ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

วัด...ไม่ใช่พุทธศาสนา : กลอนคติเตือนใจ


พระ-วัด ยังเป็นหนี้
(ในภาพ พื้นห้องปูพรมราคาแพง ดูแลรักษายาก ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย)
แสดงว่าไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า


วัดแบบนี้ไม่ใช่วัดพุทธศาสนา

วัด...ไม่ใช่พุทธศาสนา : กลอนคติเตือนใจ


    (ยุค)ก่อนที่ พุทธองค์ จะทรงผนวช.......................(ก็มี)นักบวช หัวโล้น ห่มเหลือง

แพร่หลาย ก่ายกอง นองเนือง............................แต่เรื่อง ธรรมวินัย มิใกล้เคียง(ของพุทธศาสนา)


    (ยุคนี้)ทำวัตร สวดมนต์ เช้าเย็น*...........................ดังเด่น เพราะใช้ (เครื่อง)ขยายเสียง

แต่พระ ส่วนใหญ่ ใส่ใจเพียง..............................หา(เงิน)เลี้ยง ชีวิต (ยึด)ติดโลกธรรม(เป็นอยู่เหมือนชาวบ้าน)

 

    พัฒนา สารพัด สิ่งวัตถุ(กุฏิเ,สนาสนะฯลฯ)..............ใฝ่ฝัน บรรลุ อุดมล้ำ

(ความ)อยู่ดี กินดี ชีวีร่ำ-.....................................รวยพร่ำ ทำเพื่อ เอื้ออัตตา(ตัวเอง)


    เงินทอง ของใช้ฯลฯ (ที่คน)ถวายวัด.......................สารพัด (เขาคิดว่า)บำรุง ศาสนา(พุทธ)

จัดทอด กฐิน กองผ้าป่าฯลฯ...............................(ด้วย)ศรัทธา หาบุญ หนุนชีวี


    บุญที่ นิยม ชนชมชื่น............................................(คือร่ำ)รวยรื่น หฤทัย ใคร่วิถี

ประสงค์ ประดัง อยากมั่งมี...................................ลาภยศ สรรเสริญพี สุขสบาย


    โดยมิ คำนึง ซึ้งความสัจ(ความจริง)........................ว่าวัด ดาษกระแส แพร่หลากหลาย(ดาษ=ว.มากมาย)

เยินยอ (ความงาม)สิ่งก่อสร้าง อย่างมากมาย........กลับกลาย(เปลี่ยน) คำสอน ของ(พุทธ)ศาสดา

 

    เป็นแค่ โมฆะ พระบุรุษ..........................................ประดุจ ศัตรู (พุทธ)ศาสนา

สอน(คน)ให้ หลงผิด (ยึด)ติดบูชา.......................แสวงหา มายา สิ่งสัปดน


    ทอดทิ้ง หลักธรรม (มะ)วินัย....................................(ย่อม)ห่างไกล ไร้ภัค ล่วงมรรคผล(ภัค=โชคดี, ความเจริญ)

มิใช่ (พุทธ)บริษัท ปฏิบัติตน...............................แค่คน บวชพระ เพื่อหากินฯ


๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖


*-การทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็นที่ทำกันทั่วไปทุกวันนี้ ไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้า

บทสวดทำวัตรแต่งขึ้นในยุคหลังๆ วัดไทยเริ่มทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็นตามแบบอย่างของพระศรีลังกา ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔

-บทสวดมนต์มากมายก็ไม่ใช่ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่พระยุคหลังแต่งขึ้นเอง เช่นคาถาชินบัญชร

หลายวัดสวดมนต์ปนร้องเพลงด้วย บันเทิงกันทุกวัน

-การตีระฆังทำวัตร,ตีกลองเพลฯลฯให้เสียงดังไปไกลๆ เป็นประเพณีไทย

ไม่ต้องพูดถึงการทำวัตรสวดมนต์ดังๆผ่านเครื่องขยายเสียงที่เพิ่งมีกี่สิบปีมานี้ วัดไทยเลียนแบบมาจากมัสยิดของอิสลาม อิสลามสวดตอนตี ๕ พระสวดตอนตี ๔ ชาวบ้านไม่ต้องหลับต้องนอน

พระพุทธเจ้าสอนให้พระรักษาความสงบ ชื่นชมความเงียบ

-ศาสนพิธี ที่ทำกันแพร่หลายในสังคมไทยยุคปัจจุบัน มุ่งเน้นความศักดิสิทธิ์ ก็ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก เป็นวัฒนธรรมไทยที่ผสมผสานไสยศาสตร์

-วัดแบบกฎหมายไทย ก็ไม่ใช่วัดแบบพุทธกาล ที่อยู่ของพระสงฆ์สมัยพุทธกาลคือการอาศัยในป่า และที่ดินของคนอื่น ไม่มีกรรมสิทธิ์ของตัวเอง

วัดไทยเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสสร้างหนี้สินในนามของวัดได้ หาเงินจากการให้เช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของวัดได้.


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร
ว่าด้วยสัทธรรมปฏิรูป
[๑๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ เมื่อก่อนสิกขาบท มีน้อย ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีมาก และอะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ บัดนี้ สิกขาบทมีมาก แต่ภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีน้อย” “กัสสปะ ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ คือ เมื่อหมู่สัตว์เสื่อมลง สัทธรรมก็เสื่อมสูญไป สิกขาบทจึงมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลจึงมีน้อย สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้น ในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใดสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น ในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป ทองคำปลอมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำแท้ก็ยังไม่หายไป และเมื่อใดทองคำปลอมเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นทองคำแท้จึงหายไปฉันใด สัทธรรม- ปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใด สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป ฉันนั้นเหมือนกัน ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ(ธาตุลม) ก็ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ ต่างหากเกิดขึ้นมา ย่อมทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญไป เปรียบเหมือนเรือจะอับปางก็เพราะ ต้นหนเท่านั้น สัทธรรมย่อมไม่เสื่อมสูญไป ด้วยประการฉะนี้”
สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญ
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป แห่งสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรม ๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในสิกขา ๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในสมาธิ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป แห่งสัทธรรม
สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมตั้งมั่น
กัสสปะ เหตุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม เหตุ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระธรรม
๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในสิกขา ๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในสมาธิ เหตุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น