ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

2,002 หอนแทะศพ หมาเป็นเหตุคาบศพเด็กออกมาแทะ #สุสานทารกวัดไผ่เงิน | ย้อนเ...

อาชีพพระ : กาพย์ยานี๑๑














อาชีพพระ : กาพย์ยานี๑๑


    เหตุประสบ มิจบสิ้น....................................ข่าวได้ยิน ชินชาเห็น

น่าเบื่อ พวก(พระ)เหลือเดน.......................เห็น(พุทธ)ศาสนา (เป็น)ทางหากิน


    (ลูกหลาน)ชั่วช้า ส่งมาบวช.........................บ่เข้มงวด(ธรรมวินัย) เป็นนิจสิน

(หลัก)พุทธศาส (สะ)นาขาดวิ่น..................แม้(แต่)ศีลธรรม(ทั่วไปยัง) มินำพา

 

    ประเพณี ที่เหลวไหล..................................หลงคุณไสย (มิ)ใช่(พุทธ)ศาสนา

เสสรวญ ชวนกันมา...................................บวชหาลาภ-ยศ-(ตำแหน่ง)-สักการฯลฯ


    แทนที่ ธรรมวินัย........................................(ด้วย)โลกีย์วิสัย ไร้แก่นสาร

ทำตัว (ไม่ต่าง)เหมือนชาวบ้าน...................(แต่ชอบ)อ้างนิพพาน อวดอัญชลี


    เรียกร้อง เงินทองถวาย...............................สร้างบุญหลาย อย่าหน่ายหนี

เป็นกุศล ดลมั่งมีฯลฯ.................................แต่งวจี วิเศษพิสดาร


    (ชอบ)พูดถึง ธรรมะ-วินัย.............................เพื่ออาศัย ใช้เอ่ยขาน

หาลาภ-ยศ-สักการฯลฯ..............................(แต่)คร้านกระทำ ตามวจี(ดีแต่สอนคนอื่น)

 

    รับจ้าง เทศนาสอน.....................................แลกเงินทอน รอนวิถี

ธรรมวินัย บ่ใยดี.........................................เพียงโลกีย์ ที่จำนง(ใจ)

 

    พิสุทธิ์ พุทธศาสนา.....................................เงินไม่หา อย่าใหลหลง(พระหลายวัดหมกมุ่นหาเงิน)

ผิดวินัย* ไม่งุนงง.......................................จงตระหนัก หลักพระธรรม(วินัย)


    ทบทวน (หลัก)การบวชพระ.........................(ไม่)ใช่อาชีวะ(อาชีพ) อย่าอุปถัมภ์(พวกอาชีพพระ)

ประเสริฐ (เป็น)สิ่งเลิศล้ำ.............................(ช่วยรักษา)บำรุงพุทธ (ธะ)ศาสนาเอยฯ


๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕


*พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒

มหาวิภังค์ ภาค ๒
๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
.......
	ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น
ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่า
เธอรับรูปิยะจริงหรือ?
	ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า? การกระ ทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้วตรัส โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำ นาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบัง- *เกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้(คนอื่น)รับ(แทน)ก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์....ฯลฯ

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

สมน้ำหน้าคน : กลอนคติสอนใจ



หนอน ผีเสื้อจรวดลายพราง 
ชื่อสามัญ The Oleander Hawk Moth, or The Gardinia Hawk Moth.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Daphnis Nerii Moth.
วงศ์ Sphingidae.

ผีเสื้อจรวดลายพราง เป็นผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่สีเขียวลาย ตัวหนอนกินใบไม้หลายชนิดได้แก่ พุด ยี่โถ ม่านบาหลี ชวนชม และพญาสัตบรรณ ตัวหนอนเมื่อแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลแล้วเข้าดักแด้ พบอยู่ใต้เศษพืชตามพื้นดิน

สมน้ำหน้าคน : กลอนคติสอนใจ


    แลดู บุปผา (ยาม)อโณทัย..........................ดอก-ใบ หาย-กุด ดุจ(โดน)ตัดขาด

เหตุแปลก พิกล จนเกินคาด......................อนาถ หฤทัย ให้กรอมกรม

 

    มองหา สาเหตุ รอบเขตขัณฑ์......................ประจัญ ทันใด หนอน(ผีเสื้อ)ใหญ่สม

ดอก-ใบ ที่หายสูญ หนุนอุดม.....................เลี้ยงหนอน ซอนซม รมณีย์


    ให้เลือก ระหว่าง ห่าง(ว่างเว้น)บุปผา............(กับ)รักษา (หนอน)ผีเสื้อ เอื้อ(เลี้ยง)สุขี

จักตัด สินใจ อย่างไรดี?............................แค่มี(มีแค่) สองทาง ชั่งจินดา


    พิสุทธิ์ บุษบา หาไม่ยาก..............................ผีเสื้อ ต่างหาก ยลยากหนา

ดอกไม้ ได้เห็น เช่นชินชา..........................ผีเสื้อ เอื้อผกา(โลก) โสภาพรรณ(ผกา=ดอกไม้)


    (เสมือน)การมี ชีวาตม์ ต้องตัดสิน(ใจ)...........เลือกทาง สว่างทิน ภิญโญสรร(ภิญโญ=ยิ่งขึ้นไป)

จงอย่า (ทำตัวไร้สาระ)สบายๆ ไปวันๆ..........ทำตาม ฤทัยฉัน สำราญใจ

 

    หาสุข ใส่ตัว คือหัวคิด(หลักการ)..................(ทำ)ถูก-ผิด ก็ช่าง ท้นหลั่งไหล(ในหมู่ชน)

โลกจึง วิกฤติ หลากพิษภัย.........................ที่คน ดลให้ ได้-มี-เป็น

 

    มุ่งแต่ สุขเสาะ เฉพาะหน้า...........................จึงประเชิญ ปัญหา ทุกขาเข็ญ

โลกถูก (คน)ทำลาย อย่างใจเย็น.................(ผลคือคน)เดือดร้อน ลำเค็ญ เซ่นกรรมา(กฎแห่งกรรม)


    ได้ยิน (คนว่า)"ธรรมชาติ พิฆาตคน"...............(บ่งบอกว่า)บางคน คิดอะไร ไม่ประสา

(ที่จริงคน)"ทำร้าย ตนเอง" สิไม่ว่า................จึงสม ควรค่า สมน้ำหน้าเอยฯ


๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ทางโลก-ทางธรรม : กาพย์ยานี๑๑



ทางโลก-ทางธรรม : กาพย์ยานี๑๑


    กามสุขัล ลิกานุโยค..............................(คือ)ครรลองโลก ปกติเร้า-

หฤทัย ให้มัวเมา...................................เฝ้าเสพสู่ คู่นิรันดร์


    ทางโลก เที่ยวหมกมุ่น..........................รสกามคุณ หนุนสุขสันติ์

ลาภ-ยศ สรรเสริญ(ยืน)ยัน......................สิ่งสำคัญ ขั้นต้นปอง

 

    ติดใจ อาลัยโลก...................................(ยาม)ต้องวิโยค โศกเศร้าหมอง

ทุกข์ใน ฤทัยนอง..................................เมื่อของรัก พรากจากไป


    แสวงหา สิ่งประสงค์..............................ที่ลุ่มหลง จำนงใคร่

(ด้วยวิธี)ชั่ว-ดี มิใส่ใจ.............................ขอแค่ได้ สมใจดาล


    ทางโลก (จึง)ชุ่มโชกบาป.......................บ่เข็ดหลาบ วัฏสงสาร

สืบสัตว์ สัญชาตญาณ.............................ปานประกฤติ จิตวิกรม(ประกฤติ=ความเป็นธรรมดา)


    ทางธรรม ถือความสัตย์...........................ต้องการตัด ทุกข์โศกสม

โลกีย์ ค่านิยม.........................................ข่มจิตใจ ไม่คำนึง

 

    ชั่ว-ดี วินิจฉัย..........................................ทำสิ่งใด ใคร่ครวญถึง

ถูก-ผิด นิมิตตรึง......................................พึงสุจริต อิฏฐารมณ์

 

    พ้นโลก(ภพชาติ) สิ้นโศกเศร้า...................เป็นเป้าหมาย ใฝ่ปฐม

ปรัชญา ค่านิยม.......................................อุดมเด่น เห็นครรลอง


    วิถี แห่งชีวะ.............................................บ่ง(บอก)สัจจะ ว่าชนผอง

ดื่มด่ำ ตามครรลอง..................................ของทางโลก (หรือ)ทางธรรมเอยฯ


๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

๘. คณิกาสูตร

พุทธอุทาน
สิ่งที่บุคคลได้รับอยู่และสิ่งที่บุคคลยังหวังที่จะได้รับต่อไป สิ่งทั้งสองนั้นเจือด้วยธุลีคือราคะเป็นต้นแก่ผู้ทุรนทุรายใฝ่ใจอยากได้รับอยู่ สมณพราหมณ์ผู้มีสิกขาอันเป็นสาระ คือศีล วัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวง*อันเป็นสาระ นี้เป็นส่วนสุดที่ ๑ สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ‘โทษในกามไม่มี’ นี้เป็นส่วนสุดที่ ๒ ส่วนสุดทั้งสองนี้ มีแต่จะเพิ่มตัณหาและอวิชชาให้มากขึ้น ตัณหาและอวิชชาย่อมก่อให้เกิดความเห็นผิดมากขึ้น สมณพราหมณ์ทั้งหลายไม่รู้ส่วนสุดทั้งสองนั้น บางพวกก็จมติดอยู่ บางพวกก็แล่นไป ส่วนพระอริยะทั้งหลายได้รู้แจ้งส่วนสุดทั้งสองนั้น จึงไม่ตกไปในส่วนสุดทั้งสองนั้น และเพราะละส่วนสุดทั้งสองนั้นได้ จึงไม่สำคัญตนด้วยตัณหา ทิฏฐิ และมานะ ย่อมไม่มีวัฏฏะปรากฏ
.
*(บำบวง=บนบาน, บูชา, เซ่นสรวง)

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

หลักธรรมกำนัลสันติสุข : กลอนจรรโลงใจ



ดอก ว่านรวยไม่เลิก

ดอก ต้นวาสนา

ดอก ต้นหมากผู้หมากเมีย

หลักธรรมกำนัลสันติสุข : กลอนจรรโลงใจ


    อากาศ แปรปรวน รวนเรสรรพ........................(แต่)บุปผา (ยัง)บานประดับ (ต้อน)รับหน้าหนาว

บ่สน ฝน-แดด แผด(ร้อน)อบอ้าว....................ดูราว หนาว(ยัง)ไม่พร้อม มิยอมเยือน


    ความมี ศีลธรรม คือกรรมสัตย์........................สัจจา ปฏิบ้ติ มิคลาดเคลื่อน

(ถึง)เป้าหมาย ปลายทาง ปองลางเลือน..........(ยังคง)แน่วแน่ มิแชเชือน เตือนอุรา

 

    แม้โลก รอบกาย ไร้ศีลสัตย์...........................อัตคัด คุณธรรม ความรักษา

ปราศมิตร ปองสมัคร ร่วมมรรคา......................ก็ไม่ ไร้ศรัทธา ละล้าละลัง


    ศีลธรรม จำนง มั่นคงจิต................................คือวิถี ชีวิต บ่ผิดพลั้ง

ความดี มีเพียงพาล (ต่อ)ต้าน-ชิงชัง................(ส่วน)สาธุชน ล้นหลั่ง ตั้งจรดจอง


    ต่อเมื่อ เชื่อมั่น ในกรรม์กฎ............................(ประสบ)ชั่ว-ดี มิสลด หมดคับข้อง

มโนธรรม สำนึก หมั่นตรึกตรอง.......................ขจัด ความขัดข้อง ครรลองเธียร


    ปลอดโปร่ง โล่งฤทัย ในสุจริต.......................ศีลธรรม=อำมฤต สถิตเสถียร(อำมฤต=น้ำทิพย์)

หล่อหลอม หฤทัย ให้นวลเนียน......................พากเพียร ประพฤติ ยึดคลองธรรม์

 

    คติธรรม นำทาง สว่างถ่อง.............................แม้ต้อง ประสบ พบโศกศัลย์

ชำระ อนุสัย* ให้จาบัลย์..................................มุ่งหน้า ฝ่าฟัน(อุปสรรค) มิผันแปร


    หลักธรรม กำนัล สันติสุข...............................ทุกๆ นาที ไม่มีแพ้

สรรพรส โลกีย์ ที่หลากแล...............................เสมือนแค่ เศษเสี้ยว เมินเหลียวมองฯ


๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕


*อนุสัย=กิเลสที่แฝงตัวสงบนิ่งอยู่ในสันดาน

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ศีลธรรมคือเครื่องมือสานสัมพันธ์ : กาพย์ยานี๑๑






ศีลธรรมคือเครื่องมือสานสัมพันธ์ : กาพย์ยานี๑๑


    คบคน เพื่อผลประโยชน์...............................(มัก)ตั้งเป็นโจทย์ โปรดปรานเห็น

ทั่วทั้ง สังคมเป็น.........................................หลักปกติ มิเปลี่ยนแปร


    เพราะอาจ ขัดผลประโยชน์...........................จึงพาลโกรธ เกลียดแน่แท้

ทำลาย กันและกันแล...................................ไม่เว้นแม้ แต่(ร่วม)เผ่าพงศ์

 

    จัดเจน เห็นแก่ตัว.........................................รักเมามัว โลภ-ร้าย-หลง

ผุดประดัง ผู้ยังคง.........................................ประสงค์ผล ประโยชน์พันธ์


    ศีลธรรม(คือ) หลักล้ำเลิศ..............................ช่วยก่อเกิด มิตรภาพสรรค์

(ความ)ปราถนาดี มีให้กัน...............................มิยึดมั่น สำคัญตน(เป็นใหญ่)


    เอื้อเฟื้อ และเผื่อแผ่(แก่ผู้อื่น)........................บ่เห็นแก่ ประโยชน์ผล(ผลประโยชน์)

ว่างเว้น (ความ)เห็นแก่ตน...............................(จะหลุด)พ้นอุปสรรค รัก-ผูกพัน


    ซื่อสัตย์ สุจริต..............................................ธำรงจิต คิดกวดขัน

(เฉพาะคนวางใจ)ไว้ใจ ได้เท่านั้น....................จึงเชื่อมั่น สัมพันธ์มี

 

    จริงใจ ไร้มารยา............................................ปราศมุสา ประเสริฐศรี

(ช่วย)รักษา ความสามัคคี...............................ให้คงที่ นิรันดร


    ไม่เอา รัดเอาเปรียบ.......................................ไม่เหยียบย่ำ(จิตใจ) ทำ(ให้)เดือดร้อน

ใส่ใจ(กัน) ไม่(ต้องไป)ขอพร...........................สิ่งศักดิ์สิทธิ์ (หรือพึ่งพา)อิทธิฤทธิ์เลยฯ


๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕


*ศีลธรรม  [สีนทำ, สีนละทำ] น. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ศีลและธรรม, ธรรมในระดับศีล.

  แม่คำ ของ "ศีลธรรม" คือ     

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

เหลือบศาสนา : กลอนคติเตือนใจ






ภาพจาก Google

เหลือบศาสนา : กลอนคติเตือนใจ

    (เพิ่ง)เข้าไปดู กุฏิ พระผู้ใหญ่............................ช่างไฉไล หรูหรา ต้องตาฉัน

(เอา)เงินวัดวา มาสร้าง แทบทั้งนั้น....................ของใช้จัด คัดสรรค์ สิ่งอันดี(มีค่าราคาแพง)


    ทั้งห้องนอน ห้องครัว ห้องรับแขกฯลฯ...............มิต่างแตก ผิดแผกเหล่า ชาวบ้านชี้

โต๊ะกินข้าว ตู้เย็นฯลฯ* เห็นครบมี......................ทั้งนารี รับใช้ ให้บริการ(ยังมีหญิงรับใช้ด้วย)

 

    บ่ริษยา พระที่ มีความสุข(สบาย).......................แค่คิดฉุก(ฉุกคิด) ถูกต้อง คลองธรรมขาน?

นี่นะหรือ คือบวชเอื้อ เพื่อนิพพาน?...................อยู่(อย่าง)สำราญ เลิศล้ำ กามคุณ


    ชาวบ้านยัง (ต้อง)หาเช้า ข้าวกินค่ำ...................ตากแดด(หน้า)ดำ ทำงาน ดาลหัวหมุน

เงินที่หา มาได้(ยากลำบาก) ใคร่เจือจุน.............เนื้อนาบุญ พุทธศาสน์ ด้วยศรัทธา


    สอนชาวบ้าน ให้หมั่นละ ตัณหา-เกลศ...............พระผู้เทศน์(กลับ) ล้นกิเลส และตัณหา(เกลส=กิเลส)

ดวงฤดี มิตรงไป ไม่ตรงมา...............................ทำ(ตัว)เป็นเหลือบ ศาสนา แฝงหากิน


    ควรหรือปลง ส่งเสริมพระ พวกกาฝาก?..............กิเลส(ตัณหา)มาก กว่าเรา เมาถวิล

หลอกลวงโลก บกพร่อง ส้อง(เสพ)ราคิน...........แทนที่จะ (ทำมา)หากิน เช่นวิญญู

 

    นี่มิใช่ (พุทธ)ศาสนา เนื้อนาบุญ........................(หาก)แต่คือพาล มานสถุล หมกมุ่นสู่

โลก(แห่ง)โลกีย์ วิสัย อาลัย "กู"........................และ"ของกู" อยู่เสมอ ; อย่าเผลอใจ


    บริจาค ทำบุญ หนุนลวงหลอก..........................บำรุงพุทธ (ธะ)ศาสนาดอก (ขอ)บอกมิใช่

(พระที่)ประพฤติ ป ฏิบัตินำ นอกธรรมวินัย..........ย่อมเป็นภัย ทำลายพุทธ (ธะ)ศาสนาเอยฯ


๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕


*สิ่งอำนวยความสะดวกสบายมีครบครัน เหมือนคฤหาสน์เศรษฐี


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร
[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ
๑๐ ประการเป็นไฉน คือ 
บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๑ 
บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๑ 
บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า อากัปกิริยาอย่างอื่นอันเราควรทำมีอยู่ ๑ 
บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราย่อมติเตียนตนเองได้โดยศีลหรือไม่ ๑ 
บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว 
ติเตียนเราได้โดยศีลหรือไม่ ๑ 
บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑ 
บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราจักทำกรรมใด
ดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑ 
บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๑ 
บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราย่อมยินดีในเรือนว่างเปล่าหรือไม่ ๑ 
บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆว่า ญาณทัสนะวิเศษอันสามารถกำจัดกิเลส เป็นอริยะ 
คือ อุตริมนุสธรรมอันเราได้บรรลุแล้วมีอยู่หรือหนอ ที่เป็นเหตุให้เราผู้อันเพื่อนพรหมจรรย์ถามแล้ว
จักไม่เป็นผู้เก้อเขินในกาลภายหลัง ๑ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ฯ