๏ (คำว่า)กิเลส ตัณหา อุปาทานฯลฯ........................เนิ่นนาน บัญญัติ ก่อน(พุทธ)ศาสน์สมัย
นักปราชญ์(ในอดีต) รู้ซึ้ง ก้นบึ้งใจ....................ของสัตว์ ทั้งหลาย ในโลกีย์
๏ (ความมี)ราคะ โทะ โมหะฯลฯไซร้.........................ปัจุบัน ยังไม่ ไคลวิถี
(คนจะ)ใช้ฟืน ใช้ไฟ(ฟ้า) หาได้มี......................ดวงฤดี แตกต่าง อย่างเดียวกัน
๏ ธรรมะ จึงอยู่ คู่กาลเวลา......................................เพราะเป็น สัจจา หาแปรผัน
มนุษย์ ทุกยุค ทุกชาติพันธุ์...............................(มีลักษณะ)ตรงตาม หลักธรรม์ อันธรรมดา
๏ (ฐานะ)รวย-จน คนไซร้ ไร้แตกต่าง.......................อยู่ห่าง (หรืออยู่)กลางสถาน การศึกษา
บ่เคย ได้ยิน หรือชินชา.....................................(คำว่า)กิเลส ตัณหา เสมอมี(มีเหมือนกัน)
๏ ผู้ไม่ ถือตาม หลักธรรมะ.....................................ย่อมจะ ยากไร้ ไคลสุขี
ส่วนผู้ ประพฤติ ยึดความดี.................................ย่อมมี คติสุข สิ้นทุกข์ตรม
๏ ไม่ใช่ ชอบอวด ว่าบวชเรียน................................เป็นเปรียญ กี่ประโยค ก็โศกสม
หากดี แค่เทศน์-ท่อง คล่องคารม.......................แต่นิยม ชมชั่ว มั่วราคิน
๏ (ถึง)ไม่ได้เรียน บาลี ถ้ามีธรรม.............................เป็นเครื่อง เปลื้องกรรม คำติฉิน
ทำดี ด้วยฤดี ที่ประทิน.......................................(ย่อม)ได้ดี ชีวิน ไร้ภินท์พา
(ประทิน=ทำให้สะอาดหมดจด , ภินท์=แตกหัก,ทำลาย)
๏ ธรรมะ (คือสิ่ง)ประเสริฐ เลอเลิศทรัพย์...................ผู้สดับ รับไว้ (จะ)ไร้กังขา
ส่วนคน ขาดสติ อวิชา........................................(ชอบ)ใช้ธรรมะ หากิน ปลิ้นปล้อนเอยฯ
๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น