๏ บรรพชา เพื่ออะไร?........................................(เพื่อ)พ้น(ความ)ยากไร้ ไม่ขัดสน
(ก็จะ)เทศนา หาสวดมนต์.............................รับเงินคน (สะสม)ล้นร่ำรวย
๏ (บวช)เพื่อความ สุขสบาย................................คอยขวนขวาย ได้อยู่ด้วย
ของกิน ของใช้อวย......................................ทัดเทียมทวย คหบดี
๏ ลาภ-ยศ-สรรเสริญ-สุข(เป็นโลกธรรม)...............หมายปองขลุก ทุกวิถี
เยี่ยงอย่าง (ค่า)นิยมมี....................................ตามปกติ โลกิยธรรม
๏ (หาก)บวชเพื่อ โลกุตระ....................................(ย่อม)อุตสาหะ ประพฤติล้ำ
ลดละ โลกิยกรรม..........................................ปฏิบัติตาม ธรรมวินัย
๏ ศึกษา พระไตรปิฎก..........................................(ให้)คุ้นเคยอก(จิตใจ) ยกมาใช้(คล่อง)
ประเชิญ ปัญหาใด.........................................ไม่เอาอย่าง ทางโลกีย์(ทางโลก)
๏ พ้นโลก=โลกุตระ.............................................(ต้อง)พ้นโลกิย(ะ) ธรรมวิถี
พ้นกิเลส ตัณหาที่..........................................(เป็นคติของ)คนยินดี บริโภคกาม
๏ ตั้งใจ คลายกำหนัด..........................................สงสารวัฏ เพียรหัดข้าม
เว้นบาป กำราบทราม......................................กุศลงาม สำคัญกมล
๏ หากแม้น ไม่ศรัทธา..........................................บรรพชา เพื่อมรรคผล
(การ)บวชไซร์ (จะ)ทำให้ตน............................ตกนรก อเวจีฯ(เพราะเลี้ยงชีพด้วยการหลอกลวงคนอื่น)
๒ กันยายน ๒๕๖๕
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๕. พรหมจริยสูตร ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์ [๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประพฤติพรหมจรรย์นี้มิใช่เพื่อจะลวงคน มิใช่เพื่อเกลี้ยกล่อมคน มิใช่เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและชื่อเสียง มิใช่เพื่อ อานิสงส์คือการอวดอ้างวาทะ มิใช่เพื่อให้คนรู้ว่า ‘คนจงรู้จักเราด้วยอาการอย่างนี้’ แท้จริง ตถาคตประพฤติพรหมจรรย์นี้เพื่อสำรวมระวัง เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับทุกข์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ได้ทรงแสดงพรหมจรรย์ ปราศจากความยึดมั่นถือมั่นแต่โบราณ ทำให้สัตว์ถึงพระนิพพานเพื่อสำรวมระวัง เพื่อละ หนทางนี้ท่านผู้ใหญ่ ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ดำเนินไปตามแล้ว อนึ่ง เหล่าชนผู้ปฏิบัติตามแนวทาง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
โลกิยธรรม หมายถึง ว. เกี่ยวกับโลก ทางโลก ,ธรรมดาโลก ,ของโลก ตรงข้ามกับ โลกุตระ.
โลกุตระ (อ่านว่า โลกุดตะระ) แปลว่า พ้นโลก.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น