ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ตักบาตรพระ : กาพย์ยานี๑๑



ตักบาตรพระ : กาพย์ยานี๑๑

     (ตักบาตร)เทโว โรหณะ.....................................เป็นพุทธะ ศาสนพิธี(กรรม)*
ครรลอง คล้องจองที่....................................ยอดนิยม(ใน) สังคมไทย

     ข้าวสาร อาหารแห้ง..........................................ถูกจัดแจง แฝงดอกไม้
งดงาม ตามหทัย.........................................ที่ใฝ่ฝัน สุขสันติ์พี

     เป็นพระ จะเข้าใจ............................................บิณฑบาตรได้ ในวันนี้
หลากเห็น เป็นสิ่งที่......................................ทานมิได้(ไม่ใช่อาหารปรุงเสร็จ) ให้สะสม

     เช่นว่า อาหารแห้ง............................................ข้าวสาร***-แป้ง-กาแฟ-นมฯลฯ
ประชา ค่านิยม............................................มิปรารมภ์ ธรรมวินัย**

     (ที่)ห้ามพระ สะสมอาหาร...................................เพื่อเป็นการ กิเลสไส
ฝ่าฟัน ตัณหาไป..........................................ไม่หวั่นทุก ข(ะ)เวทนา

    พระรู้(วินัย) อยู่แก่ใจ..........................................เหตุไฉน ไม่บอก(ชาวบ้าน)หนา
ปล่อยไป ไม่นำพา........................................ตามวัดวา อาหารตุน

     มิถือ(สาธรรมวินัย) ทำซื้อขาย..............................เงินมากมาย ไหลเวียนหมุน
พระกลาย เป็นนายทุน...................................หมกมุ่นมี โลกียธรรม

    เอาอย่าง แนวทางโลกย์......................................(จะทำให้)ความโสโครก ดกดื่นล้ำ
ราคี พฤติกรรม.............................................ย่ำยีพระ วัดวาเอยฯ

๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๒

*พิธีตักบาตรเทโวโรหณะ ไม่มีในธรรมวินัย ไม่ใช่ธรรมเนียมปฏิบัติในสมัยพุทธกาล
เป็นเพียงตำนานเล่าขานเท่านั้น เหมือนเรื่องราวอภินิหารมากมายในพุทธประวัติ

เทโวโรหณะ แปลว่า “การลงจากเทวโลก” หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก
       ตำนานเล่าว่า ในพรรษาที่ ๗ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษาในดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาพร้อมทั้งหมู่เทพ ณ ที่นั้น
       เมื่อถึงเวลาออกพรรษาในวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับคืนสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ โดยมีเทวดาและมหาพรหมทั้งหลายแวดล้อม ลงมาส่งเสด็จ ฝูงชนจำนวนมากมายก็ได้ไปคอยรับเสด็จ กระทำมหาบูชาเป็นการเอิกเกริกมโหฬารและพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุคุณวิเศษจำนวนมาก
       ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการณ์พิเศษครั้งนี้ ถือเป็นกาลกำหนดสำหรับบำเพ็ญการกุศล ทำบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์ เป็นประเพณีนิยมสืบมา ดังปรากฏในประเทศไทย เรียกกันว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตักบาตรเทโว
       บางวัดก็จัดพิธีในวันออกพรรษา คือวันมหาปวารณา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดจัดถัดจากนั้น ๑ วัน คือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑

From <http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%E0%B7%E2%C7%E2%C3%CB%B3>


**
[๕๑๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี.
ครั้งนั้น ท่านพระเวฬัฏฐสีสะพระอุปัชฌายะของท่านพระอานนท์อยู่ในอาวาสป่า ท่านเที่ยวบิณฑบาต ได้บิณฑบาตเป็นอันมาก แล้วเลือกนำแต่ข้าว
สุกล้วนๆ ไปสู่อาราม ตากให้แห้งแล้วเก็บไว้ เมื่อใดต้องการอาหาร ก็แช่น้ำฉันเมื่อนั้น ต่อนานๆจึงเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต.
ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า อาวุโส ทำไมนานๆ ท่านจึงเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต จึงท่านได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส ก็ท่านฉันอาหารที่ทำการสั่งสมหรือ?             
ท่านรับว่า อย่างนั้น อาวุโสทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระเวฬัฏฐสีสะ จึงได้ฉันอาหารที่ทำการสั่งสมเล่า
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระเวฬัฏฐสีสะว่า ดูกรเวฬัฏฐสีสะ ข่าวว่า เธอฉัน
อาหารที่ทำการสั่งสม จริงหรือ?
ท่านพระเวฬัฏฐสีสะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรเวฬัฏฐสีสะ ไฉนเธอจึงได้ฉันอาหารที่ทำการสั่งสมเล่า
การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘๗.๘. อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ที่ทำการสั่งสม เป็นปาจิตตีย์.
From <http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=10932&Z=10988>

***
๑๐. เธอเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล
             ๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและ
เครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
             ๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
             ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
             ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.เช่น ข้าวสารฯลฯ
             ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
             ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
             ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
             ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
             ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
             ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
             ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
             ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.
             ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
             ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่อง
ตวงวัด.
             ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
             ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

From <http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=1435&Z=1478&pagebreak=0>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น