ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนและตรัสรู้ : กลอนคติธรรม


สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนและตรัสรู้ : กลอนคติธรรม


    (สิ่งที่)พระพุทธเจ้า สอนสั่ง ทั้งหมดไซร้.............รวมเรียก(่ว่า)ธรรม (มะ)วินัย พุทธศาสนา

เป็นหลักธรรม ที่พระองค์ ทรง(เล่า)เรียนมา........และ(ที่)พัฒนา ตรัสรู้(เอง) เคียงคู่กัน


    เรื่องบาป-บุญ-คุณ-โทษ ปรากฎก่อน.................กฎแห่งกรรม ธรรมากร อดีตสรรค์(ธรรมากร=ธรรม+อากร)

มโนธรรม-ความดี มีอนันต์................................แต่ก่อนครั้น พุทธกาล โบราณเนา


    เรื่องศีล-สมาธิ-สติ-ปัญญา...............................กรรมฐาน-ฌาน-ภาวนา ล้วนของเก่า

เรื่องนิพพาน-ภพชาติ สามารถเอา.....................ความรู้(ของ)เขา เล่าขาน นมนานเคียง

 

    แม้(แต่)สิ่งที่ พุทธองค์ ทรงตรัสรู้......................บางคำเคย มีอยู่ ดูเป็นเยี่ยง

เช่นกิเลส-ตัณหา-ไตรลักษณ์ฯลฯเพียง..............คิดเรียบเรียง ขึ้นใหม่ ให้พิสดาร(พิสดาร=กว้างขวาง,ละเอียด)


    อริย สัจ๔ จึงกำเนิด.........................................เป็นหลักธรรม ประเสริฐ เพริศพิศาล

(เป็น)คติธรรม พ้นทุกข์ ปลุกปฏิภาณ.................ขจัด(กิเลส)ตัณหา มุ่งนิพพาน อย่างชาญชัย

 

    มีอริยมรรค ๘ องค์ เป็นธงปัก............................ถือเป็นหลัก วิถี ชีวาศรัย(ศรัย=ที่พึ่งพิง,ที่อาศัย)

คือคำสอน ดุษฎี มิเหมือนใคร...........................เป็นศาสดา พระองค์ใหม่ ในสากล

 

    ทั้งคำสั่ง สอนพระ-ฆราวาส...............................ล้วนฉลาด รอบรู้ เป็นกุศล

ช่วยขจัด ความชั่ว ในตัวคน..............................ให้รอดพ้น บาปกรรม ความงมงาย


    สอดคล้องความ เป็นจริง แลสิ่งสัจ.....................พาชีวี ปีติสวัสดิ์ สมมาดหมาย

พุทธศาสนา ภาษิต วิจิตรพราย..........................(มี)ทั้งยาก-ง่าย ให้เพียร เรียนรู้เพลินฯ


๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔


*พระพุทธเจ้า คือคนธรรมดา ที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ หาใช่ผู้วิเศษ โลกนี้ไม่มีผู้วิเศษ.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[204] อริยสัจจ์ 4 (ความจริงอันประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ)
       1. ทุกข์ (ความทุกข์, สภาพที่ทนได้ยาก, สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง, ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์)
       2. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์, สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา)
       3. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป, ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกต้อง ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือนิพพาน)
       4. ทุกขนิโรธคามีนิปฏิปทา (ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง มรรคมีองค์ 8 นี้ สรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา)

       อริยสัจจ์ 4 นี้ เรียกกันสั้นๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค 

B.1.1.529 โควิดสายพันธุ์ใหม่ น่ากังวลแค่ไหน ? : วิเคราะห์สถานการณ์ต่างปร...

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ความดีไม่มีให้ซื้อ : กาพย์ยานี๑๑




ความดีไม่มีให้ซื้อ : กาพย์ยานี๑๑

    ค่ำลง เริ่มปลงกลิ่น...................................จรุงจินต์ ประทินหล้า

ลมหนาว เพราพัดพา............................หอมวาสนา ฟุ้งขจาย


    บุปผา ขจรกลิ่น........................................มิอาจผิน ย้อนลมสาย(สายลม)

ศีลธรรม ความดีพราย...........................จึงแพร่หลาย ท้าสายลม(พราย=พราว, พร้อย, วาว, เลื่อม)


    ความดี ไม่มี(ให้)ซื้อ..................................เพียงยึดถือ ทำสะสม

ศรัทธา ค่านิยม....................................อบรมใจ ใคร่ศีลธรรม

 

    เทิดทูน คุณความดี...................................ศีลธรรมมี สิ(เป็นสิ่ง)เลิศล้ำ

เรืองรอง เหนือทองคำ..........................ทรัพย์รวยร่ำ อำนาจใด(ๆ)


    ความดี มิอาจทำ......................................(เป็น)พินัยกรรม นำมอบให้

มรดก ยกแก่ใคร...................................ใครทำไว้ จึงได้ดี

 

    ชั่ว-ดี การปฏิบัติ.......................................มีผลถนัด (เป็น)สัจวิถี

ทำดี ย่อมได้ดี......................................ทำชั่วมี วิบากกรรม

 

    ทุกการ กระทำกิจ.....................................ทุจริต-สุจริตล้ำ

(ล้วน)มีผล ติด(ตาม)คนทำ.....................ข้ามภพชาติ มิคลาดคลา


    กรรมใด ในชาตินี้......................................อาจรอรี มี(ผล)ชาติหน้า

ตามกฎ(แห่งกรรม) กติกา.......................อย่าคิดว่า ไร้สาระเอยฯ


๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ความเท่าเทียมกัน คือความฝันในโลก : กาพย์ยานี๑๑




ความเท่าเทียมกัน คือความฝันในโลก : กาพย์ยานี๑๑

    เพาะดอก ดาวกระจาย...................................เมล็ดมากหลาย ขยายพันธุ์

แค่ครึ่ง หนึ่งเท่านั้น....................................ที่ถึงฝัน ทะยานใหญ่


    แม้เติบ โตเป็นต้น.........................................ยังผจญ แผกผลได้

บางต้น ก็โตไว...........................................บางต้นคล้าย คลึงแคระแกร็น


    ต้นใหญ่ ใบบังแสง........................................ต้นเล็กแข่ง ลำบากแสน

ต้นใหญ่ ยิ่งใหญ่ ; แทน-..............................ที่จะช่วย ด้วยต้นเยาว์

 

    ไม่ต่าง สังคมมนุษย์......................................ที่ชำรุด เรื่องเทียมเท่า(เท่าเทียม)

มือ(ใคร)ยาว สาวได้สาวเอา.........................อย่ามัวเฝ้า เศร้าเสียใจ


    บาป-บุญ ต้นทุนชีวิต.....................................(แต่ละคน)เท่าเทียมคิด กระทำไม่

(แค่)บางคน ที่สนใจ....................................แต่ส่วนใหญ่ ไม่นำพา

 

    ย่อมจะ ประสบผล.........................................ที่ต่างคน แตกต่าง(กัน)หนา

อย่ามัว โทษเทวดา.....................................หรือดินฟ้า ชะตาลิขิต

 

    เลิกเขลา หลงเมามัว.....................................ก่อกรรมชั่ว กลั้วชีวิต

เว้นละ(ละเว้น) การทุจริต.............................ขจัดความคิด พาลมิจฉา


    ไม่ต้อง มองดูเขา..........................................เปรียบ(เทียบ)กับเรา ใครเหนือกว่า?

เกิด-แก่-(เจ็บป่วย) แลมรณา........................ทรงสัจจา เสมอกันฯ


๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[308] มละ 9 (มลทิน)
       1. โกธะ (ความโกรธ)
       2. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีผู้อื่น)
       3. อิสสา (ความริษยา)
       4. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
       5. มายา (มารยา)
       6. สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, สาไถย)
       7. มุสาวาท (การพูดปด)
       8. ปาปิจฉา (ความปรารถนาลามก)
       9. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

คิดแบบคนจน-คิดแบบคนรวย : กลอนคติสอนใจ




คิดแบบคนจน-คิดแบบคนรวย : กลอนคติสอนใจ

    คิดแบบ คนจน....................................มิยอม อดทน แข็งขัน

อาชีวะ ประชัญ................................เฮฮา สนุกสนาน ฝันใฝ่

ปล่อยวาง ช่างมัน............................วันๆ (หาแค่)พอกิน พอใช้

บ่พอ ก็ไป.......................................กู้ยืม มาใช้ ไร้กังวล


    เงินเก็บ ไม่มี.......................................เพียงหนี้ เพิ่มพูน หนุนถนัด

สินค้า สารพัด..................................ประหวัด (อยาก)มี-ใช้ ไร้เหตุผล

เห็นเขา มีอะไร...................................ก็ต้อง มีไว้ ได้ด้วยคน

อยากรวย ล้นพ้น.................................แต่จน ปัญญา หาให้มี


    คิดแบบ คนรวย...................................เปี่ยมด้วย ความมุ มานะ

อุตสาห์ อาชีวะ.................................ไม่ทอด ธุระ ประเสริฐศรี

หา(เงิน)มาก กว่าใช้(เงิน)..................เก็บออม เอาไว้ ให้ทวี

จะยอม เป็นหนี้.................................(ก็)ต่อเมื่อ (ช่วยให้)ชีวี (มั่ง)มีเพิ่มพูน

 

    กิน-ใช้ ไม่ประมาท...............................(เผื่อ)วันข้าง หน้าอาจ ขัดสน

เงิน(เก็บออม)หนุน อุ่นกมล................ดอกผล (เพิ่ม)สะพัด ไม่ขาดสูญ

ช่วยเหลือ เผื่อแผ่.............................ให้แก่ สังคม สมบูรณ์

เมตตา อนาดูร..................................สั่งสม เสบียงบุญ จรูญใจ


    สติ ปัญญา..........................................มีไว้ ใช้หา (สิ่งที่เป็น)ประโยชน์

เว้นทำ สิ่งทรามโฉด.........................มิโปรด(ปราน) เรื่องสา ระไร้

ซื่อกิน บ่หมด...................................คดกิน บ่นาน บรรลัย

รอบคอบ สุขุมไว้..............................อย่าใคร่ สรวลเส เฮฮา

 

    (คน)จะจน จะรวย.................................เพราะด้วย ความคิด-ชีวิตใช้

อย่ามัว กราบไหว้.............................สิ่งศักดิ์ สิทธิ์ให้ พิทักษา

พระเจ้า ก็ด้วย..................................(จะ)ไม่ช่วย คนเขลา เบาปัญญา

(ใคร)เกียจคร้าน มารยา.....................แม้แต่ เทวดา ก็ผละไกลฯ


๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔


พูดง่ายๆ : คนจนจะตั้งอกตั้งใจใช้เงืน ส่วนคนรวยจะตั้งหน้าตั้งตาหาเงิน.

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ทำไมอุณหภูมิโลกไม่ควรเกิน 1.5 องศาฯ | ร้อยเรื่องรอบโลก EP131

คันฉ่องส่องใจ : กลอนสอนใจ



คันฉ่องส่องใจ : กลอนสอนใจ

    กระจกเงา เราส่อง (บ่อย)คล่องแค่ไหน?

เพื่อให้ ใบหน้า กายาเห็น

รูปงาม/ทรามชั่ว รู้ตัวเป็น

(จะได้)เคี่ยวเข็น เล่นกีฬา อาหารตรองฯลฯ


    จิตใจ ได้ดู อยู่หรือเปล่า?

ทราม/เลิศ เพริศเพรา? เกลาขัดต้อง?(ต้องขัดเกลา)

รู้จัก ใจตน มนช่ำชอง

คือธรรม์ ครรลอง ของพุทธา


    เสริมสวย ด้วยทรัพย์ พร้อมจับจ่าย

(เพื่อให้)รูปกาย ได้งาม ตามปรารถนา

ยอมเสีย เวล่ำ ย่ำเวลา

(ใช้)ชีวา สละให้ (เพื่อ)รูปไร้ทราม

 

    (ถาม)เคยเสีย สิ่งใด ในชีวิต?

เพื่อให้ ใจจิต พิสิฐหลาม

โฉด-คด ลดละ พยายาม

หักห้าม หัวใจ ห่างไกลบาปฯลฯ


    เพื่อรัก ษาศีล ยอมสิ้นผล-

ประโยชน์ โฉดฉล กระมลหลาบ

สุจริต คิดใคร่ ใฝ่หาลาภ

ชั่วหยาบ สาบเปลื้อง เฟื่องชีวัน

 

    ฝักใจ ให้ศรัทธา สมาธิ

ตั้งสติ สงบ ประสบสันติ์

เลิศล้ำ อำไพ มิไหวหวั่น

เกื้อหนุน คุณธรรม์ จรรยาคลอง

 

    อบรม จิตใจ ให้ประเสริฐ

บังเกิด สัมมา ปัญญาส้อง

ดำเนิน ชีวิต ชิดครรลอง

ถูกต้อง เที่ยงตรง คงกระพัน


    ลาภ-ยศ-สรรเสริญฯลฯ เพลิดเพลินจิต

ยามสิ้น ชีวิต ย่อมปิดกั้น

มิเหลือ เยื่อใย ในสัมพันธ์

(เพียง)บาป-บุญ เท่านั้น เกี่ยวพัน(ชาติหน้า)เอยฯ


๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

บัวในน้ำ-บัวพ้นน้ำ อีกหนึ่งความหมาย : กลอนคติธรรม




บัวในน้ำ-บัวพ้นน้ำ อีกหนึ่งความหมาย : กลอนคติธรรม

    ดอกบัว ทั้งหลาย เกิดในน้ำ

พึ่งพา อาศัยน้ำ เลี้ยงงามสวย

(ความ)บริบูรณ์ จุนเจือ เอื้ออำนวย

จึงช่วย พ้นน้ำ ล้ำเบ่งบาน


    คนเรา เติบใหญ่ ในสังคม

(ที่)ปลูกฝัง ค่านิยม อุดมสาน

(รู้สึก)เสมือนเป็น อัตตา นฤมาน(นฤมาณ=การสร้าง, การแปลง, การทำ)

พฤติกรรม์ บันดาล จวบวันวาย


    ดั่งบัว ไม่รู้(ตัว) อยู่ในน้ำ

ดื่มด่ำ ดุจอำมฤต จิตมั่นหมาย

คนมี ค่านิยม บ่มใจกาย

โดยหา(ได้) ระแคะระคาย กลไกมี

 

    เพียงดอก อุบล (ที่)โผล่พ้นน้ำ

บานล้ำ สัมฤทธิ์ พิสิฐศรี

ลางคน กระมลใส ไร้ราคี

ขจัดมี ค่านิยม โสมมเมา


    ปัญญา สติ พิเศษสรร

แลดู รู้ทัน การณ์โง่เขลา

สลัดหลุด ยุติ มิใจเบา

รื้อเหล่า สิ่งเขลาค้ำ นำชีวา

 

    (อะไร)ชั่วดี มิให้ ใครมาหลอก

กลิ้งกลอก บอกทราม ความมุสา

ด้วยความ โง่เขลา เบาปัญญา

ยัดเยียด กระโหลกกะลา ค่านิยม

 

    มิหยุด อุตส่าห์ หาความรู้

เป็นผู้ สุขุม ลุ่มลึกสม

(คำ)ติฉิน นินทา ไป่ปรารมภ์

ก้าวข้าม ความต่ำตม โง่งมงาย


    ดอกบัว ในน้ำ-โผล่พ้นน้ำ

ตรองตรึก ลึกล้ำ ซ่อนความหมาย

อย่าเป็น คนเขลา หลงเมามาย

มีชีวิต มักง่าย ไม่พัฒนาฯ


๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เคร่งเกินไปใครว่าดี : กาพย์ยานี๑๑






เคร่งเกินไปใครว่าดี : กาพย์ยานี๑๑

    ค่ำคืน อันชื้นเย็น..........................................กรองกลั่นเห็น เป็นน้ำค้าง

รุ่งเช้า ราวฟ้าสาง....................................เพราพรั่งงาม ตามบุษบา


    อรุณรุ่ง มุ่งฆ่าสัตว์........................................พิฆาตหมัด ให้แมวหมา

ปลุกเร้า คนเฒ่าชรา.................................ว่าโควิด(19) ใกล้ปิดเกม


    น้อมนำ กำลังใจ...........................................สุขอนามัย ให้เกษม

พักตร์พริ้ม พลอยอิ่มเอม...........................เปรมปรีดิ์ได้ เมื่อไม่สำคัญ-

 

    (รักษา)ศีลวัตร ล้นปัจจัย(จำเป็น)....................จะทำให้ ไร้สุขสันติ์

(การ)ธำรง คงชีวัน...................................อย่าเพ้อฝัน (ยึด)มั่นเกินไป


    สิ่งใด ไม่มีประโยชน์......................................หยุดปรานโปรด ลดหลงใหล

สิ่งที่ พามีภัย...........................................(จง)อยู่ห่างไกล ให้(ระมัด)ระวัง

 

    (การ)บำเพ็ญ(ตน) เป็นคนดี............................จะต้องมี สติรั้ง

แลอย่า เป็นบ้าเป็นหลัง.............................ฝากความหวัง หลังทำดี(เป็นบ้าเป็นหลัง=จริงจังจนเกินไป)

 

    (พึง)ทำดี เท่าที่(ทำ)ได้..................................ตามเงื่อนไข ในโลกนี้

เคร่ง(เกิน)ไป ใครว่าดี...............................สิได้ชั่ว อย่ามัวเมา


    ทำดี อย่างมิฉลาด.........................................กุศลปราศ ฉกาจเขลา

มองดู โลกของเรา....................................(แล้ว)เอาตัวรอด ปลอดภัยเทอญฯ


๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔