กิเลสกาล : โคลงสี่สุภาพ
๑. ย่างฤดูใบไม้.......................................ร่วงโรย
องุ่นผลัดใบโดย.................................แช่มช้า
สอดประสานลมโชย............................พัดแผ่ว
แคล่วคล่องครรลองหล้า.......................สะท้อนอนิจจังฯ
๒. ทุกอย่างเกิด(ขึ้น)⇨ตั้งอยู่⇨....................ดับไป
(แม้)กระทั่งธรรมวินัย............................ไป่เว้น
เสียงเพลงดังจากใน.............................อาวาส(พระเปิดเพลงผ่านเครื่องขยายเสียงอึกทึกครึกครื้น)
ประกาศทอดกฐินเร้น............................พุทธพ้องธรรมเนียมฯ
๓. พุทธเทียมทำพุทธแท้............................แปรปรวน
วันๆเอาแต่ชวน....................................ชักให้
บริจาคเงินเป็นกระบวน..........................การกิจ
พาณิชย์พิษฐานไซร้.............................หาได้พุทธะสนองฯ(พิษฐาน=มุ่งหมาย,พุทธะ=พระพุทธเจ้า)
๔. มองคนห่มผ้าเหลือง...............................แต่ละองค์
(มากมายที่)เหินห่างสมณะพงศ์..............เผ่าใกล้(สมณะ=ผู้สงบกิเลสแล้ว, ผู้ระงับบาป, ภิกษุ)
ทำใจหฤทัยปลง..................................(เป็น)สิ่งสัจ
ปรมัตถ์ทัศนะไซร้.................................(หา)ใช่พ้องสัตว์วิสัยฯ(ทัศนะ=ความเห็น, การเห็น)
๕. (เป็น)ปกติในหมู่ผู้..................................บริโภคกาม
ย่อมติดใจในกาม-.................................คุณคล้อย
เมื่อไม่บรรพชาตาม...............................อริยสัจ
(แต่บวชเพราะ)กำหนัดลาภสักการร้อย......อยากได้(อยู่ดี)กินดี(ร่ำรวย)ฯ
๖. "ประเพณี"ยกมาอ้าง................................แทนธรรม(วินัย)
หาเงินเป็นกิจกรรม.................................หมายเป้า(เป้าหมาย)
(อ้าง)เงินยิ่งมากยิ่งนำ............................(ผล)วิเศษสุด
อุตส่าห์จัดงานเร้า..................................ร่วมให้เงินหนุนฯ
๗. (กฐินคือ)ที่สุดแห่งบุญได้.........................จริงหรือ?
หลงงมงายคติถือ...................................นานช้า(ช้านาน)
(การ)ละเมิดธรรมวินัยคือ.........................บุญมหัต?(มหัต=ใหญ่, มาก, มหันต์.)
เงินสะพัดพระ-วัดท้า...............................รวยท้นเหนือชนไทยฯ
๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๕
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
มหาวรรค ภาค ๒
พระพุทธานุญาตให้กรานกฐิน
[๙๖] ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำพรรษาแล้วได้กรานกฐิน พวกเธอผู้ได้กรานกฐินแล้ว จักได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ ๑. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา ๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ ๓. ฉันคณะโภชน์ได้ ๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา ๕. จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ จักได้แก่เธอทั้งหลายผู้ได้กรานกฐินแล้ว.วิธีกรานกฐิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ สงฆ์ให้ผ้ากฐิน ผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน การให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น