ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

คนแก่ล้น เด็กไทยไร้คุณภาพ โจทย์ใหญ่ไทยไปต่อไม่ไหวถ้าไม่เริ่มเปลี่ยน

                              

คนแก่ล้น เด็กไทยไร้คุณภาพ โจทย์ใหญ่ไทยไปต่อไม่ไหวถ้าไม่เริ่มเปลี่ยน


    ไตรมาสที่ผ่านมา (ไตรมาส 2/2566) “จีดีพี” ประเทศขยายตัวเพียง 1.8% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่า จะเติบโตเฉลี่ย 3% อีกทั้งยังชะลอตัวลงหากเทียบเคียงกับไตรมาสแรกเป็นสัญญาณว่า เศรษฐกิจไทยอ่อนกำลังลงโดยเป็นผลพวงจากเครื่องยนต์หลักอย่าง “การส่งออก” ที่ชะลอตัวต่อเนื่องมาร่วม 10 เดือนแล้ว แม้ภาคบริการเริ่มกลับมาคึกคัก การบริโภคภายในประเทศฟื้นตัวดีแต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอที่จะติดสปีดประเทศได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าประเทศไทยติดกับดักสำคัญคือ “คุณภาพประชากร” ทั้งการเดินหน้าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หนุ่มสาววัยทำงานลดลง รวมถึงเด็กๆ เยาวชนในวัยเรียนก็ขาดพร่องเรื่องคุณภาพการศึกษาต่อเนื่องมาร่วม 20 ปี ทั้งหมดนี้คือตัวแปรสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยติดหล่มจนยากจะหลุดพ้นในเร็ววันได้

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กางโจทย์ประเทศไทยที่เป็นตัวฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถเติบโตได้เต็มศักยภาพ 4 ส่วนด้วยกัน ประการแรก คือ "จำนวนประชากรที่ลดลง" ดร.ศุภวุฒิ ให้ความเห็นว่า อีก 20 ปีข้างหน้าประชากรวัยทำงานจะหายไปราว 7 ล้านคน

โดยขณะนี้ไทยเริ่มมีนโยบายนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อมาอุดรอยรั่วดังกล่าวแล้ว ปัญหาที่ตามมาหากประชากรลดน้อยลงเรื่อยๆ จะทำให้เกิด “โดมิโน่เอฟเฟ็กต์” ไปยังภาคธุรกิจอื่นๆ อาทิ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ความต้องการปัจจัยเหล่านี้จะลดน้อยลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด คือประเทศจีนที่มีโครงสร้างประชากรใกล้เคียงกับไทย อัตราการเกิดต่ำ และกำลังเคลื่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ประการที่สอง คือ "จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น" ปัจจุบันไทยมีผู้สูงอายุ 12 ล้านคน มีตัวเลขประมาณการว่า อนาคตจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน ทำให้ภาครัฐต้องใช้งบประมาณไปกับการดูแลสวัสดิการผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ 

ประการที่สาม คือ "ปัจจัยเรื่องเงินทุน" ที่ยึดโยงกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยของยักษ์ใหญ่ทั้งสหรัฐและยุโรป

และประการสุดท้าย คือ "เทคโนโลยี" หากต้องการผลักดันให้ประเทศเติบโตในระยะยาวมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีนั้นคนทำงานต้องมีองค์ความรู้ในการใช้งานเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ได้เป็นอย่างดี คำถามสำคัญ คือ ประเทศไทยพร้อมมากแค่ไหน การศึกษาในประเทศเราผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพียงพอแล้วหรือยัง

“การศึกษาต้องดีมาก นักศึกษาจบใหม่ต้องใช้เทคโนโลยีได้ ที่ผ่านมาเรามีการประเมินคะแนน “PISA Score” หรือโปรแกรมการประเมินวัดระดับนักเรียนทั่วโลกที่จัดโดย “OECD” ปรากฏว่า ประเทศเราคะแนนตกต่อเนื่องมา 20 ปี มีคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ถ้าสามอย่างพื้นฐานนี้ไม่ดีก็เดินต่อไม่ได้ ใช้เรื่องเทคโนโลยีไม่ได้ ถ้าจำนวนคนแก่เรามากขึ้น คนทำงานน้อยลงแล้วเด็กๆ คุณภาพดีก็โอเค แต่ตัวนี้ออกมาก็ไม่ดีอีก กระทั่งคนวัยทำงานก็ต้องมีโอกาสในการ Upskill & Reskill เวลาเราพูดถึงเทคโนโลยีไม่ใช่เอามาวางแล้วทุกคนจะทำได้เลย ฉะนั้น เรื่องจำนวนประชากรกับเรื่องเทคโนโลยีต้องไปด้วยกัน จะแก้ได้เป็นเรื่องยาก เพราะการปฏิรูปการศึกษาพูดแล้วพูดอีกก็ไม่ได้ทำกันจริงๆ”

https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1097778?anm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น