ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2567

ทำดีเท่าที่ทำได้ : กลอนคติเตือนใจ







ทำดีเท่าที่ทำได้ : กลอนคติเตือนใจ


    อุณหภูมิ ร้อนรุมเร่า.................................ตั้งแต่เช้า จวบค่ำเข็ญ

ปลูกต้นไม้ หวังได้เย็น............................บางคนเห็น เป็น(สิ่ง)ขวาง(หูขวาง)ตา


    ผลประโยชน์ ฉลโฉดใคร่.........................ตัดต้นไม้ (เผา-บุกรุก)ทำลายป่า

เข้าจับจอง เป็นของข้า............................มิสนว่า โลกจะมลาย

 

    คน(อื่น)ทำดี มิเสริมส่ง.............................ยังคิดโกง ประสงค์ร้าย

ช่างทิ้งทอด ชาติ(จะ)วอดวาย..................ปราศละอาย ในกระมล


    การทำดี มีอุปสรรค..................................เพราะพวกรัก มักชั่วฉล

เรื่องธรรมดา ทั่วสากล.............................ที่มีคน ฉลชั่วนอง


    เป็นคนดี เพราะความดี(คิดพูดทำดี)...........หาได้มี เชื้อชาติ(กำเนิด)ข้อง

แม้มีทรัพย์ สินเงินทอง(ยศศักดิ์ฯลฯ).........มิใช่ช่อง มอง(ว่าเป็น)"ผู้ดี"


    คนดีทำ ความดีง่าย..................................คนชั่วร้าย ง่ายบัดสี

ความกตัญญู กตเวที................................คือวิถี แห่งธีรชน


    แม้(ตั้งใจ)ทำดี มิควร(ยึดมั่น)ถือ(มั่น)..........เพราะว่าคือ เหตุอกุศล

(การ)ยึดมั่นตัว ตน-ของตน.......................หาใช่หน ทางยั่งยืน(อริยมรรค)


    ทำความดี (เท่า)ที่ทำได้...........................(หาก)ทำไม่ได้ อย่าไปฝืน

ปล่อยวางเป็น เร้นกล้ำกลืน......................สิ้น(ทุกข์)ขมขื่น สะอื้นเอยฯ


๗ มีนาคม ๒๕๖๗


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

๘. อานันทสูตร

             [๑๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทก-
*นิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในวันอุโบสถเวลาเช้า ท่าน-
*พระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์ พระ-
*เทวทัตต์ได้เห็นท่านพระอานนท์กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในพระนครราชคฤห์ จึงเข้า
ไปหาท่านพระอานนท์ แล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอาวุโสอานนท์
บัดนี้ ผมจักกระทำอุโบสถและสังฆกรรมแยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุ-
*สงฆ์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตใน
พระนครราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาตในภายหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า
ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์ พระ-
*เทวทัตต์ได้เห็นข้าพระองค์กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในพระนครราชคฤห์ จึงเข้าไปหา
ข้าพระองค์ ครั้นแล้วได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรอาวุโสอานนท์ บัดนี้ ผม
จักกระทำอุโบสถและสังฆกรรมแยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์ ตั้ง
แต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ พระเทวทัตต์จักทำลายสงฆ์ จัก
กระทำอุโบสถและสังฆกรรม ฯ
             ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง
อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
                          ความดีคนดีทำได้ง่าย ความดีคนชั่วทำได้ยาก ความชั่ว
                          คนชั่วทำได้ง่าย ความชั่วพระอริยเจ้าทั้งหลายทำได้ยาก ฯ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลายนั้น
ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภูมิอสัตบุรุษเป็นไฉน อสัตบุรุษย่อมเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ก็ความเป็นคน
อกตัญญูอกตเวทีนี้ อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคน
อกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิอสัตบุรุษทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ
ย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษทั้งหลาย
สรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้เป็นภูมิ
สัตบุรุษ ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น