๏ นคระ อบายมุข เรียกถูกแล้ว........................................มิประเสริฐ เพริศแพร้ว แน่วพุทธผล
เพียง(แค่)หมั่นสร้าง วัดวา(มากมาย) สาละวน...............เพื่อหวังดล ผลบุญ หนุนชีวี
๏ ชนนิยม ชมชื่นพระ (จอม)ขมังเวท................................ธรรมวินัย หาใช่เหตุ วิเศษศรี
ไสยศาสตร์ ศรัทธา บูชาพลี........................................ทั้งผู้ดี-นาย-ไพร่ ใคร่อภิรมย์
๏ หลงมัวเมา เหล้า-ยา(เสพย์ติด) การพนัน.......................แม้แต่พระ ยังขยัน เสพสรรสม
เที่ยวกลางคืน รื่นราตรี ยอดนิยม..................................คนชั่วชม ยกย่อง ก้องพารา(เป็นไอดอล)
๏ อบายมุข ผูกพัน ดันเศรษฐกิจ(ชาติ).............................ถูกจริต (แต่)ผิดพลาด หลักศาสนา(พุทธ)
หลงโลกีย์ วิสัย ใคร่เงินตรา.........................................(ส่ง)เสริมวัดวา สนับสนุน ทุนนิยม(หาเงิน)
๏ เชิดโลกธรรม ค้ำชู คู่ชีวิต............................................(ยัง)ไม่วิกฤติ เหมือน(ยก)อบาย(มุข) ภัยเถื่อนถม
เอา(อบายมุข)มาเป็น จุดขาย=ใจโสมม.........................เสมือนว่า อาจม (ยกขึ้นเป็น)อุดมการณ์
๏ บ้านเมืองมี แหล่งสุรา ยาเสพย์ติด................................การพนัน กามพณิชย์ ทั่วทิศพล่าน
(เมื่อ)อบายมุข รุกคืบ สืบสันดาน(ประชา)......................ความคิดอ่าน ของคน ท่วมมลทิน
๏ วิปริต (เห็น)ผิดเป็นถูก (เห็น)ถูกเป็นผิด.........................บ่ยอมหยุด ทุจริต เป็นนิจสิน
การคดโกง โจ๋งครึ่ม ซึบซาบ(แผ่น)ดิน...........................เป็นธรรมดา(ปกติ) ชาชิน (กลายเป็น)วัฒนธรรม(ไทย)
๏ อยากจะเป็น เมืองพุทธ (ต้อง)หยุดทำผิด(ศีลธรรม)........เลือกสัมมา(ปฏิบัติ) สุจริต พิสิฐล้ำ
(เชื่อ)การทำดี ย่อมได้ดี ไม่มี(เวร)กรรม..........................อบายมุข ไม่ทำ ให้ร่ำรวยฯ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๕
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๘. สิงคาลกสูตร ว่าด้วยสิงคาลกมาณพ ......พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร อริยสาวกละกรรมกิเลส(กรรมเครื่อง เศร้าหมอง) ๔ ประการได้แล้ว ไม่ทำบาปกรรมโดยเหตุ ๔ ประการ และไม่ข้องแวะ อบายมุข(ทางเสื่อม) ๖ ประการ แห่งโภคะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นเป็นผู้ปราศจาก บาปกรรม ๑๔ ประการนี้แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ปิดป้องทิศ๑- ๖ ปฏิบัติเพื่อครองโลก ทั้งสอง ทำให้เกิดความยินดีทั้งโลกนี้และโลกหน้า หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิด ในสุคติโลกสวรรค์กรรมกิเลส ๔ [๒๔๕] กรรมกิเลส ๔ ประการที่อริยสาวกละได้แล้ว อะไรบ้าง คือ ๑. กรรมกิเลสคือปาณาติบาต ๒. กรรมกิเลสคืออทินนาทาน ๓. กรรมกิเลสคือกาเมสุมิจฉาจาร ๔. กรรมกิเลสคือมุสาวาท กรรมกิเลส ๔ ประการนี้ ที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว”พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า “การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การล่วงละเมิดภรรยาผู้อื่น และการพูดเท็จ เรียกว่า เป็นกรรมกิเลส บัณฑิตทั้งหลายไม่สรรเสริญ”เหตุ ๔ ประการ [๒๔๖] อริยสาวกไม่ทำบาปกรรมโดยเหตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ปุถุชน ๑. ย่อมถึงฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรัก) ทำบาปกรรม ๒. ย่อมถึงโทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง) ทำบาปกรรม ๓. ย่อมถึงโมหาคติ (ลำเอียงเพราะเขลา) ทำบาปกรรม ๔. ย่อมถึงภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว) ทำบาปกรรม ส่วนอริยสาวก ๑. ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ๒. ย่อมไม่ถึงโทสาคติ ๓. ย่อมไม่ถึงโมหาคติ ๔. ย่อมไม่ถึงภยาคติ อริยสาวกย่อมไม่ทำบาปกรรม โดยเหตุ ๔ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า “บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อมเหมือนดวงจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น บุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อมเจริญ เหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น”๑-อบายมุข ๖ ประการ [๒๔๗] อริยสาวกไม่ข้องแวะอบายมุข ๖ ประการ แห่งโภคะทั้งหลาย อะไรบ้าง คือ ๑. การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง ความประมาท เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย ๒. การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลากลางคืน เป็น อบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย ๓. การเที่ยวดูมหรสพ เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย ๔. การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็น อบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย ๕. การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย ๖. การหมกมุ่นในความเกียจคร้าน เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย.....ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น