ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ปรัชญาของนักสู้ : กลอนคติชีวิต


ปรัชญาของนักสู้ : กลอนคติชีวิต


    การมี ชีวิต(บนโลก)คู่-........................เคียงการ ต่อสู้ และดิ้นรน

(เป็น)สัจจา ของสากล........................ชีวา ผจญ ทุกคนเสมอ(กัน)

ปัญหา และอุปสรรค...........................จะหนัก จะเบา เรา(ล้วน)ต้องเจอ

จิตใจ(มั่นคง) อย่าไปเก้อ....................ชะเง้อ ชะแง้ แล(หา)ปราศไร้(ปัญหาอุปสรรค)

 

    ตั้งสติ และปัญญา..............................ตรองตรึก ศึกษา หาความรู้

ปรัชญา ของนักสู้...............................คืออย่า เป็นผู้ ยอมแพ้ภัย(ที่กรายกล้ำ)

หัน(หน้า)สู้ สรรพปัญหา......................อุปสรรค จะหนักหนา ขนาดไหน

(ล้วน)มิยาก เย็นเกินใจ........................(ของ)ผู้กล้า แกร่งไกร ใฝ่เผชิญ


    เหนื่อยนัก ก็พักหน่อย.........................แรง(ฟื้น)คืน แล้วค่อย ประจัญบาน

(ปัญหาอุปสรรค)เก่าไป ใหม่พบพาน.....ตราบนาน เท่านาน ต้องหาญเหิน

อย่า(ยึด)ติด (ว่า)ต้องมีชัย....................ทุกๆ ครั้งไป ใจเล่อเลิน

(การ)พบกับ ความ(พ่ายแพ้)ยับเยิน.......ไม่เกิน ปกติ วิถีชน

 

    ผู้ที่ มิประมาท....................................(คือผู้มี)หัวใจ นักปราชญ์ อัชฌาสัย

แม้พบ ประสบภัย................................(ก็)จะไม่ ใจขลาด (ความ)คิด(อ่าน)ขัดสน

หาทาง สะสาง(ปัญหา)-สู้(อุปสรรค)......สมดั่ง เป็นผู้ สรุมน(สุร-=กล้าหาญ,เข้มแข็ง)

(ชีวิต)เป็นสุข สิ้นทุกข์ทน....................อยู่บน โลกา ตลอดกาลฯ


๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

๗. ปฐมอัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาท สูตรที่ ๑
[๑๒๘] ....
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในภายหน้าไว้ได้ คือ ความไม่ประมาท รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่
สัญจรไปบนแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมลงในรอย
เท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า รอยเท้าช้างเป็นเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่
ฉันใด มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในภายหน้า คือ ความไม่ประมาท ก็ฉันนั้น”
             พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
                          บุคคลเมื่อปรารถนาอายุ ความไม่มีโรค
                          วรรณะ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง
                          และความยินดีอย่างโอฬารต่อๆ ไป
                          พึงทำความไม่ประมาท
                          บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
                          ความไม่ประมาทในการทำบุญ
                          บัณฑิตผู้ไม่ประมาทย่อมบรรลุประโยชน์ทั้งสอง
                          ธีรชนท่านเรียกว่า บัณฑิต
                          เพราะยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ
                          ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น