ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562

จึงจะสงบสุข : โคลงสี่สุภาพ




จึงจะสงบสุข : โคลงสี่สุภาพ

๑.กิเลสเคยทำให้.................................ใครสงบ?
บงการใจไม่จบ............................ไม่สิ้น
ประหนึ่งควัไฟตลบ.....................คุกรุ่น
วุ่นวายยลรนดิ้น...........................เผาไหม้ฤทัยสถานฯ

๒.ราคะ=การรู้สึก.................................(กำหนัด)ยินดี
รสชาติสารพัดมี............................กระทบลิ้น
ตาดู-หูฟัง-กายี.............................สัมผัส
เกิดกำหนัดฉกาจสิ้น.......................ไร้สุขเกษมศานติ์ฯ(เกษม=ความสุข,ศานติ์=ความสงบ)

๓.(ราคะ)บันดาลความโลภขึ้น.................ในใจ
สิ่ง(ทรัพย์สิน)สวยงามอำไพ............อยากได้(อยากสวยอยากรวยฯลฯ)
เสียงเสนาะใดๆ(รวมทั้งคำชม)..........รสชาติ
สัมผัสสารพัดไซร้..........................ไม่รู้จักพอฯ(รวมทั้งยศถาบรรดาศักดิ์)

๔.โทสะ=ความโหดเหี้ยม.......................ในจิต
(คือ)เหตุชักนำความคิด..................ประทุษร้าย(ทำร้ายด้วยวาจา-กำลัง)
ความใจดำอำมหิต.........................ไม่ต่าง(ความเกลียดชัง,ริษยาฯลฯ)
ดั่งเพลิงเผาคลึงคล้าย....................ทำร้ายคนครองฯ

๕.โมหะ=ความไม่รู้................................ความเขลา
บาป-บุญไม่ถือเอา.........................ว่า(มี)แท้
เห็นผิดเป็นชอบเมา........................มัวจิต
กฎแห่งกรรม,ศีลธรรมแล้.................เชื่อไร้ในผลฯลฯ

๖.จึงวนเวียนในห้วง................................แห่ง(การก่อ)เวร
ปราศจากความร่มเย็น.....................รุ่มร้อน
(ประสบ)ปัญหานานาเป็น.................ปกติ
อุปธิ(คือ)เหตุสะท้อน......................ให้สุขสงบสลายฯ(อุปธิ=กิเลส)

๗.หากมุ่งหมายได้ความ...........................สงบสุข
ปราศจากเสียซึ่งทุกข์......................รุ่มร้อน
ข่มกิเลสอย่าปล่อยลุก.....................โชนจิต
คิดทำอะไรใคร่ย้อน........................อย่าสร้างอกุศลฯ

๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๒

*อกุศลมูล 3 (รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว)
1. โลภะ (ความอยากได้)
2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
3. โมหะ (ความหลง)
From <http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=68>

*กิเลส หมายถึง เครื่องที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว มีจิตอันไม่บริสุทธิ์ และขัดขวางความความสงบทางจิตใจ
ระกอบด้วยกิเลส 3 ประเภท คือ
1. โลภะกิเลส คือ กิเลสแห่งความโลภ
2. โทสะกิเลส คือ กิเลสแห่งความโกรธ *(คนส่วนใหญ่แปลผิด โกรธ=โกธะ ไม่ใช่ โทสะ ...แอดมิน อวิชชาภิกขุ)
3. โมหะกิเลส คือ กิเลสแห่งความหลง
คำว่า “กิเลส” มาจากฐานศัพท์ภาษาบาลี คือ กิลิส แปลว่า ความเร่าร้อน หรือ การเบียดเบียน
แปลโดยนัยแห่งธรรม หมายถึง เครื่องที่ทำให้จิตใจเร่าร้อนหรือเข้าเบียดเบียนจิตใจให้เศร้าหมอง
From <https://thaihealthlife.com/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA/>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น