๏ พ่อแม่ แลคือพรหม...............................(เป็น)ค่านิยม อุดมคติ
"พรหมวิหาร(๔)" อันสุทธิ......................เกิดตำหนิ (เพราะ)กิเลสตัณหา(สุทธิ=สะอาด, บริสุทธิ์)
๏ (ผู้ใหญ่มัก)สั่งสอน ให้ลูกหลาน..............ยึดมั่นการ กตัญญุตา
(แต่)โลกนี้ มีปัญหา..............................เรื่อง(การทำตาม)หน้าที่ และศีลธรรม
๏ ใครแล เห็นแก่ตัว.................................หลักดี-ชั่ว หัวใจต่ำ(มีน้อยนิด)
ชีวิต ก่อกิจกรรม..................................มักมืดดำ เป็นธรรมดา
๏ ทำอะไร มุ่งหมายผล-............................ประโยชน์(ส่วน)ตน ล้นตัณหา
เรียกร้อง ต่างๆนานา(จากคนอื่น)...........(แต่)มินำพา หน้าที่ตัว(เอง)
๏ ผู้ใด ไร้ศีลธรรม....................................(ย่อม)มิกระทำ ตาม(หลัก)ดี-ชั่ว
สร้างภัย ให้ครอบครัว..........................โดยไม่กลัว เกรงบาปกรรม
๏ ครอบครัว จึงมัวหมอง...........................มิสนอง สิ่งเลิศล้ำ
แตกแยก แหลกระยำ...........................ระกำสู่ อยู่ร่ำไป
๏ (คน)บ่รู้ดี มิรู้ชอบ(ความถูกต้อง).............ริสร้างครอบ ครัว(หา)ควรไม่
(เพราะ)รังแต่ สิแพร่ภัย.........................ให้สังคม โสมมมี
๏ บุคคล หาได้ยาก(๒).............................หลักธรรมฝาก โลกวิถี
ขาดแคลน บุพการี................................กตเวที กตัญญูฯ
๒๓ มีนาคม ๒๕๖๕
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๗. สพรหมกสูตร๑- ว่าด้วยมารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร [๑๐๖] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่า มีพรหม บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีบุรพเทพ บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีบุรพาจารย์ บุตรของ สกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีอาหุไนยบุคคล ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหม นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า บุรพเทพ นี้เป็น ชื่อของมารดาบิดา คำว่า บุรพาจารย์ นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า อาหุไนย- บุคคล นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา๒- ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดาเป็นผู้มี อุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์ประชา ท่านเรียกว่าพรหม บุรพเทพ บุรพาจารย์ และอาหุไนยบุคคลของบุตรทั้งหลาย
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
บุคคลหาได้ยาก 2
1. บุพการี (ผู้ทำความดีหรือทำประโยชน์ให้แต่ต้นโดยไม่ต้องคอยคิดถึงผลตอบแทน)
2. กตัญญูกตเวที (ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน, ผู้รู้จักคุณค่าแห่งการกระทำดีของผู้อื่น และแสดงออกเพื่อบูชาความดีนั้น)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น