ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

คุณสมบัติของคนดี : กลอนคติธรรม




คุณสมบัติของคนดี : กลอนคติธรรม

    คนดี ต้องมี ศรัทธา..................................เชื่อว่า ทำดี ได้ดี
ทำชั่ว ตระบัดสัตย์ บัดสี.........................โลกนี้ มีกฎ (แห่ง)กรรมครองฯลฯ

    คนดี ต้องมี ศีลธรรม.................................น้อมนำ ทำให้ ไม่มัวหมอง
แน่วแน่ แม้ไร้ ใครจ้อง...........................ปราศผล ดลสนอง ต้องใจ

       คนดี ต้องมี หิริ........................................ละอาย-มิ ทำชั่ว สาไถย
สะดุ้งกลัว บาปกรรม ทรามใด.................ทำไป ได้รับ บาปคืน

    (คนดี)ตั้งใจ ใคร่หลาม ความรู้...................เป็นผู้ สู่หา วิชาดื่น
ไม่รอ คอยใคร หยิบยื่น...........................เริงรื่น (ความ)สามารถ พัฒนา

    ยินดี ให้การ เสียสละ................................เพื่อจะ ช่วยคน(อื่น) พ้นทุกขา
เปี่ยมความ เมตตา กรุณา........................ไม่กล้า เอารัด เอาเปรียบใคร

    คนดี ต้องมี ความรู้..................................เชิดชู ความคิด วินิจฉัย
ความโง่เขลา เอาแต่ใจฯลฯ......................หาใช่ วิสัย คนดี

    ความดี คือคุณ สมบัติ............................ในมนัส สัตบุรุษ สุดศรี
เป็นประ เสริฐสิน อินทรีย์..........................ที่มี ในมนุษย์ ชุติมา

    คนดี ต้องมี อริยทรัพย์............................จึงนับ เป็นคน ล้นค่า
ถือหลัก พินิจ พิจารณา............................วัดว่า ใครดี วิธีเอยฯ

๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๒

* อริยทรัพย์ 7 (ทรัพย์อันประเสริฐ, ทรัพย์คือคุณธรรมประจำใจอย่างประเสริฐ)
       1. ศรัทธา (ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ)
       2. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม)
       3. หิริ (ความละอายใจต่อการทำความชั่ว)
       4. โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อความชั่ว)
       5. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก)
       6. จาคะ (ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่)
       7. ปัญญา (ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้คิด รู้พิจารณา และรู้ที่จะจัดทำ)
จาก <http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=292>

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สร้างบุญด้วย...? : กลอนคติเตือนใจ


สร้างบุญด้วย...? : กลอนคติเตือนใจ

    หากบุญ ได้ตาม จำนวนเงิน(ที่บริจาค).....................เศรษฐี คงสิเพลิน เดินเต็มสวรรค์
ถ้าเงินล้าง บาปได้ เหมือนใคร่กัน.........................นรกนั้น คงเห็นแล แค่คนจน(ที่ไม่มีเงินทำบุญ)

    บาปทำ กรรมท้า จนติดตะราง................................ค่อยหวัง สร้างบุญ สร้างกุศล
เงินหนึ่ง ร้อยบาท ฤาอาจดล................................หลุดพ้น โทษได้ ให้เลือนลาง

       (คิด)ผิวเผิน เงินให้ ก็ได้บุญ(ตอบแทน)................(เพราะ)เคยคุ้น ซื้อ-ขาย ของหลายอย่าง
บุญจึง ขายดี (บน)วิถีทาง...................................ของคนเขลา เบาบาง สติปัญญา

    ให้ทาน เพราะต้อง การช่วยเหลือ...........................จุนเจือ ผู้คน พ้นทุกขา
คือครรลอง ของคน ล้นเมตตา..............................กรุณา ปราณี ฤดีเจน

    หากสัก แต่ให้ ไม่เคยคิด(มีเมตตาฯลฯ)....................อกุศล ล้นจิต ทุจริตเข็น(เช่นหวังผลตอบแทน,ให้น้อยอยากได้มาก)
ให้เงินมาก จักพลอย น้อยค่าเป็น..........................ดั่งเช่น เศษเงิน ดำเนินการ

     ยิ่งเป็น เงินจาก การทุจริต....................................ฉลจิต คิดชั่ว มัวเมาหาญ
เงินคด โกงเอา ของชาวบ้าน................................ป่วยการ เพราะไม่ใช่ เงินของตน(ย่อมไม่ได้บุญ)

    อบรม จิตใจ ให้ผุดผ่อง.........................................ตรึกตรอง คลองธรรม ตามกุศล
ดัดทรวง ดวงฤดี นิรมล........................................คือหน ทางยอด ทอดบุญญา

    เป็นอรหันต์ เพราะหมด สิ้นกิเลส.............................มิใช่ เพราะเหตุ แห่งเงินหนา
บุญเกิด จากการ หมั่นพัฒนา................................ดวงอุรา จึงประเสริฐ ล้นเลิศเอยฯ

๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๒

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562

วิธีพัฒนาจิตใจ : กาพย์ฉบัง๑๖




วิธีพัฒนาจิตใจ : กาพย์ฉบัง๑๖

    วิธีพัฒนาจิตใจ.......................ต้องวาง(กำหนด)เงื่อนไข
มิใช่แค่อยู่เฉยๆ(แล้วคิดว่าจิตใจจะพัฒนาเอง)

    ความคิดควรอย่าละเลย......................จินดาจะเผย
เฉลยมโนพื้นฐาน

    ปกตินิสัยสันดาน......................สัญชาตญาณ
และการอบรมสั่งสอน(ที่ได้รับ)

    ดวงฤดีสิต้องสังวร.....................กุศลาอาทร
ชั่วช้าสละถอนมิผ่อนผัน

    กาย-วจีกรรมสำคัญ......................วิถีศีลธรรม์
ตั้งใจมุ่งมั่นปฏิบัติ

    หาความรู้อยู่เป็นวัตร......................โง่เขลาเกลาขัด
ฝึกหัดให้ชินชีวินเสมอ

    ผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี มิเผอเรอ.....................สิ่งประสบพบเจอ
อย่าเผลอ(ต้อง)คัดสรรบรรจง

    ตักเตือนอัตตาอย่าหลง.....................พรึงพรั่น-มั่นคง
ยืนยงตรงแน่วแกล้วมรรคา

    จะค่อยๆเห็นการพัฒนา......................ตามกาลเวลา
โดยมิต้องมาห่วงอาลัย

    พัฒนาการของจิตใจ....................สิดลผลให้
ชีวิตสุกใสไร้ทุกข์เอยฯ

๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๒

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ควรคิดว่า : กลอนคติเตือนใจ









ควรคิดว่า : กลอนคติเตือนใจ

    ชีวี มิใช่ ของเรา...................................แต่เป็น ของเขา ให้ยืม
ยามมี ชีวา อย่าปลื้ม.............................จนลืม เจ้าข้าว เจ้าของ(อีกไม่นานก็จะมาเอาชีวิตคืนไป)

    คนอื่น ก็มี ชีวิต....................................(มี)กรรมสิทธิ์ ในการ ครอบครอง
ยืนหยัด อัตตา ผยอง............................ตอบสนอง ปฏิ สัมพันธ์

       เมื่อต้อง ติดต่อ กับใคร..........................อย่าเอา แต่ใจ(ตัวเอง) หมายมั่น
(ชีวิต)ต่างต้อง พึ่งกัน และกัน.................รังสรรค์ ฝันใฝ่ ป่ายปอง

    อันความ สำเร็จ ใดๆ.............................ยากจัก สมใจ ไร้(ข้อ)บกพร่อง
แค่ใน (การ)คิดนึก ตรึกตรอง..................ยังมอง เห็นทราม หลามมี

    หากเรา เข้าใจ ในสัจจ์..........................การ ป ฏิบัติ มนัสศรี
ย่อมมิ ยากเย็น เข็ญฤดี.........................โศกี สลด อดทน(ฝืนใจทำ)

     คิดดี มีชัย ไปกว่าครึ่ง..........................คำนึง ถึงเหตุ และผล
วาสนา อย่าหวัง กังวล...........................พึ่งตน (เป็น)หนทาง กว้าง-ไกล

    บาป-บุญ-คุณ-โทษ อย่าคดคิด...............ชีวิต พิจารณา ปราศรัย
คืนวัน ผันเปลี่ยน เวียนไป.......................เร็วไว กายแก่ มรณา

    เห็นแต่ แก่ตน ผลประโยชน์...................ก่อกรรม ทำโฉด ชั่วช้า
กลับมา เกิดใหม่ ภายหน้า.......................ประดา เวรกรรม ตามสนองฯ

๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๒

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562

จึงจะสงบสุข : โคลงสี่สุภาพ




จึงจะสงบสุข : โคลงสี่สุภาพ

๑.กิเลสเคยทำให้.................................ใครสงบ?
บงการใจไม่จบ............................ไม่สิ้น
ประหนึ่งควัไฟตลบ.....................คุกรุ่น
วุ่นวายยลรนดิ้น...........................เผาไหม้ฤทัยสถานฯ

๒.ราคะ=การรู้สึก.................................(กำหนัด)ยินดี
รสชาติสารพัดมี............................กระทบลิ้น
ตาดู-หูฟัง-กายี.............................สัมผัส
เกิดกำหนัดฉกาจสิ้น.......................ไร้สุขเกษมศานติ์ฯ(เกษม=ความสุข,ศานติ์=ความสงบ)

๓.(ราคะ)บันดาลความโลภขึ้น.................ในใจ
สิ่ง(ทรัพย์สิน)สวยงามอำไพ............อยากได้(อยากสวยอยากรวยฯลฯ)
เสียงเสนาะใดๆ(รวมทั้งคำชม)..........รสชาติ
สัมผัสสารพัดไซร้..........................ไม่รู้จักพอฯ(รวมทั้งยศถาบรรดาศักดิ์)

๔.โทสะ=ความโหดเหี้ยม.......................ในจิต
(คือ)เหตุชักนำความคิด..................ประทุษร้าย(ทำร้ายด้วยวาจา-กำลัง)
ความใจดำอำมหิต.........................ไม่ต่าง(ความเกลียดชัง,ริษยาฯลฯ)
ดั่งเพลิงเผาคลึงคล้าย....................ทำร้ายคนครองฯ

๕.โมหะ=ความไม่รู้................................ความเขลา
บาป-บุญไม่ถือเอา.........................ว่า(มี)แท้
เห็นผิดเป็นชอบเมา........................มัวจิต
กฎแห่งกรรม,ศีลธรรมแล้.................เชื่อไร้ในผลฯลฯ

๖.จึงวนเวียนในห้วง................................แห่ง(การก่อ)เวร
ปราศจากความร่มเย็น.....................รุ่มร้อน
(ประสบ)ปัญหานานาเป็น.................ปกติ
อุปธิ(คือ)เหตุสะท้อน......................ให้สุขสงบสลายฯ(อุปธิ=กิเลส)

๗.หากมุ่งหมายได้ความ...........................สงบสุข
ปราศจากเสียซึ่งทุกข์......................รุ่มร้อน
ข่มกิเลสอย่าปล่อยลุก.....................โชนจิต
คิดทำอะไรใคร่ย้อน........................อย่าสร้างอกุศลฯ

๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๒

*อกุศลมูล 3 (รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว)
1. โลภะ (ความอยากได้)
2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
3. โมหะ (ความหลง)
From <http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=68>

*กิเลส หมายถึง เครื่องที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว มีจิตอันไม่บริสุทธิ์ และขัดขวางความความสงบทางจิตใจ
ระกอบด้วยกิเลส 3 ประเภท คือ
1. โลภะกิเลส คือ กิเลสแห่งความโลภ
2. โทสะกิเลส คือ กิเลสแห่งความโกรธ *(คนส่วนใหญ่แปลผิด โกรธ=โกธะ ไม่ใช่ โทสะ ...แอดมิน อวิชชาภิกขุ)
3. โมหะกิเลส คือ กิเลสแห่งความหลง
คำว่า “กิเลส” มาจากฐานศัพท์ภาษาบาลี คือ กิลิส แปลว่า ความเร่าร้อน หรือ การเบียดเบียน
แปลโดยนัยแห่งธรรม หมายถึง เครื่องที่ทำให้จิตใจเร่าร้อนหรือเข้าเบียดเบียนจิตใจให้เศร้าหมอง
From <https://thaihealthlife.com/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA/>

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562

อนัตตธรรม : กลอนคติธรรม




อนัตตธรรม : กลอนคติธรรม

    เหมือนรู้ สึกว่า เวลา ผ่านไว..........................ยังมิ ทันไร อะไรๆ ก็ผ่านพ้น
เหตุการณ์ โลกา พาใจ ประจญ....................ฤดูฝน พ้นผ่าน (แทบ)มิทัน ตั้งตัว

    อีกแค่ ประเดี๋ยว ก็คง ปีใหม่..........................ประเดิม เพิ่มวัย ให้ชน ท้นทั่ว
เด็ก(น่า)จะ พอใจ (แต่)ผู้ใหญ่ ใคร่กลัว..........แก่ตัว เข้าใกล้ ชรา มรณะ

       (เมื่อ)ไร้ความ สำคัญ ต่ออา ยุขัย....................วันคืน ผ่านไว (ย่อม)ไม่คิด ทุกขะ
เสมือนอยู่ เยือกเย็น เช่นมี ชีวะ....................เป็น อ มตะ จะปราศ ทรมาน

    เมื่อชี วิตกลาย มิใช่ ตัวตน(อัตตา)..................วิสุทธิ์ ดุจพ้น วนวัง สังขาร
เหมือนมี อิสระ จากพัน ธนาการ...................ที่ถูก ผูกพาน นานนม กลมกลืน

    หยุดการ ดิ้นรน กังวล ตนตัว..........................หยุดกลัว หัวใจ ไม่เต้น จะเป็นอื่น(เช่น ผีเร่ร่อนฯลฯ)
หยุดเพียร พยายาม เพื่อความ อายุยืน............หยุดฝืน อำนาจ สัจจา อาดูร

     อนัต ตธรรม=สัมมา ทิฏฐิ..............................บรรเทา อุปธิ กิเลส เฉทสูญ
ความเห็น แก่ตน ที่ท้น พ้นพูน......................ก้าวข้าม จะจำรูญ สุนทร พรชัย

    อิสระ เสรี ไม่มี ที่สุด.....................................เมื่อหยุด ถือสา ว่าตน(อัตตา) ฉลใฝ่
มิรู้ ว่าจะ ก่อ(เวร)กรรม ทำไม?.....................เมื่อไร้ อัตตา หน้ามืด ตามัว

    หยุดความ ยึดมั่น ถือมั่น อันหยาบ....................เสมือน คำสาป อับจน พ้นหัว
ผู้ใด ปล่อยวาง ความเห็น แก่ตัว....................ย่อมไม่ ทำชั่ว ทั่วทุก อิริยาฯ

๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๒

วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562

"ผมอาบน้้ำร้อนมาก่อน" : กลอนคติเตือนใจ




"ผมอาบน้้ำร้อนมาก่อน" : กลอนคติเตือนใจ

    ลมสะบัด พัดแรง..........................หลังแสง สูญลับ
พรรษา ลาสรรพ........................ขยับสู่ ฤดูหนาว
แต่ทว่า กลางวัน........................ร้อนสะบั้น ปานราว
แดดแสง แรงกร้าว.....................(ตั้ง)แต่เข้า จรดเย็น

    นอนปิด หน้าต่าง..........................ระหว่าง กลางดึก
ยังไม่ หนาวลึก..........................มิรู้สึก นึกเข็ญ
สภาวะ โลกร้อน.........................สะท้อน ผลเป็น
(แต่)คนยัง หวังเล่น ...................เช่นมิ ใส่ใจ

    แต่ละ ปัญหา...............................ทยอยมา ประสบ
ย่ำยี พิภพ.................................มิขบ แก้ไข
(คน)ยังดำเนิน ชีวิต....................(อย่าง)รับผิด ชอบไร้
จนสาย เกินไป...........................ภยันตราย ไม่กลัว

    สังเกต เหตุผล.............................ของคน ส่วนใหญ่
แสนสา ระไร้..............................ไม่รู้ ดี-ชั่ว
รักษา ประเด็น............................ความเห็น แก่ตัว
โง่เขลา เมามัว...........................มืดมัว สติปัญญา

    ฤดูหนาว ก้าวสู่............................ฤดู ร้อนแดด
สุรีย์เร่า เผาแผด.........................แวดล้อม ปัญหา
ใหม่ๆ มาเต็ม.............................เช่น PM 2.5
กระทบ ชีวา...............................ประชา สาธารณ์

     ใครอาบ น้ำร้อน..........................มาก่อน มิสำคัญ
ขอให้ หมายมั่น..........................แก้ปัญหา กล้าหาญ
ลงมือ ปลูกป่า............................จงอย่า อันธพาล
ประพฤติ หย่อนยาน....................บริหาร บ้านเมืองฯ

๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๒

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เงินทองของนอกกาย : กาพย์ยานี๑๑






เงินทองของนอกกาย : กาพย์ยานี๑๑

     พุทธธรรม คำสั่งสอน....................................คุณากร ประเสริฐศรี
หลักผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี....................................อริยสัจสี่ อัศจรรย์

     หนทาง ย่างพ้นทุกข์....................................สงบสุข น่าใฝ่ฝัน
ชวนให้ ชนหมายมั่น...................................ปฏิญาณ ปองศรัทธา

    อุ้มชู อุปถัมภ์..............................................ช่วยจุนค้ำ ศาสนา
พระสงฆ์ พงศ์พุทธา...................................สักการะ สรณคุณ

     จึงมี คนไม่น้อย...........................................ทั้งเลิศลอย และทรามสถุล
ปรารถนา เป็น(เนื้อ)นาบุญ...........................สถานะหนุน เชิดชีวีฯลฯ

     ถ่ายทอด คำสอนสั่ง(ส่วนตัว).........................ให้เชื่อฟัง ดั่งวิถี
อ้างว่า คือความดี.......................................ตามที่มี คติตรอง

    พระดี พูดดีได้.............................................พระจัญไร ใคร่ขัดข้อง
พูดชั่ว มัวเมามอง.......................................ตอบสนอง ต่ำสันดาน

     พระไตร(ปิฎก) ต้องศึกษา..............................พุทธมา มกะประสาน(จะได้รู้ธรรมะที่ถูกต้อง)
หากหวัง พระนิพพาน...................................สวรรค์สราญ ทิพย์ครรไล

    อย่าหวัง ว่าฟังพระ........................................เท่านั้น(ก็)จะ พ้นทุกข์ได้
(ชอบบอกว่า)เงินทอง ของนอก(กาย)ใด..........เอามาถวาย (อาตมา)วัดวาเทอญ*ฯ

๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๒

*ตามธรรมวินัย พระ-วัด รับเงินทองไม่ได้ มอบหมายคนอื่นรับ-เก็บไว้ให้ก็ผิด

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ธรรมะเป็นเพื่อนคู่ใจ : กลอนจรรโลงใจ




ธรรมะเป็นเพื่อนคู่ใจ : กลอนจรรโลงใจ

     (มี)ธรรมะ เป็นเพื่อน คู่ใจ....................................ก็คล้าย ได้ที่ ปรึกษา
ซึ่งเปี่ยม สติ ปัญญา....................................วุฒิ ภาวะ สะคราญ

     สำนึก ตรึกตรอง คลองธรรม................................ที่จำ ไว้แม่น แก่นสาร
ถูกต้อง คล่องกรรม ชำนาญ..........................หลักการ เลือกเฟ้น เจนใจ

    (มี)ธรรมะ เป็นปิ ยะมิตร.....................................ชีวิต กิจวัตร นิรัติศัย
(เท่ากับ)ได้ที่ พึ่งพา หฤทัย..........................แม้ใน (ยาม)ประชิด วิกฤตการณ์

     ติดตาม ธรรมไป ทุกที่.......................................ปกป้อง ฤดี พิศาล
ช่ำชอง (คัด)กรองธรรม สิสำราญ...................ทุกกาล สถานที่ ปรีชา

     ผู้ใคร่ ในธรรม อำมฤต.......................................ชีวิต พิชญ์ชาติ วาสนา(พิชญ์=นักปราชญ์)
(จะ)รู้ซึ้ง ถึงกฎ กติกา..................................ธรรมชาติ สัจจา อาบัน(อาบัน=ถึง,ลุ)

    ธรรมะ ประสงค์ มีไว้..........................................จะต้อง เลื่อมใส มิ(ใช่)ใฝ่ฝัน
ศึกษา เล่าเรียน เพียรจรรย์............................มิดื้อ ถือรั้น พาลจินต์

     คล้อยตาม ธรรมะ ปฏิบัติ....................................ทอนตัด อัตตา ถวิล
ดำเนิน วิถี ชีวิน...........................................ประคิ่น ศีลธรรม อำไพ(ประคิ่น=บรรจง)

    ตราบเท่า ที่มี มนุษย์.........................................หลักพุท ธ(ะ)ธรรม ส่ำใส
สิคง ยั่งยืน วันคืนไคล...................................ถูกต้อง ขัดข้องไร้ นิรันดรฯ

๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๒

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ชีวะสัมมาปฏิบัติ : กลอนคติสอนใจ






ชีวะสัมมาปฏิบัติ : กลอนคติสอนใจ

     ...........................................................................ฝนตก ตอนเย็น เป็นประหลาด
มาถึง ก็โถม โหมซัดสาด....................................ลมสาย ร้ายกาจ ฟาดไม่ยั้ง

     ก่อนหน้า นิ่งสนิท อาทิตย์ส่อง....................................นกผอง ร้องเพลง ครื้นเครงฟัง
ชั่วประเดี๋ยว กลับดล ฝนคลุ้มคลั่ง.........................จนตั้ง หลักได้ แทบไม่ทัน

     หวังว่า นาท้อง จินองน้ำ............................................ช่วยค้ำ ข้าวต้น พ้นคับขัน
ใกล้ออก ดอกรวง ช่วงสำคัญ...............................ไหวหวั่น อุรา ชาวนาครวญ

     สัมพันธ์ ฝนฟ้า และธรรมชาติ......................................เมื่อขาด สมดุล วุ่นวายหวน
ตัดไม้ ทำลายป่า เป็นกระบวน-.............................การล้วน (จง)ถ้วนถี่ พิจารณา

     หมายพึง ถึงผล ต้องค้นคิด.........................................วิถี ประสิทธิ์ ไม่อิดหนา
ถูกต้อง หลักการ อันโสภา...................................สัมมา ปฏิบัติ ชีวาตม์พลี

    อย่าเอา แต่ใจ ไร้ผิด-ชอบ...........................................ละเมิดกรอบ กติกา พาบัดสี
ทุจริต คิดใคร่ มิใยดี...........................................วิถี ศีลธรรม ย่อมต่ำทราม

     ปัญหา สารพัด มิปราศเหตุ..........................................สังเกต เหตุ-ผล บนคำถาม
ทำไม่ ถูกต้อง ครรลองความ.................................ตรงไหน ให้ตาม แก้กรรมา

    สุทโธ โสภา สุจริต....................................................คิดสู่ อุกฤษฏ์ ประสิทธิ์หา
เลิกล้ม งมงาย หลายมารยา..................................ทุกขา ที่ผจญ (ย่อม)หลุดพ้นเอยฯ

๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๒

วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ตักบาตรพระ : กาพย์ยานี๑๑



ตักบาตรพระ : กาพย์ยานี๑๑

     (ตักบาตร)เทโว โรหณะ.....................................เป็นพุทธะ ศาสนพิธี(กรรม)*
ครรลอง คล้องจองที่....................................ยอดนิยม(ใน) สังคมไทย

     ข้าวสาร อาหารแห้ง..........................................ถูกจัดแจง แฝงดอกไม้
งดงาม ตามหทัย.........................................ที่ใฝ่ฝัน สุขสันติ์พี

     เป็นพระ จะเข้าใจ............................................บิณฑบาตรได้ ในวันนี้
หลากเห็น เป็นสิ่งที่......................................ทานมิได้(ไม่ใช่อาหารปรุงเสร็จ) ให้สะสม

     เช่นว่า อาหารแห้ง............................................ข้าวสาร***-แป้ง-กาแฟ-นมฯลฯ
ประชา ค่านิยม............................................มิปรารมภ์ ธรรมวินัย**

     (ที่)ห้ามพระ สะสมอาหาร...................................เพื่อเป็นการ กิเลสไส
ฝ่าฟัน ตัณหาไป..........................................ไม่หวั่นทุก ข(ะ)เวทนา

    พระรู้(วินัย) อยู่แก่ใจ..........................................เหตุไฉน ไม่บอก(ชาวบ้าน)หนา
ปล่อยไป ไม่นำพา........................................ตามวัดวา อาหารตุน

     มิถือ(สาธรรมวินัย) ทำซื้อขาย..............................เงินมากมาย ไหลเวียนหมุน
พระกลาย เป็นนายทุน...................................หมกมุ่นมี โลกียธรรม

    เอาอย่าง แนวทางโลกย์......................................(จะทำให้)ความโสโครก ดกดื่นล้ำ
ราคี พฤติกรรม.............................................ย่ำยีพระ วัดวาเอยฯ

๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๒

*พิธีตักบาตรเทโวโรหณะ ไม่มีในธรรมวินัย ไม่ใช่ธรรมเนียมปฏิบัติในสมัยพุทธกาล
เป็นเพียงตำนานเล่าขานเท่านั้น เหมือนเรื่องราวอภินิหารมากมายในพุทธประวัติ

เทโวโรหณะ แปลว่า “การลงจากเทวโลก” หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก
       ตำนานเล่าว่า ในพรรษาที่ ๗ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษาในดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาพร้อมทั้งหมู่เทพ ณ ที่นั้น
       เมื่อถึงเวลาออกพรรษาในวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับคืนสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ โดยมีเทวดาและมหาพรหมทั้งหลายแวดล้อม ลงมาส่งเสด็จ ฝูงชนจำนวนมากมายก็ได้ไปคอยรับเสด็จ กระทำมหาบูชาเป็นการเอิกเกริกมโหฬารและพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุคุณวิเศษจำนวนมาก
       ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการณ์พิเศษครั้งนี้ ถือเป็นกาลกำหนดสำหรับบำเพ็ญการกุศล ทำบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์ เป็นประเพณีนิยมสืบมา ดังปรากฏในประเทศไทย เรียกกันว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตักบาตรเทโว
       บางวัดก็จัดพิธีในวันออกพรรษา คือวันมหาปวารณา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดจัดถัดจากนั้น ๑ วัน คือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑

From <http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%E0%B7%E2%C7%E2%C3%CB%B3>


**
[๕๑๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี.
ครั้งนั้น ท่านพระเวฬัฏฐสีสะพระอุปัชฌายะของท่านพระอานนท์อยู่ในอาวาสป่า ท่านเที่ยวบิณฑบาต ได้บิณฑบาตเป็นอันมาก แล้วเลือกนำแต่ข้าว
สุกล้วนๆ ไปสู่อาราม ตากให้แห้งแล้วเก็บไว้ เมื่อใดต้องการอาหาร ก็แช่น้ำฉันเมื่อนั้น ต่อนานๆจึงเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต.
ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า อาวุโส ทำไมนานๆ ท่านจึงเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต จึงท่านได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส ก็ท่านฉันอาหารที่ทำการสั่งสมหรือ?             
ท่านรับว่า อย่างนั้น อาวุโสทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระเวฬัฏฐสีสะ จึงได้ฉันอาหารที่ทำการสั่งสมเล่า
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระเวฬัฏฐสีสะว่า ดูกรเวฬัฏฐสีสะ ข่าวว่า เธอฉัน
อาหารที่ทำการสั่งสม จริงหรือ?
ท่านพระเวฬัฏฐสีสะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรเวฬัฏฐสีสะ ไฉนเธอจึงได้ฉันอาหารที่ทำการสั่งสมเล่า
การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘๗.๘. อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ที่ทำการสั่งสม เป็นปาจิตตีย์.
From <http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=10932&Z=10988>

***
๑๐. เธอเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล
             ๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและ
เครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
             ๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
             ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
             ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.เช่น ข้าวสารฯลฯ
             ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
             ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
             ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
             ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
             ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
             ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
             ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
             ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.
             ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
             ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่อง
ตวงวัด.
             ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
             ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

From <http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=1435&Z=1478&pagebreak=0>

วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ส่องใจเขาใจเรา : กาพย์ฉบัง๑๖



ส่องใจเขาใจเรา : กาพย์ฉบัง๑๖

    ข่าวสารการแก้ปัญหา.......................PM 2.5
ทะยอยออกมาให้เห็น

    ฉีดละอองน้ำนำหน้าเจน......................เครื่องกำจัดฝุ่น เช่น
ไม่(คิด)เห็นว่าจะแก้ไหว

    (ไม่มี)ป่าไม้เป็นปัญหาใหญ่......................กลับบ่สนใจ
ทำอะไรไม่เข้าท่าที

    เมื่อคนส่วนใหญ่ไม่มี.....................คุณธรรมความดี
โลกีย์จึงวิกลท้นทั่ว

    ห้วงหทัยเด่น(ความ)เห็นแก่ตัว......................สะสมความชั่ว
คนจึงน่ากลัวอยู่เสมอ

    (จะ)คบใครอย่าได้เผอเรอ......................เพราะว่าจะเก้อ
เจอเรื่องเลวร้ายหลายหลาก

    (คบใคร)มักง่ายจะได้ความยาก.....................ตกระกำลำบาก
หากสุขประสงค์จงอุตสาห์

    เรียนรู้ในมนัสสัจจา.....................คนเปรียบสัตว์ป่า
มิใช่นางฟ้าเทวาสวรรค์

    ความโหดเหี้ยมเทียบเทียมกัน(กับสัตว์)......................ปราศจากศีลธรรม์
สัญชาตญาณมั่น(คง)ฤทัย

    เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ฯลฯ......................จงอย่าไว้ใจ
จะได้ไม่ไม่เศร้าโศกตรม

    ส่วนตนกุศลสบอบรม.......................ปุญญาสะสม
อภิรมย์จริยธรรมนำเทอญฯ

๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๒