ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

มองโลกตามความเป็นจริง : กลอนคติสอนใจ






มองโลกตามความเป็นจริง : กลอนคติสอนใจ

    ขอบฝอย ลอยฟุ้ง คุ้งขจาย.................................เมฆหลาก มากหลาย ระบายฝน

อำพราง รังสี สุริยน.........................................(บรรยากาศ)เย็นชืด มืดมน อนธการ


    แม้ว่า พายุ ยังไม่เข้า(ไทย).................................(น้ำ)ท่วมแล้ว ท่วมเล่า ราวส่งสาร

ธรรมชาติ เมื่อโดน คนระราน............................ภยา มหาศาล สิพานมา

 

    ถึงครา หน้าแล้ง ก็แห้งน้ำ...................................ชอกช้ำ ชีพดำเนิน เกินอุตสาห์

ตรากตรำ กำเนิด เกิดชีวา................................เพื่อเผชิญ ชะตา ปัญหาตรม(ชีวิตมีปัญหามากมาย)


    (คนส่วนใหญ่มัก)คิดแค่ อยากอยู่ ดีกินดี...............ชีวี มีสุข สนุกสม

ดำเนิน ชีพตาม ความนิยม...............................(ที่)สังคม ยกย่อง ต้องการเป็น


    ผลลัพธ์ กลับ(คืน)มา (ใน)อนาคต........................ปัด(ทิ้งไป)หมด ไม่ยอม รับรู้เห็น(อ้างว่ามองแง่บวก)

แสวงหา (ความ)สุขสบาย อย่างใจเย็น..............(ใช้ทรัพยาการธรรมชาติ)ฟุ่มเฟือย กิน-เล่น เช่นเมามัว


    โลกนี้ ไม่มี วันเหมือนเก่า*...................................ถูกเรา ทำลาย ลาญไปทั่ว

โดยไม่ ระลึก(ถึง) ผลคืนตัว(เอง)......................ปัญหา น่ากลัว เร่งพัวพัน

 

    ไม่ต้อง รอ(หลัง)ตาย ตกนรก...............................(แค่)ฝนตก(ท่วม) (หรือ)ไม่ตก(แล้ง) ก็อกสั่น

ไม่ต้อง รอพระ ยายมยัน...................................(แค่)ธรรมชาติ (จะ)ลงทัณฑ์ ก็บรรลัย


    มองโลก ในแง่ ความเป็นจริง...............................คือสิ่ง ควรทำ สำคัญใคร่

ตกเป็น ขี้ปาก(บางคน) ก็ช่างประไร...................(หาว่า)"มองโลก แง่ร้าย"** ใช่หรือเธอ?ฯ


๒๖ กันยายน ๒๕๖๕


*climate change ชื่อก็บอกแล้วว่ามันเปลี่ยน มันไม่เหมือนเดิม...

**“หลักการง่ายๆ ของการบริหารความเสี่ยงคือ Worst-case scenario คิดในทางเลวร้ายที่สุดเข้าไว้”

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1514401/


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

๑๒. ทิฏฐิคตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๔๙] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ต่างก็ถูกทิฏฐิ ๒ อย่างครอบงำ คือ เทวดา และมนุษย์พวกหนึ่งยึดติดอยู่ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไป๒- ส่วนเทวดา และมนุษย์ผู้มีปัญญาจักษุ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งยึดติดอยู่ เป็นอย่างไร คือ เทวดาและมนุษย์พอใจ ยินดี เพลิดเพลินอยู่ในภพ เมื่อตถาคตแสดงธรรม เพื่อความดับแห่งภพ จิตของเทวดาและมนุษย์นั้นย่อมไม่ยอมรับ ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมใจเชื่อ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งยึดติดอยู่ เป็นอย่างนี้แล เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไป เป็นอย่างไร คือ เทวดาและมนุษย์อึดอัด ระอา รังเกียจ ไม่ยินดีภพนั่นแล จึงหลงเพลิดเพลิน ความขาดสูญโดยทำนองว่า ท่านทั้งหลาย ทราบว่า อัตตาของเรานี้ เมื่อตายไป ย่อมขาดสูญพินาศไป หลังจากตายแล้วจะไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ชื่อว่าเป็นธรรมชาติ สงบ ประณีต ถ่องแท้ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไป เป็นอย่างนี้แล
เทวดาและมนุษย์ผู้มีปัญญาจักษุย่อมเห็นตามความเป็นจริง เป็นอย่างไร
             คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ โดยสภาวะแท้จริง
ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้วก็ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับสิ่ง
ที่เป็นจริง โดยความเป็นจริงนั้น เทวดาและมนุษย์ผู้มีปัญญาจักษุย่อมเห็นตาม
ความเป็นจริง เป็นอย่างนี้แล”
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
                          อริยสาวกพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วตามความเป็นจริง
                          และธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
                          ย่อมน้อมจิตไปในนิพพานตามความเป็นจริง
                          เพราะความสิ้นไปแห่งภวตัณหา
                          ถ้าอริยสาวกผู้กำหนดรู้ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
                          ปราศจากตัณหาในภพน้อยและใหญ่ไซร้
                          ชื่อว่าภิกษุ ย่อมไม่กลับมาสู่ภพอีก
                          เพราะขันธ์ ๕ เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป
             แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น