ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564

อย่างมงายในศีลธรรมความดี : กาพย์ยานี๑๑



https://www.dailynews.co.th/news/350191/

อย่างมงายในศีลธรรมความดี : กาพย์ยานี๑๑

    ร่างกาย ใช่ไกลอื่น..........................................แหล่งโรคดื่น (เจ็บป่วย)เป็นพื้นฐาน

แก่-มรณา คืออาการ....................................ของสังขาร อันอนิจจัง


    (เพราะ)มีกรรม(เก่า) จึง(ถือ)กำเนิด...................ชะตา(กรรม)เชิด เลิศ-เลวรั้ง

แม้(แต่)พระ พุทธเจ้ายัง................................ถูกพลัง กรรม(เก่า)รังควาน*


    (ผู้ที่)เพิ่งจะ ปฏิบัติธรรม(ทำดี)..........................อย่าหลงล้ำ(เลิศ) อำนาจ(ศีลธรรม)หาญ

ถึงขนาด ตัดอดีตกาล...................................เวรกรรมผลาญ (ลบ)ล้างบรรลัย

 

    (แม้)ชาตินี้ ทำดี(ไว้)มาก..................................(ก็)มิอาจพราก(ลบล้าง) เวรกรรม(เก่า)ได้

จงอย่า ชะล่าใจ...........................................หลงงมงาย ใน(พลัง)ศีลธรรม(และความดี)


    (จงมี)ศรัทธา (แต่)อย่าประมาท.........................จนตัดขาด ปัญญา(ความรู้)ค้ำ

(การ)ศึกษา หลักศีลธรรม.............................อย่าได้ทำ ตามอำเภอใจ(ถือปฏิบัติตามใจชอบ อะไรไม่ชอบก็ไม่ทำ)

 

    ศึกษา(ให้ถูกต้อง) ก่อนปฏิบัติ...........................จนแจ่มชัด สิ้นสงสัย

ถูก(ต้อง)ตาม ธรรมวินัย................................จงอย่าให้ ขาดๆเกินๆ

 

    มิควร ด่วนศรัทธา.............................................เพียงธรรมา (ที่)รู้(แค่)ผิวเผิน

(เพราะ)นอกจาก จะไม่เจริญ..........................ยัง(จะ)เผชิญ เทวษเภทภัย


    ฟังธรรม คำพระเทศน์.......................................สิน่าสมเพช หากหลงใหล(งมงาย)

(เพราะ)บรรดา พระส่วนใหญ่..........................แค่อาศัย ผ้าเหลือง(ทำมาหากิน)เอยฯ**


๗ ตุลาคม ๒๕๖๔


*ในพุทธประวัติ อธิบายบ่อยๆว่า

พระพุทธเจ้าสั่งสมบุญบารมีมายาวนาน-มากมาย จึงได้เกิดมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

และมีหลายต่อหลายเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าต้องตกระกำลำบาก ก็เพราะมีกรรมเก่าตามให้ผล


**ลองสังเกตดู

พระส่วนใหญ่ไม่ศึกษา-ไม่ทำตามธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ไม่สอนตามหลักการของพระพุทธเจ้า ชอบสอนตามความเชื่อแบบไสยศาสตร์-โง่งมงาย

พระส่วนใหญ่ตั้งหน้าตั้งตาหาเงิน(ผิดธรรมวินัย) หาสมณศักดิ์ หาตำแหน่ง ความอยู่ดีกินดีสุขสบาย หาความเลื่อมใสศรัทธาเพื่อจะได้ลาภสักการะ ฯลฯ

พระส่วนใหญ่ยังเทศนา/ทำ เรื่องที่ไม่ใช่กิจธุระของสงฆ์

แม้แต่พระที่เรียกตัวเองว่าเป็นสายปฏิบัติ/สายวัดป่า ก็มีค่านิยมไม่แตกต่างจากคนทั่วไป มีพฤติกรรมไม่แตกต่างจากฆราวาส เช่น สะสม-ใช้ทรัพย์สินฟุ่มเฟือย-ราคาแพง ขายของ(พุทธพาณิชย์) ท่องเที่ยว ฯลฯ


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
[124] สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน)
       1. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง,ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง )
       2. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง)
       3. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง)

       เรียกง่ายๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา


[228] พละ 5 (ธรรมอันเป็นกำลัง)
       1. สัทธา (ความเชื่อ)
       2. วิริยะ (ความเพียร)
       3. สติ (ความระลึกได้)
       4. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น)
       5. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด)

       ธรรม 5 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ 5 (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน) 

[317] กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 (หมายถึง วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร)
       1. มา อนุสฺสเวน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา)
       2. มา ปรมฺปราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา)
       3. มา อิติกิราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ)
       4. มา ปิฎกสมฺปทาเนน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์)
       5. มา ตกฺกเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก)
       6. มา นยเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน)
       7. มา อาการปริวิตกฺเกน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล)
       8. มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว)
       9. มา ภพฺพรูปตาย (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้)
       10. มา สมโณ โน ครูติ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา )

       ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น