ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2565

มีเกิดก็ต้องมีทุกข์ : กลอนคติเตือนใจ




มีเกิดก็ต้องมีทุกข์ : กลอนคติเตือนใจ

    บานชื่น ดื่นดอก ออกจะแปลก.........................ต้นแม่ แลแรก บานเย็นสี

เพาะเมล็ด เหตุไฉน กลายกลับมี.....................(ต้น)ลูกที่ ต่างแม่ แพร่เผ่าพันธุ์(สีขาวนวล)


    ดอกมะลิ มิวัฒนา ในหน้าฝน...........................เน่าคาต้น หม่นหมอง ต้องโศกศัลย์

ช่างเหมือน วิถี ของชีวัน.................................บ่อยครั้ง บางครัน ผันเปลี่ยนแปร

 

    สารพัน ปัญหา อาจปรากฏ..............................สุข-สลด หมด-เพิ่มได้ ไม่เที่ยงแท้

ปะเหมาะ เคราะห์กรรม ตามทันแล...................ได้แต่ ก้มหน้ารับ กับโชคชะตา


    สันโดษ=พอใจตาม มีตามได้..........................มิใช่ ไม่ขยัน หมั่นงานหา(ทำมาหากิน)

บ่แม้น เรื่องง่าย ใช้ชีวา...................................ไม่(มีใคร)รู้ วาสนา ต้อง(พยายาม)ฝ่าฟัน


    ยินดี(พอใจ) เท่าที่มี เท่าที่(หา)ได้...................เหนือกว่านี้ มิใคร่ มัวใฝ่ฝัน

ประสบสุข (หรือ)ทุกข์บ้าง ก็ช่างมัน..................(เป็นปกติ)วิถี ของชีวัน อันธรรมดา


    (เมื่อ)มีเกิด แต่ไม่มี ทุกข์(มี)ที่ไหน?.................(จง)ฉุกคิด ชีวิตใคร(ไม่ทุกข์?) ไม่ประสา

(ความ)เกิด-แก่-เจ็บ(ปวย)-ตาย (มิ)ใช่มายา.......แต่เป็น กติกา ชีวาการณ์(การณ์=เหตุ,เค้า,มูล)

 

    (ความ)พ้นทุกข์ ผูกพัน(กับ) การไม่เกิด.............สิ่งประเสริฐ (คือ)พ้นวัฏ (ฏะ)สงสาร(เวียนว่ายตายเกิด)

(เมื่อ)ไม่มี (การเกิด)ร่างกาย (จึงจะ)ไร้ทรมาน....(เมื่อ)ไม่มี (การเกิด)ชีวะพาน สันติมอง


    จะถึง ที่สุด แห่งทุกข์สม..................................จงระดม ฤทัย ให้สนอง(การไม่เกิด)

หยุด(การ)เกิด ไม่ได้ อย่าหมายปอง..................(ความ)สิ้นทุกข์ ทั้งผอง ตริตรองเทอญฯ


๒๒ กันยายน ๒๕๖๕


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

อนมตัคคสังยุตต์
ปฐมวรรคที่ ๑
๓. อัสสุสูตร
[๔๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้อง ต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำตาที่หลั่ง ไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอ ใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ย่อมทราบ ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกข้า- *พระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำใน มหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ [๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เรา แสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯ โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวก เธอได้ประสบมรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอ เหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่ง ที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละ มากกว่า ส่วนน้ำใน มหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา ... ของ พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ... ความเสื่อมแห่งญาติ ... ความเสื่อมแห่งโภคะ ... ได้ประสบความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน น้ำตา ที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบความเสื่อมเพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้ อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมาก กว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุ เพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น