ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ศีลไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ : กลอนคติเตือนใจ



ศีลไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ : กลอนคติเตือนใจ

    ศีลหาใช่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์....................................ก่อเกิดฤทธิ ปาฏิหาริย์

อย่างคนเฒ่า เก่าโบราณ.............................ชอบเล่าขาน สืบกันมา


    การอวดดี หลงวิเศษ(ในศีล)...........................คือกิเลส ความหยาบช้า

คนหลงใหล ในอัตตา..................................สติ-ปัญญา- คุณ มลาย


    (การ)รักษาศีล เป็นเครื่องมือ...........................ช่วยผู้ถิอ(ศีล) ซื่อสัตย์ขวาย

ไม่ทำชั่ว มัวเมามาย....................................มิกล้ำกราย ทำร้ายชน

 

    (การถือศีล)ป้องกันให้ ไม่เบียดเบียน................บำเพ็ญเพียร เรียนรู้หน-

ทางละเว้น (ความ)เห็นแกตน.......................ละอกุศล สิ้นมนมาน


    (การถือ)ศีลทำให้ กาย-ใจสะอาด.....................ชั่วบาปปราศ เป็นมาตรฐาน

ของอริยะ ศาสนาจารย์................................ประเสริฐศานติ์ สำคัญมี

 

    สัมมาบท กฎแห่งกรรม...................................การกระทำ ล้ำเลิศศรี

ใครทำดี ย่อมได้ดี......................................ใครมีศีล ชีวินสบาย

 

    (ผู้)ไม่ทำชั่ว ไม่(ต้อง)กลัวผล-.........................กรรมประจญ ดลเลวร้าย

(เดือด)ร้อนลำเค็ญ มิเว้นวาย........................(ไม่ต้องกลัว)สุขสมหมาย ห่างหายพลัน


    คือเป้าหมาย ในศีลธรรม.................................ที่น้อมนำ ความสุขสันติ์

ให้ผู้มี(ศีลธรรม) ใช้ชีวัน...............................สุขสำราญ นิรันดรฯ


๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๔


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๓. สีลสูตร

[๒๑๓] ....ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ๕
ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ในธรรมวินัยนี้
ย่อมถึงกองโภคทรัพย์มากมาย อันมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ข้อ
ที่ ๑ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล 
อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของคนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมฟุ้งไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ของคน
มีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล 
อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีลจะเข้าสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท
ย่อมองอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ของคนมีศีล เพราะความ
ถึงพร้อมด้วยศีล 
อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ของคนมีศีล 
เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล
อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อานิสงส์ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ๕ ประการนี้แล ฯ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[329] สังโยชน์ 10 (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล )
       ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ )
           1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น )
           2. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ )
           3. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร )
           4. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ )
           5. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง )

       ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง )
           6. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ )
           7. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ )
           8. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ )
           9. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน )
           10. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น