๏ กฎแห่งกรรม คือธรรมชาติ...........................................มีอำนาจ เหนือสัตว์ทั้งหลาย
เทพ-มาร-พรหมฯลฯ ต่างก้มกาย..............................อยู่ภายใต้ กฎแห่งกรรม
๏ อโหสิกรรม=(กรรมที่)มิให้ผล.......................................ไม่(ตั้ง)อยู่บน เหตุผลล้ำ
"ทำ(กรรม)อะไร (ย่อม)ได้เท่าทำ(ไว้)"......................ยืนหยัดย้ำ ค้ำแผ่นดิน
๏ บ่ว่าใคร ในพื้นพิภพ....................................................บ่อาจหลบ เลี่ยง(เวร)กรรมผิน(คืนสนอง)
คือสัจจา คู่อาจิณ...................................................แม้โลกภินท์ สิ้นพิมาน
๏ วนเวียนว่าย ตาย➡เกิด➡แก่(➡ตายฯลฯ)................ปราศข้อแม้ แปร(เปลี่ยน)สงสาร(วัฏ)
เพราะมี(เวร)กรรม ตามบันดาล.................................ให้พบพาน ผลกลับคืน(สนอง)
๏ ถ้าหากใคร ไม่อยาก(เป็น)ทุกข์....................................ใคร่เปี่ยมสุข สนุกระรื่น
(ก็จง)อย่าทำบาป หยาบช้ายืน..................................แม้(ต้องทน)กล้ำกลืน ฝืนจิตใจ
๏ ธรรมชาติ ปราศลำเอียง...............................................พึงหลีกเลี่ยง พยาบาทใคร่
ถูกเขาทำ(บาป) ชอกช้ำฤทัย....................................จงอภัย=ไม่จองเวร(ไม่ทำบาปตอบโต้)
๏ ปล่อย(ให้เป็น)บาทบท กฎแห่งกรรม.............................หน้าที่ทำ นำทุกข์เข็ญ
ติดตามคน(ทำบาป) ประจญเป็น................................ดั่งเฉกเช่น กระทำ(กับคนอื่น)มา
๏ คงคิดว่า จะกำไร........................................................จึงตั้งใจ ใฝ่หยาบช้า
เมื่อเวรกรรม ตามทันตา...........................................(ต่อให้)หนีสุดหล้า หาพ้นเอยฯ
๗ ตุลาคม ๒๕๖๕
กรรมสูตรที่ ๑ [๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่ง กรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล อันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมเวทนียะ) ในอัตภาพถัดไป (อุปปัชชเวทนียะ) หรือในอัตภาพต่อๆ ไป (อปราปรเวทนียะ) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์ แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ในข้อนั้น ความวิบัติอันเป็นโทษแห่ง การงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์ เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจ เป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่ง การงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์ เป็นวิบาก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นแห่งโทษการงานทางกาย ๓ อย่าง มี ความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ผู้หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิตทั้งปวง ๑ เป็นผู้ลักทรัพย์ คือถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้าน หรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา ผู้มีสามี ผู้มีอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีผู้มีบุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ วิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์ เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ
......
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทาง วาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็น โทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ฯ.....ฯลฯ.....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น