ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนและตรัสรู้ : กลอนคติธรรม


สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนและตรัสรู้ : กลอนคติธรรม


    (สิ่งที่)พระพุทธเจ้า สอนสั่ง ทั้งหมดไซร้.............รวมเรียก(่ว่า)ธรรม (มะ)วินัย พุทธศาสนา

เป็นหลักธรรม ที่พระองค์ ทรง(เล่า)เรียนมา........และ(ที่)พัฒนา ตรัสรู้(เอง) เคียงคู่กัน


    เรื่องบาป-บุญ-คุณ-โทษ ปรากฎก่อน.................กฎแห่งกรรม ธรรมากร อดีตสรรค์(ธรรมากร=ธรรม+อากร)

มโนธรรม-ความดี มีอนันต์................................แต่ก่อนครั้น พุทธกาล โบราณเนา


    เรื่องศีล-สมาธิ-สติ-ปัญญา...............................กรรมฐาน-ฌาน-ภาวนา ล้วนของเก่า

เรื่องนิพพาน-ภพชาติ สามารถเอา.....................ความรู้(ของ)เขา เล่าขาน นมนานเคียง

 

    แม้(แต่)สิ่งที่ พุทธองค์ ทรงตรัสรู้......................บางคำเคย มีอยู่ ดูเป็นเยี่ยง

เช่นกิเลส-ตัณหา-ไตรลักษณ์ฯลฯเพียง..............คิดเรียบเรียง ขึ้นใหม่ ให้พิสดาร(พิสดาร=กว้างขวาง,ละเอียด)


    อริย สัจ๔ จึงกำเนิด.........................................เป็นหลักธรรม ประเสริฐ เพริศพิศาล

(เป็น)คติธรรม พ้นทุกข์ ปลุกปฏิภาณ.................ขจัด(กิเลส)ตัณหา มุ่งนิพพาน อย่างชาญชัย

 

    มีอริยมรรค ๘ องค์ เป็นธงปัก............................ถือเป็นหลัก วิถี ชีวาศรัย(ศรัย=ที่พึ่งพิง,ที่อาศัย)

คือคำสอน ดุษฎี มิเหมือนใคร...........................เป็นศาสดา พระองค์ใหม่ ในสากล

 

    ทั้งคำสั่ง สอนพระ-ฆราวาส...............................ล้วนฉลาด รอบรู้ เป็นกุศล

ช่วยขจัด ความชั่ว ในตัวคน..............................ให้รอดพ้น บาปกรรม ความงมงาย


    สอดคล้องความ เป็นจริง แลสิ่งสัจ.....................พาชีวี ปีติสวัสดิ์ สมมาดหมาย

พุทธศาสนา ภาษิต วิจิตรพราย..........................(มี)ทั้งยาก-ง่าย ให้เพียร เรียนรู้เพลินฯ


๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔


*พระพุทธเจ้า คือคนธรรมดา ที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ หาใช่ผู้วิเศษ โลกนี้ไม่มีผู้วิเศษ.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[204] อริยสัจจ์ 4 (ความจริงอันประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ)
       1. ทุกข์ (ความทุกข์, สภาพที่ทนได้ยาก, สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง, ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์)
       2. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์, สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา)
       3. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป, ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกต้อง ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือนิพพาน)
       4. ทุกขนิโรธคามีนิปฏิปทา (ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง มรรคมีองค์ 8 นี้ สรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา)

       อริยสัจจ์ 4 นี้ เรียกกันสั้นๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น