ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2564

กิเลสกั้น ปิดตัณหา : กลอนจรรโลงใจ




กิเลสกั้น ปิดตัณหา : กลอนจรรโลงใจ

    (ทุ่ง)นาคอยน้ำ มาตามฤดู..............................................ฝนพรั่งพรู เหมือนสู่ขวัญ

ราวสุมอก (ฝน)ตกทั้งวัน.............................................หยาดฝนสรรค์ เสียงพรรณนา


    นกเขานิ่ง เกาะกิ่งไม้.....................................................ฝนทำให้ เลิกใฝ่หา

กินประทัง ยังชีวา......................................................หยุดเวลา สรรพกิจกรรม


    แต่คนไซร้ ไม่หยุดนิ่ง...................................................."อยาก"ทุกสิ่ง ยิ่งขึ้น(ด้วย)ซ้ำ

คอยโลภเร้า เช้ายันค่ำ...............................................เพื่อดื่มด่ำ (ทำ)ตามใจตน

 

    ความอยากผอง ของมนุษย์...........................................หาสิ้นสุด ดุจสายฝน(ฝนยังหยุดตก)

(เชี่ยว)กรากเกินแม้ กระแสชล....................................พัดกระมล ทุรนทุราย


    เอาเวลา มาทำเรื่อง......................................................ไม่เป็นเรื่อง เฟื่องขวนขวาย

สิ่งดีๆ มีมากมาย.......................................................(กลับ) บ่ ระคาย จูงใจคน


    ทุกยามที่ เกิดกิเลส......................................................ย่อมปฏิเสธ ซึ่งเหตุผล(ที่ถูกต้อง)

เมื่อตัณหา มาครองมน...............................................หลักกุศล เลิกสนใจ

 

    กิเลสกั้น ปิดตัณหา......................................................สางอุรา สะอาดใส

ความคิดอ่าน ทำการใด...........................................พ้นเภทภัย อกุศลกรรม


    (การ)ป้องกัน(ทำชั่ว)ง่าย กว่าไป(ตาม)แก้......................คอยดูแล เช้ายันค่ำ

ใจระคน กุศลธรรม..................................................ไม่ล่วงล้ำ ทำชั่ว*เอยฯ


๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๔


*เมื่อไม่ทำชั่ว ก็ไม่ต้องกลัวจะได้ชั่ว.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น