ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565

การทำดีก็มีอุปสรรคได้ : กลอนคติสอนใจ



การทำดีก็มีอุปสรรคได้ : กลอนคติสอนใจ

    แมงมุม ฟูมฟัก ถักทอใย...............................ละเมียด ละไม ใจสร้างสรรค์

อุปสรรค หนัก-เบา เฝ้าฝ่าฟัน.......................(สอด)รับครร ลองหล้า พยายาม


    การทำ ความดี (ก็)มีอุปสรรค(ได้)..................เบา-หนัก ยาก-ง่าย ให้เพียรข้าม

โดยเฉพาะ โลกนี้ มีคนทราม........................เหยียดหยาม ความดี-คนดีพาล

 

    ทำดี มิแคล้ว แน่ว(แน่)เสียสละ.....................อุระ จะต้อง จ้องอาจหาญ

บ่เห็น แก่ตัว บ่กลัวการ................................รำคาญ ลำบาก เหนื่อยยากมี


    อุปสรรค สำคัญ คือมานหม่น........................มิอดทน ย่นย่อ ต่อวิถี

ทำดี ทำไม ไม่ได้ดี?...................................ทันที ทันใด ที่ได้ทำฯลฯ


    การทำ ความดี ที่ถูกต้อง..............................อย่าจ้อง หาผล ล้นเลิศล้ำ

อยากทำ(ดีแล้วได้) กำไร=ใจระยำ................ใจดำ ทำดี มีแผนการ(หวังผลประโยชน์ตอบแทน)


    ทำดี มิควร ด่วนหวังผล................................(อยาก)เห็นผล ทันตา (หรือหวัง)ปาฏิหาริย์

ทำน้อย ได้มาก คิดดักดาน...........................(บางคน)ฝืนใจ ให้ทาน สวรรค์ปอง

 

    เชื่อกฎ แห่งกรรม (หมั่น)ทำดีเถิด..................บรรเจิด เพริศผล ดลสนอง

เร็ว-ช้า ก็ช่าง ปล่อยวางตรอง........................ไม่จ้อง ข้องใจ ในสัจจา


    ใครจะ ชิงชัง ก็ช่างเขา.................................อย่าเอา ใจใส่ ใครริษยา

(เมื่อ)ทำดี มิใช่ หมายเอาหน้า.......................ใครไม่ เห็นค่า อย่าท้อเทอญฯ


๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๕


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องวัตถุ ๕ ประการ
             [๓๘๓] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกตโมรกติส-
*สกะ พระขัณฑเทวีบุตร พระสมุททัตตะ แล้วได้กล่าวว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย
พวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้
แล้ว
             พระโกกาลิกะได้กล่าวว่า พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
พวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมอย่างไรได้
             พระเทวทัตกล่าวว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระสมณ-
*โคดม แล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณแห่งความเป็นผู้
มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่
สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอด
ชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือ
ผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุ
ทั้งหลายพึงถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูปนั้นพึงต้อง-
*โทษ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้น
พึงต้องโทษ พระสมณโคดมจักไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ แต่พวกเรานั้น
จักให้ประชาชนเชื่อถือวัตถุ ๕ ประการนี้
             พระโกกาลิกะกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราสามารถเพื่อทำสังฆเภท
จักรเภท แก่พระสมณโคดมด้วยวัตถุ ๕ ประการนี้แน่ เพราะมนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใส
ในความปฏิบัติเศร้าหมอง ฯ
ทูลขอวัตถุ ๕ ประการ
[๓๘๔] ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุ ทั้งหลายพึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูป นั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและ เนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า อย่าเลย เทวทัต ภิกษุใดปรารถนา ภิกษุนั้น จงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงอยู่ในบ้าน รูปใดปรารถนา จงถือ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงยินดีกิจนิมนต์ รูปใดปรารถนา จง ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร เราอนุญาตโคนไม้เป็น เสนาสนะ ๘ เดือน เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ ครั้งนั้น พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต วัตถุ ๕ ประการ นี้ จึงร่าเริงดีใจพร้อมกับบริษัทลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำ ประทักษิณ แล้วกลับไป ฯ
โฆษณาวัตถุ ๕ ประการ
[๓๘๕] ต่อมา พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์แล้ว ประกาศให้ประชาชนเข้าใจวัตถุ ๕ ประการว่า ท่านทั้งหลาย พวกอาตมาเข้าไปเฝ้า พระสมณโคดมทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณ แห่งความเป็นผู้มักน้อย ... การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ... การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่ ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ... ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ วัตถุ ๕ ประการนี้ พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาต แต่พวกอาตมาสมาทานประพฤติตาม วัตถุ ๕ ประการนี้ ฯ [๓๘๖] บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไร้ปัญญา กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้กำจัด มีความ ประพฤติขัดเกลา ส่วนพระสมณโคดมประพฤติมักมาก ย่อมคิดเพื่อความมักมาก ส่วนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา ย่อมเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตจึงได้พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตจึงได้พยายามเพื่อทำ ลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามว่า ดูกรเทวทัต ข่าวว่า เธอพยายาม เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักร จริงหรือ พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลย เทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ เพราะการทำลายสงฆ์มีโทษหนักนัก ผู้ใดทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันย่อมประสพ- *โทษตั้งกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ส่วนผู้ใดสมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อม เพรียงกัน ย่อมประสพบุญอันประเสริฐ ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป อย่า เลย เทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย เพราะการทำลายสงฆ์มีโทษ หนักนัก ฯ [๓๘๗] ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งอันตรวาสก ถือบาตร จีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตได้พบท่านพระอานนท์กำลังเที่ยว- *บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วได้กล่าวว่า ท่าน อานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจักทำอุโบสถ จักทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มี พระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์ ครั้นท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ แล้ว เวลาปัจฉาภัตร กลับจากบิณฑบาตเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วจึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเช้านี้ ข้าพระพุทธเจ้านุ่งอันตรวาสก ถือบาตร และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบข้าพระพุทธเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ แล้วเข้ามาหา ข้าพระพุทธเจ้า ครั้นแล้วกล่าวว่า ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจักทำ อุโบสถ จักทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์ วันนี้ พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานในเวลา นั้น ว่าดังนี้:- [๓๘๘] ความดี คนดีทำง่าย ความดี คนชั่วทำยาก
                        ความชั่ว คนชั่วทำง่าย แต่อารยชน ทำความชั่วได้ยาก ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น