ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

มากกว่าแค่ "วงจรชีวิต" : กาพย์ยานี๑๑


มากกว่าแค่ "วงจรชีวิต" : กาพย์ยานี๑๑


    (หาก)เจาะจง เพียง "วงจร............................ชีวิต" รอน ทอนแก่นสาร(เนื้อหาสาระ)

(ก็แค่)เกิด-แก่-(เจ็บ) แลวายปราณ................ลาญสลาย ไร้ตัวตน


    ชีวิต (ถ้า)คิด(อย่าง)หยาบๆ...........................ย่อมไม่ซาบ ซึ้งเหตุ-ผล

สงสาร(วัฏ) การเวียนวน...............................เกิดเป็นคน สัตว์ฯลฯวนเวียน

 

    (มี)อารมณ์ ความรู้สึก....................................จิตเบื้องลึก มิแปรเปลี่ยน

สัตว์-คน กระมลเคียน...................................บ่ผิดเพี้ยน เนียนคล้ายคลึง(เคียน=พัน, คาด)


    (มี)ความรัก ความผูกพัน................................กันและกัน หมั่นคิดถึง

(มีความ)นึกคิด จิตคะนึง...............................ซึ่งกิจกรรม(ที่อยากทำ) ความหวังมี


    (เมื่อ)ประสบ พบเหตุการณ์............................ดลบันดาล มานสุขี

หรือทุกข์ ใจคลุกคลี.....................................ดวงฤดี อยู่มิคลาย


    (ได้รับการ)กระทบ กระเทือนกมล...................อยู่จวบจน ชนม์สลาย

สู่กระแส แวะเวียนว่าย...................................กำเนิดใหม่ ในวัฏฏา

 

    (ตาม)ผลสนอง ครรลองธรรม.........................กฎแห่งกรรม นำไปหา

พบพาน การณ์นานา......................................เสมอมี ที่เคยดล(ทำไว้ในอดีต)

 

    (มุมมอง)ชีวิต วินิจฉัย....................................เป็นปัจจัย ในเหตุผล

(การ)กระทำ กรรมของคน...............................ต่อตัวตน (และ)คนอื่นเอย


๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ธรรมะจะคงอยู่คู่กาลเวลา : กลอนคติสอนใจ




ผู้เขียนมั่นใจว่า ถ้าเลิกให้เงินพระ-วัด ข่าวเหลือบศาสนาพุทธจะหมดไป
เพราะธรรมวินัยนี้ไม่มีทรัพย์สินอะไรให้หากินได้

ธรรมะจะคงอยู่คู่กาลเวลา : กลอนคติสอนใจ


    (คำว่า)กิเลส ตัณหา อุปาทานฯลฯ........................เนิ่นนาน บัญญัติ ก่อน(พุทธ)ศาสน์สมัย

นักปราชญ์(ในอดีต) รู้ซึ้ง ก้นบึ้งใจ....................ของสัตว์ ทั้งหลาย ในโลกีย์


    (ความมี)ราคะ โทะ โมหะฯลฯไซร้.........................ปัจุบัน ยังไม่ ไคลวิถี

(คนจะ)ใช้ฟืน ใช้ไฟ(ฟ้า) หาได้มี......................ดวงฤดี แตกต่าง อย่างเดียวกัน

 

    ธรรมะ จึงอยู่ คู่กาลเวลา......................................เพราะเป็น สัจจา หาแปรผัน

มนุษย์ ทุกยุค ทุกชาติพันธุ์...............................(มีลักษณะ)ตรงตาม หลักธรรม์ อันธรรมดา


    (ฐานะ)รวย-จน คนไซร้ ไร้แตกต่าง.......................อยู่ห่าง (หรืออยู่)กลางสถาน การศึกษา

บ่เคย ได้ยิน หรือชินชา.....................................(คำว่า)กิเลส ตัณหา เสมอมี(มีเหมือนกัน)


    ผู้ไม่ ถือตาม หลักธรรมะ.....................................ย่อมจะ ยากไร้ ไคลสุขี

ส่วนผู้ ประพฤติ ยึดความดี.................................ย่อมมี คติสุข สิ้นทุกข์ตรม


    ไม่ใช่ ชอบอวด ว่าบวชเรียน................................เป็นเปรียญ กี่ประโยค ก็โศกสม

หากดี แค่เทศน์-ท่อง คล่องคารม.......................แต่นิยม ชมชั่ว มั่วราคิน

 

    (ถึง)ไม่ได้เรียน บาลี ถ้ามีธรรม.............................เป็นเครื่อง เปลื้องกรรม คำติฉิน

ทำดี ด้วยฤดี ที่ประทิน.......................................(ย่อม)ได้ดี ชีวิน ไร้ภินท์พา

(ประทิน=ทำให้สะอาดหมดจด , ภินท์=แตกหัก,ทำลาย)

 

    ธรรมะ (คือสิ่ง)ประเสริฐ เลอเลิศทรัพย์...................ผู้สดับ รับไว้ (จะ)ไร้กังขา

ส่วนคน ขาดสติ อวิชา........................................(ชอบ)ใช้ธรรมะ หากิน ปลิ้นปล้อนเอย


๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

กามฉันทะละวางเป็นทางประเสริฐ : กลอนคติธรรม





กามฉันทะละวางเป็นทางประเสริฐ : กลอนคติธรรม


    หมู่ผกา หน้าหนาว พราวผุดผ่อง........................แข่งแสงเงิน แสงทอง ครองสีสัน

ประเชิญโชค โรคแมลง แปลงชีวัน....................สวนดอกไม้ (หา)ใช่สวรรค์ ดั่ง(กวี)พรรณนา


    อุปกา ะแมวจร จนอ่อนจิต................................ยงชีวิต ให้อยู่รอด (เป็น)ยอดปัญหา

เดี๋ยวประสบ ป่วยไข้ วายชีวา............................ค่ารักษา(โรค) อาหาร บานตะไท(เสียเวลามาก)

 

    เศรษฐกิจ อิดหนา ค่าครองชีพ...........................คนปากกัด ตีนถีบ (ความหวัง)ริบหรี่ไฉน

(แม้)กระทั่งเศรษ ฐียัง กังวลใจ.........................ยอดรายได้ หายหด (ต้อง)ปลดคนงาน


    (การ)มีชีวิต คิดให้ดี มิใช่อื่น...............................ธรรมชาติผืน พสุธา ปราศปาฏิหาริย์

หากจะมี พิภพใด ในจักรวาล............................บ่แคล้วพาน ปัญหา(นานา) เป็นอาจิณ


    เพียงกามคุณ หนุนนำ ความสุขี...........................ชวนอยากมี ชีวิต เฉกนิจสิน

กลัวความตาย คล้ายวิกล จนเคยชิน..................หวงชีวิน (ดุจ)หินหุ้มไข่(ไข่ในหิน) ความหมายมอง


    (แท้จริง)การเวียนว่าย ตายเกิด ประเสริฐไม่..........(การ)มีร่างกาย หนีไม่พ้น วังวนสนอง

สงสารวัฏ (ฏะ)จักรไซร้ ไร้เรืองรอง.....................คือครรลอง ของไตรลักษณ์ ประจักษ์เจน

 

    กามคุณ ก็ไม่เที่ยง เมียงมองเถิด.........................มี(การ)เวียนว่าย ตายเกิด(เกิด-ดับ) เลอเลิศเร้น

การได้(กามคุณ)มา มีอุปสรรค ยากใช่เล่น...........สมควร(ละ)เว้น รักเอ็นดู ชูเชิดชัย

 

    กามฉันทะ ละวาง เป็นทางประเสริฐ......................ตัดต้นสาย อยาก(เวียนว่าย)ตายเกิด เลยเถิดได้

(มีแต่)อริยะ บุคคล จึงสนใจ...............................พากเพียรให้ ไม่(เวียนว่าย)ตายเกิด บรรเจิดเอย


๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖


*พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕

อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
กามคุณสูตร
[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละ กามคุณ ๕ ประการนี้แล ฯ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ภพ 3 (ภาวะชีวิตของสัตว์, โลกเป็นที่อยู่ของสัตว์)
       1. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร, ภพของสัตว์ผู้ยังเสวยกามคุณคืออารมณ์ทางอินทรีย์ทั้ง 5 ได้แก่ อบาย 4 มนุษยโลก และกามาวจรสวรรค์ทั้ง 6)
       2. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงรูปฌาน ได้แก่ รูปพรหมทั้ง 16 )
       3. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน ได้แก่ อรูปพรหม 4)

หมายเหตุของผู้เขียน : 
ปุถุชนคนทั่วไป ย่อมติดใจ-มีความสุขกับกามคุณ๕ 
กามคุณ๕ เป็นปัจจัยแห่งความสุขในกามภพ 
การขาด-ลดละกามคุณ๕ ทำให้เกิดความทุกข์ 
แนวทางพ้นทุกข์ของคนทั่วไปจึงแตกต่างจากวิถีของพุทธศาสนา.