๏ แมว(วัด)โดน หมาวัด รุมกัดตาย.......................เสียดาย เวลา ค่าอาหาร(เลี้ยงแต่เล็กจนโต)
หากคิด แคบๆ แบบชาวบ้าน.............................ป่วยการ เลี้ยง(แมววัด)ไป ทำไมมี?
๏ ต่อเมื่อ เชื่อกฎ บทบาทกรรม...........................ทำบุญ หนุนนำ ความสุขศรี
สิ่งที่ ทำไป ไม่ว่า(กรรม)ดี.................................หรือชั่ว ทั่วมี ผลปรี่ตาม(สนอง)
๏ ความตาย ไม่(ทำให้)สาบสูญ บุญประกอบ.........ความดี ความชอบ ขอบเขตข้าม-
ภพชาติ วาสนา ชะตางาม..................................ติดตาม ล้ำเลิศ ประเสริฐดล
๏ แม้ทำ ความดี (แล้ว)มีอุปสรรค.........................(จง)แน่นหนัก ผลักดัน การกุศล
บรรลุ อุระ นฤมล...............................................(คือ)เบี้องต้น ผลพาน ดาลประไพ(นฤมล=ปราศจากมลทิน)
๏ จิตที่ ดีงาม (เป็น)ความประเสริฐ........................ก่อเกิด เลิศล้ำ จำเริญให้
(เพราะ)จะชั่ว จะดี อยู่ที่ใจ(ตน)...........................หาใช่ ไปตาม คำเยินยอ(ของคนอื่น)
๏ ผลดี มีแน่ แม้ช้าหน่อย.....................................ทำ(ดี)บ่อย ค่อยทวี มิควรท้อ
มีโอกาส ทำดี อย่ารีรอ.......................................หมั่นทำ กรรม(ดี)ก่อ อย่าพอเพียง(ทำให้มากเท่าที่จะทำได้)
๏ เห็นใคร ทำชั่ว ไม่ได้ชั่ว....................................พึงกลัว มัวเมา เฝ้าหลีกเลี่ยง
เห็นใคร ได้ชั่ว อย่ามัวเมียง.................................โต้เถึยง ต้นเหตุ เจตนา(วิเคราะห์ผลกรรมไม่ใช่วิสัยปุถุชน)
๏ กฎ(แห่ง)กรรม ดำรง อย่าสงสัย..........................ไม่ใช่ มีแต่ แค่(ในคำสอนของ)ศาสนา
โลกมิ ตรงไป ไม่ตรงมา(ซ่อนเร้น).........................เป็นธรรมดา ปกติ วิสัยเอยฯ(ต้องหาความรู้เองทุกอย่าง)
๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ ๙ [๑๙] บุคคลพึงรีบทำความดี พึงห้ามจิตจากบาป เพราะเมื่อทำบุญ ช้าไป ใจย่อมยินดีในบาป หากบุรุษพึงทำบาปไซร้ ไม่พึง ทำบาปนั้นบ่อยๆ ไม่พึงทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการ สั่งสมบาปนำทุกข์มาให้ หากว่าบุรุษพึงทำบุญไซร้ พึงทำบุญ นั้นบ่อยๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญ นำสุขมาให้ แม้คนลามกย่อมเห็นความเจริญตราบเท่าที่บาป ยังไม่ให้ผล แต่เมื่อใดบาปย่อมให้ผล คนลามกจึงเห็นบาป เมื่อนั้น แม้คนเจริญก็ย่อมเห็นบาป ตราบเท่าที่ความเจริญ ยังไม่ให้ผล แต่เมื่อใดกรรมดีย่อมให้ผล เขาจึงเห็นความเจริญเมื่อนั้น
บุคคลอย่าพึงดูหมิ่นบาปว่า บาปมีประมาณน้อย [พอประมาณ] จักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาด น้ำที่ตกทีละหยาดๆ [ฉันใด] คนพาลสั่งสมบาปแม้ทีละ น้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาป [ฉันนั้น] บุคคลอย่าพึงดูหมิ่น บุญว่า บุญมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็ม ได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกทีละหยาดๆ นักปราชญ์สั่งสมบุญแม้ ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ
ภิกษุพึงเว้นบาปดุจพ่อค้ามีพวกน้อย มีทรัพย์มาก เว้นทางที่ควรกลัว ดุจบุรุษผู้ใคร่ ต่อชีวิตเว้นยาพิษ ฉะนั้น ถ้าที่ฝ่ามือไม่พึงมีแผลไซร้ บุคคลพึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ เพราะยาพิษย่อมไม่ซึมซาบ ฝ่ามือที่ไม่มีแผล บาปย่อมไม่มีแก่คนไม่ทำ ผู้ใดย่อม ประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้เป็นบุรุษหมดจด ไม่ มีกิเลสเครื่องยั่วยวน บาปย่อมกลับถึงผู้นั้นแหละ ผู้เป็นพาล ดุจธุลีละเอียดที่บุคคลซัดทวนลมไป ฉะนั้น
คนบางพวกย่อมเข้าถึงครรภ์ บางพวกมีกรรมอันลามก ย่อมเข้าถึงนรก ผู้ที่มีคติดีย่อมไปสู่สวรรค์ ผู้ที่ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน อากาศ ท่ามกลางสมุทร ช่องภูเขาอันเป็นที่เข้าไป ส่วนแห่ง แผ่นดินที่บุคคลสถิตอยู่แล้ว พึงพ้นจากกรรมอันลามกได้ ไม่มีเลย อากาศ ท่ามกลางสมุทร ช่องภูเขาอันเป็นที่เข้าไป ส่วนแห่งแผ่นดิน ที่บุคคลสถิตอยู่แล้ว มัจจุพึงครอบงำ ไม่ได้ ไม่มีเลย ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น