง เฉียด 6 บาท/หน่วย

คนแก่ล้น เด็กไทยไร้คุณภาพ โจทย์ใหญ่ไทยไปต่อไม่ไหวถ้าไม่เริ่มเปลี่ยน

                              

คนแก่ล้น เด็กไทยไร้คุณภาพ โจทย์ใหญ่ไทยไปต่อไม่ไหวถ้าไม่เริ่มเปลี่ยน


    ไตรมาสที่ผ่านมา (ไตรมาส 2/2566) “จีดีพี” ประเทศขยายตัวเพียง 1.8% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่า จะเติบโตเฉลี่ย 3% อีกทั้งยังชะลอตัวลงหากเทียบเคียงกับไตรมาสแรกเป็นสัญญาณว่า เศรษฐกิจไทยอ่อนกำลังลงโดยเป็นผลพวงจากเครื่องยนต์หลักอย่าง “การส่งออก” ที่ชะลอตัวต่อเนื่องมาร่วม 10 เดือนแล้ว แม้ภาคบริการเริ่มกลับมาคึกคัก การบริโภคภายในประเทศฟื้นตัวดีแต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอที่จะติดสปีดประเทศได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าประเทศไทยติดกับดักสำคัญคือ “คุณภาพประชากร” ทั้งการเดินหน้าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หนุ่มสาววัยทำงานลดลง รวมถึงเด็กๆ เยาวชนในวัยเรียนก็ขาดพร่องเรื่องคุณภาพการศึกษาต่อเนื่องมาร่วม 20 ปี ทั้งหมดนี้คือตัวแปรสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยติดหล่มจนยากจะหลุดพ้นในเร็ววันได้

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กางโจทย์ประเทศไทยที่เป็นตัวฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถเติบโตได้เต็มศักยภาพ 4 ส่วนด้วยกัน ประการแรก คือ "จำนวนประชากรที่ลดลง" ดร.ศุภวุฒิ ให้ความเห็นว่า อีก 20 ปีข้างหน้าประชากรวัยทำงานจะหายไปราว 7 ล้านคน

โดยขณะนี้ไทยเริ่มมีนโยบายนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อมาอุดรอยรั่วดังกล่าวแล้ว ปัญหาที่ตามมาหากประชากรลดน้อยลงเรื่อยๆ จะทำให้เกิด “โดมิโน่เอฟเฟ็กต์” ไปยังภาคธุรกิจอื่นๆ อาทิ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ความต้องการปัจจัยเหล่านี้จะลดน้อยลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด คือประเทศจีนที่มีโครงสร้างประชากรใกล้เคียงกับไทย อัตราการเกิดต่ำ และกำลังเคลื่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ประการที่สอง คือ "จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น" ปัจจุบันไทยมีผู้สูงอายุ 12 ล้านคน มีตัวเลขประมาณการว่า อนาคตจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน ทำให้ภาครัฐต้องใช้งบประมาณไปกับการดูแลสวัสดิการผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ 

ประการที่สาม คือ "ปัจจัยเรื่องเงินทุน" ที่ยึดโยงกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยของยักษ์ใหญ่ทั้งสหรัฐและยุโรป

และประการสุดท้าย คือ "เทคโนโลยี" หากต้องการผลักดันให้ประเทศเติบโตในระยะยาวมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีนั้นคนทำงานต้องมีองค์ความรู้ในการใช้งานเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ได้เป็นอย่างดี คำถามสำคัญ คือ ประเทศไทยพร้อมมากแค่ไหน การศึกษาในประเทศเราผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพียงพอแล้วหรือยัง

“การศึกษาต้องดีมาก นักศึกษาจบใหม่ต้องใช้เทคโนโลยีได้ ที่ผ่านมาเรามีการประเมินคะแนน “PISA Score” หรือโปรแกรมการประเมินวัดระดับนักเรียนทั่วโลกที่จัดโดย “OECD” ปรากฏว่า ประเทศเราคะแนนตกต่อเนื่องมา 20 ปี มีคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ถ้าสามอย่างพื้นฐานนี้ไม่ดีก็เดินต่อไม่ได้ ใช้เรื่องเทคโนโลยีไม่ได้ ถ้าจำนวนคนแก่เรามากขึ้น คนทำงานน้อยลงแล้วเด็กๆ คุณภาพดีก็โอเค แต่ตัวนี้ออกมาก็ไม่ดีอีก กระทั่งคนวัยทำงานก็ต้องมีโอกาสในการ Upskill & Reskill เวลาเราพูดถึงเทคโนโลยีไม่ใช่เอามาวางแล้วทุกคนจะทำได้เลย ฉะนั้น เรื่องจำนวนประชากรกับเรื่องเทคโนโลยีต้องไปด้วยกัน จะแก้ได้เป็นเรื่องยาก เพราะการปฏิรูปการศึกษาพูดแล้วพูดอีกก็ไม่ได้ทำกันจริงๆ”

https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1097778?anm

นักวิทยาศาสตร์เผยปีนี้ 'ร้อนสุด' ในรอบ 125,000 ปี! | กรุงเทพธุรกิจNEWS

นับถือพุทธศาสนาหรืออะไร? : กลอนคติเตือนใจ



นับถือพุทธศาสนาหรืออะไร? : กลอนคติเตือนใจ


    (หลัง)ออกพรรษา อากาศ อาจสับสน.......................ร้อน-หนาว-ฝน ผลพาน ผสานผสม

มิใช่การ โกหก ลวงพกลม(ของธรรมชาติ).............เยี่ยงชนสะพรั่ง สังคม ชมชาชิน


    แพร่เสียงเพลง อึกทึก ดังครึกครื้น...........................งานเริงรื่น เตรียมสรรพ รับกฐิน

หลากสำรับ อาหาร การดื่มกิน..............................ทั้งหมดทั้งสิ้น ครบถ้วน ล้วนจ่ายเงิน(หักจากเงินกฐิน)

 

    ปฏิบัติ จัดการ งานโดยพระ.....................................ผู้ปราศจาก สมณะ(ธรรม)* ความเก้อเขิน

รักวิถี โลกียธรรม เสพดำเนิน................................แล้วเชื้อเชิญ ชาวบ้าน สักการตน


    ถวายลาภ ยศถา บรรดาศักดิ์...................................สวามิภักดิ์ ปักใจ ไร้เหตุผล

(กับผู้ที่)แค่ผ้าเหลือง เฟื่องห่ม ก็สมกระมล............(ส่วน)จริยวัตร ขัดสน ไม่ยลมอง


    หลักศีลธรรม ความดี มิยึดถือ..................................ความสัตย์ซื่อ สุจริต คิดขัดข้อง

อกุศล มลทิน จินดานอง.......................................ส่วนกิเลส ตัณหาผอง ไป่ป้องปราม


    ใช้ชีวิต คิดแคบ (เลียน)แบบชาวบ้าน.......................โลกียธรรม สำราญ ฟุ้งซ่านหลาม

เป็นบรรพชิต พิศเคียง แค่เพียงนาม.......................ขาดสมณะ(ธรรม) ตะกละตะกลาม คือความ(เป็น)จริง

 

    สืบสานพุทธ (ธะ)ศาสนา ป่าวประกาศ......................แต่หลงใหล ไสยศาสตร์ มุ่งมาดยิ่ง

โลกุตระ มิกระจ่าง และชังชิง.................................กระหายยิ่ง ในกาม ความสัปดน


    นับถือพุทธ (ธะ)ศาสนา หรืออะไร?..........................ควรเจาะจง ถามใจ ไม่สับสน

มุ่งกำจัด วัฏสงสาร มารผจญ?...............................หรือแค่คน บวชพระ เพื่อ(ทำมา)หากิน?


๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖


*พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ]

อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๓. ตติยปัณณาสก์
๑. สมณสัญญาวรรค
หมวดว่าด้วยสมณสัญญา๑-
๑. สมณสัญญาสูตร
ว่าด้วยสมณสัญญา
[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วย่อมให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ สมณสัญญา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ สมณสัญญาว่า ๑. เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๒. ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๓. มารยาทอย่างอื่นที่เราควรทำมีอยู่ สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีปกติทำต่อเนื่อง ประพฤติต่อเนื่องเป็นนิตย์ในศีลทั้งหลาย ๒. เป็นผู้ไม่มีอภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) ๓. เป็นผู้ไม่มีพยาบาท (ความคิดร้าย) ๔. เป็นผู้ไม่มีมานะ (ความถือตัว) ๕. เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา
             ๖. เป็นผู้มีการพิจารณาปัจจัยทั้งหลายอันเป็นบริขารแห่งชีวิตว่า ‘ปัจจัย
เหล่านี้มีประโยชน์เช่นนี้’ แล้วจึงบริโภค
             ๗. เป็นผู้ปรารภความเพียร
             ภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อม
ให้ธรรม ๗ ประการนี้บริบูรณ์.

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

สวดยับ พระอาจารย์สตาร์บัคส์ กินหรูอยู่แพงเพราะเงินญาติโยม | เรื่องร้อนอม...

ธรรมะไม่มีเจ้าของ : กลอนคติธรรม



ธรรมะไม่มีเจ้าของ : กลอนคติธรรม


    แสงอุทัย ใสกระจ่าง...............................ส่องสว่าง กลางเวหน

สุกไสว ให้ทุกคน...................................มิแยกชน ชั้นวรรณะ


    พิรุณล้น ฝนหลั่งริน................................ทั่วแผ่นดิน สิ้นทุกขะ

ชุ่มฉ่ำชล ดลชีวะ....................................สรรพะชีวะ นิรามัย(นิรามัย=สบาย,เป็นสุข)

 

    อุบลบาน สรรค์สวยสี..............................สุคนธะมี พิสุทธิ์ให้

หมู่ภุมริน ทั้งสิ้นไป.................................ได้ซอกซอน เกสรชม


    วิเศษล้ำ ธรรมะรส..................................ทอนรันทด ลดโศกสม

เผยแผ่สู่ ผู้นิยม.......................................เสพอุดม วิกรมกรอง


    เป็นอริยทรัพย์ ประทับใจ.........................ธรรมะไซร้ ไร้เจ้าของ

บำบัดทุกข์ สุขสมปอง..............................ครรลองล้ำ ชีพดำรง


    กำจัดสิ้น มลทินทราม.............................อัฌางาม ธรรมประสงค์(อัชฌา=กิริยาดี,นิสัยใจคอ)

ปฏิบัติถือ อย่างซื่อตรง.............................จิตมั่นคง ทรงจริยา

 

    งอกงามง่าย ในทุกแหล่ง.........................บ่ต้องแย่ง(ชิง) แสวงหา

เพียงแค่ใคร ใคร่ศรัทธา............................ปรารถนา รักษาธรรม


    ยิ่งหวงแหน ยิ่งแคลนขาด........................ยิ่งหวั่นหวาด(กลัวสูญเสีย) ยิ่งคลาดค้ำ

(ธรรมะ)อยู่ที่ใจ (มิ)ใช่ท่องจำ.....................อยู่ที่(การกระ)ทำ (มิ)ใช่คำคะนอง(ดีแต่พูด)


๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๖

วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

จับ “โบรกเกอร์” ประกันภัย ขายข้อมูลลูกค้า 15 ล้านราย | เนชั่นทันข่าวค่ำ ...

อย่าคิดว่ามีแค่ชาตินี้ : กาพย์ยานี๑๑

                           

อย่าคิดว่ามีแค่ชาตินี้ : กาพย์ยานี๑๑


    แมวน้อย ลอยกลับดาว-...............................แมวสกาว กลางเวหา

จากไกล ไคลโลกา....................................ที่(มี)ปัญหา สารพัน


    เกิดมา กายาอ่อน-.......................................แอสะท้อน ชีพทอนบั่น

ยังถูก ทารุณกรรม์......................................ทิ้งวัดไส แต่วัยเยาว์(ถูกทิ้งตอนอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์)

 

    (ไม่เพียง)ร่างกาย ไม่สมประกอบ...................(ยัง)สมองครอบ ปัญญาเขลา(มีอาการปัญญาอ่อน)

พ้นผ่าน พรรษา,เจ้า....................................ก็ก้าวไกล ไปจากจร(อายุขัยประมาณ 3 เดือนครึ่ง)


    มองเสมือน (เครื่อง)เตือนอุรา........................เกิดธรรมา อุทาหรณ์

สัจจริง อย่านิ่งนอน.....................................กรรม(เก่าตาม)ตัดรอน ย้อนติดตาม


    อย่าคิด (ว่ามี)แค่ชาตินี้.................................ภพชาติ(อื่น)มี มิควรหยาม

ก่อกรรม อย่าทำตาม...................................ความคิดชั่ว บาปกลัวเกรง


    ศีลธรรม นำสติ.............................................จริยธรรม กรรมพิศเพ่ง

ดี-ทราม เราทำเอง......................................อย่าเคียดเคร่ง คิดโทษใคร(เคียด=ขึ้ง, โกรธ, เคือง)

 

    แจ้งชัด หลักสัจธรรม.....................................กฎแห่งกรรม (ครอง)ความยิ่งใหญ่(ในสงสารวัฏ)

(ความ)สุขี (ณ)ที่ใดๆ...................................(ล้วน)เกิดจากใจ ใคร่ทำดี


๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖